ปัณฑระ กับ ประภัสสร
โดย คุณสงสัย  30 ก.ค. 2551
หัวข้อหมายเลข 9417

คำถาม

1. ปัณฑระ คือ อะไร

2. อกุศลจิตเป็นปัณฑระหรือไม่ เพราะเหตุใด

3. อกุศลเจตสิกเป็นปัณฑระหรือไม่ เพราะเหตุใด

4. ประภัสสร คือ อะไร

5. ประภัสสร หมายถึง ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต และจุติจิต ใช่หรือไม่

6. มีจิตใดอีกบ้างที่เป็นประภัสสร



ความคิดเห็น 1    โดย study  วันที่ 30 ก.ค. 2551

๑. ๒. ปัณฑระ คือ ขาว บริสุทธิ์ ได้แก่ จิตทุกประเภท

๓. อกุศลเจตสิกไม่เป็นปัณฑระ เพราะไม่บริสุทธิ์

๔. ปภัสสร คือ ผ่องใส

๕. ๖. จิตประภัสสร หมายถึง ภวังคจิตและกุศลจิต


ความคิดเห็น 2    โดย เมตตา  วันที่ 31 ก.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 3    โดย JANYAPINPARD  วันที่ 31 ก.ค. 2551

ทำไมจึงเรียกภวังคจิตว่าเป็นจิตประภัสสร ท่านตอบไว้ว่า จิตที่ปราศจากกิเลสนั่นแหละที่เรียกว่าจิตบริสุทธิ์หรือจิตประภัสสร จิตของพระอรหันต์ไม่มีกิเลส จึงบริสุทธิ์ เรียกได้ ส่วนภวังคจิตนั้น ในขณะที่ยังไม่มีอุปกิเลสจรมา ก็ดูเหมือนยังบริสุทธิ์อยู่ เพราะอนุสัยกิเลสที่มีอยู่ ยังไม่ฟุ้งกระจายขึ้นมาแสดงตน แม้ภวังคจิตไม่บริสุทธิ์จริง แต่ดูเหมือนบริสุทธิ์เพราะไม่มีอุปกิเลสนี่เอง


ความคิดเห็น 4    โดย khampan.a  วันที่ 31 ก.ค. 2551

จิต เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นปรมัตถธรรม เป็นสภาพธรรมที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ การศึกษาปรมัตถธรรมนั้น ไม่ใช่เพื่ออย่างอื่น ไม่ใช่เพื่อที่จะจดจำว่ามีจิตกี่ดวง มีเจตสิกกี่ดวง เจตสิกใดเกิดกับจิตประเภทใดได้บ้าง แต่ศึกษาเพื่อความเข้าใจถูก เห็นถูก เพื่อปรุงแต่งเกื้อกูลให้สติระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เพื่อที่จะเข้าใจจริงๆ จนกระทั่งสามารถที่จะละคลายการยึดถือสภาพธรรมทั้งหลาย ว่า เป็นสัตว์บุคคล ตัวตนได้ ไม่ใช่ไปติดที่คำ หรือไปติดที่ชื่อ

-คำว่า ปัณฑระ หมายถึง ขาว, บริสุทธิ์ เป็นอีกชื่อหนึ่งของจิต เป็นไวพจน์ของจิต เพราะมีคำหลายคำที่หมายถึงจิต ได้แก่ จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุ ถ้ากล่าวถึงจิตโดยที่ไม่ได้กล่าวถึงเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยนั้น จิตทุกประเภท เป็นปัณฑระ คือ ขาว

แม้แต่อกุศลจิต ก็เป็นปัณฑระ ตามข้อความที่ว่า "เพราะจิตมีลักษณะรู้อารมณ์ จึงไม่เป็นกิเลสด้วยความเศร้าหมอง โดยสภาวะเป็นจิตบริสุทธิ์ทีเดียว แต่เมื่อประกอบด้วยอุปกิเลส จิตจึงเศร้าหมอง แม้เพราะเหตุนั้น จึงควรเพื่อกล่าวว่า ปัณฑระ (ขาว) "


ความคิดเห็น 5    โดย khampan.a  วันที่ 31 ก.ค. 2551

-คำว่า ประภัสสร หมายถึง ผ่องใส จิตจะผ่องใสได้ก็ต่อเมื่อเป็นกุศลจิต เพราะประกอบด้วยโสภณเจตสิก (เจตสิกฝ่ายดี) มี ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ อโลภะ อโทสะ เป็นต้นเกิดร่วมด้วย จึงผ่องใส และอีกประการหนึ่ง ขณะที่เป็นภวังคจิต ดำรงภพชาติความเป็นบุคคลนี้อยู่ อารมณ์ของโลกนี้ไม่ปรากฏ ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ได้ลิ้มรสไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส เพียงชั่วขณะที่จิต ไม่รู้อารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้นทางกาย ทางใจนั้น ไม่มีกิเลสประการต่างๆ เกิดขึ้น ทำกิจหน้าที่ ดังนั้น ขณะที่เป็นภวังคจิต จึงกล่าวว่า เป็นจิตประภัสสร ด้วย

-อกุศลเจตสิก เป็นสภาพธรรม (ที่ไม่ดี) ที่เกิดร่วมกับอกุศลจิตเท่านั้น จะไม่เกิดร่วมกับจิตที่เป็นชาติกุศล ชาติวิบาก และชาติกิริยา เกิดร่วมกับอกุศลจิตเท่านั้น อกุศลเจตสิกเกิดร่วมกับจิตแล้ว จิตจึงเศร้าหมองเพราะอกุศลเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย ดังนั้น อกุศลเจตสิก ไม่บริสุทธิ์ แต่ตัวจิต เป็นปัณฑระ (ขาว) ครับ

...ขออนุโมทนาครับ...


ความคิดเห็น 6    โดย prakaimuk.k  วันที่ 31 ก.ค. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ

ความคิดเห็น 7    โดย pornpaon  วันที่ 18 พ.ค. 2552

ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 8    โดย khondeebkk  วันที่ 19 พ.ค. 2552

ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 9    โดย arin  วันที่ 20 พ.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 10    โดย jadesri  วันที่ 10 พ.ค. 2554
ขออนุโมทนา

ความคิดเห็น 11    โดย dekar5n555  วันที่ 9 ก.ค. 2560

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 12    โดย peem  วันที่ 15 ธ.ค. 2562

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 13    โดย chatchai.k  วันที่ 1 ก.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 14    โดย วิเชฏฐ์  วันที่ 25 ต.ค. 2564

พละ 6 ได้แก่อะไรบ้าง

เหตุ 2 ได้แก่อะไรบ้าง

เหตุ 1 ได้แก่อะไร


ความคิดเห็น 15    โดย chatchai.k  วันที่ 25 ต.ค. 2564

เรียนความเห็น 14 ครับ

ขอเชิญเปิดอ่าน ...

พละ ๕

เจตสิก ๖ เป็นปรมัตถธรรมที่เป็นเหตุ

เจตสิก ๖ ที่เป็นเหตุ เหมือนรากแก้วของต้นไม้


ความคิดเห็น 16    โดย chatchai.k  วันที่ 25 ต.ค. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อบรมปัญญาให้เข้าใจความจริง จะเป็นประโยชน์ทั้งชาตินี้ และชาติต่อๆ ไป กุศลที่ทำได้เสมอๆ คือ การฟังพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง มีคุณค่ามหาศาลสำหรับชีวิตที่ต้องเดินทางต่อไป อีกแสนไกล และกันดาร

ขอเชิญศึกษาพระธรรม...

รวมลิงก์เมนูต่างๆ ในเว็บไซต์

พระไตรปิฎก

ฟังธรรม

วีดีโอ

ซีดี

หนังสือ

กระดานสนทนา

การที่ได้มีโอกาสศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม ทำให้มีความเข้าใจตามความเป็นจริงว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏแล้วก็หมดไป ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหูทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ จิตทุกขณะเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป หมดไป ไม่มีอะไรเหลือเลยจริงๆ จากภพหนึ่งไปอีกภพหนึ่ง ดังนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ สิ่งที่ควรสั่งสมไปทุกภพทุกชาติ นั่นก็คือ กุศล (รวมถึงการอบรมเจริญปัญญา ในชีวิตประจำวันด้วย)