พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 590
๖. กัจจานสูตร
ว่าด้วยอนุสสติสำหรับพระอริยสาวก
[๒๙๗] ณ ที่นั้นแล ท่านพระมหากัจจานะ เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น รับคำท่านพระมหากัจจานะแล้ว ท่านพระมหากัจจานะ ได้กล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์ไม่เคยมีมาแล้ว คือ
ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้รู้ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสรู้ถึงโอกาสได้ ในที่คับแคบ เพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกปริเทวะ เพื่อดับทุกข์ และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน การถึงโอกาสนี้ คือ อนุสสติ ๖ ...
แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 746
องฺคุตฺตรนิกายฏฺฐกถา (มโนรถปูรณี๓) - หน้าที่ 165
เล่มที่ ๑๕ อนุตฺตริยวคฺควณฺณนา หน้า ๑๖๕
ฉฏฺเฐ สมฺพาเธติ ปญฺจกามคุณสมฺพาเธ ฯ
โอกาสาธิคโมติ เอตฺถ โอกาสา วุจฺจนฺติฉ อนุสฺสติฏฺฐานานิ เตสํ อธิคโม ฯ
วิสุทฺธิยาติ วิสุชฺฌนตฺถาย ฯ
โสกปริเทวานํ สมติกฺกมายาติ โสกานญฺจ ปริเทวานญฺจ สมติกฺกมนตฺถาย (๑) ฯ
อตฺถงฺคมายาติ อตฺถํ คมนตฺถาย ฯ
ญายสฺส อธิคมายาติ สห วิปสฺสนกสฺส มคฺคสฺส อธิคมนตฺถาย ฯ
นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยายาติ อปจฺจยปรินิพฺพานสฺส ปจฺจกฺขกิริยตฺถาย ฯ
<๑. ม. สมติกฺกมตฺถาย ฯ>
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 593
บทว่า สมฺพาเธ ความว่า ในที่ๆ แออัดไปด้วยกามคุณทั้ง ๕.
อนุสสติ ๖ ท่านเรียกว่า โอกาส ในบทว่า โอกาสาธิคโม นี้. การบรรลุเหตุแห่งอนุสสติ ๖ เหล่านั้น.
บทว่า วิสุทฺธิยา ความว่า เพื่อประโยชน์แก่ความบริสุทธิ์.
บทว่า โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย ความว่า เพื่อประโยชน์แก่การก้าวล่วง ซึ่งความเศร้าโศก และความรำพัน.
บทว่า อตฺถงฺคมาย ความว่า เพื่อถึงความดับสูญ.
บทว่า ญายสฺส อธิคมาย ความว่า เพื่อประโยชน์แก่การบรรลุมรรค พร้อมด้วยวิปัสสนาเบื้องต้น.
บทว่า นิพฺพานาย สจฺฉิกิริยาย ความว่า เพื่อประโยชน์แก่การทำให้ประจักษ์ ซึ่งพระปรินิพพาน อันหาปัจจัยมิได้.
สรุป
>>ในหมวดที่หก ท่านกล่าวว่า 'สมฺพาเธ' หมายถึง ความคับแคบที่เกิดจากปัญจกามคุณ.
>>ในบทว่า โอกาสาธิคโม นี้ คำว่า โอกาส หมายถึงฐานที่ตั้งแห่งอนุสสติ ๖ การบรรลุถึงฐานเหล่านั้น (เตสํ = ของฐานเหล่านั้น, อธิคโม = การบรรลุ) ชื่อว่า โอกาสาธิคโม . (โอกาสาธิคโม = โอกาส {โอกาส, ที่ตั้ง, ช่องทาง} + อธิคโม {การเข้าถึง, การบรรลุ})
>> บทว่า วิสุทฺธิยา หมายถึง เพื่อประโยชน์ในการทำให้บริสุทธิ์.
>> บทว่า โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย ความว่า เพื่อประโยชน์แก่การก้าวล่วง ซึ่งความเศร้าโศก และความรำพัน
>> บทว่า อตฺถงฺคมาย ความว่า เพื่อประโยชน์ในการถึงความดับ.
>> บทว่า ญายสฺส อธิคมาย ความว่า เพื่อประโยชน์ในการบรรลุมรรค ซึ่งประกอบพร้อมด้วยวิปัสสนา (สหวิปสฺสนก = ซึ่งประกอบพร้อมด้วยวิปัสสนา, มคฺคสฺส = ของมรรค) .
>> บทว่า นิพฺพานาย สจฺฉิกิริยาย ความว่า เพื่อประโยชน์ในการทำให้ประจักษ์ (ปจฺจกฺขกิริยา = การทำให้เห็นประจักษ์) ซึ่งนิพพาน อันปราศจากปัจจัย (อปจฺจยปรินิพฺพานสฺส -> อปจฺจย = ปราศจากปัจจัย, ปรินิพฺพาน = การดับสนิท/นิพพาน, สฺส = ของ) .
-> อนุสติ ๖ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่าเป็นสมถภาวนาที่เป็นวิหารธรรมส่วนใหญ่ของพระอริยสาวก ซึ่งไม่ใช่อานาปานสติ หรือสมถภาวนาประเภทอื่นๆ เพราะพระอริยสาวกส่วนใหญ่ คือ พระโสดาบัน มีมากกว่าพระอรหันต์
-> ความคับแคบด้วยกามคุณทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ทำให้ชีวิตประจำวันส่วนใหญ่เป็นไปในอกุศลที่กลุ้มรุม และไม่พ้นไปจากนิวรณ์ ๕ เพราะฉะนั้นเป็นพระคุณอันสูงสุด ที่ทรงแสดงธรรม ที่เป็นโอกาส หรือ ช่องทาง หรือฐาน หรือเหตุ ให้ กุศลเกิดขึ้นท่ามกลางอกุศล ได้
-> ผู้ที่เข้าใจว่าสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา เป็นการเจริญภาวนาที่แยกคนละส่วนกัน แต่แท้จริงแล้วเป็นเรื่องเดียวกัน เช่น ในขณะนี้กำลังมีความจริงปรากฏ การฟังที่สะสมมาเป็น
ปัจจัยให้สติเกิดขึ้นระลึกถึงลักษณะของสภาพธรรมตามเป็นจริงได้ และต่อจากนั้นสามารถที่จะระลึกถึงพระปัญญาคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ด้วยเช่นกัน ว่าแม้เพราะเหตุนี้ ทรงเป็นผู้จำแนกธรรม (ภควา) เป็นต้น ขณะนั้นเป็นสมถภาวนาประเภทพุทธานุสติที่เกิดได้ต่อจากวิปัสสนาภาวนา ตามที่ท่านพระมหากัจจายนเถระแสดงไว้ว่า น่าอัศจรรย์นัก ไม่เคยมีมาแล้ว เป็นการสรรเสริญปัญญาคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพุทธานุสติด้วยเช่นกัน
กราบอนุโมทนา