๖. ทุติยสีลสูตร ว่าด้วยศีลและทิฏฐิดี
โดย บ้านธัมมะ  9 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 40056

[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 201

ทุกนิบาต

วรรคที่ ๑

๖. ทุติยสีลสูตร

ว่าด้วยศีลและทิฏฐิดี


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 201

๖. ทุติยสีลสูตร

ว่าด้วยศีลและทิฏฐิดี

[๒๑๑] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ อัน กรรมของตนนำมาไว้ในสวรรค์ เหมือนเชิญมาไว้ฉะนั้น ธรรม ๒ ประการ เป็นไฉน คือ ศีลดี ๑ ทิฏฐิดี ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วย ธรรม ๒ ประการนี้แล อันกรรมของตนนำมาไว้ในสวรรค์ เหมือนเชิญมาไว้ ฉะนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

นรชนใดผู้มีปัญญา ประกอบด้วย ธรรม ๒ ประการนี้ คือ ศีลดี ๑ ทิฏฐิดี ๑ นรชนนั้น เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสวรรค์.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบทุติยสีลสูตรที่ ๖


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 202

อรรถกถาทุติยสีลสูตร

ในทุติยสีลสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ภทฺทเกน สีเลน ได้แก่ ปาริสุทธิศีล ๔ มีกายสุจริตเป็นต้น. จริงอยู่ ปาริสุทธิศีล ๔ นั้น เป็นความงามในตัวเอง เพราะไม่ต่างเป็นต้น และนำมาซึ่งคุณอันงามมีสมถะและวิปัสสนาเป็นต้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึง กล่าวว่า ภทฺทกํ (เจริญ). บทว่า ภทฺทิกาย ทิฏิยา ได้แก่กัมมัสสกตญาณ (ความรู้ว่า สัตว์มีกรรมเป็นของตน) และสัมมาทิฏฐิอันเป็นกรรมบถ.

ในบทนั้น บุคคลผู้ประกอบด้วยศีลอันเจริญ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปโยคะ ประกอบด้วยทิฏฐิอันเจริญ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอาสยะ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วย ปโยคะและอาสยะ เป็นผู้เข้าถึงสวรรค์ ด้วยประการฉะนี้. สมดังที่พระผู้มี พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบธรรมสองอย่าง เหล่านี้แล เป็นผู้อันกรรมของตนนำมาไว้ในสวรรค์ เหมือนเชิญมาไว้ฉะนั้น.

บทว่า สปฺปญฺโ คือ มีปัญญา. บทที่เหลือพึงรู้ได้ง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถาทุติยสีลสูตรที่ ๖