๓. ปูติมุขเปตวัตถุ ว่าด้วยสํารวมกายแต่ไม่สํารวมวาจา
โดย บ้านธัมมะ  17 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 40346

[เล่มที่ 49] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 22

๓. ปูติมุขเปตวัตถุ

ว่าด้วยสํารวมกายแต่ไม่สํารวมวาจา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 49]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 22

๓. ปูติมุขเปตวัตถุ

ว่าด้วยสำรวมกายแต่ไม่สำรวมวาจา

ท่านพระนารทะถามเปรตตนหนึ่งว่า

[๘๘] ท่านมีผิวพรรณงามดังทิพย์ ยืนอยู่ในอากาศกลางหาว แต่ปากของท่านมีกลิ่นเหม็น หมู่หนอนพากันไชชอนอยู่ เมื่อก่อนท่านทำกรรมอะไรไว้.

เปรตนั้นตอบว่า

เมื่อก่อนข้าพเจ้าเป็นสมณะลามก มีวาจาชั่วช้ายิ่งนัก ผู้มักกำจัด (สำรวมกายเป็นปกติ) ไม่สำรวมปาก อนึ่ง ผิวพรรณดังทองข้าพเจ้าได้แล้ว เพราะพรหมจรรย์นั้น แต่ปากของข้าพเจ้าเหม็นเน่า เพราะกล่าววาจาส่อเสียด ข้าแต่ท่านพระนารทะ รูปของข้าพเจ้านี้ท่านเห็นเองแล้ว ท่านผู้ฉลาดผู้อนุเคราะห์กล่าวไว้ว่า ท่านอย่าพูดส่อเสียดและอย่าพูดมุสา ถ้าท่านละคำส่อเสียดและคำมุสาแล้ว สำรวมวาจา ท่านจักเป็นเทพเจ้าผู้สมบูรณ์ด้วยสิ่งที่น่าใคร่.

จบ ปูติมุขเปตวัตถุที่ ๓


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 23

อรรถกถาปูติมุขเปตวัตถุที่ ๓

เมื่อพระศาสดา ประทับอยู่ที่เวฬุวันกลันทกนิวาปวิหาร พระองค์ทรงปรารภเปรตผู้มีปากเน่า จึงตรัสคำเริ่มต้นว่า นิพฺพํ สุภํ ธาเรสิ วณฺณธาตุํ ดังนี้.

ได้ยินว่า ในอดีตกาล ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า กัสสปะ ยังมีกุลบุตร ๒ คน บวชในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สมบูรณ์ด้วยศีลและอาจาระ มีความประพฤติขัดเกลา อยู่โดยความพร้อมเพรียงกัน ในอาวาสใกล้บ้าน ตำบลหนึ่ง. ลำดับนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีอัธยาศัยชั่ว ชอบส่อเสียด เข้าไปยังสถานที่ที่อยู่ของภิกษุ ๒ รูปนั้น. พระเถระทำปฏิสันถารกับเธอ ให้ที่พัก ในวันที่ ๒ จึงพาเธอเข้าไปยังบ้านเพื่อบิณฑบาต. พวกมนุษย์เห็นท่านเหล่านั้นแล้วทำการนอบน้อมอย่างยิ่งในพระเถระเหล่านั้น ได้ต้อนรับด้วยอาหารมีข้าวยาคูและภัตรเป็นต้น. เธอเข้าไปยังวิหารคิดว่า "โคจรคามนี้ดีหนอ. และพวกมนุษย์ก็มีศรัทธาเลื่อมใส ถวายบิณฑบาตแสนจะประณีต. ก็วิหารนี้สมบูรณ์ด้วยร่มเงาและน้ำ เราสามารถจะอยู่ในที่นี้ได้อย่างสบาย แต่เมื่อภิกษุเหล่านี้อยู่ในที่นี้เราก็จักอยู่ไม่สบาย จักอยู่เหมือนจะอยู่อย่างอันเตวาสิก เอาเถอะ เราจักทำโดยที่ภิกษุเหล่านี้แตกจากกันแล้ว ไม่ได้อยู่ในที่นี้ต่อไป.

ภายหลังวันหนึ่ง เมื่อพระมหาเถระให้โอวาทแก่ภิกษุทั้ง ๒ รูป แล้ว เข้าไปยังที่พักของตน ภิกษุมักส่อเสียด ยับยั้งอยู่ชั่วเวลาหนึ่ง


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 24

จึงเข้าไปหาพระมหาเถระ. ไหว้แล้ว และเมื่อพระเถระถามว่า ทำไมคุณมาผิดกาลเวลา จึงตอบว่า ครับ ผมมีเรื่องที่จะพูดอยู่อย่างหนึ่ง พระเถระจึงอนุญาตว่า เล่าไปซิคุณ จึงเรียนว่า ท่านครับ พระเถระผู้เป็นสหายของท่านนั่น ต่อหน้า (ท่าน) แสดงตนเหมือนเป็นมิตร พอลับหลังก็กล่าวให้ร้ายคล้ายศัตรู. ถูกพระเถระถามว่า เขาพูดว่าอย่างไร จึงเรียนว่า ฟังนะครับ พระมหาเถระรูปนั่นกล่าวโทษท่านว่า เป็นผู้โอ้อวด มีมายา หลอกลวง เลี้ยงชีพด้วยมิจฉาชีพ. พระเถระตอบว่า อย่าพูดอย่างนั้นซิคุณ, ภิกษุรูปนั้นจักไม่ว่าเราถึงอย่างนั้น ตั้งแต่เวลาเป็นคฤหัสถ์มาแล้ว เธอรู้สภาวะของเราว่า มีศีลเป็นที่รัก มีกัลยาณธรรม. ภิกษุนั้นกล่าวว่า ท่านครับ ถ้าท่านคิดอย่างนั้น เพราะค่าที่ตนมีจิตบริสุทธิ์ ข้อนั้นเหมาะแก่ท่านทีเดียว แต่ผมก็ไม่มีเวรกับพระมหาเถระนั้น ทำไมผมจึงจะได้กล่าวคำที่พระมหาเถระไม่กล่าวว่ากล่าว ช่างเถอะ ท่านเองนั่นแหละ จักรู้ในเวลาต่อไป. ฝ่ายพระเถระเกิดสองอกสองใจ เพราะค่าที่ตนเป็นปุถุชน เกิดมีความรังเกียจว่า เห็นที่จะเป็นอย่างนั้น จึงได้คลายความไว้วางใจไปหน่อยหนึ่ง. ภิกษุนั้นเป็นคนพาล ชั้นแรกยุยงพระมหาเถระแล้ว ไปยุยงพระเถระอีกรูปหนึ่ง โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. ลำดับนั้น พระเถระทั้งสองนั้น ในวันที่ ๒ ไม่ได้พูดกัน ต่างถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตในบ้าน ถือ บิณฑบาตมาฉันในที่พักของตนนั่นเอง แม้มาตรว่าสามีจิกรรมก็ไม่ยอมทำ ตลอดวันนั้น อยู่ในที่นั้นนั่นแหละ และพอราตรีสว่าง


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 25

ไม่ยอมบอกกันและกันเลย ได้แยกกันไปสู่ที่ที่ตามความสำราญ.

ก็ภิกษุผู้มักรังเกียจ มีมโนรถเต็มเปี่ยม เข้าไปบิณฑบาตยังบ้าน พวกมนุษย์เห็นเข้า พากันกล่าวว่า พระเถระทั้งหลายพากันไปไหนเสียครับ. ภิกษุนั้นกล่าวว่า พระเถระทั้งสองทะเลาะกันและกันตลอดคืนยังรุ่ง ถึงอาตมาจะเตือนว่า อย่าทะเลาะกันเลยครับ จงสามัคคีกันไว้เถิด ขึ้นชื่อว่า การทะเลาะกันมีแต่จะนำความพินาศมาให้ ก่อให้เกิดความทุกข์ในอนาคต เป็นทางแห่งอกุศล แม้คนสมัยก่อนก็เคยพลาดจากประโยชน์ใหญ่ เพราะการทะเลาะกัน ดังนี้ เป็นต้น ก็ไม่เชื่อคำของอาตมา พากันหลีกไป. ลำดับนั้น พวกมนุษย์วิงวอนว่า ขอพระเถระจงไปก่อนเถอะ แต่ท่านอย่ารำคาญอยู่ในที่นี้แหละ เพื่ออนุเคราะห์พวกกระผม. ท่านรับคำแล้วอยู่ในที่นั้นนั่นเอง ต่อมา ๒ - ๓ วัน จึงคิดว่า เรายุยงภิกษุทั้งหลายผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม ด้วยอยากเป็นเจ้าอาวาส เราขวนขวายแต่กรรมชั่วไว้มากหนอ จึงถูกความเดือดร้อนอย่างแรงกล้าเข้าครอบงำ เป็นไข้เพราะกำลังแห่งความเศร้าโศก ไม่นานนักก็มรณภาพ บังเกิดในอเวจีมหานรก.

ฝ่ายพระเถระผู้เป็นสหายกัน ๒ รูป เที่ยวจาริกไปในชนบท มาพบกันในอาวาสแห่งหนึ่ง จึงปราศรัยกันและกัน จึงบอกคำยุยงที่ภิกษุนั้นพูดแก่กันและกัน รู้ว่าเรื่องนั้นไม่เป็นจริง จึงได้พร้อมกันกลับมายังอาวาสนั้นนั่นแลโดยลำดับ. พวกมนุษย์เห็นพระเถระทั้ง ๒ รูปแล้ว พากันปลื้มใจ เกิดความดีใจ อุปัฏฐากด้วยปัจจัย ๔. ก็พระเถระทั้ง ๒ รูป เมื่ออยู่ในที่นั้นนั่นแหละ มีจิตเป็นสมาธิ เพราะ


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 26

ได้อาหารอันเป็นสัปปายะ เจริญวิปัสสนาแล้ว ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหันต์.

ภิกษุผู้มักส่อเสียด ไหม้ในนรกตลอดพุทธันดรหนึ่ง ในพุทธุปบาทกาลนี้ เกิดเป็นเปรตปากเน่า ไม่ไกลแต่กรุงราชคฤห์. กายของเขาได้มีสีเหมือนทองคำ. แต่หนอนไต่ออกจากปาก พากันเจาะกินปากข้างโน้นข้างนี้. กลิ่นปากของเปรตนั้นเหม็นฟุ้งขจายไปทั่วอากาศตั้งไกล.

ลำดับนั้น ท่านนารทะ ขณะลงจากเขาคิชฌกูฏ พบเปรตนั้น จึงถามถึงกรรมที่เธอกระทำไว้ ด้วยคาถานี้ว่า :-

ท่านมีผิวพรรณงามดังทิพย์ ยืนอยู่ในอากาศกลางหาว แต่ปากของท่านมีกลิ่นเหม็น หมู่หนอนพากันชอนไชอยู่ เมื่อก่อนท่านทำกรรมอะไรไว้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิพฺพํ แปลว่า เป็นทิพย์ คือนับเนื่องจากอัตตภาพของเทวดา. แต่ในที่นี้ชื่อว่าทิพย์ เพราะเป็นเหมือนของทิพย์. บทว่า สุภํ แปลว่า งาม, หรือ ความงาม. บทว่า วณฺณธาตุํ ได้แก่ ผิวพรรณ. บทว่า ธาเรสิ แปลว่า นำไป. บทว่า เวหายสํ ติฏฺสิ อนฺตลิกฺเข ได้แก่ ยืนอยู่ในกลางหาว ที่เข้าใจกันว่า อากาศ. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวปาฐะว่า วิหายสํ ติฏสิ อนฺตลิกฺเข ดังนี้ แล้วกล่าวความของปาฐะนั้น โดยคำที่เหลือว่า ท่านยืนอยู่กลางหาว ทำอากาศให้สว่างไสวอยู่. บทว่า ปูคิคนฺธํ แปลว่า มีกลิ่น


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 27

เหมือนทรากศพ อธิบายว่า มีกลิ่นเหม็น. ด้วยบทว่า กึ กมฺมมกาสิ ปุพฺเพ นี้ พระเถระถามว่า "หมู่หนอนชอนไชปากซึ่งมีกลิ่นเหม็นอย่างยิ่งของเธอ, แต่กายของเธอมีสีเหมือนดังทองคำ ครั้งก่อน เธอได้ทำกรรมเช่นไรอันเป็นเหตุแห่งอัตตภาพเช่นนี้ไว้.

เปรตนั้น ถูกพระเถระถามถึงกรรมที่ตนทำอย่างนี้ เมื่อจะแก้ความนั้น จึงกล่าวคาถานี้ว่า :-

เมื่อก่อนข้าพเจ้าเป็นสมณะลามก มีวาจาชั่วช้ายิ่งนัก เป็นผู้มักกำจัด ไม่สำรวมปาก อนึ่ง ผิวพรรณดังทองข้าพเจ้าได้แล้ว เพราะพรหมจรรย์นั้น แต่ปากของข้าพเจ้าเหม็น เพราะกล่าววาจาส่อเสียด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมโณ อหํ ปาโป ได้แก่ เราได้เป็นสมณะลามก คือเป็นภิกษุลามก. บทว่า อติทุฏฺวาโจ แปลว่า เป็นผู้มีคำพูดชั่วช้ายิ่งนัก เป็นผู้กล่าวล่วงเกินผู้อื่น อธิบายว่า เป็นผู้กล่าวกำจัดคุณของคนอื่น. อีกอย่างหนึ่ง บาลีว่า อติทุกฺขวาโจ ก็มี, อธิบายว่า ผู้มีวาจาหยาบคายอย่างยิ่ง คือ ยินดีแต่วจีทุจริต มีการกล่าวเท็จและกล่าวส่อเสียด เป็นต้น. บทว่า ตปสฺสิรูโป แปลว่า เป็นสมณะเทียม. บทว่า มุขสา ได้แก่ ด้วยปาก. บทว่า ลทฺธา ได้แก่ ได้เฉพาะแล้ว. จ อักษร เป็นสัมปิณฑนัตถะ แปลว่า อนึ่ง บทว่า เม แก้เป็น มยา แปลว่า อันเรา. บทว่า ตปสา ได้แก่ ด้วยพรหมจรรย์. บทว่า เปสุณิเยน ได้แก่ ด้วยปิสุณวาจา. บทว่า


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 28

ปูติ ได้แก่ มีกลิ่นเหม็นเน่า.

เปรตนั้น ครั้นบอกกรรมที่ตนได้ทำไว้อย่างนั้นแล้ว บัดนี้ เมื่อจะตักเตือนพระเถระ จึงกล่าวคาถาสุดท้ายว่า :-

ข้าแต่ท่านพระนารทะ รูปร่างของข้าพเจ้า ท่านได้เห็นเองแล้ว ท่านผู้ฉลาดผู้อนุเคราะห์กล่าวไว้ว่า ท่านอย่าพูดส่อเสียด และอย่าพูดมุสา สำรวมด้วยวาจาแล้ว ท่านจักได้เป็นเทพเจ้า ผู้สมบูรณ์ด้วยสิ่งที่น่าปรารถนา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตยิทํ แปลว่า รูปร่างของเรานี้นั้น. บทว่า อนุกมฺปกา เย กุสลา วเทยฺยํ ความว่า ท่านผู้ฉลาดในข้อปฏิบัติอันเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น คือ ผู้ละเอียด มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ผู้มีการอนุเคราะห์เป็นปกติ คือ ผู้ประกอบด้วยพระกรุณา กล่าวคำอันใดไว้ อธิบายว่า เราจะกล่าวคำอันนั้นนั่นแล. บัดนี้ เปรตนั้นเมื่อจะตักเตือน จึงกล่าวว่า ท่านอย่าพูดส่อเสียด และอย่าพูดมุสา สำรวมด้วยวาจาแล้ว ท่านจักได้เป็นเทพเจ้าผู้สมบูรณ์ด้วยสิ่งที่น่าปรารถนา ดังนี้.

คำนั้น มีอธิบายดังนี้ ท่านอย่าพูด คืออย่ากล่าวคำส่อเสียด คือ คำยุยง ละคำเท็จ. ก็ถ้าท่านละมุสาวาทและปิสุณวาจาได้แล้ว สำรวมด้วยวาจา ท่านจักเป็นอันเขาบูชา หรือเป็นเทพองค์ใดองค์หนึ่งผู้ได้ทิพยสมบั ที่โอฬารอันน่าใคร่น่าปรารถนาแล้ว


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 29

ใคร่ในทิพยสมบัตินั้น คืออภิรมย์อยู่ด้วยการบำเรออินทรีย์ตามความสบาย.

พระเถระได้ฟังดังนั้นแล้ว แต่นั้นจึงไปยังกรุงราชคฤห์ เที่ยวบิณฑบาต กลับจากบิณฑบาตภายหลังอาหาร จึงกราบทูลความนั้นแด่พระศาสดา. พระศาสดาทรงกระทำเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปบัติเหตุแล้วแสดงธรรม. พระเทศนานั้นได้มีประโยชน์แก่บริษัทผู้ถึงพร้อมแล้วแล.

อรรถกถาปูติมุขเปตวัตถุที่ ๓