[เล่มที่ 24] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 257
๘. เชตวนสูตร
ว่าด้วยสัตว์บริสุทธิ์ด้วยธรรม ๕
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 24]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 257
๘. เชตวนสูตร
ว่าด้วยสัตว์บริสุทธิ์ด้วยธรรม ๕
[๑๔๗] เทวดากราบทูลว่า
ก็พระเชตวันมหาวิหารนี้นั้น อันหมู่แห่งท่านผู้แสวงคุณอยู่อาศัยแล้ว อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นพระธรรมราชาประทับอยู่แล้ว เป็นแหล่งที่เกิดปีติของข้าพระองค์ กรรม ๑ วิชชา ๑ ธรรม ๑ ศีล ๑ ชีวิตอันอุดม ๑ สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ด้วยคุณธรรม ๕ นี้ หาบริสุทธิ์ด้วยโคตรหรือด้วยทรัพย์ไม่. เพราะเหตุนั้นแหละ คนผู้ฉลาด เมื่อเห็นประโยชน์ของตน ควรเลือกเฟ้นธรรมโดยอุบายอันแยบคาย เพราะเมื่อเลือกเฟ้นเช่นนี้ ย่อมหมดจดได้ในธรรมเหล่านั้น.
พระสารีบุตรรูปเดียวเท่านั้น (เป็นผู้ประเสริฐ) ด้วยปัญญา ศีล และความสงบ ภิกษุใดเป็นผู้ถึงซึ่งฝั่ง ภิกษุนั้นก็มีท่านพระสารีบุตรนั้นเป็นเยี่ยม.
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 258
อรรถกถาเชตวนสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในเชตวนสูตรที่ ๘ ต่อไป :-
ในบทว่า อิทํ หิ ตํ เชตวนํ ความว่า อนาถบิณฑิกเทวบุตรมากล่าวอย่างนี้ เพื่อชมเชยพระเชตวันและพระอริยบุคคลทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น.
บทว่า อิสิสํฆนิเสวิตํ ได้แก่ อันหมู่แห่งภิกษุอยู่อาศัยแล้ว.
อนาถบิณฑิกเทวบุตรนั้น ครั้นกล่าวชมเชยพระเชตวันด้วยคาถาที่หนึ่งอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะกล่าวถึงอริยมรรค จึงกล่าวคำว่า กมฺมํ วิชฺชา เป็นต้น แปลความว่า
กรรม ๑ วิชชา ๑ ธรรม ๑ ศีล ๑ ชีวิตอันอุดม ๑ สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ด้วยคุณธรรม ๕ นี้ หาได้บริสุทธิ์ด้วยโคตรหรือด้วยทรัพย์ไม่.
เหตุนั้นแหละ คนผู้ฉลาดเมื่อเห็นประโยชน์ของตนควรเลือกเฟ้นธรรมโดยอุบายอันแยบคาย เลือกเฟ้นเช่นนี้ ย่อมหมดจดในธรรมเหล่านั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กมฺมํ ได้แก่ มรรคเจตนา.
บทว่า วิชฺชา ได้แก่ มรรคปัญญา.
บทว่า ธมฺโม ได้แก่ ธรรมทั้งหลายอันเป็นฝ่ายสมาธิ.
บทว่า สีลํ ชีวิตมุตฺตมํ อธิบายว่า เทวดานั้นย่อมแสดงชีวิตอันสูงสุดของบุคคลผู้ตั้งอยู่ในศีล.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า วิชฺชา ได้แก่
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 259
สัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะ.
บทว่า ธมฺโม ได้แก่ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ.
บทว่า สีลํ ได้แก่ สัมมาวาจา และสัมมากัมมันตะ.
บทว่า ชีวิตมุตฺตมํ ได้แก่ ชีวิตของผู้ตั้งอยู่ในศีลนี้เป็นชีวิตสูงสุด.
บทว่า เอเตน มจฺจา สุชฺฌนฺติ ความว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยมรรคอันประกอบด้วยองค์แปดนี้.
บทว่า ตสฺมา ความว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ด้วยมรรค เหตุใด เพราะเหตุนั้น สัตว์ทั้งหลายย่อมไม่บริสุทธิ์ได้ด้วยโคตร และด้วยทรัพย์.
บทว่า โยนิโส วิจิเน ธมฺมํ อธิบายว่า พึงวินิจฉัยธรรมอันเป็นฝ่ายสมาธิโดยอุบาย.
บทว่า เอวํ ตตฺถ วิสุชฺฌติ ได้แก่ เลือกธรรมนั้นอย่างนี้ย่อมหมดจดได้ด้วยอริยมรรค.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า โยนิโส วิจิเน ธมฺมํ ได้แก่ พึงวินิจฉัยธรรม ๕ กองโดยอุบาย.
บทว่า เอวํ ตตฺถ วิสุชฺฌติ ได้แก่ ย่อมบริสุทธิ์ในสัจจะ ๔ เหล่านั้นได้อย่างไร.
บัดนี้ อนาถบิณฑิกเทวบุตรนั้น เมื่อจะกล่าวชมเชยพระสารีบุตรเถระจึงกล่าวคำว่า สาริปุตฺโตว เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาริปุตฺโตว นี้เป็นคำกล่าวถึงตำแหน่ง อธิบายว่า อนาถบิณฑิกเทวบุตรนั้นย่อมกล่าวว่าพระสารีบุตรเท่านั้น เป็นผู้ประเสริฐสุดด้วยธรรมเหล่านี้ มีปัญญา เป็นต้น.
บทว่า อุปสเมน ได้แก่ ความสงบจากกิเลส.
บทว่า ปารคโต แปลว่า ผู้ถึงพระนิพพาน.
อธิบายว่า เทวดานั้นย่อมกล่าวว่า ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งบรรลุพระนิพพาน ภิกษุนั้นเป็นเยี่ยม คือว่า ชื่อว่า เยี่ยมกว่าพระสารีบุตรเถระ ย่อมไม่มี ดังนี้.
คำที่เหลือมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาเชตวนสูตรที่ ๘