การเกิดขึ้นครั้งแรกของขันธ์ ๕ [วิญญาณขันธนิเทศ]
โดย Sam  29 มี.ค. 2552
หัวข้อหมายเลข 11808

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑- หน้าที่ 57

ว่าโดยการเกิดขึ้นครั้งแรกของขันธ์ ๕

บรรดาปกิณกะเหล่านั้น คำว่า โดยการเกิดขึ้นครั้งแรก นี้

การเกิดขึ้นครั้งแรกมี ๒ อย่างคือ การเกิดขึ้นครั้งแรกของคัพภไสยกสัตว์ และ

การเกิดขึ้นครั้งแรกของโอปปาติกสัตว์ บรรดาการเกิด ๒ อย่างนั้น พึงทราบ

การเกิดขึ้นครั้งแรกของคัพภไสยกสัตว์อย่างนี้

จริงอยู่ขันธ์ ๕ ของพวกคัพภไสยกสัตว์ย่อมปรากฏพร้อมกันไม่หลัง

ไม่ก่อนกันในขณะปฏิสนธิ. ข้อนี้ท่านกล่าวว่า ความสืบต่อแห่งรูป กล่าวคือ

กลละที่ปรากฏในขณะนั้น เป็นของนิดหน่อยมีเพียงแมลงวันตัวน้อยจะพึงดื่มได้

ด้วยความพยายามครั้งเดียวเท่านั้น แล้วยังกล่าวอีกว่า นั่นก็ยังมากเกินไปคือมันเป็นเพียงหยาดที่ไหลออกตรงปลายของเข็มละเอียด ที่เขาจุ่มในน้ำมันแล้ว

ยกขึ้น ดังนี้. แม้หยาดน้ำนั้นนั่นท่านก็ปฏิเสธแล้วกล่าวว่า เมื่อเขาจับผมเส้นหนึ่งยกขึ้นจากน้ำมัน แล้วก็เป็นเพียงหยาดน้ำที่ไหลออกตรงปลายผมเส้นนั้น

ดังนี้ แม้หยาดน้ำนั้นท่านก็ปฏิเสธแล้วกล่าวว่า เมื่อผ่าเส้นผมของมนุษย์ชาว

ชนบทนี้ออกเป็น ๘ ส่วน เส้นผมของชาวอุตตรกุรุทวีปมีประมาณเท่าส่วนหนึ่ง

แต่ ๘ ส่วนนั้น กลละนั้นก็เป็นเพียงหยาดที่ตั้งอยู่ตรงปลายผมของมนุษย์ชาว

อุตตรกุรุทวีปนั้นที่เขายกขึ้นจากน้ำมันงาใส ดังนี้แม้น้ำมันงาใสนั้นท่านก็ปฏิเสธ

แล้วกล่าวว่า นั่นก็ยังมาก ธรรมดาขนทรายเป็นธรรมชาติละเอียด กลละนั้น

เป็นเพียงหยาดที่ไหลออกตรงปลายของขนเนื้อทรายเส้นหนึ่งที่เขาจุ่มในน้ำมันงาใสแล้วยกขึ้น ดังนี้. ก็กลละนี้นั้นใสสะอาด ไม่ขุ่นมัว บริสุทธิ์ เสมอด้วย

หยาดน้ำมันงาใส ข้อนี้สมดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า

ติลเตสสฺส ยถา พินฺทุ สปฺปิมณฺโฑ อนาวิไล

เอว วณฺณปฏิภาค กลลนฺติ ปวุจฺจติ

หยาดน้ำมันงา ใสเหมือนเนยใส

ไม่ขุ่นมัว ฉันใด ท่านกล่าวว่า กลลรูปมีส่วน

เปรียบด้วยรูปพรรณ ฉันนั้น.

ในสันตติรูปเล็กน้อยอย่างนี้ ยังมีสันตติรูปที่เป็นประธาน ๓ กลุ่ม คือ

วัตถุทสกะ ๑ กายทสกะ ๑ ภาวทสกะด้วยอำนาจอิตถินทรีย์ของหญิงและด้วย

อำนาจปุริสินทรีย์ของชาย ๑ บรรดาสันตติรูปทั้ง ๓ กลุ่มเหล่านั้น รูปนี้ คือ

วัตถุรูป ๑ มหาภูติรูป ๔ เป็นที่อาศัยของวัตถุรูปนั้น และวรรณะ คันธะ รสะ

โอชา รวม ๔ ที่อาศัยมหาภูตรูปนั้น และชีวิตรูป ๑ ชื่อว่า วัตถุทสกะ รูปนี้

คือ กายประสาท ๑ มหาภูตรูป ๔ ซึ่งเป็นที่อาศัยของกายประสาทนั้น วรรณะ

คันธะ รสะ โอชา ๔ ซึ่งอาศัยมหาภูตรูปนั้น และชีวิตรูป ๑ ชื่อว่า กายทสกะ

รูปนี้คือ อิตถีภาวะ ของหญิง และปุริสภาวะของชาย ๑ มหาภูตรูป ๔ ซึ่งเป็นที่

อาศัยภาวรูปนั้น วรรณะ คันธะ รสะ โอชา ๔ ซึ่งอาศัยมหาภูตรูปนั้น และชีวิต

รูป ๑ ชื่อว่า ภาวทสกะ. กรรมชรูป (รูปเกิดแต่กรรม) ในปฏิสนธิของคัพภ-

ไสยกสัตว์ กำหนดโดยสูงสุดมี ๓๐ ถ้วน ชื่อว่า รูปขันธ์ ด้วยประการฉะนี้.

ก็เวทนาที่เกิดพร้อมกับปฏิสนธิจิต ชื่อว่า เวทนาขันธ์ สัญญา ... ชื่อว่า

สัญญาขันธ์ สังขาร... ชื่อว่า สังขารขันธ์ ปฏิสนธิจิต ชื่อว่า

วิญญาณขันธ์ ขันธ์ ๕ ในขณะปฏิสนธิของคัพภไสยกสัตว์ เป็นสภาพ

บริบูรณ์แล้ว ด้วยประการฉะนี้ แต่ถ้า ปฏิสนธิของบัณเฑาะก์ (นุปสก-

ปฏิสนฺธิ) ย่อมลดภาวทสกะ มีกรรมชรูป ๒๐ ถ้วน ด้วยอำนาจทสกะทั้ง ๒

ชื่อว่า รูปขันธ์ ธรรมมีเวทนาขันธ์เป็นต้น มีประการตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ

ขันธ์ ๕ ในขณะปฏิสนธิของคัพภไสยกสัตว์ แม้อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้ ก็ชื่อว่า

บริบูรณ์แล้ว. ในฐานะนี้ บัณฑิตควรกล่าวประเพณีของรูปที่มีสมุฏฐาน

๓ ด้วย.