[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 77
มหาวรรค
ญาณกถามาติกา
๑๔. อรรถกถา ปัจจเวกขณญาณุทเทส
ว่าด้วยปัจจเวกขณญาณ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 77
๑๔. อรรถกถาปัจจเวกขณญาณุทเทส
ว่าด้วย ปัจจเวกขณญาณ
คำว่า ตทา สมุทาคเต ธมฺเม ปสฺสเน ปญฺา แปลว่าปัญญาในการพิจารณาเห็นธรรมที่เข้ามาประชุมในขณะนั้น ความว่า ปัญญาเป็นเครื่องเห็นเพ่งรู้ในธรรมคือมรรคและผลกับทั้งในธรรมคือสัจจะ ๔ ที่เกิดขึ้นในมรรคขณะและผลขณะ คือมาพร้อมแล้ว ถึงพร้อมแล้ว ประชุมกันในกาลนั้น ด้วยสามารถแห่งการได้เฉพาะและด้วยสามารถแห่งการแทงตลอด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 78
คำว่า ปจฺจเวกฺขเณ าณํ - ปัจจเวกขณญาณ ความว่า ญาณเป็นเครื่องหมุนกลับมาเห็นรู้แจ่มแจ้ง. ก็ปัจจเวกขณญาณท่านกล่าวไว้ด้วยญาณทั้ง ๒ นี้.
ก็ในที่สุดแห่งโสดาปัตติผลในมรรควิถี จิตของพระโสดาบันก็ลงภวังค์. ต่อแต่นั้นก็ตัดภวังค์ขาด มโนทวาราวัชชนะก็เกิดขึ้นเพื่อพิจารณามรรค, ครั้นมโนทวาราวัชชนะนั้นดับลงแล้ว ชวนจิตพิจารณามรรคก็เกิดขึ้น ๗ ขณะโดยลำดับฉะนี้แล. ครั้นแล้วก็ลงสู่ภวังค์อีก อาวัชชนจิตเป็นต้นก็เกิดขึ้นเพื่อพิจารณาธรรมทั้งหลายมีผลเป็นต้น โดยนัยนั้นเอง. เพราะความเกิดแห่งธรรมเหล่าใดมีผลเป็นต้น พระโสดาบันนั้นก็พิจารณามรรค, ผล, กิเลสที่ละแล้ว, กิเลสที่ยังเหลือ, และพระนิพพาน.
ก็พระโสดาบันนั้นพิจารณามรรคว่า เรามาแล้วด้วยมรรคนี้หนอ, ต่อแต่นั้นก็พิจารณาผลว่า อานิสงส์นี้เราได้แล้ว, ต่อแต่นั้นก็พิจารณากิเลสที่ละแล้วว่า ขึ้นชื่อว่ากิเลสเหล่านี้ เราละได้แล้ว, ต่อแต่นั้นก็พิจารณากิเลสที่มรรคเบื้องบนจะพึงละว่า กิเลสเหล่านี้เรายังเหลืออยู่, ในที่สุดก็พิจารณาอมตนิพพานว่า ธรรมนี้เราได้แล้วโดยความเป็นอารมณ์
พระอริยสาวกชั้นโสดาบัน มีปัจจเวกขณะ ๕ อย่าง ด้วยประการนี้. ปัจจเวกขณะของพระสทาคามีและพระอนาคามี ก็มีเหมือน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 79
พระโสดาบัน. แต่ของพระอรหันต์ มีปัจจเวกขณะ ๔ อย่างคือ ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่. รวมปัจจเวกขณญาณทั้งหมดมี ๑๙ ด้วยประการฉะนี้. นี้เป็นการกำหนดอย่างอุกฤษฏ์.
ถามว่า การพิจารณากิเลสที่ละได้แล้วและที่ยังเหลืออยู่ ยังมีแก่พระเสกขะทั้งหลายหรือไม่?
ตอบว่า เพราะความที่การพิจารณาการละกิเลสนั้นไม่มี ท้าวมหานามศากยราชจึงกราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ธรรมชื่ออะไรเล่า ที่ข้าพระองค์ยังละไม่ได้เด็ดขาดในภายใน อันเป็นเหตุให้โลกธรรมยังครอบงำจิตของข้าพระองค์ไว้ได้เป็นครั้งคราว ดังนี้ เป็นต้น.
ในที่นี้ เพื่อจะให้ญาณ ๑๑ มีธรรมฐิติญาณแจ่มแจ้ง พึงทราบอุปมาดังต่อไปนี้
เปรียบเหมือนบุรุษคิดว่า เราจะจับปลา จึงถือเอาสุ่มไปสุ่มลงในน้ำที่คิดว่าควรจะมีปลา แล้วจึงหย่อนมือลงไปทางปากสุ่ม แล้วก็คว้าเอาคองูเห่าที่อยู่ภายในน้ำด้วยสำคัญว่าเป็นปลาไว้แน่น ดีใจคิดว่า เราได้ปลาใหญ่แล้ว ก็ยกขึ้นจึงเห็นก็รู้ว่า งู เพราะเห็นดอกจัน ๓ แฉก เกิดกลัว เห็นโทษ เบื่อหน่ายในการจับ ใคร่ที่จะพ้นจึงทำอุบายเพื่อจะหลุดพ้น จึงจับงูให้คลายมือตั้งแต่ปลายหางแล้วชูแขนขึ้นแกว่ง ไปรอบศีรษะ ๒ ครั้ง ๓ ครั้ง ทำงูให้ทุรพลแล้วเหวี่ยงไปพร้อมกับพูด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 80
ว่า เฮ้ย! ไปเจ้างูร้าย แล้วโดดขึ้นไปยืนบนบกโดยเร็วทีเดียว เกิดร่าเริงใจว่า ท่านผู้เจริญ เราพ้นแล้วจากปากงูใหญ่ แล้วแลดูทางที่ตนมา.
ในข้ออุปมา - การเปรียบเทียบนั้นมีดังต่อไปนี้
การยึดมั่นซึ่งขันธ์ ๕ อันน่ากลัว ด้วยสามารถแห่งลักษณะมีความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น แล้วยินดีด้วยสำคัญว่าเที่ยงด้วยตัณหา อันสัมปยุตด้วยทิฏฐิ (คือโลภทิฏฐิคตสัมปยุต) ว่า เรา, ของเรา ของพาลปุถุชนตั้งต้นแต่พระโยคีบุคคลนี้ ดุจการจับงูเห่าไว้มั่นด้วยสำคัญว่าเป็นปลาของบุรุษนั้นฉะนั้น, การทำลายฆนสัญญาด้วยการกำหนดนามรูปพร้อมทั้งปัจจัย แล้วเห็นพระไตรลักษณ์มีอนิจจตาเป็นต้นของขันธ์ ๕ ด้วยญาณ มีการพิจารณาโดยความเป็นกลาปแล้วกำหนดขันธ์ ๕ นั้นว่า ไม่เที่ยง, เป็นทุกข์, เป็นอนัตตา ดุจดังการนำงูออกจากปากสุ่ม แล้วเห็นดอกจัน ๓ แฉก จึงรู้ว่างู ของบุรุษนั้นฉะนั้น,
ภยตูปัฏฐานญาณของพระโยคีบุคคลนี้ เหมือนกับความกลัวของบุรุษนั้นฉะนั้น,
อาทีนวานุปัสสนาญาณ ดุจดังการเห็นโทษในงูฉะนั้น,
นิพพิทานุปัสสนาญาณ ดุจดังการระอาในการจับงูฉะนั้น.
มุญจิตุกัมยตาญาณ ดุจดังการใคร่ที่จะสลัดงูไปเสียให้พ้นฉะนั้น,
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 81
ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ดุจดังการทำอุบายเพื่อจะสลัดงูไปเสียให้พ้นฉะนั้น.
การพิจารณาอย่างรอบคอบซึ่งสังขารทั้งหลายด้วยสังขารุเปกขาญาณ โดยการยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์แล้วกระทำให้ทุรพลจนไม่สามารถจะปรากฏโดยอาการว่าเที่ยง, เป็นสุข, และเป็นอัตตาได้อีก ดุจดังการจับงูขึ้นหมุนไปรอบๆ ในเบื้องบนแห่งศีรษะ กระทำให้ทุรพลจนไม่สามารถจะหวนกลับมากัดได้อีก.
โคตรภูญาณ ดุจดังการสลัดงูทิ้งไปฉะนั้น,
มรรคญาณผลญาณก้าวขึ้นยืนอยู่บนบก คือพระนิพพานดุจดังการที่บุรุษนั้นสลัดงูทิ้งไปแล้วขึ้นไปยืนอยู่บนบกฉะนั้น,
ปัจจเวกขณญาณในธรรมมีมรรคเป็นต้น ดุจดังการแลดูทางที่มาแล้วของบุคคลผู้ร่าเริงฉะนั้น.
ในบรรดาปัจจเวกขณญาณทั้งหลาย พึงทราบว่า กิเลสปัจจเวกขณะ การพิจารณากิเลสเป็นครั้งแรก ต่อแต่นั้นจึงเป็นการพิจารณามรรคผลและนิพพาน เพราะลำดับแห่งเทศนาอันพระโยคีบุคคลกระทำแล้วตามลำดับแห่งการเกิดขึ้นแห่งญาณ ๑๔ เหล่านี้มีสุตมยญาณเป็นต้น และตามลำดับแห่งการปฏิบัติ.
ความที่แห่งกิเลสปัจจเวกขณะ การพิจารณากิเลสตามสมควรแก่การปฏิบัตินั่นแล เป็นเบื้องต้นย่อมควร เพราะท่านกล่าวการปฏิบัติ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 82
มรรคไว้ เพราะทำการละกิเลสนั่นแหละให้เป็นข้อสำคัญว่า พระโยคีบุคคลเจริญโลกุตรฌาน อันเป็นนิยานิกธรรมนำออกจากทุกข์ เป็นอปจยคามีเป็นเหตุให้ถึงพระนิพพาน ก็เพื่อละมิจฉาทิฏฐิ, เพื่อบรรเทากามราคะและพยาบาทให้เบาบางลง, เพื่อละกามราคะและพยาบาทไม่ให้มีส่วนเหลือ เพื่อละรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชาไม่ให้มีส่วนเหลือ, แต่ลำดับแห่งการกล่าว (๑) ท่านแสดงไว้แล้วในอรรถกถา.
ก็ลำดับนั้นมี ๕ อย่างคือ ลำดับแห่งการเกิดขึ้น ลำดับแห่งการละ, ลำดับแห่งการปฏิบัติ, ลำดับแห่งภูมิ, ลำดับแห่งเทศนา.
คำมีอาทิอย่างนี้ว่า
ปมํ กลลํ โหติ กลลา โหติ อพฺพุทํ อพฺพุทา ชายเต เปสิ เปสิ นิพฺพตฺตตี ฆโนติ.
ในสัปดาห์ที่ ๑ เกิดเป็น กลละ
ในสัปดาห์ที่ ๒ จากกลละก็เกิดเป็นอัพพุทะ
ในสัปดาห์ที่ ๓ จากอัพพุทะเกิดเป็นเปสิ
ในสัปดาห์ที่ ๔ จากเปสิเกิดเป็นฆนะ (๒) ดังนี้
๑. คือลำดับแห่งการแสดง ที่ปรากฏในวรรคแรกว่า เทสนกฺกมสฺส กตตฺตา. ๒. สํ. ส. ๑๕/๘๐๓.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 83
ชื่อว่า ลำดับแห่งการเกิด.
ปหาตัพพติกมาติกามีอาทิอย่างนี้ว่า
ทสฺสเนน (๑) ปหาตพฺพา ธมฺมา สภาวธรรมทั้งหลายอันโสดาปัตติมรรคพึงละ,
ภาวนาย (๒) ปหาตพฺพา ธมฺมา สภาวธรรมทั้งหลายอันมรรคในเบื้องบน ๓ พึงประหาณ ดังนี้ ชื่อว่า ลำดับแห่งการละ.
คำมีอาทิอย่างนี้ว่า
สีลวิสุทฺธิ ความบริสุทธิ์แห่งศีล,
จิตฺตวิสุทฺธิ ความบริสุทธิ์แห่งจิต (สมาธิ) ,
ทิฏฺิวิสุทฺธิ ความบริสุทธิ์แห่งทิฏฐิ (ปัญญา) ,
กงฺขาวิตรณวสุทฺธิ ความบริสุทธิ์แห่งกังขาวิตรณะ (การข้ามพ้นความสงสัย) ,
มคฺคามคฺคาณทสฺสนวิสุทฺธิ ความบริสุทธิ์แห่งมัคคามัคคญาณทัสนะ (การเห็นด้วยปัญญาว่าใช่ทางและมิใช่ทาง) ,
ปฏิปทาาณทสฺสนวิสุทฺธิ ความบริสุทธิ์แห่งญาณทัสนะในปฏิปทา (การเห็นด้วยปัญญาในข้อปฏิบัติ) ,
๑. ทสฺสเนน หมายเอาโสดาปัตติมรรค. อภิ. สํ. ๓๔/๙๗๐.
๒. ภาวนาย หมายเอาสกทาคามิมรรค, อนาคามิมรรค, และอรหัตตมรรค. อภิ. สํ. ๓๔/๙๗๑.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 84
าณทสฺสนวิสุทฺธิ ความบริสุทธิ์แห่งญาณทัสนะ (เห็นแจ่มแจ้งด้วยปัญญา) , ดังนี้ ชื่อว่า ลำดับแห่งการปฏิบัติ.
คำมีอาทิอย่างนี้ว่า
สภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นกามาวจระ, สภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นรูปาวจระ, สภาธรรมทั้งหลายที่เป็นอรูปาวจระ (๑) ดังนี้ ชื่อว่า ลำดับแห่งภูมิ.
คำมีอาทิอย่างนี้ว่า
สติปัฏฐาน ๔, สัมมัปธาน ๔, อิทธิบาท ๔, อินทรีย์ ๕, โพชฌงค์ ๗, โพชฌงค์ ๗, อริยมรรคมีองค์ ๘ (๒).
หรือคำมีอาทิว่า
แสดงอนุปุพพิกถา คือ ทานกถา, สีลกถา, สัคคกถา, ประกาศโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองแห่งกามทั้งหลาย และอานิสงส์ในการออกจากกาม (๓) ดังนี้ ชื่อว่า ลำดับแห่งการเทศนา.
๑. อภิ.สํ. ๓๔/๑๔. ๒. ม.อุ. ๑๔/๕๔. ๓. วิ.มหา. ๔/๓๑.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 85
แต่ในที่นี้ พึงทราบว่าหมายเอาลำดับ ๓ ประการ คือลำดับแห่งการเกิดขึ้นแห่งญาณ ๑๔, ลำดับแห่งการปฏิบัติ, และลำดับแห่งเทศนา เพราะแสดงตามลำดับด้วยสามารถแห่งลำดับทั้ง ๒ นั้น.