[เล่มที่ 30] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 478
๔. ภาวนาสูตร
ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐานเพื่อถึงฝัง
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 30]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 478
๔. ภาวนาสูตร
ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐานเพื่อถึงฝั่ง
[๘๐๒] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่ง จากที่มิใช่ฝั่ง. สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย. ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่... ย่อมพิจารณา
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 479
เห็นจิตในจิตอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย. สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่งจากที่มิใช่ฝั่ง.
จบภาวนาสูตรที่ ๔
อรรถกถาอนนุสสุตสูตร
ในวรรคที่ ๔ สูตรที่ ๕ คำว่า เวทนาที่รู้แจ้งแล้ว หมายความว่า พิจารณาเวทนาใดแล้ว จึงได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ เวทนาที่ท่านรู้แจ้งแล้วนั่นแล ย่อมเกิดขึ้น. เวทนาที่รู้แจ้งแล้ว ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ เวทนาที่รู้แจ้งแล้ว ชื่อว่า ย่อมถึงความดับไปสิ้นไป. ก็แล แม้เวทนาที่เป็นไปในอารมณ์ที่กำหนด ถือเอาเหล่าใดที่รู้แจ้งแล้ว ย่อมเกิดขึ้น เวทนาที่รู้แจ้งแล้วเหล่านั้น ก็ชื่อว่า ย่อมถึงความดับไปสิ้นไป. แม้ในเรื่องวิตกเป็นต้น ก็ทำนองเดียวกันนี้แหละ คำที่เหลือในทุกบท มีใจความตื้นแล้วทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาอนนุสสุตสูตรที่ ๔