[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 307
เถราปทาน
ติมิรปุปผิยวรรคที่ ๙
นิปันนัญชลิกเถราปทานที่ ๓ (๘๓)
ว่าด้วยผลแห่งการประนมอัญชลีด้วยจิตเลื่อมใส
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 307
นิปันนัญชลิกเถราปทานที่ ๓ (๘๓)
ว่าด้วยผลแห่งการประนมอัญชลีด้วยจิตเลื่อมใส
[๘๕] เราเป็นไข้หนักนั่งอยู่ที่โคนไม้ในป่าชัฏใหญ่ เป็นผู้ควร ได้รับความกรุณาอย่างยิ่ง.
พระศาสดาพระนามว่าติสสะ ทรงอนุเคราะห์เสด็จมาหา เรา เรานั้นนอนอยู่ ได้ประนมอัญชลีเหนือเศียรเกล้า.
เรามีจิตเลื่อมใส มีจิตโสมนัส ถวายบังคมพระสัมพุทธเจ้า ผู้สูงสุดกว่าสรรพสัตว์ แล้วได้ทำกาละ ณ ที่นั้น.
ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราถวายบังคมพระพุทธเจ้าผู้อุดม บุรุษ ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการ ถวายบังคม.
ในกัปที่ ๕ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕ ครั้ง มีพระนามว่า มหาสิขะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ. มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระนิปันนัญชลิกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล.
จบนิปันนัญชลิกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 308
๘๓. อรรถกถานิปันนัญชลิกเถราปทาน
อปทานของท่านพระนิปันนัญชลิกเถระ มีคำเริมต้นว่า รุกขมูเล นิสินฺโนหํ ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญกุศลสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้นๆ ในกาลแห่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าติสสะ เจริญวัยแล้วบวชบำเพ็ญรุกขมูลิกังคธุดงค์อยู่ในป่า. สมัยนั้นอาพาธกล้าเกิดขึ้น ท่านถูกอาพาธนั้นบีบคั้น เป็นผู้น่าสงสารอย่างยิ่ง. ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จไป ณ ที่นั้น ด้วยมีพระกรุณาแก่ท่าน. ขณะนั้นท่านนอนอยู่นั่นแล ไม่สามารถจะลุกได้ จึงประคองอัญชลีเหนือเศียรแล้ว ได้กระทำการนอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า. ท่านจุติจากอัตภาพนั้นแล้วเกิดในภพชั้นดุสิต เสวยสมบัติใน ภพนั้น แล้วเสวยสมบัติในชั้นกามาวจรสวรรค์ ๖ ชั้นด้วยอาการอย่างนี้ ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว เลื่อมใสในพระศาสดา บวชแล้วไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์. ด้วย อำนาจบุญกรรมที่ตนทำไว้ในกาลก่อน ท่านจึงปรากฏโดยนามว่า นิปันนัญชลิกถระ ดังนี้.
ครั้นภายหลัง ท่านตรวจดูบุญสมบัติของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะ ประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า รุกฺขมูเล นิสินฺโนหํ ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ชื่อว่า รุกขะ เพราะงอกคือ ชูขึ้นเบื้องบนๆ อธิบายว่า ที่โคนคือที่ใกล้แห่งควงต้นไม้นั้น. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 309
พฺยาธิโต ปรเมน จ ความว่า ถูกโรคคือพยาธิอย่างแรงกล้าอย่างยิ่ง เบียดเบียน คือเราประกอบด้วยพยาธิ. บทว่า ปรมการฺุปฺปตโตมฺหิ เชื่อมความว่า เป็นผู้ถึงความน่าสงสาร ความเข็ญใจ ความทุกข์ยากอย่างยิ่ง ในป่านั้น.
บทว่า ปญฺเจวาสุํ มหาสิขา ความว่า มวยผมท่านเรียกว่า สิขา เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องประดับศีรษะ อธิบายว่า สิขะ เพราะท่านมี มกุฎโชติช่วงด้วยแก้วมณี ท่านเป็นจักรพรรดิ ๕ ครั้ง มีพระนาม อย่างเดียวกันว่า จักรพรรดิ. คำที่เหลือในบททั้งปวงมีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.
จบนิปันนัญชลิกเถราปทาน