ความหมายของปฏิจจสมุปบาท [สัมพหุลภิกขุสูตร]
โดย wittawat  11 ธ.ค. 2554
หัวข้อหมายเลข 20138

     ความหมายของปฏิจจสมุปบาท คือ ความเป็นไปของสังสารวัฏฏ์ (โดยมีสภาพธรรมที่อาศัยกันและกันเป็นปัจจัยจึงเกิดขึ้น) เมื่อสิ่งนี้มี จึงมีสิ่งนี้ เช่น เมื่อมีอวิชชาก็มีการเกิด จะไม่มีไม่ได้ เป็นต้น

     เพราะอวิชชามี สังขารจึงมี เพราะความไม่รู้เป็นปัจจัย อภิสังขาร หมายถึง สภาพธรรมที่ปรุงแต่งอย่างยิ่ง คือ กรรม ได้แก่ อปุญญาภิสังขาร ปุญญาภิสังขาร และอาเนญชาภิสังขาร ซึ่งหมายถึงเจตนาเจตสิก ที่เป็นกุศลกรรมบถ หรืออกุศลกรรมบถจึงเกิด. 

     เพราะสังขารมี วิญญาณจึงมี โดยนัยที่ข้ามภพชาติ กุศลหรืออกุศลกรรมเป็นเหตุให้ปฏิสนธิจิตเกิดในภพต่อไป ที่ทุกคนมาที่นี่ก็เพราะกุศล หรืออกุศล และแม้กุศลหรืออกุศลก็เป็นปัจจัยให้วิบากจิตที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส กระทบสัมผัส เกิดต่อๆ ไปในระหว่างมีชีวิตอยู่.

     เพราะวิญญาณมี นามรูปจึงมี ซึ่งหากเกิดในภูมิที่เป็นขันธ์ ๕ โดยชลาพุชะกำเนิด (เกิดในครรภ์) ปฏิสนธิจิตก็ต้องเกิดพร้อมกับเจตสิกซึ่งเป็นประเภทเดียวกับจิตที่ทำให้เกิด และกัมมชรูป คือรูปที่ เกิดเพราะกรรม ๓  กลุ่ม  (หทยทสกกลาป ๑ ภาวทสกกลาป ๑ กายทสกกลาป ๑) .

     เพราะนามรูปมี สฬายตนะจึงมี เพราะนามรูป เป็นปัจจัย จึงมีอายตนะภายใน ๖  ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.

     เพราะสฬายตนะมี ผัสสะจึงมี เพราะมีรูป มีตา และมีจักขุวิญญาณประชุมกัน จึงมีจักขุสัมผัส  ทางหู  ทางจมูก เป็นต้น  ก็โดยนัยเดียวกัน   ซึ่งก็คือ ความจริงขณะนี้ สภาพธรรมที่มีขณะนี้มาจากไหน ก็มาจากอวิชชา คือ ความไม่รู้ เป็นปัจจัยสืบเนื่อง มาจากชาติก่อน จนเป็นชาตินี้ และชาติต่อๆ ไป

     อ่านข้อความเตือนสติ ทั้งหมดจากสัมพหุลภิกขุ สูตร..ข้อความเตือนสติเรื่องสัมพหุลภิกขุสูตร



ความคิดเห็น 1    โดย เมตตา  วันที่ 11 ธ.ค. 2554

ก็โดยนัยเดียวกัน ซึ่งก็คือ ความจริงขณะนี้ สภาพธรรมที่มีขณะนี้มาจากไหน ก็มาจากอวิชชา คือ ความไม่รู้ เป็นปัจจัยสืบเนื่อง มาจากชาติก่อน จนเป็นชาตินี้ และ ชาติต่อๆ ไป

...ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของ คุณwittawat ด้วยค่ะ...


ความคิดเห็น 2    โดย เมตตา  วันที่ 11 ธ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอเชิญคลิกอ่านเพิ่มได้ที่...

อวิชชาเกิดขึ้น เพราะอาสวะเกิดขึ้น [วิภังค์]

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านค่ะ...


ความคิดเห็น 3    โดย ผิน  วันที่ 12 ธ.ค. 2554

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ