กิเลสมีกี่ชนิด : โลภะ โทสะ โมหะ เป็นกิเลสประเภทใด : กิเลส ตัณหา อุปาทาน สามอย่างนี้ รวมกันเรียกว่าอะไร : ตัดกิเลสได้ ย่อมตัด ตัณหา อุปาทาน ได้ ทำไมหรือ : ในจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานในข้อแรกใช้ขึ้นต้นด้วย จิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ เพราะเหตุใดจึงไม่ใช้ว่าจิตมีโลภะก็รู้ว่าจิตมีโลภะ
ธรรมที่เป็นกิเลส พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้มี ๑๐ ประเภท คือ โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ
แต่อกุศลธรรม ทรงจำแนกเป็นหลายหมวด เช่น อาสวะ โอฆะ คันถะ อุปาทาน นิวรณ์ สังโยชน์ เป็นต้น
กิเลส ตัณหา อุปาทาน สามอย่างนี้เป็นอกุศลธรรม
เมื่อดับกิเลสได้เป็นสมุจเฉท เป็นอันว่าดับอกุศลธรรมประเภทอื่นๆ ด้วยเช่นกัน
ในมหาสติปัฏฐานสูตร จิตตานุปัสสนา ที่ว่าจิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ ราคะในที่นี้ คือ โลภะนั่นเอง เพราะโลภะมีชื่อหลายชื่อ เช่น กามราคะ ฉันทราคะ นันทิราคะ รูปราคะ ตัณหา เป็นต้น ใช้คำไหนก็ได้ตามความเหมาะสม แต่เป็นที่ทราบกันว่า หมายถึง โลภเจตสิก
เชิญคลิกอ่าน ...
ธรรมเป็นกิเลส [ธรรมสังคณี]
ตัณหาในนิโรธ [คือราคะที่สหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ] ความหมายคืออย่างไรครับ
นิโรธ ตัวนี้ไม่ใช่นิโรธในอิรยสัจจ์ ๔ ใช่หรือเปล่าครับ
ตัณหาในนิโรธ
ในที่นี้เป็นโลภะที่เกิดกับความเห็นผิด คือ เห็นว่าขาดสูญ ตายแล้วสูญ
นิโรธในที่นี้ หมายถึง ความดับ ความขาดสูญ ไม่ใช่นิโรธในอริยสัจจ์ ๔
อนุโมทนาค่ะ
เนื่องจากอยากทราบความแตกต่างระหว่างกิเลสกับตัณหา เลยลองค้นจากคำชื่อเรื่องค่ะๆ ได้ความเข้าใจมากจากกิเลส ๑๐ ค่ะ คือ อยากทราบความหมายของคำต่างๆ เสมอ เนื่องจากคิดเอาว่าที่ทรงใช้คำต่างน่าจะมีเหตุผลค่ะ
ขอบคุณทั้งท่านที่ถามและขอบคุณท่านที่ตอบโดยกรุณาค้นให้อย่างดีเสมอ
สาธุ
สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ และขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งค่ะ
สาธุ ขออนุโมทนาฯ
ขออนุโมทนาครับ