วรรคที่ ๓ กถาวัตถุ มหาปัณณาสก์
โดย บ้านธัมมะ  17 ก.พ. 2565
หัวข้อหมายเลข 42090

[เล่มที่ 80] พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑

พระอภิธรรมปิฏก เล่มที่ ๔

กถาวัตถุ ภาคที่ ๑

มหาปัณณาสก์

วรรคที่ ๓

พลกถาและอรรถกถา 696/576

อริยันติกถาและอรรถกถา 720/589

วิมุจจติกถาและอรรถกถา 738/605

วิมุจจมานกถาและอรรถกถา 754/611

อัฏฐมกกถาและอรรถกถา 763/619

อัฏฐมกัสส อินทรียกถาและอรรถกถา 779/629

ทิพพจักขุกถาและอรรถกถา 795/637

ทิพพโสตกถาและอรรถกถา 809/644

ยถากัมมูปคตญาณกถาและอรรถกถา 820/648

สังวรกถาและอรรถกถา 828/654

อสัญญกถาและอรรถกถา 838/661

เนวสัญญานาสัญญายตนกถาและอรรถกถา 852/668


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 80]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 576

วรรคที่ ๓

พลกถา

[๖๙๖] ส. สกวาที กำลังพระตถาคตทั่วไปแก่พระสาวก หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. กำลังของพระตถาคต ก็คือ กำลังของพระสาวก กำลังของพระสาวก ก็คือ กำลังของพระตถาคต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๖๙๗] ส. กำลังของพระตถาคตทั่วไปแก่พระสาวก หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กำลังของพระตถาคตอันนั้น กำลังของพระสาวก ก็อันนั้นแหละ กำลังของพระสาวกอันนั้น กำลังของพระตถาคตก็อัน นั้นแหละ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๖๙๘] ส. กำลังของพระตถาคตทั่วไปแก่พระสาวก หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กำลังของพระตถาคตเช่นใด กำลังแห่งพระสาวก ก็เช่นนั้น กำลังแห่งพระสาวกเช่นใด กำลังของพระตถาคต ก็เช่นนั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 577

[๖๙๙] ส. กำลังของพระตถาคตทั่วไปแก่พระสาวก หรือ?.

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุรพประโยค บุรพจริยา การกล่าวธรรม การ แสดงธรรมแห่งพระตถาคต เช่นใด บุรพประโยค บุรพจริยา การ กล่าวธรรม การแสดงธรรม แห่งพระสาวกก็เช่นนั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๐๐] ส. กำลังของพระตถาคตทั่วไปแก่พระสาวก หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระตถาคต คือ พระชินะ พระศาสดา พระ- สัมมาสัมพุทธะ พระสัพพัญญู คือผู้รู้ธรรมทั้งปวง พระสัพพทัสสาวี คือ ผู้เห็นธรรมทั้งปวง พระธรรมสามี คือเจ้าแห่งธรรม พระธรรมปฏิ- สรณะ คือ ผู้มีธรรมเป็นที่อาศัย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสาวก ก็คือ พระชินะ พระศาสดา พระ- สัมมาสัมพุทธะ พระสัพพัญญู พระสัพพทัสสาวี พระธรรมสามี พระ- ธรรมปฏิสรณะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๐๑] ส. กำลังของพระตถาคตทั่วไปแก่พระสาวก หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระตถาคต เป็นผู้ยังมรรคที่ยังมิได้บังเกิดให้เกิด ขึ้น เป็นผู้ยังมรรคที่ยังมิได้ปรากฏให้ปรากฏขึ้น เป็นผู้กล่าวมรรคที่ใครๆ


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 578

มิเคยได้กล่าว เป็นผู้รู้มรรค เป็นผู้รู้แจ้งมรรค เป็นผู้ฉลาดในมรรค หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสาวก ก็เป็นผู้ยังมรรคที่ยังมิได้บังเกิดให้เกิด ขึ้น เป็นผู้ยังมรรคที่ยังมิได้ปรากฏให้ปรากฏขึ้นเป็นผู้กล่าวมรรคที่ใครๆ มิเคยได้กล่าว เป็นผู้รู้มรรค เป็นผู้รู้แจ้งมรรค เป็นผู้ฉลาดในมรรค หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๐๒] ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงซึ่งความ ยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ ทั่วไปแก่พระสาวก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสาวก เป็นพระสัพพัญญู เป็นพระสัพพ- ทัสสาวี หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๐๓] ป. พระสาวกรู้ฐานะและอฐานะ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า พระสาวกรู้ฐานะและอฐานะ ด้วยเหตุ นั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงซึ่ง ฐานะและอฐานะ ทั่วไปแก่พระสาวก ดังนี้.

[๗๐๔] ป. พระสาวกรู้ผลอันสุกวิเศษโดยฐานะ โดยเหตุ แห่งกรรมสมาทานทั้งอดีตและปัจจุบัน หรือ?

ส. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 579

ป. หากว่า พระสาวกรู้ผลอันสุกวิเศษโดยฐานะ โดยเหตุแห่งกรรมสมาทานทั้งอดีตอนาคตและปัจจุบัน ด้วยเหตุนั้นนะ ท่านจึงต้องกล่าวว่า กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงซึ่งผลอัน สุกวิเศษโดยฐานะ. โดยเหตุแห่งกรรมสมาทานทั้งอดีตอนาคตและปัจจุ- บัน ทั่วไปแก่พระสาวก.

[๗๐๕] ป. พระสาวก รู้ปฏิปทาอันนำไปสู่คติทั้งปวง หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า พระสาวกรู้ปฏิปทาอันนำไปสู่คติทั้งปวง ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตาม จริงซึ่งปฏิปทาอันจะนำไปในคติทั้งปวง ทั่วไปแก่พระสาวก ดังนี้.

[๗๐๖] ป. พระสาวกรู้โลกอันมีธาตุต่างๆ มีธาตุมิใช่น้อย หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า พระสาวกรู้โลกอันมีธาตุต่าง ๆ มีธาตุ มิใช่น้อย ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงซึ่งโลกอันมีธาตุต่าง ๆ มีธาตุมิใช่น้อย ทั่วไปแก่พระสาวก

[๗๐๗] ป. พระสาวก รู้ความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีอธิมุติ คืออัธยาศัยต่าง ๆ กัน หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า พระสาวกรู้ความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มี


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 580

อธิมุติต่าง ๆ กัน ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า กำลังของพระ- ตถาคต คือ การรู้ตามจริงซึ่งความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีอธิมุตติต่างๆ กัน ทั่วไปแก่พระสาวก.

[๗๐๘] ป. พระสาวกรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว การ ออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า พระสาวกรู้ความเศร้าหมอง ความผ่อง แผ้ว การออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ ด้วยเหตุนั้นนะ ท่านจึงต้องกล่าวว่า กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงซึ่งความ เศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว การออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และ สมาบัติ ทั่วไปแก่พระสาวก.

[๗๐๙] ป. พระสาวกรู้ญาณเป็นเครื่องระลึกถึงขันธ์ที่เคย อยู่อาศัยในกาลก่อนได้แก่ระลึกชาติหนหลังได้ หรือ?

ส. ถูกแล้ว

ป. หากว่า พระสาวกรู้ญาณเป็นเครื่องระลึกถึงขันธ์ ที่เคยอยู่อาศัยในกาลก่อน ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า กำลังของ พระตถาคต คือ การรู้ตามจริงซึ่งญาณเป็นเครื่องระลึกถึงขันธ์ที่เคยอยู่ อาศัยในกาลก่อน ทั่วไปแก่พระสาวก.

[๗๑๐] ป. พระสาวกรู้จุติและอุปบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 581

ป. หากว่า พระสาวกรู้จุติและอุปบัติแห่งสัตว์ทั้ง หลาย ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงซึ่งจุติและอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย ทั่วไปแก่พระสาวก.

[๗๑๑] ป. อาสวะทั้งหลาย ทั้งของพระตถาคต ทั้งของพระ- สาวกต่างก็สิ้นไปแล้ว มิใช่หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. มีเหตุอะไรๆ ที่ทำให้ต่างกันในระหว่างความสิ้น อาสวะแห่งพระตถาคต กับความสิ้นอาสวะแห่งพระสาวก หรือใน ระหว่างความหลุดพ้นแห่งพระตถาคต กับความหลุดพ้นแห่งพระสาวก หรือ ?

ส. ไม่มี.

ป. หากว่า ไม่มีเหตุอะไรๆ ที่ทำให้ต่างกันใน ระหว่างความสิ้นอาสวะแห่งพระตถาคต กับความสิ้นอาสวะแห่งพระ- สาวก หรือในระหว่างความหลุดพ้นแห่งพระตถาคต กับความหลุดพ้น แห่งพระสาวก ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ทั่วไปแก่พระสาวก.

[๗๑๒] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความ สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ทั่วไปแก่พระสาวก หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะ และอฐานะ ทั่วไปแก่พระสาวก หรือ?


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 582

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๑๓] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความ สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ทั่วไปแก่พระสาวก หรือ?

ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในจุติ และอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย ทั่วไปแก่พระสาวก หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๑๔] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะ และอฐานะ ไม่ทั่วไปแก่พระสาวก หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความ สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ไม่ทั่วไปแก่พระสาวก หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๑๕] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในจุติ และอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย ไม่ทั่วไปแก่พระ- สาวก หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 583

ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความ สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ไม่ทั่วไปแก่พระสาวก หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๑๖] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงซึ่งความ ยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ ไม่ทั่วไปแก่พระสาวก หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะ และอฐานะ ไม่ทั่วไปแก่พระสาวก หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๐๗] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงซึ่งความ ยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ ไม่ทั่วไปแก่พระสาวก หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความ สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ไม่ทั่วไปแก่พระสาวก หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๑๘] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะ และอฐานะ ทั่วไปแก่พระสาวก หรือ ?


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 584

ส. ถูกแล้ว.

ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงซึ่งความ ยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ ทั่วไปแก่พระสาวก หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๑๙] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความ สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ทั่วไปแก่พระสาวก หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงซึ่งความ ยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ ทั่วไปแก่พระสาวก หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พลกถา จบ

อรรถกถาพลกถา

ว่าด้วย พละ คือ กำลัง

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องพละ คือกำลัง. ในเรืองนั้น ชนเหล่าใดมี ลัทธิ ดุจนิกายอันธกะทั้งหลายในขณะนี้ว่า กำลังพระตถาคตทั่วไป แก่พระสาวกทั้งหลาย เพราะถือเอาพระสูตร ๑๐ สูตร มีอนุรุทธสังยุต สูตรเป็นต้น โดยไม่พิจารณาว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็แล เราย่อมรู้


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 585

ชัดซึ่งฐานะโดยความเป็นฐานะ และย่อมรู้ชัดอฐานะโดยความเป็น อฐานะตามความเป็นจริง เพราะความที่สติปัฏฐานทั้ง ๔ เหล่านี้เรา เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่า นั้น. คำตอบรับรองเป็นของปรวาที เพราะตั้งอยู่ในลัทธิ. อนึ่ง ชื่อว่า กำลังแห่งพระตถาคตนี้ ทั่วไปแก่พระสาวกทั้งหลายก็มี ไม่ทั่วไปก็มี ทั้งทั่วไปและไม่ทั่วไปก็มี มีอยู่ ในกำลังเหล่านั้น ญาณในความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลายชื่อว่า สาธารณะ คือทั่วไปแก่พระสาวก แต่อินทริยปโรปริยัตติญาณ ได้แก่ญาณรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ เป็น อสาธารณญาณ คือญาณไม่ทั่วไป ญาณที่เหลือเป็นสาธารณะด้วย อสาธารณะด้วย. จริงอยู่พระสาวกทั้งหลายย่อมรู้ซึ่งฐานาฐานญาณเป็น ต้นได้บางอย่าง แต่พระตถาคตทั้งหลายย่อมรู้ฐานาฐานญาณเป็นต้นได้ โดยสิ้นเชิง. พระสาวกทั้งหลายย่อมรู้สาธารณาณเหล่านั้นโดยอุทเทส คือโดยหัวข้อ ไม่รู้โดยนิทเทส คือโดยนำออกแสดงโดยพิสดาร. ก็ลัทธิ นี้กล่าวว่า กำลังของพระตถาคตแม้ทั้งปวงว่าทั่วไปแก่พระสาวก โดยไม่แปลกกัน ดังนี้ เพื่อตำหนิลัทธินั้นๆ เพราะเหตุนั้น จึงเริ่ม ซักถามอีกว่า กำลังของพระตถาคตก็คือกำลังพระสาวก ดังนี้ เป็นต้น.

ในการตอบปัญหาเหล่านั้น ปัญหาที่ ๑ ปรวาทีหมายเอาความ ที่กำลังเหล่านั้น เป็นวิสัยคือเป็นอารมณ์แห่งอาการทั้งปวงโดยนิทเทส จึงตอบปฏิเสธ. ในปัญหาที่ ๒ ตอบรับรองด้วยสามารถแห่งญาณมีฐานา-


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 586

ฐานญาณเป็นต้นโดยอุทเท

ส. ในปัญหาว่า กำลังของพระตถาคต อันนั้น กำลังของพระสาวกก็อันนั้นแหละ ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะไม่มีการกระทำที่แตกต่างกันโดยอาการทั้งปวง. บุรพประโยค คือการประกอบในเบื้องต้น ก็ดี บุรพจริยา คือการประพฤติเบื้องต้น ก็ดี ย่อมเป็นอย่างเดียวกันโดยอรรถ. การกล่าวธรรมด้วย การแสดง ธรรมด้วย ก็เป็นเช่นเดียวกัน.

ในปัญญาว่าด้วยอินทริยปริยัตติญาณ ปรวาทีตอบรับรองใน วิสัย คืออารมณ์แห่งพระสาวก หมายเอาทั่วไปโดยเอกเทส คือบางส่วน.

บัดนี้ ปัญหาของปรวาที มีคำว่า พระสาวกรู้ฐานะและ อฐานะหรือ เป็นต้น เพื่อให้ตั้งไว้ซึ่งความที่ญาณเหล่านั้นเป็นสาวก สาธารณญาณ โดยความที่ท่านย่อมรู้ฐานาฐานญาณเป็นต้นโดยอุทเทส เพราะฉะนั้นจึงประกาศความรู้อรรถของพระสาวกสักว่าการรู้นั้น. ใน ปัญหานั้นปรวาทีไม่ถือเอาอินทริยปโรปปริยัตติญาณซึ่งเป็นญาณอย่างใด อย่างหนึ่งแห่งอสาธารณญาณ ๖.

คำว่า ความสิ้นอาสวะแห่งพระตถาคต กับความสิ้น อาสวะแห่งพระสาวก ดังนี้ อธิบายว่า คำใดอันบุคคลควรกล่าวพึงมี เพราะอาศัยการสิ้นอาสวะของพระตถาคต กับการสิ้นอาสวะของพระสาวกนั้น ความแตกต่างกันหามีไม่. แม้ในบทว่า ความหลุดพ้น แห่งพระตถาคต กับความหลุดพ้นแห่งพระสาวก ก็นัยนี้นั่น


ความคิดเห็น 12    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 587

แหละ. คำที่เหลือในที่นี้มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

บัดนี้ ปัญหาของปรวาทีว่า ในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้ง หลาย เป็นต้นนั่นแหละอีก เพื่อเปรียบเทียบญาณในความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลายของพระตถาคตกับพระสาวกที่สกวาทีตอบรับรองเป็น สาธารณญาณนั้น แล้วจึงถามซึ่งความเป็นสาธารณญาณทั้งหลายแม้ที่ เหลือ. ญาณนั้นอันสกวาทีผู้แก้ปัญหารับรองแล้วว่าเป็นสาธารณญาณ เพราะไม่มีอะไรแปลกกันในการสิ้นอาสวะเลย. ในญาณทั้งหลายนอก จากนี้ท่านตอบปฏิเสธความเป็นญาณสาธารณะเพราะไม่มีพิเศษในพระสาวก. คำถามเรื่องอสาธารณญาณ๑ ของปรวาทีเปรียบเทียบอาสวักขยญาณนั้นนั่นแหละกับบรรดาญาณทั้งหลายมีฐานาฐานญาณเป็นต้น อีก. ในการวิสัชนาปัญหานั้น สกวาทีปฏิเสธในอาสวักขยญาณแต่รับรอง ในญาณแม้ที่เหลือ. ต่อจากนี้เป็นคำถามอสาธารณญาณของปรวาที เปรียบเทียบกับอินทริยปโรปริยัตติญาณ. ญาณนั้นท่านแสดงไว้โดยย่อ.


๑ อสาธารณญาณ ๖ ได้แก่ ญาณที่ไม่ทั่วไปแก่พระสาวกทั้งหลาย ๖ คือ :-

๑. อินทริยปโรปริยัตติญาณ ได้แก่ ปัญญาหยั่งรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย.

๒. อาสยานุสยญาณ ได้แก่ ปัญหาหยั่งรู้อาสยะ คือ อัธยาศัย และกิเลสที่ นอนเนื่องในสันดานของสัตว์.

๓. ยมกปาฏิหิรญาณ ได้แก่ ปัญญาหยั่งรู้การทำยมกปาฏิหาริย์

๔. มหากรุณาสมาปัตติญาณ ได้แก่ ปัญญาหยั่งรู้ในการเข้ามหากรุณาสมบัติ

๕. สัพพัญญุตญาณ ได้แก่ ปัญญาหยั่งรู้ธรรมทั้งปวง

๖. อนาวรณญาณ ได้แก่ ปัญญาหยั่งรู้ธรรมอันไม่มีอะไรขัดข้อง.


ความคิดเห็น 13    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 588

แม้ในการวิสัชนาปัญหา สกวาทีตอบรับรองในอินทริยปโรปริยัตติญาณ ตอบปฏิเสธในญาณที่เหลือทั้งหลาย. ต่อจากนั้นคำถามสาธารณญาณ แห่งอนทริยปโรปรยัตติญาณ ของปรวาทีซึ่งเปรียบเทียบกับฐานาฐานญาณทั้งหลาย. ญาณแม้นั้น ท่านก็แสดงไว้โดยย่อ. ในการวิสัชนา ปัญหานั้น สกวาทีตอบปฏิเสธในอินทริยปโรปริยัตติญาณ ตอบรับรอง ในญาณทั้งหลายที่เหลือ ด้วยประการฉะนี้แล.

อรรถกถาพลกถา จบ


ความคิดเห็น 14    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 589

อริยันติกถา

[๗๒๐] สกวาที กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริง ในฐานะและอฐานะ เป็นอริยะ หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เป็นมรรค เป็นมงคล เป็นนิพพาน เป็นโสดาปัตติมรรค เป็นโสดาปัตติผล เป็นสกทาคามิมรรค เป็นสกทาคามิ- ผล เป็นอนาคามิมรรค เป็นอนาคามิผล เป็นอรหัตตมรรค เป็นอรหัตตผล เป็นสติปัฏฐาน เป็นสัมมัปปธาน เป็นอิทธิบาท เป็นอินทรีย์ เป็นพละ เป็นโพชฌงค์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๒๑] ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะ และอฐานะ เป็นอริยะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มีสุญญตะ เป็นอารมณ์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มีสุญญตะ เป็นอารมณ์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระตถาคตทรงทำไว้ในพระทัยซึ่งฐานะและ อฐานะด้วย ทรงทำไว้ในพระทัยซึ่งสุญญตะด้วย หรือ?


ความคิดเห็น 15    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 590

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระตถาคตทรงทำไว้ในพระทัยซึ่งฐานะและ อฐานะด้วย ทรงทำไว้ในพระทัยซึ่งสุญญตะด้วย หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง แห่งจิต ๒ ดวง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะ และอฐานะ เป็นอริยะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ หรือ ฯลฯ มีอัปปณิ- หิตะเป็นอารมณ์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระตถาคตทรงทำไว้ในพระทัยซึ่งฐานะและ อฐานะด้วย ทรงทำไว้ในพระทัยซึ่งอัปปณิหิตะ ด้วย หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 16    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 591

ส. พระตถาคตทรงทำไว้ในพระทัยซึ่งฐานะและ อฐานะด้วย ทรงทำไว้ในพระทัยซึ่งอัปปณิหิตะ ด้วย หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นความประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง แห่งจิต ๒ ดวง หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๒๒] ส. สติปัฏฐาน เป็นอริยะ มีสุญญตะเป็นอารมณ์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะ และอฐานะ เป็นอริยะ มีสุญญตะเป็นอารมณ์

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สติปัฏฐาน เป็นอริยะ มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะ เป็นอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะ และอฐานะ เป็นอริยะ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 17    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 592

[๗๒๓] ส. สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพช- ฌงค์ เป็นอริยะ มีสุญญตะอารมณ์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะ และอฐานะ เป็นอริยะ มีสุญญตะเป็นอารมณ์

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โพชฌงค์เป็นอริยะ มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะ และอฐานะ เป็นอริยะ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๒๔] ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะ และอฐานะ เป็นอริยะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า มี สุญญตะเป็นอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สติปัฏฐานเป็นอริยะ แต่ไม่พึงกล่าวว่ามีสุญญ- ตะเป็นอารมณ์ หรือ?


ความคิดเห็น 18    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 593

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะ และอฐานะ เป็นอริยะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ อัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สติปัฏฐานเป็นอริยะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า มีอัปป- ณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะ และอฐานะ เป็นอริยะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า มีสุญญตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมัปปธาน ฯลฯ โพชฌงค์ เป็นอริยะ แต่ ไม่พึงกล่าวว่า มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๒๕] ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในจุติ และอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย เป็นอริยะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นมรรค เป็นผล เป็นนิพพาน เป็นโสดา- ปัตติมรรค เป็นโสดาปัตติผล ฯลฯ เป็นโพชฌงค์ หรือ ?


ความคิดเห็น 19    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 594

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๒๖] ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในจุติ และอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย เป็นอริยะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มีสุญญตะเป็นอารมณ์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มีสุญญตะเป็นอารมณ์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระตถาคตทรงทำไว้ในพระทัย ซึ่งจุติและอุ- บัติแห่งสัตว์ทั้งหลายด้วย ทรงทำไว้ในพระทัย ซึ่งสุญญตะด้วย หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระตถาคตทรงทำไว้ในพระทัย ซึ่งจุติและอุ- บัติแห่งสัตว์ทั้งหลายด้วย ทรงทำไว้ในพระทัย ซึ่งสุญญตะด้วย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นความประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง แห่งจิต ๒ ดวง หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 20    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 595

ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในจุติ และอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย เป็นอริยะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็น อารมณ์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระตถาคตทรงทำไว้ในพระทัย ซึ่งจุติและอุ- บัติแห่งสัตว์ทั้งหลายด้วย ทรงทำไว้ในพระทัย ซึ่งอัปปณิหิตะด้วย หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระตถาคตทรงทำไว้ในพระทัย ซึ่งจุติและอุ- บัติแห่งสัตว์ทั้งหลายด้วย ทรงทำไว้ในพระทัย ซึ่งอัปปณิหิตะด้วย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นความประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง แห่งจิต ๒ ดวง หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 21    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 596

[๗๒๗] ส. สติปัฏฐาน เป็นอริยะ มีสุญญตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิ- หิตะเป็นอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในจุติ และอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย เป็นอริยะ มีอัปป- ณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัมมัปปธาน ฯลฯ โพชฌงค์ เป็นอริยะ มี สุญญตะอารมณ์ ฯลฯ มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็น อารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในจุติ และอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย เป็นอริยะ มีอัปป- ณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๒๘] ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในจุติ และอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย เป็นอริยะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า มีสุญญตะ เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็น อารมณ์ หรือ ?


ความคิดเห็น 22    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 597

ป. ถูกแล้ว.

ส. สติปัฏฐาน เป็นอริยะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า มี อัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๒๙] ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในจุติ และอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย เป็นอริยะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า มีสุญญตะ เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมัปปธาน ฯลฯ โพชฌงค์ เป็นอริยะ แต่ ไม่พึงกล่าวว่า มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๓๐] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความ สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เป็นอริยะ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะ และอฐานะ เป็นอริยะ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๓๑] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความ สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เป็นอริยะ หรือ ?


ความคิดเห็น 23    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 598

ส. ถูกแล้ว.

ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในจุติ และอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย เป็นอริยะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๓๒] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะ และอฐานะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า เป็นอริยะ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความ สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย แต่ไม่พึงกล่าวว่า เป็นอริยะ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๓๓] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในจุติ และอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย ไม่พึงกล่าวว่า เป็น อริยะ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความ สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็ไม่พึงกล่าวว่า เป็น อริยะ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 24    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 599

[๗๓๔] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความ สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เป็นอริยะ มีสุญญตะ เป็นอารมณ์ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะ และอฐานะก็เป็นอริยะ มีสุญญตะเป็นอารมณ์ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๓๔] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความ สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เป็นอริยะ มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มี อัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ?

ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะ และอฐานะก็เป็นอริยะ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๓๕] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความ สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เป็นอริยะ มีสุญญตะอารมณ์ ฯลฯ มีอนิ- มิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 25    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 600

ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในจุติ และอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย ก็เป็นอริยะ มี อัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๓๖] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะ และอฐานะ เป็นอริยะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า มีสุญญตะเป็นอารมณ์ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความ สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เป็นอริยะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สุญญตะเป็น อารมณ์ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะ และอฐาน เป็นอริยะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความ สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็เป็นอริยะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า มีอัปปณิหิตะ เป็นอารมณ์ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 26    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 601

[๗๓๗] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในจุติ และอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย เป็นอริยะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า มีสุญญตะ เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็น อารมณ์ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความ สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็เป็นอริยะ แต่พึงกล่าวว่า มีอัปปณิหิตะ เป็นอารมณ์ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ อริยันติกถา จบ


ความคิดเห็น 27    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 602

อรรถกถาอริยันติกถา

ว่าด้วยเป็นอริยะ

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องเป็นอริยะ. ในปัญหานั้น ลัทธิแห่งชนเหล่า ใด ดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายในขณะนี้ว่า อาสวักขยญาณเป็น อริยะอย่างเดียวเท่านั้น หามิได้โดยที่แท้แม้ญาณเบื้องต้น๑ ๙ อย่าง ที่ เป็นกำลัง ก็เป็นอริยะด้วย ดังนี้ สกวาทีหมายชนเหล่านั้น จึงถามว่า การรู้ตามจริงในฐานะและอฐานะ เป็นอริยะหรือ คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำถามด้วยสามารถแห่งมรรคเป็นต้นว่า ญาณ นี้ใดในอริยมรรค เป็นต้น ญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง นั้นพึงเป็น อริยะหรือ อีก เป็นของสกวาที คำตอบปฏิเสธเป็นของปรวาที. คำ ถามว่าด้วย สุญญตารมณ์ เป็นต้นอีก เป็นของสกวาที. ในคำถามนั้น สุญญตา ๒ อย่าง คือ สัตตสุญญตา ความว่างเปล่าจากสัตว์ ๑ สังขารสุญญตา ความว่างเปล่าจากสังขาร ๑. ปัญจขันธ์ เป็นสภาพว่าง


๑. ทสพลญาณ ญาณอันเป็นกำลัง ๑๐ คือ :- ๑. ฐานาฐานญาณ ปรีชา หยั่งรู้ฐานะ และอฐานะ

๒. วิปากญาณ ปรีชาหยั่งรู้ผลแห่งกรรม

๓. สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ ปรีชาหยั่งรู้ทางไปสู่ภูมิทั้งปวง

๔. นานาธาตุญาณ ปรีชา หยั่งรู้ธาตุต่างๆ

๕. นานาธิมุตติญาณ ปรีชาหยั่งรู้อธิมุตติ คือ อัธยาศัยของ สัตว์ต่างๆ

๖. อินทริโยปริยัตติญาณ ปรีชาหยั่งรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ ของสัตว์

๗. ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ ปรีชาหยั่งรู้อาการมีความเศร้าหมองเป็นต้น แห่งธรรมมีฌานเป็นต้น

๘. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ

๙. จุตูปปาตญาณ

๑๐. อาสวักขยญาณ.


ความคิดเห็น 28    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 603

เปล่าจากสัตว์ อันชาวโลกสมมติไว้ด้วยทิฏฐิ ชื่อว่า สัตตสุญญตา พระนิพพาน เป็นสภาพว่างเปล่าสงัดแล้ว เป็นธรรมชาติออกไปแล้ว จากสังขารทั้งปวง ชื่อว่า สังขารสุญญตา. ในปัญหานั้น ปรวาที หมายเอาความว่างเปล่าที่เป็นอารมณ์ของพระนิพพาน จึงปฏิเสธ แต่ รับรองเพราะหมายเอาความว่างเปล่าที่เป็นอารมณ์ของสังขาร. แม้ถูก ถามว่า ทรงทำไว้ในพระทัย ก็ปฏิเสธเพราะหมายเอาพระนิพพาน เท่านั้น ย่อมตอบรับรองเพราะหมายเอาสังขารทั้งหลาย. ต่อจากนั้นถูก สกวาทีถามว่า เป็นการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง แห่งจิต ๒ ดวงหรือ เพราะถือเอานัยนี้ว่า ผู้มีมนสิการในฐานญาณ และ อฐานญาณเป็นต้นมีสังขารเป็นอารมณ์ แต่ผู้มีมนสิการในความว่าง เปล่ามีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ปรวาทีนั้น เมื่อไม่ได้โอกาสอันมี เลสนัย จึงปฏิเสธ. แม้อนิมิตตะ และ อัปปณิหิตะ ก็นัยนี้นั้นแหละ. จริงอยู่ ขันธ์ทั้งหลาย ชื่อว่า ไม่มีนิมิต เพราะไม่มีนิมิตคือสัตว์ พระนิพพาน ชื่อว่า ไม่มีนิมิต เพราะไม่มีนิมิต คือสังขาร. ขันธ์ ทั้งหลาย ชื่อว่า อัปปณิหิตะ คือไม่มีที่ตั้ง โดยการตั้งความปรารถนา แห่งสัตว์อันถึงการนับว่า ปณิธิ เพราะอรรถว่าพึงตั้งไว้ กล่าวคืออันเขา ยกขึ้นแล้วพึงตั้งไว้แม้ในธรรมอย่างหนึ่ง. พระนิพพาน ชื่อว่า อัปปณิหิตะ คือไม่มีที่ตั้ง ด้วยการตั้งไว้ซึ่งตัณหา หรือด้วยการตั้งไว้ซึ่ง สังขารทั้งปวงอันเป็นอารมณ์แห่งตัณหา. เพราะฉะนั้นในการวิสัชชนา แม้นี้ ทั้งการปฏิเสธและการรับรอง บัณฑิตพึงทราบโดยนัยก่อนนั่น เทียว.


ความคิดเห็น 29    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 604

ต่อจากนี้ อนุโลมและปฏิโลมปัญหาว่า โลกุตตรธรรมทั้งหลาย มีสติปัฏฐานเป็นต้น เป็นอริยะด้วย มีสุญญตะเป็นต้น เป็นอารมณ์ ด้วย ฉันใด ญาณเป็นเครื่องหยั่งรู้ฐานะและอฐานะโดยลัทธิของท่าน ฉันนั้นหรือ ในการวิสัชชนาปัญหานั้น การตอบรับรองแม้ทั้งปวง และการปฏิเสธทั้งปวง เป็นของปรวาที บัณฑิตพึงทราบคำถามและ คำตอบแม้ในญาณที่เหลือโดยอุบายนี้. แต่ในบาลีท่านย่อญาณที่เหลือไว้ แล้วก็จำแนกจุตูปปาตญาณไว้สุดท้าย. ข้างหน้าต่อจากนี้ เป็นคำถามถึง ความเป็นพระอริยะทั้งโดยอนุโลม และปฏิโลมแห่งญาณทั้งหลายที่เหลือ เปรียบเทียบกับอาสวักขยญาณอันสำเร็จแล้วว่าเป็น อริยะ แม้ในลัทธิ ของตน. คำถามทั้งปวงเป็นของปรวาที. สกวาทีตอบรับรองด้วย ปฏิ- เสธด้วย. เนื้อความเหล่านั้นมีอรรถง่ายทั้งนั้น. ส่วนในบาลีท่านย่อ ญาณทั้ง ๗ ไว้ในที่นี้แล้วแสดงดุจนัยที่ ๑ นั่นแล.

อรรถกถาอริยันติกถา จบ


ความคิดเห็น 30    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 605

วิมุจจติกถา

[๗๓๘] สกวาที จิตมีราคะหลุดพ้นได้ หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. จิตสหรคตด้วยราคะ เกิดพร้อมกับราคะ ระคน ด้วยราคะ สัมปยุตด้วยราคะ ปรากฏพร้อมกับราคะ แปรไปตามราคะ เป็นอกุศล เป็นโลกิยะ เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นอารมณ์ของ สัญโญชน์ เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นอารมณ์ของโอฆะ เป็นอารมณ์ ของโยคะ เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นอารมณ์ของปรามาสะ เป็น อารมณ์ของอุปทาน เป็นอารมณ์ของสังกิเลส หลุดพ้นได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๓๙] ส. จิตมีผัสสะหลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้ง ๒ คือ ทั้ง ผัสสะและจิต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จิตมีราคะ หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้ง ๒ คือ ทั้ง ราคะและจิต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๔๐] ส. จิตมีเวทนา ฯลฯ จิตมีสัญญา ฯลฯ จิตมี เจตนา ฯลฯ จิตมีปัญญา หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้ง ๒ คือ ทั้งปัญญา และจิต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 31    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 606

ส. จิตมีราคะหลุดพ้นได้ หลุดพ้นได้ทั้ง ๒ คือ ทั้งราคะและจิต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๔๑] ส. จิตมีผัสสะ มีราคะ หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้ง ๒ คือ ทั้งผัสสะและจิต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หลุดพ้นทั้ง ๒ คือ ทั้งราคะและจิต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๔๒] ส. จิตมีเวทนา มีราคะ ฯลฯ จิตมีสัญญา มีราคะ ฯลฯ จิตมีเจตนา มีราคะ ฯลฯ จิตมีปัญญา มีราคะ หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้ง ๒ คือ ทั้งปัญญาและจิต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หลุดพ้นทั้ง ๒ คือ ทั้งราคะและจิต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๔๓] ส. จิตมีโทสะ หลุดพ้นได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จิตสหรคตด้วยโทสะ เกิดพร้อมกับโทสะ ระคน ด้วยโทสะ สัมปยุตด้วยโทสะ ปรากฏพร้อมกับโทสะ แปรไปตามโทสะ เป็นอกุศล เป็นโลกิยะ เป็นอารมณ์ของอาสวะ ฯลฯ เป็นอารมณ์ ของสังกิเลส หลุดพ้นได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 32    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 607

[๗๔๔] ส. จิตมีผัสสะ หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้ง ๒ คือ ทั้งผัสสะและจิต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จิตมีโทสะ หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้ง ๒ คือ ทั้งโทสะและจิต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๔๕] ส. จิตมีเวทนา ฯลฯ จิตมีสัญญา ฯลฯ จิตมีเจตนา ฯลฯ จิตมีปัญญา หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้ง ๒ คือ ทั้งปัญญาและจิต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จิตมีโทสะ หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้ง ๒ คือ ทั้งโทสะและจิต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๔๖] ส. จิตมีผัสสะ มีโทสะ หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้ง ๒ คือ ทั้งผัสสะและจิต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หลุดพ้นทั้ง ๒ คือ ทั้งโทสะและจิต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๔๗] ป. จิตมีเวทนา มีโทสะ ฯลฯ จิตมีสัญญา มีโทสะ ฯลฯ จิตมีเจตนา มีโทสะ ฯลฯ จิตมีปัญญา มีโทสะ หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้งสอง คือ ทั้งปัญญาและจิต หรือ ?


ความคิดเห็น 33    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 608

ป. ถูกแล้ว.

ส. หลุดพ้นทั้ง ๒ คือ ทั้งโทสะและจิต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๔๘] ส. จิตมีโมหะ หลุดพ้นได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จิตสหรคตด้วยโมหะ เกิดพร้อมกับโมหะ ระคน ด้วยโมหะ สัมปยุตด้วยโมหะ ปรากฏพร้อมกับโมหะ แปรไปตามโมหะ เป็นอกุศล เป็นโลกิยะ เป็นอารมณ์ของอาสวะ ฯลฯ เป็นอารมณ์ ของสังกิเลส หลุดพ้นได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๔๙] ส. จิตมีผัสสะ หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้ง ๒ คือ ทั้งผัสสะและจิต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จิตมีโมหะ หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้ง ๒ คือ ทั้งโมหะแล้วจิต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๕๐] ส. จิตมีเวทนา ฯลฯ จิตมีสัญญา ฯลฯ จิตมีเจตนา ฯลฯ จิตมีปัญญา หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้ง ๒ คือ ทั้งปัญญาและจิต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 34    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 609

ส. จิตมีโมหะ หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้ง ๒ คือ ทั้งโมหะและจิต หรือ

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๕๑] ส. จิตมีผัสสะ มีโมหะ หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้ง ๒ คือ ทั้งผัสสะและจิต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หลุดพ้นทั้ง ๒ คือ ทั้งโมหะและจิต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๕๒] ส. จิตมีเวทนา มิโมหะ ฯลฯ จิตมีสัญญา มีโมหะ ฯลฯ จิตมีเจตนา มีโมหะ ฯลฯ จิตมีปัญญา มีโมหะ หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้ง ๒ คือ ทั้งปัญญาและจิต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หลุดพ้นทั้ง ๒ คือ ทั้งโมหะและจิต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๕๓] ส. ไม่พึงกล่าวว่า จิตมีราคะ มีโทสะ มีโมหะ หลุดพ้นได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จิตที่ปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจาก โมหะ หมดกิเลส หลุดพ้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๕๐] ส. ถ้าอย่างนั้น จิตมีราคะ มีโทสะ มีโมหะ ก็ หลุดพ้นได้น่ะสิ. วิมุจจติกถา จบ


ความคิดเห็น 35    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 610

อรรถกถาวิมุตติกถา (๑)

ว่าด้วยวิมุติ

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องวิมุติ คือความหลุดพ้น. ในปัญหานั้น ลัทธิ แห่งชนเหล่าใด ดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายในขณะนี้ว่า ชื่อว่า การปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นของจิตที่ปราศจากราคะแล้วหามีไม่ เหมือน อย่างว่า ผ้าที่เขาซักฟอกเอามลทินออกไปย่อมพ้นจากมลทินได้ฉันใด จิตมีราคะก็ฉันนั้น ย่อมหลุดพ้นจากราคะได้ ดังนี้ สกวาทีหมายชน เหล่านั้น จึงถามปรวาทีว่า จิตมีราคะหลุดพ้นหรือ คำตอบรับรอง เป็นของปรวาที. จากนั้นถูกถามโดยนัยว่า จิตสหรคตด้วยราคะ เป็นต้นหลุดพ้นได้หรือ ปรวาทีปฏิเสธโดยหมายเอาว่า ในขณะ แห่งมรรคจิต จิตนั้นชื่อว่าย่อมหลุดพ้น แต่ในกาลนั้น จิตเห็น ปานนี้ย่อมไม่มี. แม้ถูกถามโดยนัยว่า จิตมีผัสสะ เป็นต้น ปรวาทีเมื่อไม่เห็นความหลุดพ้นจากราคะเหมือนธรรมทั้ง ๒ คือผัสสะ และจิตหลุดพ้นจากราคะ ซึ่งตอบรับรองแล้ว จึงตอบปฏิเสธ. แม้ใน จิตมีโทสะ เป็นต้น บัณฑิตพึงทราบเนื้อความโดยอุบายนี้ แล.

อรรถกถาวิมุตติกถา จบ


๑. บาลีเป็น วิมุจจติกถา


ความคิดเห็น 36    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 611

วิมุจจมานกกถา

[๗๕๔] สกวาที จิตที่หลุดพ้นแล้ว ยังหลุดพ้นอยู่ หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ส่วนหนึ่งหลุดพ้นแล้ว อีกส่วนหนึ่งยังไม่หลุด พ้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๕๕] ส. ส่วนหนึ่งหลุดพ้นแล้ว อีกส่วนหนึ่งยังไม่หลุด พ้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ส่วนหนึ่ง เป็นพระโสดาบัน อีกส่วนหนึ่ง ไม่ เป็นพระโสดาบัน ส่วนหนึ่ง ถึงแล้ว ได้เฉพาะแล้ว บรรลุแล้ว ทำ ให้แจ้งแล้ว เข้าถึงอยู่ถูกต้องด้วยกายอยู่ ซึ่งโสดาปัตติผล อีกส่วนหนึ่ง ไม่ถูกต้องด้วยกายอยู่ ซึ่งโสดาปัตติผล ส่วนหนึ่ง เป็นพระโสดาบัน ผู้สัตตขัตตุปรมะ ผู้โกลังโกละ ผู้เอกพีชี ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ฯลฯ ในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ ประกอบด้วยอริยกันตศีล อีกส่วนหนึ่ง ไม่ประโยคกอบด้วยอริยกันตศีล หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๕๖] ส. ส่วนหนึ่ง หลุดพ้นแล้ว อีกส่วนหนึ่ง ยังไม่ หลุดพ้น หรือ?


ความคิดเห็น 37    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 612

ป. ถูกแล้ว.

ส. ส่วนหนึ่ง เป็นพระสกทาคามี อีกส่วนหนึ่ง ไม่เป็นพระสกทาคามี ส่วนหนึ่ง ถึงแล้ว ได้เฉพาะแล้ว บรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว เข้าถึงอยู่ ถูกต้องด้วยกายอยู่ ซึ่งสกทาคามิผล อีกส่วนหนึ่ง ไม่ถูกต้องด้วยกายอยู่ซึ่งสกทาคามิผล หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๕๗] ส. ส่วนหนึ่ง หลุดพ้นแล้ว อีกส่วนหนึ่ง ยังไม่ หลุดพ้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว

ส. ส่วนหนึ่งเป็นพระอนาคามี ส่วนหนึ่งไม่เป็น พระอนาคามี ส่วนหนึ่ง ถึงแล้ว ได้เฉพาะแล้ว บรรลุแล้ว ทำให้ แจ้งแล้ว เข้าถึงอยู่ ถูกต้องด้วยกายอยู่ ซึ่งอนาคามิผล อีกส่วนหนึ่ง ไม่ถูกต้องด้วยกายอยู่ซึ่งอนาคามิผล ส่วนหนึ่งเป็นพระอนาคามีผู้อันตรา- ปรินิพพายี ผู้อุปหัจจปรินิพพายี ผู้อสังขารปรินิพพายี ผู้สสังขาร- ปรินิพพายี ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระอนาคามี ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๕๘] ส. ส่วนหนึ่งหลุดพ้นแล้ว อีกส่วนหนึ่งยังไม่หลุด พ้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 38    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 613

ส. ส่วนหนึ่งเป็นพระอรหันต์ อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น พระอรหันต์ ส่วนหนึ่งถึงแล้ว ได้เฉพาะแล้ว บรรลุแล้ว ทำให้แจ้ง แล้ว เข้าถึงอยู่ ถูกต้องด้วยกายอยู่ ซึ่งอรหัตตผล อีกส่วนหนึ่งไม่ ถูกต้องด้วยกายอยู่ซึ่งอรหัตตผล ส่วนหนึ่งปราศจากราคะ โทสะ โมหะ แล้ว ฯลฯ ส่วนหนึ่งทำให้แจ้งแล้วซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง อีกส่วนหนึ่ง ไม่ทำให้แจ้งแล้วซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๕๙] ส. จิตที่หลุดพ้นแล้ว ยังหลุดพ้นอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จิตหลุดพ้นแล้วในขณะเกิดขึ้น ยังหลุดพ้นอยู่ ในขณะดับไป หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๖๐] ป. ไม่พงกล่าวว่า จิตที่หลุดพ้นแล้ว ยังหลุดพ้นอยู่ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า เมื่อบุคคลนั้น รู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นแม้จากกามาสวะ จิตย่อมหลุดพ้นแม้จากภวาสวะ จิตย่อมหลุดพ้นแม้จากอวิชชา- สวะ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ส. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 39    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 614

ป. ถ้าอย่างนั้น จิตที่หลุดพ้นแล้ว ก็ยังหลุดพ้นอยู่ น่ะสิ.

[๗๖๑] ส. จิตที่หลุดพ้นแล้ว ยังหลุดพ้นอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลนั้น เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว เป็นจิตบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเครื่อง ยั่วยวน ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน ถึง ความเป็นจิตไม่หวั่นไหว ตั้งอยู่แล้วอย่างนี้ ย่อมน้อมจิตไปเพื่อ ญาณเป็นเครื่องสิ้นไปแห่งอาสวะ ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า จิตที่หลุดพ้นแล้ว ยังหลุดพ้นอยู่.

[๗๖๒] ส. จิตที่หลุดพ้นอยู่ มีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จิตที่กำหนัดอยู่ ขัดเคืองอยู่ หลงอยู่ เศร้าหมอง อยู่ มีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. จิตมีแต่กำหนัดแล้วและไม่กำหนัดแล้ว ขัดเคือง แล้วและไม่ขัดเคืองแล้ว หลงแล้วและไม่หลงแล้ว ขาดแล้วและไม่ขาด


๑. ม. อุ. ๑๔/๒๖


ความคิดเห็น 40    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 615

แล้ว แตกแล้วและไม่แตกแล้ว อันปัจจัยทำแล้วและอันปัจจัยไม่ทำแล้ว เท่านั้น มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าจิตมีแต่กำหนัดแล้วและไม่กำหนัดแล้ว ขัดเคืองแล้วสละไม่ขัดเคืองแล้ว หลงแล้วและไม่หลงแล้ว ขาดแล้วและ ไม่ขาดแล้ว แตกแล้วและไม่แตกแล้ว อันปัจจัยทำแล้วและอันปัจจัย ไม่ทำแล้ว เท่านั้น ก็ต้องไม่กล่าวว่า จิตหลุดพ้นอยู่ มีอยู่.

วิมุจจมานกถา จบ

อรรถกถาวิมุจจมานกถา

ว่าด้วยจิตหลุดพ้นอยู่

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องจิตหลุดพ้นอยู่. ในปัญหานั้น ลัทธิแห่งชน เหล่าใดว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยวิกขัมภนวิมุติโดยฌาน ในขณะแห่ง มรรค จิตนั้นชื่อว่าหลุดพ้นอยู่ด้วยสมุจเฉทวิมุติ ดังนี้ สกวาทีหมายชน เหล่านั้น จึงถามว่า จิตที่หลุดพ้นแล้วยังหลุดพ้นอยู่หรือ คำตอบ รับรองเป็นของปรวาที. สกวาทีถามอีกว่า ส่วนหนึ่งหลุดพ้นแล้ว ใน บรรดาคำเหล่านั้นคำว่า ส่วนหนึ่ง เป็นคำไม่ปรากฏตามความ เป็นจริง อธิบายว่า ท่านถามว่า จิตหลุดพ้นแล้วส่วนหนึ่ง ไม่ หลุดพ้นแล้วส่วนหนึ่ง ฉันใด จิตนั้นส่วนหนึ่งหลุดพ้นแล้ว แต่อีก ส่วนหนึ่งไม่หลุดพ้นแล้ว ฉันนั้นหรือ ดังนี้.


ความคิดเห็น 41    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 616

ถามว่า พระสกวาทีย่อมถามอย่างนี้ เพราะเหตุไร?

ตอบว่า เพราะปรวาทีนั้นกล่าวผิดภาวะปกติว่า จิตที่หลุดพ้น แล้วว่ายังหลุดพ้นอยู่ ดังนี้ เหมือนอย่างว่า ช่างไม้ทำวัตถุทั้งหลาย มีไม้เป็นต้น เขาทำเสร็จแล้วบางส่วน บางส่วนยังไม่เสร็จเพราะความที่ ของนั้นยังไม่เรียบร้อยฉันใด จิตแม้นี้ก็ย่อมจะปรากฏตามลัทธิว่า ส่วน หนึ่งหลุดพ้นแล้ว อีกส่วนหนึ่งไม่หลุดพ้น ฉันนั้น.

ลำดับนั้น ปรวาทีตอบปฏิเสธในปัญหาแรก เพราะจิตไม่มี บางส่วนดุจช่างทำไม้ เป็นต้น ในปัญหาที่ ๒ ตอบรับรองเพราะความ ที่จิตนั้นกำลังหลุดพ้นไม่ใช่หลุดพ้นแล้วและทำกิจยังไม่เสร็จ. อีกอย่าง หนึ่ง ท่านตอบปฏิเสธหมายเอาลักขณจิตแห่งโลกียฌาน แต่ว่าลักขณจิตแห่งโลกียฌานนั้นไม่ใช่กำลังหลุดพ้นด้วยสมุจเฉทวิมุติในกาลนั้น จึง ตอบรับรองหมายเอาลักขณจิตแห่งโลกุตตรฌาน. ลัทธิของท่านว่า ก็ ในกาลนั้น จิตนั้นกำลังหลุดพ้นด้วยสมุจเฉทวิมุติโดยส่วนหนึ่งแห่งจิต ที่หลุดพ้น ดังนี้. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวว่า ส่วนหนึ่งเป็น พระโสดาบัน เป็นต้น เพื่อท้วงด้วยคำว่า หากว่าจิตดวงนั้นแหละ หลุดพ้นได้ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งไม่หลุดพ้นมีอยู่ไซร้ ครั้นเมื่อความ เป็นเช่นนั้นมีอยู่ บุคคลใดเป็นพระโสดาบันด้วยจิตดวงหนึ่งนั้นแหละ บุคคลแม้นั้นก็ต้องเป็นพระโสดาบันเพียงส่วนหนึ่งไม่เป็นส่วนหนึ่งด้วย จิตดวงนั้น ดังนี้ ปรวาทีเมื่อไม่เห็นธรรมเนียม เช่นนั้นจึงตอบปฏิเสธ. แม้ในวาระที่เหลือทั้งหลายก็นัยนั่นแหละ.


ความคิดเห็น 42    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 617

ในปัญหาว่าด้วย จิตหลุดพ้นแล้วในขณะการเกิดขึ้น อธิบาย ว่า ถ้าจิตดวงหนึ่งนั้นแหละหลุดพ้นแล้วด้วย กำลังหลุดพ้นอยู่ด้วย ไซร้ จิตที่หลุดพ้นแล้วและกำลังหลุดพ้นย่อมปรากฏในขณะเดียวกัน จิตเห็นปานนี้เป็นลัทธิของท่านหรือ. ในการชำระพระสูตร พระสูตร แรกเป็นของปรวาที. ในพระสูตรนี้ อธิบายว่า จิตย่อมหลุดพ้น เป็นการชี้แจงไม่คงที่. หมายความว่า ไม่กล่าวว่าเป็นขณะเกิดหรือขณะ ดับ เพราะฉะนั้น ปรวาทีจึงนำพระสูตรมาว่า เมื่อบุคคลนั้น รู้อยู่ อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตใดย่อมหลุดพ้นจากอาสวะเหล่านี้ จิตนั้น ชื่อว่าย่อมหลุดพ้น ดังนี้. พระสูตรที่ ๒ เป็นของสกวาที เนื้อความ นั้นอธิบายว่า ถ้าจิตหลุดพ้นแล้วชื่อว่ากำลังหลุดพ้น เพราะพระบาลี ว่า ย่อมหลุดพ้น ตามลัทธิของท่านมีอยู่ไซร้ จิตนั้นก็พึงหลุดพ้น แล้วนั่นแหละมิใช่กำลังหลุดพ้น เพราะไม่มีคำบาลีในพระสูตรนี้ว่า ย่อมหลุดพ้น ดังนี้.

บัดนี้ เพื่อจะท้วงว่า จิตกำลังหลุดพ้นเพราะความหลุดพ้นอัน ผิดปกติตามลัทธิของท่านมีอยู่ ฉันใด แม้จิตที่กำลังกำหนัดอยู่เป็นต้น มีอยู่เพราะราคะอันผิดปกติเป็นต้นฉันนั้นหรือ ดังนี้ จึงเริ่มคำเป็นต้น อีกว่า จิตหลุดพ้นอยู่มีอยู่หรือ เป็นต้น. แม้ปรวาที เมื่อไม่เห็น จิตเช่นนั้น จึงปฏิเสธแล้วทั้งสิ้น. ลำดับนั้น สกวาทีเมื่อจะยังปรวาที ให้รู้ว่า ส่วนสุดมี ๒ อย่างเท่านั้น ไม่ใช่ ๓ อย่าง จึงกล่าวคำว่า จิตมีแต่กำหนัดแล้วและไม่กำหนัดแล้วมิใช่หรือ เป็นต้น


ความคิดเห็น 43    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 618

พึงทราบเนื้อความแห่งปัญหานั้นว่า ดูก่อนภัทรมุข ผู้มีพักตร์งาม ส่วนสุดมี ๒ อย่างเท่านั้น คือ จิตอันราคะย้อมแล้วสัมปยุตแล้วด้วย ราคะ และจิตอันราคะไม่ย้อมแล้วปราศจากราคะแล้ว มิใช่หรือ? ส่วน สุดที่ ๓ คือจิตชื่อว่ากำลังกำหนัดย่อมไม่มี ดังนี้. ในคำว่า จิตขัดเคือง แล้วเป็นต้น ก็นัยนี้. ลำดับนั้น สกวาทียังปรวาทีให้รับรองว่าใช่แล้ว เพื่อแสดงส่วนสุดทั้ง ๒ นั้นแหละแม้ในฝ่ายจิตวิมุติ จึงกล่าวว่า ถ้า จิตมีแต่กำหนัดแล้ว เป็นต้น. เนื้อความแห่งปัญหานั้นพึงทราบว่า ถ้าท่านรับรองส่วนสุดทั้ง ๒ นี้ คือ จิตไม่หลุดพ้นแล้วและจิตหลุดพ้น แล้ว ท่านจงรับรองส่วนสุดแม้เหล่านี้ คือ จิตอันสัมปยุตด้วยกิเลส ชื่อว่าไม่หลุดพ้นแล้ว จิตปราศจากกิเลสชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว เมื่อว่าโดย ปรมัตถ์ ส่วนสุดที่ ๓ ว่า จิตชื่อว่า กำลังหลุดพ้น ดังนี้ ย่อมไม่มี ตามพระสูตร ดังนี้ แล.

อรรถกถาวิมุจจมานกถา จบ


ความคิดเห็น 44    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 619

อัฏฐมกกถา

[๗๖๓] สกวาที บุคคลที่ ๘๑ ละเครื่องกลุ้มรุมคือทิฏฐิได้ แล้ว หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ เป็นพระโสดาบัน เป็นผู้ถึงแล้ว ได้ เฉพาะแล้ว บรรลุแล้ว กระทำให้แจ้งแล้ว เข้าถึงอยู่ ถูกต้องด้วยกาย อยู่ ซึ่งโสดาปัตติผล หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๖๔] ส. บุคคลที่ ๘ ละเครื่องกลุ้มรุมคือวิจิกิจฉาได้แล้ว หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ เป็นพระโสดาบัน เป็นผู้ถึงแล้ว ฯลฯ ถูกแล้วด้วยกายอยู่ ซึ่งโสดาปัตติผล หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๖๕] ส. บุคคลที่ ๘ ละเครื่องกลุ้มรุมคือทิฏฐิได้แล้ว หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ ละอนุสัยคือทิฏฐิได้แล้ว หรือ?


๑. บุคคลที่ ๘ คือ พระอริยบุคคล ผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติ


ความคิดเห็น 45    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 620

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลที่ ๘ ละเครื่องกลุ้มรุมคือทิฏฐิได้แล้ว หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ ละอนุสัยคือวิจิกิจฉา ฯลฯ สีลัพ- พตปรามาสได้แล้ว หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๖๖] ส. บุคคลที่ ๘ ละเครื่องกลุ้มรุมคือวิจิกิจฉาได้แล้ว

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ ละเครื่องกลุ้มรุมคือวิจิกิจฉาได้แล้ว หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ ละอนุสัยคือทิฏฐิ ฯลฯ สีลัพพต- ปรามาสได้แล้ว หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๖๗] ส. บุคคลที่ ๘ ยังละอนุสัยคือทิฏฐิไม่ได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ ยังละเครื่องกลุ้มรุมคือทิฏฐิไม่ได้ หรือ ?


ความคิดเห็น 46    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 621

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลที่ ๘ ยังละอนุสัยคือทิฏฐิไม่ได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ ยังละเครื่องกลุ้มรุมคือวิจิกิจฉาไม่ได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลที่ ๘ ยังละอนุสัยคือวิจิกิจฉา ฯลฯ สี- ลัพพตปรามาสไม่ได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ ยังละเครื่องกลุ้มรุมคือทิฏฐิไม่ได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลที่ ๘ ยังละสีลัพพตปรามาสไม่ได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ ยังละเครื่องกลุ้มรุมคือวิจิกิจฉาไม่ได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๖๘] ส. บุคคลที่ ๘ ละเครื่องกลุ้มรุมคือทิฏฐิได้แล้ว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 47    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 622

ส. บุคคลที่ ๘ ยังมรรคให้เกิดแล้ว เพื่อละเครื่อง กลุ้มรุมคือทิฏฐิ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลที่ ๘ ละเครื่องกลุ้มรุมคือทิฏฐิได้แล้ว หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ ยังสติปัฏฐานให้เกิดแล้ว ฯลฯ ยัง สัมมัปปธาน ฯลฯ ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว เพื่อละเครื่องกลุ้มรุมคือทิฏฐิ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๖๙] ส. บุคคลที่ ๘ ละเครื่องกลุ้มรุมคือวิจิกิจฉาได้แล้ว หรือ ?

ส. บุคคลที่ ๘ ยังมรรคให้เกิดแล้ว ฯลฯ ยังโพช- ฌงค์ให้เกิดแล้ว เพื่อละเครื่องกลุ้มรุมคือวิจิกิจ- ฉา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๗๐] ส. บุคคลที่ ๘ ไม่ได้ยังมรรคให้เกิดเพื่อละเครื่อง กลุ้มรุมคือทิฏฐิ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เครื่องกลุ้มรุมคือทิฏฐิอันบุคคลที่ ๘ ละได้แล้ว


ความคิดเห็น 48    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 623

ด้วยธรรมที่มิใช่มรรค เป็นโลกิยะ เป็นอารมณ์ของอาสวะ ฯลฯ เป็น อารมณ์ของสังกิเลส หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลที่ ๘ ไม่ได้ยังสติปัฏฐาน ฯลฯ ยังโพช- ฌงค์ ให้เกิดแล้ว เพื่อละเครื่องกลุ้มรุมคือทิฏฐิ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เครื่องกลุ้มรุมคือทิฏฐิอันบุคคลที่ ๘ ละได้แล้ว ด้วยธรรมที่มิใช่มรรค เป็นโลกิยะ เป็นอารมณ์ของอาสวะ ฯลฯ เป็น อารมณ์ของสังกิเลส หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๗๑] ส. บุคคลที่ ๘ ไม่ได้ยังมรรคให้เกิดแล้ว ฯลฯ ไม่ ได้ยังสติปัฏฐาน ฯลฯ ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว เพื่อละเครื่องกลุ้มรุม คือวิจิกิจฉา หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เครื่องกลุ้มรุมคือวิจิกิจฉา อันบุคคลที่ ๘ ละได้ แล้วด้วยธรรมที่มิใช่มรรค เป็นโลกิยะ เป็นอารมณ์ของอาสวะ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลส หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 49    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 624

[๗๗๒] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลที่ ๘ ละเครื่องกลุ้มรุม คือทิฏฐิได้แล้ว หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. เครื่องกลุ้มรุมคือทิฏฐิยังจักเกิดขึ้น หรือ?

ส. จักไม่เกิดขึ้น.

ป. หากว่า จักไม่เกิดขึ้น ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึง ต้องกล่าวว่า บุคคลที่ ๘ ละเครื่องกลุ้มรุมคือทิฏฐิได้แล้ว.

[๗๗๓] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลที่ ๘ ละเครื่องกลุ้มรุมคือ วิจิกิจฉาได้แล้ว หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. เครื่องกลุ้มรุมคือวิจิกิจฉายังจักเกิดขึ้น หรือ ? จักไม่เกิดขึ้น.

ป. หากว่า จักไม่เกิดขึ้น ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึง ต้องกล่าวว่า บุคคลที่ ๘ ละเครื่องกลุ้มรุมคือ วิจิกิจฉาได้แล้ว.

[๗๗๙] ส. บุคคลที่ ๘ ชื่อว่าละเครื่องกลุ้มรุมคือทิฏฐิได้ แล้ว เพราะทำอธิบายว่าจักไม่เกิดขึ้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ ชื่อว่าละอนุสัยคือทิฏฐิได้แล้ว เพราะ


ความคิดเห็น 50    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 625

ทำอธิบายว่าจักไม่เกิดขึ้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๗๕] ส. บุคคลที่ ๘ ชื่อว่าละเครื่องกลุ้มรุมคือทิฏฐิได้ แล้ว เพราะทำอธิบายว่าจักไม่เกิดขึ้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ ชื่อว่าละอนุสัยคือวิจิกิจฉา ฯลฯ สีลัพพตปรามาสได้แล้ว เพราะทำอธิบายว่าจัก ไม่เกิดขึ้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๗๖] ส. บุคคลที่ ๘ ชื่อว่าละเครื่องกลุ้มรุมคือวิจิกิจฉา ได้แล้ว เพราะทำอธิบายว่าจักไม่เกิดขึ้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ ชื่อว่าละอนุสัยคือวิจิกิจฉา ฯลฯ สีลัพพตปรามาสได้แล้ว เพราะทำอธิบายว่าจัก ไม่เกิดขึ้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๗๗] ส. บุคคลที่ ๘ ชื่อว่าละเครื่องกลุ้มรุมคือทิฏฐิได้ แล้ว เพราะทำอธิบายว่าจักไม่เกิดขึ้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 51    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 626

ส. บุคคลผู้โคตรภู ชื่อว่าละเครื่องกลุ้มรุมคือทิฏฐิ ได้แล้ว เพราะทำอธิบายว่าจักไม่เกิดขึ้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๗๘] ส. บุคคลที่ ๘ ชื่อว่าละเครื่องกลุ้มรุมคือวิจิกิจฉา ได้แล้ว เพราะทำอธิบายว่าจักไม่เกิดขึ้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้โคตรภูชื่อว่าละเครื่องกลุ้มรุมคือวิจิกิจฉา ได้แล้ว เพราะทำ อธิบายว่าจักไม่เกิดขึ้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

อัฏฐมกกถา จบ

อรรถกถาอัฏฐมกกถา

ว่าด้วยบุคคลที่ ๘๑

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องบุคคลที่ ๘ คือ พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ใน โสดาปัตติมรรค. ในเรื่องนั้น ลัทธิแห่งชนเหล่าใดดุจลัทธิของนิกาย อันธกะ และสมิติยะทั้งหลายในขณะนี้ว่า บุคคลผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติ-


๑. ในคัมภีร์นี้ ท่านลำดับพระอริยบุคคลอย่างนี้ คือ บุคคลผู้ตั้งอยู่ ในอรหัตตผล เป็นที่ ๑ บุคคลผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค เป็นที่ ๒ บุคคลผู้ตั้งอยู่ ในอนาคามิผล เป็นที่ ๓ ฯลฯ บุคคลผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค เป็นที่ ๘.


ความคิดเห็น 52    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 627

มรรคซึ่งเป็นบุคคลที่ ๘ ละปริยุฏฐานกิเลสทั้ง ๒ แล้ว คือทิฏฐิและ วิจิกิจฉา เพราะไม่มีกิเลสทั้งหลายเกิดขึ้นในขณะแห่งอนุโลม โคตรภู และมรรค ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายชนพวกใด พวกหนึ่งเหล่านั้น คำตอบรับรองของปรวาที หมายเอาความไม่เกิดขึ้นแห่งทิฏฐิ จำเดิมแต่ ขณะแห่งมรรค. ธรรมดาว่า ทิฏฐินี้ พระโสดาบันเป็นผู้ละแล้ว มิใช่ บุคคลที่ ๘ เหตุในเพราะเหตุนั้น ลำดับนั้น สกวาทีจึงซักว่า บุคคล ที่ ๘ เป็นพระโสดาบันหรือ ดังนี้เป็นต้น. แม้ในปัญหาว่าด้วย วิจิ- กิจฉา ก็นัยนี้นั่นแหละ.

ในปัญหาว่าด้วย อนุสัย ลัทธิท่านว่า อนุสัยเป็นอย่างอื่น นอกจากปริยุฏฐาน เพราะฉะนั้น จึงตอบปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าว อย่างนั้น. ในปัญหาว่าด้วย สีลัพพตปรามาส ปรวาทีไม่เห็นโวหารว่า สีลัพพตปรามาสเป็น ปริยุฏฐาน จึงตอบปฏิเสธ. ลัทธิว่า บุคคลที่ ๘ ละปริยุฏฐานได้แล้วเท่านั้น. ในปัญหาว่า บุคคลที่ ๘ ยังมรรคให้ เกิดแล้ว ความว่า ในขณะนั้น กำลังเจริญมรรค มิใช่เจริญเสร็จ แล้ว เพราะฉะนั้นท่านจึงตอบปฏิเสธ. ในคำซักถามว่า ละได้แล้ว ด้วยธรรมที่มิใช่มรรค เป็นต้น ปรวาทีตอบปฏิเสธ หมายเอาความ ที่กิเลสเหล่านั้นท่านละได้แล้วด้วยมรรคที่ ๑ นั่นแหละ. ลัทธิของท่าน ว่า ก็ถ้าว่าบุคคลพึงละกิเลสด้วยธรรมที่มิใช่มรรคได้ไซร้ บุคคลแม้ ผู้โคตรภูบุคคลเป็นต้น ก็พึงละกิเลสได้


ความคิดเห็น 53    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 628

คำถามของปรวาทีว่า เครื่องกลุ้มรุม คือ ทิฏฐิยังจักเกิดขึ้น หรือ คำวิสัชชนาเป็นของสกวาที. คำที่เหลือในที่ทั้งปวง มีอรรถ ง่ายทั้งนั้น แล.

อรรถกถาอัฏฐมกกถา จบ


ความคิดเห็น 54    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 629

อัฏฐมกัสส อินทริยกถา

[๗๗๙] สกวาที บุคคลที่ ๘ ไม่มีสัทธินทรีย์ หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ ไม่มีศรัทธา หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๘๐] ส. บุคคลที่ ๘ ไม่มีวิริยินทรีย์ ฯลฯ ไม่มีสตินทรีย์ ฯลฯ ไม่มีสมาธินทรีย์ ฯลฯ ไม่มีปัญญินทรีย์หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ ไม่มีปัญญา หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๘๑] ส. บุคคลที่ ๘ มีศรัทธา หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ มีสัทธินทรีย์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลที่ ๘ มีวิริยะ ฯลฯ มีสติ ฯลฯ มีสมาธิ ฯลฯ มีปัญญา หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ มีปัญญินทรีย์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 55    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 630

[๗๘๒] ส. บุคคลที่ ๘ มีมโน มีมนินทรีย์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ มีศรัทธา มีสัทธินทรีย์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลที่ ๘ มีมโน มีมนินทรีย์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ มีปัญญา มีปัญญินทรีย์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๘๓] ส. บุคคลที่ ๘ มีโสมนัส มีโสมนัสสินทรีย์ ฯลฯ มีชีวิต มีชีวิตินทรีย์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ มีศรัทธา มีสัทธินทรีย์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลที่ ๘ มีชีวิต มีชีวิตินทรีย์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ มีวิริยะ ฯลฯ มีปัญญา มีปัญญินทรีย์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๘๔] ส. บุคคลที่ ๘ มีศรัทธา แต่ไม่มีสัทธินทรีย์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ มีมโน แต่ไม่มีมนินทริย์ หรือ?


ความคิดเห็น 56    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 631

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๘๕] ส. บุคคลที่ ๘ มีศรัทธา แต่ไม่มีสัทธินทรีย์ หรือ?

ป. ไม่มี.

ส. บุคคลที่ ๘ มีโสมนัส แต่ไม่มีโสมนัสสินทรีย์ ฯลฯ ชีวิต แต่ไม่มีชีวิตินทรีย์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๘๖] ส. บุคคลที่ ๘ มีปัญญา แต่ไม่มีปัญญินทรีย์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ มีมโน แต่ไม่มีมนินทรีย์ ฯลฯ มี โสมนัส แต่ไม่มีโสมนัสสินทรีย์ ฯลฯ มีชีวิต แต่ไม่มีชีวิตินทรีย์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๘๗] ส. บุคคลที่ ๘ ไม่มีสัทธินทรีย์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลที่ ๘ ไม่มีวิริยินทรีย์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ เป็นผู้เกียจคร้าน ละความเพียร หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลที่ ๘ ไม่มีสตินทรีย์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 57    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 632

ส. บุคคลที่ ๘ เป็นผู้ลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลที่ ๘ ไม่มีสมาธินทรีย์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ เป็นผู้ไม่มีสมาธิ มีจิตวอกแวก หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๘๘] ส. บุคคลที่ ๘ ไม่มีปัญญินทรีย์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ เป็นผู้มีปัญญาทราม บ้าน้ำลาย คือโง่เขลา หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๘๙] ส. บุคคลที่ ๘ มีศรัทธา และศรัทธานั้นเป็นนิยยา- นิกะ ได้แก่เครื่องนำออกไป หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า บุคคลที่ ๘ มีศรัทธา และศรัทธานั้น เป็นนิยยานิกะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลที่ ๘ ไม่ มีสัทธินทรีย์.

ส. บุคคลที่ ๘ มีวิริยะ และวิริยะนั้นเป็นนิยยานิกะ ฯลฯ มีสติและสตินั้นเป็นนิยยานิกะ ฯลฯ มีสมาธิ และสมาธินั้นเป็น นิยยานิกะ ฯลฯ มีปัญญา และปัญญานั้นเป็นนิยยานิกะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 58    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 633

ส. หากว่า บุคคลที่ ๘ มีปัญญา และปัญญานั้นเป็น นิยยานิกะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลที่ ๘ ไม่มี ปัญญินทรีย์.

[๗๙๐] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล มีศรัทธา มีสัทธินทรีย์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ มีศรัทธา มีสัทธินทรีย์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล มีปัญญา มีปัญญินทรีย์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ มีปัญญา มีปัญญินทรีย์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๙๑] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติ เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล ฯลฯ บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล มีศรัทธา มีสัทธิน- ทรีย์ ฯลฯ มีปัญญา ปัญญินทรีย์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ มีปัญญา มีปัญญินทรีย์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๙๒] ส. บุคคลที่ ๘ มีศรัทธา แต่ไม่มีสัทธินทรีย์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 59    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 634

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล มีศรัทธา แต่ไม่มีสัทธินทรีย์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลที่ ๘ มีปัญญา แต่ไม่มีปัญญินทรีย์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล มีปัญญา แต่ไม่มีปัญญินทรีย์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๙๓] ส. บุคคลที่ ๘ มีศรัทธา แต่ไม่มีสัทธินทรีย์ ฯลฯ มีปัญญา แต่ไม่มีปัญญินทรีย์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล ฯลฯ บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล มีปัญญา แต่ไม่มี ปัญญินทรีย์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๙๔] ส. บุคคลที่ ๘ ไม่มีอินทรีย์ ๕ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง หลาย อินทรีย์นี้ ๕ ประการ, ๕ ประการ เป็นไฉน สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑ อินทรีย์


ความคิดเห็น 60    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 635

๕ ประการฉะนี้แล, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะความเต็มบริบูรณ์ แห่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้แล จึงเป็นพระอรหันต์ เพลากว่านั้น ก็เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล เพลากว่านั้น ก็ เป็นพระอนาคามี เพลากว่านั้น ก็เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้ง ซึ่งอนาคามิผล เพลากว่านั้น ก็เป็นพระสกทาคามี เพลากว่านั้น ก็เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล เพลากว่านั้น ก็ เป็นพระโสดาบัน เพลากว่านั้น ก็เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้ง ซึ่งโสดาปัตติผล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดแล ไม่มีอินทรีย์ ๕ ประการนี้เสียเลย โดยประการทั้งปวง เราเรียกผู้นั้นว่า เป็นคน ภายนอก เป็นผู้ตั้งอยู่ในฝ่ายปุถุชน ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ เป็นคนภายนอก เป็นผู้ตั้งอยู่ใน ฝ่ายปุถุชน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ถ้าอย่างนั้น บุคคลที่ ๘ ก็มีอินทรีย์ ๕ น่ะสิ. อัฏฐมกัสส อินทริยกถา จบ


๑. สํ. มหา. ๑๙/๘๘๘.๘๘๙


ความคิดเห็น 61    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 636

อรรถกถาอัฏฐมกัสส อินทริยกถา

ว่าด้วยอินทรีย์ของบุคคลที่ ๘

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องอินทรีย์ของบุคคลที่ ๘๑ ในเรื่องนั้น ลัทธิ แห่งชนเหล่าใด ดุจลัทธิของนิกายอันธกะในขณะนี้ว่า บุคคลที่ ๘ กำลังได้อินทรีย์ทั้งหลายในขณะแห่งมรรคเกิด มิใช่ได้มาก่อน ดังนี้ สกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้นจึงถามปรวาทีว่า บุคคลที่ ๘ ไม่มีสัทธินทรีย์หรือ คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ถูกถามว่า บุคคลที่ ๘ ไม่มีศรัทธาหรือ ปรวาทีกำหนดเอาความที่ศรัทธาต่างจากสัทธินทรีย์ จึงตอบปฏิเสธ แม้ในปัญหาที่เหลือทั้งหลายก็นัยนี้. สกวาทีเริ่มคำเป็น ต้นว่า บุคคลที่ ๘ มีศรัทธามีสัทธินทรีย์หรือ ดังนี้ เพื่อแสดงว่า เหมือนอย่างว่า ใจของบุคคลใดมีอยู่ แม้มนินทรีย์ ได้แก่อินทรีย์คือใจ ของบุคคลนั้น ก็มีอยู่ฉันใด อินทรีย์ทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้น ของ บุคคลใดมีอยู่ แม้อินทรีย์ทั้งหลายมีสัทธินทรีย์เป็นต้นของบุคคลนั้นก็มี อยู่ฉันนั้น. คำนั้นทั้งหมด พร้อมทั้งการชำระพระสูตรมีอรรถง่ายทั้งนั้น ดังนี้แล.

อรรถกถาอัฏฐมกัสส อินทริยกถา จบ


๑. อินทรีย์ ๕ ของพระอริยบุคคลตั้งแต่ที่ ๑ - ๘ คือ

๑. สัทธินทรีย์

๒. วิริยินทรีย์

๓. สตินทรีย์

๔. สมาธินทรีย์

๕. ปัญญินทรีย์.


ความคิดเห็น 62    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 637

ทิพพจักขุกถา

[๗๙๕] สกวาที มังสจักษุ อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็น ทิพยจักษุ หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. มังสจักษุ ก็คือทิพยจักษุ ทิพยจักษุ ก็คือ มังสจักษุ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๙๖] ส. มังสจักษุ อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็นทิพยจักษุ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มังสจักษุเป็นเช่นใด ทิพยจักษุก็เป็นเช่นนั้น ทิพยจักษุเป็นเช่นใด มังสจักษุก็เป็นเช่นนั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๙๗] ส. มังสจักษุอันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็นทิพยจักษุ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มังสจักษุอันนั้น ทิพยจักษุอันนั้นแหละ ทิพยจักษุอันนั้น มังสจักษุก็อันนั้นแหละ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 63    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 638

[๗๙๘] ส. มังสจักษุ อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็นทิพยจักษุ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิสัย อานุภาพ โคจร ของมังสจักษุ เป็น เช่นใด วิสัยอานุภาพ โคจร ของทิพยจักษุ ก็เป็นเช่นนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๙๙] ส. มังสจักษุ อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็นทิพยจักษุ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นอุปาทินนะแล้วเป็นอนุปาทินนะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๐๐] ส. เป็นอุปาทินนะแล้วเป็นอนุปาทินนะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นกามาวจรแล้วเป็นรูปาวจร หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๐๑] ส. เป็นกามาวจรแล้วเป็นรูปาวจร หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นรูปาวจรแล้วเป็นอรูปาวจร หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


๑. อุปาทินนะ-อนุปาทินนะดูนิทเทสในธรรมสังคณี ข้อ ๗๗๙ และข้อ ๙๕๕


ความคิดเห็น 64    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 639

[๘๐๒] ส. เป็นรูปาวจรแล้วเป็นอรูปาวร หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นปริยาปันนะแล้วเป็นอปริยาปันนะ๑ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๐๓] ส. มังสจักษุ อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็นทิพยจักษุ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทิพยจักษุ อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว ก็เป็นมังสจักษุ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๐๔] ส. มังสจักษุ อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็นทิพยจักษุ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทิพยจักษุ อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็นปัญญา จักษุ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๐๕] ส. มังสจักษุ อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็นทิพยจักษุ หรือ?


๑. ปริยาปันนะ-อปริยาปันนะ ดูนิทเทสในธรรมสังคณี ข้อ ๘๓๑ และข้อ ๙๘๓


ความคิดเห็น 65    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 640

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทิพยจักษุ อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็นมังสจักษุ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๐๖] ส. มังสจักษุ อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็นทิพยจักษุ

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักษุ ๒ อย่างเท่านั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๐๗] ส. จักษุ มี ๒ อย่างเท่านั้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสจักษุว่ามี ๓ คือ มังส- จักษุ ทิพยจักษุ ปัญญาจักษุ มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสจักษุว่ามี ๓ คือ มังสจักษุ ทิพยจักษุ ปัญญาจักษุ ก็ต้องไม่กล่าวว่า จักษุมี ๒ อย่างเท่านั้น

[๘๐๘] ส. จักษุมี ๒ อย่างเท่านั้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ- ทั้งหลาย จักษุนี้ มี ๓ อย่าง, ๓ อย่างเป็นไฉน มังสจักษุ


ความคิดเห็น 66    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 641

ทิพยจักษุ ปัญญาจักษุ จักษุมี ๓ อย่าง ฉะนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นบุรุษผู้สูงสุดได้ตรัสจักษุ ๓ อย่างนี้ คือ มังสจักษุ ทิพยจักษุ และปัญญาจักษุ อันยอดเยี่ยมไว้แล้ว ความเกิดขึ้นแห่งมังสจักษุ เป็นทางแห่งทิพยจักษุ ก็เมื่อใด ญาณ คือ ปัญญาจักษุ อันยอดเยี่ยมมาเกิดขึ้นแล้ว เมื่อนั้น ย่อม พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ เพราะการได้จักษุนั้น ดังนี้๑ เป็นสูตร มีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า จักษุมี ๒ อย่าง เท่านั้น.

ทิพยจักขุกถา จบ

อรรถกถาทิพยจักขุกถา

ว่าด้วยทิพพจักษุ

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องทิพพจักขุ.๒ ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความ เห็นผิดดุจนิกายอันธกะและสมิติยะทั้งหลาย ในขณะนี้ว่า มังสจักขุ


๑. ขุ. อิติ. ๒๕/๒๓๙.

๒. จักษุ ๓. คือ:-

๑. มังสจักขุ ได้แก่ จักขุปสาท

๒ ทิพพจักขุ ได้แก่ อภิญญาจิตตุปบาทที่เป็นทุติยวิชชาญาณ

๓. ปัญญาจักขุ ได้แก่ อาสวักขยญาณ (ในปกรณ์นี้หรือในขุททกนิกาย อิติวุตตกะ) จักขุ ๕ คือ :- มังสจักขุ ทิพพจักขุ ปัญญาจักขุ พุทธจักขุ สมันตจักขุ (ในขุททกนิกาย มหานิทเทส)


ความคิดเห็น 67    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 642

นั่นแหละ อันธรรม คือ จตุตถฌานอุปถัมภ์แล้ว ชื่อว่าเป็น ทิพพจักขุ ดังนี้ สกวาทีหมายชนเหล่านั้น จึงถามปรวาทีว่า มังสจักขุ อันธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพพจักขุหรือ คำตอบรับรองเป็นของ ปรวาที. ก็ถูกถามอีกว่า มังสจักขุก็คือทิพพจักขุ ทิพพจักขุก็คือ มังสจักขุหรือ ปรวาทีปฏิเสธว่า มังสจักขุนั้นก็เป็นเพียงมังสจักษุ นั้นเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น. แม้ในคำถามทั้งหลายว่า มังสจักขุ เป็นเช่นใด เป็นต้น ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะความที่จักษุทั้ง ๒ นั้น ไม่มีสภาพอย่างเดียวกัน. แม้ในปัญหามีคำว่า วิสัย เป็นต้น ความว่า รูปายตนะนั่นแหละเป็นวิสัยแห่งจักษุแม้ทั้ง ๒. อธิบายว่า ก็มังสจักขุย่อมเห็นรูปอันมาสู่คลองแห่งจักษุเท่านั้น ส่วนทิพพจักขุนี้ ย่อมเห็นรูปอันไม่มาสู่คลองแห่งจักษุได้ แม้รูปนั้นจะมีภูเขากั้นไว้ เป็นต้น. อนึ่ง รูปแม้ละเอียดยิ่งนัก ก็เป็นโคจรคืออารมณ์ของทิพพจักขุ ได้ แต่รูปเช่นนี้เป็นอารมณ์ของมังสจักขุไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น อานุภาพ คือ อำนาจ และโคจร คือ อารมณ์ แห่งจักษุทั้ง ๒ นี้ จึงไม่เหมือนกัน ด้วยประการฉะนี้. ถูกถามว่า เป็นอุปาทินนะ คือเป็นกัมมชรูป แล้วเป็นอนุปาทนนะ คือมิใช่กัมมชรูป หรือ ปรวาทีนั้น ย่อมปรารถนาว่า มังสจักขุเป็นอุปาทินนะ ส่วน ทิพพจักขุเป็นอนุปาทินนะ ทั้งมังสจักขุนั้นและก็ไม่เป็นทิพพขุ เพราะฉะนั้นจึงตอบปฏิเสธ. ถูกถามครั้งที่ ๒ ปรารถนา ทิพพจักขุย่อมเกิด ขึ้นเพราะอาศัยมังสจักขุเป็นปัจจัย เพราะอาศัยพระบาลีว่า ความ เกิดขึ้นแห่งมังสจักขุเป็นทางแห่งทิพพจักขุ ดังนี้ ทั้งมังสจักขุนั้นก็


ความคิดเห็น 68    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 643

เป็นความผ่องใสของมหาภูตรูปทั้ง ๔ อันเป็นไปในรูปาวจร เพราะฉะนั้น จึงตอบรับรอง. แม้ถูกถามว่า เป็นกามาวจร ปรวาที่ไม่ปรารถนา ซึ่งมังสจักขุนั่นแหละเป็นทิพพจักขุ เหตุใด เพราะเหตุนั้น จึงตอบ ปฏิเสธ. ถูกถามครั้งที่ ๒ ก็ตอบรับรองว่า ธรรมดาว่า รูปาวจรเกิด เพราะความที่มังสจักขุเกิดขึ้นแล้ว โดยมีรูปาวจรฌานเป็นปัจจัย. แม้ ถูกถามว่า เป็นรูปาวจรแล้วเป็นอรูปาวจรหรือ ต่อจากนี้ไป ท่านตอบปฏิเสธ เพราะความไม่มีรูปาวจรจิต ในขณะแห่งอรูปาวจร ด้วยการภาวนา. ถูกถามครั้งที่ ๒ ก็ตอบรับรอง เพราะลัทธิว่า มังสจักขุ นั้นเป็นสภาพผ่องใสของมหาภูตรูปทั้ง ๔ อันเป็นปัจจัยให้อรูปาวจร เกิดขึ้น ดังนี้ ก็แต่ปรวาทีนั้นไม่ปรารถนาความที่มังสจักขุนั้นเป็น โลกุตตธรรม (อปริยาปันนะ) เพราะฉะนั้น จึงตอบปฏิเสธนั้นเทียว. คำว่า ทิพพจักขุอันธรรมอุปถัมภ์แล้ว ได้แก่ เป็นธรรมกามาวจร อุปถัมภ์แล้ว. คำว่า อันธรรมอุปถัมถ์แล้ว ได้แก่ เป็นธรรม คือ โลกุตตรอุปถัมภ์แล้ว. ถูกถามว่า จักขุมี ๒ อย่างเท่านั้นหรือ ปรวาที ไม่ปรารถนาความที่ทิพพจักขุอันธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นปัญญาจักขุ แม้ ก็จริง ถ้าอย่างนั้น ก็ตอบปฏิเสธ เพราะความที่ปัญญาจักขุเป็นสภาพ มีอยู่. ถูกถามอีก ก็ตอบรับรองด้วยสามารถแห่งลัทธิว่า มังสจักขุอัน ธรรมอุปถัมภ์แล้วย่อมเป็นทิพพจักขุ ดังนี้ คำที่เหลือในที่นี้มีอรรถง่าย ทั้งนั้น แล.

อรรถกถาทิพพจักขุ จบ


ความคิดเห็น 69    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 644

ทิพพโสตกถา

[๘๐๙] สกกวาที มังสโสต อันธรรมอุปถัมถ์แล้ว เป็น ทิพยโสต หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. มังสโสต ก็คือทิพยโสต ทิพยโสต ก็คือ มังสโสต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๑๐] ส. มังสโสต อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็นทิพยโสต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มังสโสตเป็นเช่นใด ทิพยโสตก็เป็นเช่นนั้น ทิพยโสตเป็นเช่นใด มังสโสตก็เป็นเช่นนั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๑๑] ส. มังสโสต อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็นทิพยโสต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มังสโสตอันนั้น ทิพยโสตก็อันนั้นแหละ ทิพยโสตอันนั้น มังสโสตก็อันนั้นแหละ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 70    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 645

[๘๑๒] ส. มังสโสต อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็นทิพยโสต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิสัย อานุภาพ โคจร แห่งมังสโสต เป็น เช่นใด วิสัย อานุภาพ โคจร แห่งทิพยโสต ก็เป็นเช่นนั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๑๓] ส. มังสโสต อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็นทิพยโสต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นอุปาทินนะแล้วเป็นอนุปาทินนะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๑๔] ส. เป็นอุปาทินนะแล้วเป็นอนุปาทินนะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นกามาวจรแล้วเป็นรูปาวจร หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๑๕] ส. เป็นกามาวจรแล้วเป็นรูปาวจร หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นรูปาวจรแล้วเป็นอรูปาวจร หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 71    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 646

[๘๑๖] ส. เป็นรูปาวจรแล้วเป็นอรูปาวจร หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นปริยาปันนะแล้วเป็นอปริยาปันนะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๑๗] ส. มังสโสต อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็นทิพยโสต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทิพยโสต อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว ก็เป็นมังสโสต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๑๘] ส. มังสโสต อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็นทิพยโสต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โสตมีอย่างเดียวเท่านั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๑๙] ส. โสตมีอย่างเดียวเท่านั้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสโสตว่ามี ๒ อย่าง คือ มังสโสตและทิพยโสต มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 72    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 647

ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสโสตว่ามี ๒ อย่าง คือ มังสโสต และทิพยโสต ก็ต้องไม่กล่าวว่า โสตมีอย่างเดียว เท่านั้น.

ทิพพโสตกถา จบ

อรรถกถาทิพพโสตกถา

ว่าด้วยทิพพโสต๑

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องทิพพโสต. ในเรื่องนั้น ปรวาทีถูกสกวาที ถามว่า โสตมีอย่างเดียวเท่านั้นหรือ ก็ตอบปฏิเสธ เพราะโสต มีอยู่ ๒ คือ มังสโสต ทิพยโสต ถูกถามอีก ก็ตอบรับรอง เพราะว่า มังสโสตนั้นนั่นแหละ อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว ชื่อว่าเป็นทิพพโสต. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

อรรถกถาทิพพโสตกถา จบ


๑. โสต ๒ อย่าง คือ ๑. มังสโสต ได้แก่ โสตปสาท

๒. ทิพพโสต ได้แก่ อภิญญาญาณ ในคัมภีร์ยมกกล่าว โสต ๓ คือ

๑. มังสโสต ได้แก่ โสตปสาท

๒. ทิพยโสต ได้แก่ อภิญญาจิตตุปสาท

๓. ตัณหาโสต ได้แก่ โลกเจตสิก


ความคิดเห็น 73    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 648

ยถากัมมูปคตญาณกถา

[๘๒๐] สกวาที ยถากัมมูปคตญาณ คือ ญาณเป็นเครื่องรู้ ความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นไปตามกรรม เป็นทิพยจักษุ หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ทำไว้ในใจซึ่งความที่สัตว์เป็นไปตามกรรมด้วย เห็นรูปได้ด้วยทิพยจักษุด้วย หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๒๑] ส. ทำไว้ในใจซึ่งความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นไปตาม กรรมด้วย เห็นรูปด้วยทิพยจักษุด้วย หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง แห่งจิต ๒ ดวง หรือ?

ป. ไม่พึงกล่างอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๒๒] ส. ยถากัมมูปคตญาน เป็นทิพยจักษุ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทำไว้ในใจซึ่งบทว่า สัตว์เหล่านี้หนอ ท่าน ทั้งหลาย ดังนี้ด้วย ทำไว้ในใจซึ่งบทว่า เป็นผู้ประกอบด้วยกาย ทุจริต ดังนี้ด้วย ทำไว้ในใจซึ่งบทว่า เป็นผู้ประกอบด้วยวจีทุจริต ดังนี้ด้วย ทำไว้ในใจซึ่งบทว่า เป็นผู้ประโยคกอบด้วยมโนทุจริต ดังนี้ ด้วย ทำไว้ในใจซึ่งบทว่า เป็นผู้ติเตียนพระอริยะทั้งหลาย ดังนี้ด้วย


ความคิดเห็น 74    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 649

ทำไว้ในใจซึ่งบทว่า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ดังนี้ด้วย ทำไว้ในใจซึ่งบทว่า สมาทานกรรมคือมิจฉาทิฏฐิ ดังนี้ด้วย ทำไว้ในใจซึ่งบทว่า สัตว์ เหล่านั้นเข้าถึงแล้วซึ่งอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เบื้องหน้า แต่มรณะ เพราะกายแตก ดังนี้ด้วย ทำไว้ในใจซึ่งบทว่า ก็หรือสัตว์เหล่านี้ นะท่านทั้งหลาย ดังนี้ด้วย ทำไว้ในใจซึ่งบทว่า เป็นผู้ประกอบด้วย กายสุจริต ดังนี้ด้วย ทำไว้ในใจซึ่งบทว่า เป็นผู้ประกอบด้วยวจีสุจริต ดังนี้ด้วย ทำไว้ในใจซึ่งบทว่า เป็นผู้ประกอบด้วยมโนสุจริต ดังนี้ ด้วย ทำไว้ในใจซึ่งบทว่า เป็นผู้ไม่ติเตียนพระอริยะทั้งหลาย ดังนี้ ด้วย ทำไว้ในใจซึ่งบทว่า เป็นสัมมาทิฏฐิ ดังนี้ด้วย ทำไว้ในใจ ซึ่งบทว่า สมาทานกรรมคือสัมมาทิฏฐิ ดังนี้ด้วย ทำไว้ในใจซึ่ง บทว่า สัตว์เหล่านั้นเข้า แล้วซึ่งสุคติ โลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่มรณะ เพราะกายแตก ดังนี้ด้วย เห็นรูปด้วยทิพยจักษุด้วย หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๒๓] ส. ยถากัมมูปคตญาณเป็นทิพยจักษุ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทำไว้ในใจซึ่งบทว่า สัตว์เหล่านี้หนอ ท่าน ทั้งหลาย" ดังนี้ด้วย ฯลฯ ทำไว้ในใจซึ่งบทว่า สัตว์เหล่านั้นได้ เข้าถึงแล้วซึ่งสุคติ โลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่มรณะ เพราะกายแตก ดังนี้ด้วย เห็นรูปโดยทิพยจักษุด้วย หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 75    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 650

ส. เป็นการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง แห่งจิต ๒ ดวง หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๒๔] ส. ยถากัมมูปคตญาณเป็นทิพยจักษุ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลบางคน เป็นผู้ไม่มีทิพยจักษุ เป็นผู้ไม่ได้ เฉพาะแล้ว ไม่บรรลุแล้ว ไม่การทำให้แจ้งแล้วซึ่งทิพยจักษุ แต่รู้ความ ที่สัตว์ทั้งหลายเป็นไปตามกรรมได้ มีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า บุคคลบางคน เป็นผู้ไม่มีทิพยจักษุ เป็นผู้ไม่ได้เฉพาะแล้ว ไม่บรรลุแล้ว ไม่กระทำให้แจ้งแล้วซึ่งทิพยจักษุ แต่รู้ความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นไปตามกรรมได้มีอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ยถา- กัมมูปคตญาณเป็นทิพยจักษุ.

[๘๒๕] ส. ยถากัมมูปคตญาณเป็นทิพยจักษุ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ท่านพระสารีบุตรรู้ความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นไป ตามกรรม หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ท่านพระสารีบุตร รู้ความที่สัตว์ทั้งหลาย เป็นไปตามกรรม ก็ต้องไม่กล่าวว่า ยถากัมมูปคตญาณเป็นทิพยจักษุ.


ความคิดเห็น 76    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 651

[๘๒๖] ส. ท่านพระสารีบุตร รู้ความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นไป ตามกรรม หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ท่านพระสารีบุตรมีทิพยจักษุ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๒๗] ส. ท่านพระสารีบุตรมีทิพยจักษุ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวคำนี้ไว้ว่า การตั้ง ความปรารถนา เพื่อปุพเพนิวาสญาณ ทิพพจักขุญาณ เจโต ปริยญาณ อิทธิวิธิ ความหมดจดแห่งโสตธาตุ และจุตูปปาตญาณ ของเราไม่มี ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ยถากัมมูปคตญาณ เป็นทิพยจักษุ ดังนี้.

ยถากัมมูปคตญาณกถา จบ

อรรถกถายถากัมมูปคตญาณกถา

ว่าด้วยยถากัมมูปคตญาณ

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องยถากัมมูปคตญาณ ได้แก่ ญาณเป็นเครื่อง รู้ความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นไปตามกรรม. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด มี


๑. ขุ.เถร. ๒๖/๓๙๖


ความคิดเห็น 77    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 652

ความเห็นว่า ยถากัมมูปคตญาณนั่นแหละเป็นทิพยจักขุ ดังนี้ เพราะ ไม่พิจารณาถือเอาพระสูตรว่า ตถาคต ย่อมทรงรู้แจ้งซึ่งความที่สัตว์ ทั้งหลายผู้เป็นไปตามกรรม ฯลฯ ด้วยทิพยจักขุอันบริสุทธิ์ด้วยประการ ฉะนี้ ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็น ของปรวาที. ถูกสกวาทีถามอีกว่า ทำไว้ในใจซึ่งความที่สัตว์เป็น ไปตามกรรมด้วย ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะอารมณ์ ๒ อย่างของจิต ดวงเดียวกันไม่มี. ถูกถามครั้งที่ ๒ ตอบรับรองด้วยสามารถแห่งจิตต่างๆ สกวาทีไม่ให้โอกาสอันพลั้งพลาดของปรวาทีนั้น จึงถามอีกว่า เป็น การประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ปรวาทีตอบปฏิเสธ. พึงทราบ เนื้อความในการประกอบบทยถากัมมูปคตนี้ฉันใด ก็พึงประกอบแม้ด้วย บทว่า อิเม วต โภนฺโต สตฺตา แปลว่า สัตว์เหล่านี้หนอ ท่าน ทั้งหลาย เป็นต้น ฉันนั้นนั่นแหละ. คำว่า ท่านพระสารีบุตรรู้ ความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นไปตามกรรมหรือ ดังนี้ อธิบายว่า พระสารีบุตรเถระย่อมไม่ใช้อภิญญาญาณทั้งหลาย เพราะความเป็นผู้ ปรารถนาน้อย แต่ชนบางพวกไม่รู้จิตสำคัญว่า อภิญญาญาณเหล่านั้น ไม่มีแก่พระเถระเลย ดังนี้เหตุใด เพราะฉะนั้น ท่านสกวาทีจึงถาม ปรวาทีผู้สำคัญว่า พระเถระไม่ได้ทิพพจักขุ ดังนี้. ด้วยเหตุนั้น นั่นแหละ จึงถูกสกวาทีถามเนื้อความต่อไปว่า ท่านพระสารีบุตร มีทิพพจักษุหรือ ปรวาทีก็ตองปฏิเสธ. ถูกถามครั้งที่ ๒ ก็ตอบ รับรองว่า อภิญญาญาณอย่างไดอย่างหนึ่งที่พระสาวกพึงบรรลุแล้ว


ความคิดเห็น 78    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 653

ญาณนั้นทั้งหมด ท่านพระเถระบรรลุแล้วโดยลำดับ. บัดนี้ สกวาทีเมื่อ จะให้ปรวาทีสับสน จึงกล่าวคำว่า ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ ไว้ว่า การตั้งความปรารถนาเพื่อปุพเพนิวาสญาณ ทิพพจักขุญาณ เจโตปริยญาณ อิทธิวิธ ความหมดจดแห่งโสตธาตุ และจุตูปปาตญาณของเราไม่มี ดังนี้ จริงอยู่ท่านกล่าวคาถานี้ก็เพราะไม่มี ความปรารถนาจะใช้ ท่านมิได้กล่าวเพราะไม่มีอภิญญาญาณทั้งหลาย มิใช่หรือ แต่ปรวาทีกำหนดเนื้อความพระสูตรว่า ความปรารถนาเพื่อ ฯลฯ ของเราไม่มีเท่านั้น เพราะฉะนั้น จึงตอบรับรองตามลัทธิ นั้นว่า พระเถระมีเพียงยถากัมมูปคตญาณ ไม่มีทิพพจักขุญาณ ด้วยเหตุ นั้นนั่นแหละ สกวาทีจึงกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านก็ไม่พึงกล่าวว่า ยถากัมมูปคตญาณเป็นทิพพจักขุ ดังนี้แล.

อรรถกถายถากัมมูปคตญาณกถา จบ


ความคิดเห็น 79    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 654

สังวรกถา

[๘๒๘] สกวาที ความสำรวมมีอยู่ในหมู่เทวดา หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ความไม่สำรวมก็มีอยู่ในหมู่เทวดา หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๒๙] ส. ความไม่สำรวมไม่มีในหมู่เทวดา หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความสำรวมก็ไม่มีในหมู่เทวดา หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๓๐] ส. ศีล คือความสำรวมจากความไม่สำรวม มิใช่ หรือ ความสำรวมมีอยู่ในหมู่ เทวดา หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ศีล คือความสำรวมจากความไม่สำรวมใด ความ ไม่สำรวมนั้น ก็มีอยู่ในหมู่เทวดา หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากว่า ศีล คือความสำรวม จากความไม่สำรวม ความสำรวมมีอยู่ในหมู่เทวดา ด้วยเหตุนั้นนะ ท่านจึงต้องกล่าวว่าศีล คือความสำรวมจากความไม่สำรวมใด ความไม่ สำรวมนั้นก็มีอยู่ในหมู่เทวดา, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้น พึงกล่าวได้ ว่า ศีล ความสำรวมจากความไม่สำรวม ความสำรวมมีอยู่ในหมู่-


ความคิดเห็น 80    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 655

เทวดา แต่ไม่พึงกล่าวว่า ศีล คือความสำรวมจากความไม่สำรวมใด ความไม่สำรวมนั้นก็มีอยู่ในหมู่เทวดา ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า ศีล คือความสำรวมจากความไม่สำรวมใด ความไม่สำรวมนั้นก็มีอยู่ใน หมู่เทวดา ก็ต้องไม่กล่าวว่า ศีล คือความสำรวมจากความไม่สำรวม ความสำรวมมีอยู่ในหมู่เทวดา, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ ว่า ศีล คือความสำรวมจากความไม่สำรวม ความสำรวมมีอยู่ในหมู่ เทวดา แต่ไม่พึงกล่าวว่า ศีล คือความสำรวมจากความไม่สำรวมใด ความไม่สำรวมนั้นก็มีอยู่ในหมู่เทวดา ดังนี้ ผิด.

[๘๓๑] ส. ความสำรวมมีอยู่ในมนุษย์ ความไม่สำรวมก็มี อยู่ในหมู่มนุษย์นั้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความสำรวมมีอยู่ในหมู่เทวดา ความไม่สำรวมก็ มีอยู่ในหมู่เทวดานั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๓๒] ส. ความสำรวมมีอยู่ในหมู่เทวดา ความไม่สำรวม ไม่มีอยู่ในหมู่เทวดานั้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความสำรวมมีอยู่ในหมู่มนุษย์ ความไม่สำรวม ไม่มีอยู่ในหมู่มนุษย์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 81    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 656

[๘๓๓] ส. การเว้นจากปาณาติบาต มีอยู่ในหมู่เทวดา หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ปาณาติบาตก็มีอยู่ในหมู่เทวดา หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. การเว้นจากเหตุเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท คือ ดื่มน้ำเมา กล่าวคือสุราเมรัย มีอยู่ในหมู่เทวดา หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เหตุเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท คือ ดื่มน้ำเมา กล่าวคือสุราและเมรัย ก็อยู่ในหมู่เทวดา หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๓๔] ส. ปาณาติบาตไม่มีอยู่ในหมู่เทวดา หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การเว้นจาnปาณาติบาต ก็ไม่มีในหมู่เทวดา หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เหตุเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท คือ ดื่มน้ำเมา กล่าวคือสุราและเมรัย ไม่มีอยู่ในหมู่เทวดา หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การเว้นจากเหตุเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท คือ


ความคิดเห็น 82    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 657

ดื่มน้ำเมากล่าวคือสุราและเมรัย ก็ไม่มีในหมู่ เทวดา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๓๕] ป. การเว้นจากปาณาติบาตมีอยู่ในหมู่มนุษย์ ปาณา- ติบาตก็มีอยู่ในหมู่มนุษย์นั้น หรือ?

ส. การเว้นจากปาณาติบาตมีอยู่ในหมู่เทวดา ปาณา- ติบาตก็มีอยู่ในหมู่เทวดา หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. การเว้นจากเหตุเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท คือ ดื่มน้ำเมากล่าวคือสุราเมรัย มีอยู่ในหมู่มนุษย์ เป็นเหตุที่ตั้งแห่งความ ประมาท คือ ดื่มน้ำเมากล่าวคือสุราและเมรัย ก็มีอยู่ในหมู่มนุษย์นั้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ก็เว้นจากเหตุเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท คือ ดื่มน้ำเมากล่าวคือสุราและเมรัย มีอยู่ในหมู่เทวดา เหตุเป็นที่ตั้งแห่ง ความประมาท คือดื่มน้ำเมากล่าวคือสุราและเมรัย ก็มีอยู่ในหมู่เทวดา นั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๓๖] ส. การเว้นจากปาณาติบาตมีอยู่ในหมู่เทวดา ปาณา- ติบาตไม่มีในหมู่เทวดานั้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 83    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 658

ส. การเว้นจากปาณาติบาตมีอยู่ในหมู่มนุษย์ ปาณา- ติบาตไม่มีในหมู่มนุษย์นั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. การเว้นจากเหตุเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท คือ ดื่มน้ำเมากล่าวคือสุราและเมรัย มีอยู่ในหมู่เทวดา เหตุเป็นที่ตั้งแห่งความ ประมาท คือ ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยไม่มีอยู่ในหมู่เทวดานั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การเว้นจากเหตุเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท คือ ดื่มน้ำเมากล่าวคือสุราและเมรัย มีอยู่ในหมู่มนุษย์ เหตุเป็นที่ตั้งแห่งความ ประมาท คือ ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย ไม่มีในหมู่มนุษย์นั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๓๗] ป. ความสำรวมไม่มีในหมู่เทวดา หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. เทวดาทั้งปวง เป็นผู้ผลาญชีวิต เป็นผู้ถือเอาสิ่ง ของที่เจ้าของมิได้ให้ เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม เป็นผู้พูดเท็จ เป็นผู้ ตั้งอยู่ในความประมาท คือ ดื่มน้ำเมากล่าวคือสุราและเมรัย หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ความสำรวมก็มีอยู่ในหมู่เทวดา น่ะสิ. สังวรกถา จบ


ความคิดเห็น 84    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 659

อรรถกถาสังวรกถา

ว่าด้วยความสำรวม

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องความสำรวม. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความ เห็นว่า เทวดาทั้งหลายเบื้องบนตั้งแต่ชั้นดาวดึงส์ขึ้นไป ย่อมไม่ประพฤติ ล่วงเวร ๕ คือไม่ล่วงศีล ๕ เหตุในเพราะเหตุนั้น ความสำรวมจึงมีอยู่ แก่เทพเหล่านั้น ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบ รับรองเป็นของปรวาที เพราะไม่เห็นความปรากฏแห่งเวร ๕. ลำดับนั้น สกวาทีจึงถามความไม่สำรวม เพราะธรรมดาว่าความสำรวมมีอยู่ ความ ไม่สำรวมที่บุคคลพึงสำรวมก็ต้องมีอยู่. แต่ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะ ในเทวดาทั้งหลายไม่มีปาณาติบาต เป็นต้น. คำว่า ความสำรวมมีอยู่ ในหมู่มนุษย์ เป็นต้น สกวาทีกล่าว เพื่อแสดงความเป็นไปแห่งความ ไม่สำรวม ก็ครั้นเมื่อความสำรวมและความเป็นไปแห่งความสำรวม มีอยู่ ความไม่สำรวมก็ต้องมีอยู่. ในปัญหาว่า ปาณาติปาตา เวรมณี เป็น ต้น พึงทราบคำตอบรับรองด้วยสามารถแห่งการไม่ประพฤติปาณาติบาต เป็นต้น และพึงทราบคำตอบปฏิเสธ เพราะความไม่มีปาณาติบาต เป็น ต้น. ปัญหาว่าด้วยปฏิโลม มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น. ในปัญหาว่า ปาณาติบาตไม่มีในหมู่เทวดาหรือ พึงทราบคำตอบรับรองของปรวาที ด้วยสามารถแห่งการไม่ประพฤติปาณาติบาตเป็นต้น และคำปฏิเสธของ ปรวาที เพราะความไม่มีปาณาติบาตเป็นต้น. ปัญหาว่าด้วยปฏิโลมมี เนื้อความง่ายทั้งนั้น.


ความคิดเห็น 85    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 660

ในปัญหาทั้งหลายบทสุดท้ายว่า ความสำรวมไม่มีในหมู่ เทวดาหรือ คำตอบรับรองของสกวาที หมายเอาความไม่มีความสำรวมจากการทำปาณาติบาตเป็นต้นอีก. ต่อจากนั้นคำถามของปรวาทีว่า ถ้าความสำรวมของเทวดาทั้งหลายไม่มี เทวดาทั้งปวงก็ต้องเป็น ผู้ล้างผลาญชีวิต เป็นต้น ด้วยสามารถแห่งคำอันมีเลสนัย. คำ ปฏิเสธเป็นของสกวาที เพราะไม่มีความประพฤติล่วงเวรของเทวดาทั้ง หลาย. ปรวาทีให้ลัทธิตั้งไว้ เพราะถือเอาสักแต่คำว่า ไม่พึงกล่าว ของสกวาที. แต่ลัทธิที่ตั้งไว้แล้วอย่างนี้ย่อมตั้งไว้ไม่ได้เลย ดังนี้แล.

อรรถกถาสังวรกถา จบ


ความคิดเห็น 86    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 661

อสัญญากถา

[๘๓๘] สกวาที สัญญามีอยู่ในอสัญญสัตว์ทั้งหลาย หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เป็นสัญญภพ เป็นสัญญคติ เป็นสัญญสัตตาวาส เป็นสัญญสงสาร เป็นสัญญโยนิ คือ กำเนิดแห่งสัตว์ผู้มีสัญญา เป็น สัญญัตตภาวปฏิลาภ คือ การได้อัตภาพแห่งสัตว์ผู้มีสัญญา หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๓๙] ส. เป็นอสัญญภพ เป็นอสัญญคติ เป็นอสัญญสัตตาวาส เป็นอสัญญสงสาร เป็นอสัญญโยนิ เป็นอสัญญัตตภาวปฏิ- ลาภ มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า เป็นอสัญญภพ เป็นอสัญญคติ เป็น อสัญญสัตตาวาส เป็นอสัญญสงสาร เป็นอสัญญโยนิ เป็นอสัญญัตตภาวปฏิลาภ ก็ต้องไม่กล่าวว่า สัญญามีอยู่ในอสัญญสัตว์ทั้งหลาย.

[๘๔๐] ส. สัญญามีอยู่ในอสัญญสัตว์ทั้งหลาย หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นปัญจโวการภพ๑ เป็นปัญจโวการคติ สัตตาวาส สงสาร โยนิ อัตตภาวปฏิลาภ หรือ?


๑. ภพมีขันธ์ ๕ ได้แก่กามภพ และรูปภพ.


ความคิดเห็น 87    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 662

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๔๑] ส. เป็นเอกโวการภพ๑ เป็นเอกโวการคติ สัตตา- วาส สงสาร โยนิ อัตตภาวปฏิลาภ มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า เป็นเอกโวการภพ คติ สัตตาวาส สงสาร โยนิ อัตตภาวปฏิลาภ ก็ต้องไม่กล่าวว่า สัญญามีอยู่ในอสัญญ- สัตว์ทั้งหลาย.

[๘๔๒] ส. สัญญามีอยู่ในอสัญญสัตว์ทั้งหลาย หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทำกิจที่พึงทำด้วยสัญญาได้ด้วยสัญญานั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๔๓] ส. สัญญามีอยู่ในมนุษย์ทั้งหลาย และนั้นเป็น สัญญภพ เป็นสัญญคติ เป็นสัญญสัตตาวาส เป็นสัญญสงสาร เป็น สัญญโยนิ เป็นสัญญัตตภาวปฏิลาภ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัญญามีอยู่ในอสัญญสัตว์ทั้งหลาย และนั้นเป็น สัญญภพ เป็นสัญญคติ เป็นสัญญสัตตาวาส เป็นสัญญสงสาร เป็น สัญญโยนิ เป็นสัญญัตตภาวปฏิลาภ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


๑. ภพมีขันธ์ ๑ คือมีแต่รูปขันธ์ ได้แก่ อสัญญภพ.


ความคิดเห็น 88    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 663

[๘๔๔] ส. สัญญามีอยู่ในหมู่มนุษย์ทั้งหลาย และนั้นเป็น ปัญจโวการภพ คติ สัตตาวาส สงสาร โยนิ อัตตภาวปฏิลาภ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัญญามีอยู่ในอสัญญสัตว์ทั้งหลาย และนั้นเป็น ปัญจโวการภพ คติ สัตตาวาส สงสาร โยนิ อัตตภาวปฏิลาภ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๔๕] ส. สัญญามีอยู่ในมนุษย์ทั้งหลาย ทำกิจที่พึงทำด้วย สัญญาได้ด้วยสัญญานั้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัญญามีอยู่ในอสัญญสัตว์ทั้งหลาย ทำกิจที่พึง ทำด้วยสัญญาได้ด้วยสัญญานั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๔๖] ส. สัญญามีอยู่ในอสัญญสัตว์ทั้งหลาย และนั้นเป็น อสัญญภพ เป็นอสัญญคติ เป็นอสัญญสัตตาวาส เป็นอสัญญสงสาร เป็นอสัญญโยนิ เป็นอสัญญัตตภาวปฏิลาภ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัญญามีอยู่ในมนุษย์ทั้งหลาย และนั้นเป็น อสัญญภพ ฯลฯ เป็นอสัญญัตตภาวปฏิลาภ หรือ ?


ความคิดเห็น 89    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 664

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๔๗] ส. สัญญามีอยู่ในอสัญญสัตว์ทั้งหลาย และนั้น เป็นเอกโวการภพ คติ สัตตาวาส สงสาร โยนิ อัตตภาวปฏิลาภ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัญญามีอยู่ในมนุษย์ทั้งหลาย และนั้นเป็นเอก- โวการภพ ฯลฯ อัตตภาวปฏิลาภ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๔๘] ส. สัญญามีอยู่ในอสัญญสัตว์ทั้งหลาย แต่ทำกิจที่ พึงทำด้วยสัญญาไม่ได้ด้วยสัญญานั้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัญญามีอยู่ในมนุษย์ทั้งหลาย แต่ทำกิจที่พึงทำ ด้วยสัญญาไม่ได้ด้วยสัญญานั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๔๙] ป. ไม่พึงกล่าวว่า สัญญามีอยู่ในอสัญญสัตว์ทั้งหลาย หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เทวดาชื่อสัญญสัตว์ มีอยู่ ก็เทวดาเหล่านั้น ย่อมจุติ


ความคิดเห็น 90    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 665

จากหมู่นั้น เพราะความเกิดขึ้นแห่งสัญญา ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น สัญญาก็มีอยู่ในอสัญญสัตว์ทั้งหลาย น่ะสิ.

[๘๕๐] ส. สัญญามีอยู่ในอสัญญสัตว์ทั้งหลาย หรือ ?

ป. มีในกาลบางคราว ไม่มีในกาลบางคราว.

ส. เป็นสัญญสัตว์ในกาลบางคราว เป็นอสัญญ- สัตว์ในกาลบางคราว เป็นสัญญภพในกาลบางคราว เป็นอสัญญภพใน กาลบางคราว เป็นปัญจโวการภพในกาลบางคราว เป็นเอกโวการภพ ในกาลบางคราว หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๕๑] ส. สัญญามีอยู่ในอสัญญสัตว์ทั้งหลายในกาลบาง คราว ไม่มีในกาลบางคราว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มีอยู่ในกาลไหน ไม่มีในกาลไหน?

ป. มีอยู่ในกาลจุติ ในกาลอุบัติ ไม่มีในกาลตั้งอยู่.

ส. เป็นสัญญสัตว์ในกาลจุติ ในกาลอุบัติ เป็น อสัญญสัตว์ในกาลตั้งอยู่ เป็นสัญญภพในกาลจุติ ในกาลอุบัติ


ความคิดเห็น 91    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 666

เป็นอสัญญภพในกาลตั้งอยู่ เป็นปัญจโวการภพในกาลจุติ ในกาลอุบัติ เป็นเอกโวการภพในกาลตั้งอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

อสัญญกถา จบ

อรรถกถาอสัญญกถา

ว่าด้วยอสัญญา คือไม่มีสัญญา

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องสัญญา๑. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด มีความ เห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลาย ในขณะนี้ว่า สัญญามีอยู่ใน ขณะแห่งจุติ และปฏิสนธิแม้ของอสัญญสัตว์ทั้งหลาย ว่า ขึ้นชื่อว่า ปฏิสนธิ เว้นจากวิญญาณย่อมไม่มี เพราะคำว่า วิญญาณมีสังขาร เป็นปัจจัย ดังนี้ และคำว่า ก็แล อสัญญีเทพเหล่านั้น ย่อมจุติ จากกายนั้น เพราะความเกิดขึ้นแห่งสัญญา ดังนี้ คำถามของ สกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปราวาที. ต่อจากนั้น


๑. เรื่องนี้ในคัมภีร์ยมกอธิบายว่า สัตว์ในปัญจโวการภพและจตุโวการภพ ขณะปฏิสนธิมีสัญญาเกิดขึ้นในขณะจุติไม่มีสัญญาเพราะสัญญากำลังดับ ผู้เข้า นิโรธสมาบัติในขณะนิโรธ สัญญาไม่มี ส่วนสัตว์ที่เป็นเอกโวการภพ คือ อสัญญีสัตว์ทั้งหลาย ขณะเกิดก็ดี ขณะตั้งอยู่ก็ดี ขณะจุติก็ดี ไม่มีสัญญาเกิดเลย.


ความคิดเห็น 92    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 667

สกวาทีเพื่อจะท้วงปรวาทีด้วยคำเป็นต้น ว่า ที่นั้นเป็นภพมีสัญญา ตามลัทธิของท่านหรือ จึงกล่าวคำว่า เป็นสัญญีภพ เป็นสัญญคติ เป็นต้น. คำนั้นทั้งปวง และคำอื่นจากคำนั้นพึงทราบโดยนัย แห่งพระบาลีนั่นแล.

อรรถกถาอสัญญกถา จบ


ความคิดเห็น 93    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 668

เนวสัญญานาสัญญายตนกถา

[๘๕๒] สกวาที ไม่พึงกล่าวว่าสัญญามีอยู่ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เป็นอสัญญภพ เป็นอสัญญคติ เป็นอสัญสัตตาวาส เป็นอสัญญาสงสาร เป็นอสัญญโยนิ เป็นอสัญญัตตภาวปฏิลาภ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๕๓] ส. เป็นสัญญภพ สัญญคติ สัญญสัตตาวา สัญญสงสาร สัญญโยนิ สัญญัตตภาวปฏิลาภ มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า เป็นสัญญภพ เป็นสัญญคติ ฯลฯ เป็น สัญญัตตภาวปฏิลาภ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ไม่พึงกล่าวว่าสัญญามีอยู่ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ.

[๘๕๔] ส. ไม่พึงกล่าวว่าสัญญามีอยู่ในเนวสัญญานาสัญญา. ยตนภพ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นเอกโวการภพ คติ ฯลฯ อัตตภาวปฏิลาภ หรือ

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 94    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 669

ส. เป็นจตุโวการภพ๑ เป็นจตุโวการคติ ฯลฯ อัตต- ภาวปฏิลาภ มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า เป็นจตุโวการภพ คติ ฯล ฯ อัตตภาว ปฏิลาภ ก็ต้องไม่กล่าวว่าไม่พึงกล่าวว่าสัญญามีอยู่ในเนวสัญญานาสัญญา- ยตนภพ.

[๘๕๕] ป. ไม่พึงกล่าวว่า สัญญามีอยู่ในอสัญญสัตว์ทั้งหลาย และนั้นเป็นสัญญภพ เป็นอสัญญคติ เป็นอสัญญสัตตาวาส เป็นอสัญญ- สงสาร เป็นอสัญญโยนิ เป็นอสัญญัตตภาวปฏิลาภ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ไม่พึงกล่าวว่า สัญญามีอยู่ในเนวสัญญานา สัญญายตนภพ และนั้นก็เป็นอสัญญภพ เป็นสัญญคติ เป็นอสัญญ- สัตตาวาส เป็นอสัญญสงสาร เป็นอสัญญโยนิ เป็นอสัญญัตตภาวปฏิ- ลาภ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ไม่พึงกล่าวว่า สัญญามีอยู่ในอสัญญีสัตว์ทั้งหลาย และนั้นเป็นเอกโวการภพ คติ ฯลฯ อัตตภาว ปฏิลาภ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.


๑. ภพมีขันธ์ ๔ คือ อรูปขันธ์ ๔ ได้แก่บุคคล


ความคิดเห็น 95    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 670

ป. ไม่พึงกล่าวว่า สัญญามีอยู่ในเนวสัญญานาสัญญา- ยตนภพ และนั้นก็เป็นเอกโวการภพ คือ คติ สัตตาวาส สงสาร โยนิ อัตตภาวปฏิลาภ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๕๖] ส. ไม่พึงกล่าวว่า สัญญามีอยู่ในเนวสัญญานา สัญญายตนภพ และนั้นเป็นสัญญภพ สัญญคติ ฯลฯ สัญญัตตภาวา ปฏิลาภ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ไม่พึงกล่าวว่า สัญญามีอยู่ในอสัญญีสัตว์ทั้งหลาย และนั้นเป็นสัญญภพ สัญญคติ ฯลฯ สูญญัตตภาวปฏิลาภ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๕๗] ส. ไม่พึงกล่าวว่า สัญญามีอยู่ในเนวสัญญานา- สัญญายตนภพ และนั้นเป็นจตุโวการภพ คติ ฯลฯ อัตตภาวปฏิลาภ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ไม่พึงกล่าวว่า สัญญามีอยู่ในอสัญญสัตว์ทั้งหลาย และนั้นเป็นจตุโวการภพ ฯลฯ อัตตภาวปฏิลาภ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 96    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 671

[๘๕๘] ส. ไม่พึงกล่าวว่า สัญญามีอยู่ในเนวสัญญานา สัญญายตนภพ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เนวสัญญานาสัญญายตนภพ เป็นจตุโวการภพ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า เนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นจตุโว- การภพก็ต้องไม่กล่าวว่าไม่พึงกล่าว่าสัญญามีอยู่ในเนวสัญญานาสัญญา- ยตนภพ.

[๘๕๙] ส. เนวสัญญาสัญญายตนภพ เป็นจตุโวการ- ภพ แต่ไม่พึงกล่าวสัญญามีอยู่ในเนวสัญญานา- สัญญายตนภพ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อากาสานัญจายตนภพ เป็นจตุโวการภพ แต่ ไม่พึงกล่าวว่า สัญญามีอยู่ในอากาสานัญจายตน- ภพ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๖๐] ส. เนวสัญญานาสัญญายตนภพ เป็นจตุโวการภพ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สัญญามีอยู่ในเนวสัญญานา สัญญายตนภพ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 97    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 672

ส. วิญญาณัญจายตนภพ ฯลฯ อากิญจัญญายตนภพ เป็นจตุโวการภพ แต่ไม่พึงกล่าวว่าสัญญามีอยู่ในอากิญจัญญายตนภพ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๖๑] ส. อากาสานัญจายตนภพเป็นจตุโวการภพ สัญญามี อยู่ในภพนั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นจตุโวการภพ สัญญามีอยู่ในภพนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯล ฯ

ส. วิญญาณัญจายตนภพ ฯลฯ อากิญจัญญายตนภพ เป็นจตุโวการภพ สัญญามีอยู่ในภพนั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นจตุโวการภพ สัญญามีอยู่ในภพนั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๖๒] ส. ไม่พึงกล่าวว่าสัญญามีอยู่ หรือว่าไม่มีอยู่ ใน เนวสัญญานาสัญญายตนภพ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เนวสัญญานาสัญญายตนภพ เป็นจตุโวการภพ มิใช่หรือ?


ความคิดเห็น 98    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 673

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า เนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นจตุโว- การภพ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ไม่พึงกล่าวว่าสัญญามีอยู่ หรือว่า ไม่มีอยู่ใน เนวสัญญานาสัญญายตนภพ.

[๘๖๓] ส. เนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นจตุโวการภพแต่ ไม่พึงกล่าวว่าสัญญามีอยู่ หรือว่าไม่มีอยู่ ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อากาสานัญจายตนภพ ฯลฯ วิญญาณัญจายตน- ภพ ฯลฯ อากิญจัญญายตนภพ เป็นจตุโวการภพ แต่ไม่พึงกล่าวว่าสัญญา มีอยู่ หรือว่าไม่มีอยู่ ในอากิญจัญญายตนภพ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๖๔] ส. อากาสานัญจายตนภพเป็นจตุโวการภพ สัญญา มีอยู่ในภพนั้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เนวสัญญานาสัญญายตนภพ เป็นจตุโวการภพ สัญญามีอยู่ในภพนั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. วิญญาณัญจายตนภพ ฯลฯ อากิญจัญญายตนภพ เป็นจตุโวการภพ สัญญามีอยู่ในภพนั้น หรือ?


ความคิดเห็น 99    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 674

ป. ถูกแล้ว.

ส. เนวสัญญานาสัญญายตนภพ เป็นจตุโวการภพมี อยู่ในภพนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๖๕] ป. ไม่พึงกล่าวว่า๑ ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ หาควรกล่าวไม่ว่า มีสัญญาหรือว่าไม่มีสัญญา หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. เป็นเนวสัญญานาสัญญายตนภพ มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ด้วย เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ หาควร กล่าวไม่ว่า มีสัญญาหรือว่าไม่มีสัญญา.

[๘๖๖] ส. เพราะทำอธิบายว่า เป็นเนวสัญญานาสัญญาย- ตนภพ จึงหาควรกล่าวไม่ว่า สัญญามีอยู่หรือว่าไม่มีอยู่ ในเนวสัญญา- นาสัญญายตนภพ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะทำอธิบายว่า เป็นอทุกขมสุขเวทนาจึง หาควรกล่าวไม่ว่าเวทนา หรือว่ามิใช่เวทนา


๑. คำนี้เติมเข้ามาในเวลาแปล เพื่อให้รับกับกระบวนความต่อไป และเมื่อเทียง กับอสัญญากถาก็เห็นว่า บาลีตรงนี้ควรเป็น "นวตฺตพฺพํ เนวสฺานาสฺา- ยตเน..."


ความคิดเห็น 100    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 675

ในอทุกขมสุขเวทนา หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เนวสัญญานาสัญญายตนกถา จบ

อรรถกถาเนวสัญญานาสัญญายตนกถา

ว่าด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนะ

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องเนวสัญญานาสัญญายตนะ คือ อายตนะที่มี สัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีก็ไม่ใช่. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจ ลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายในขณะนี้ว่า ไม่พึงกล่าวว่า สัญญามีอยู่ ในภพนั้น เพราะพระบาลีว่า อายตนะนั้น มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มี ก็ไม่ใช่ ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็น ของปรวาที. คำที่เหลือในที่นี้ พึงทราบโดยนัยแห่งพระบาลีนั่นแล.

อรรถกถาเนวสัญญานาสัญญายตนกถา จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ

๑. พลกถา ๒. อริยนฺติกถา ๓. วิมุจจติกถา ๔. วิมุจจ- มานกถา ๕. อัฏฐมกกถา ๖. อัฏฐมกัสสอินทริยกถา ๗. ทิพพจักขุกถา ๘. ทิพพโสตกถา ๙. ยถากัมมูปคตญาณกถา ๑๐. สังวรกถา ๑๑. อสัญญกถา ๑๒. เนวสัญญานาสัญญายตนกถา.

วรรคที่ ๓ จบ