๓. จุนทสูตร ว่าด้วยการปรินิพพานของพระสารีบุตร
โดย บ้านธัมมะ  11 ต.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 37870

[เล่มที่ 30] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 423

๓. จุนทสูตร

ว่าด้วยการปรินิพพานของพระสารีบุตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 30]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 423

๓. จุนทสูตร

ว่าด้วยการปรินิพพานของพระสารีบุตร

[๗๓๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้กรุงสาวัตถี. ก็ในสมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ บ้านนาฬกคาม ในแคว้นมคธ อาพาธ เป็นไข้หนัก ได้รับทุกขเวทนา. สามเณรจุนทะเป็นอุปัฏฐากของท่าน. ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรปรินิพพานด้วยอาพาธนั่นแหละ.

[๗๓๔] ครั้งนั้น สามเณรจุนทะถือเอาบาตรและจีวรของท่านพระสารีบุตร เข้าไปหาพระอานนท์ยังพระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้กรุงสาวัตถี นมัสการท่านพระอานนท์แล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตรปรินิพพานแล้ว นี้บาตรและจีวรของท่าน. ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสจุนทะ นี้เป็นมูลเรื่องที่จะเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า มีอยู่ มาไปกันเถิด เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระองค์. สามเณรจุนทะรับคำของท่านพระอานนท์แล้ว.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 424

[๗๓๕] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์กับสามเณรจุนทะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สามเณรจุนทะรูปนี้ ได้บอกอย่างนี้ว่า ท่านพระสารีบุตรปรินิพพานแล้ว นี้บาตรและจีวรของท่าน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กายของข้าพระองค์ประหนึ่งจะงอมงมไป แม้ทิศทั้งหลายก็ไม่ปรากฏแก่ข้าพระองค์ แม้ธรรมก็ไม่แจ่มแจ้งแก่ข้าพระองค์ เพราะได้ฟังว่า ท่านพระสารีบุตรปรินิพพานแล้ว.

[๗๓๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนอานนท์ สารีบุตรพาเอาศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ หรือวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ปรินิพพานไปด้วยหรือ.

ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า หามิได้ พระเจ้าข้า ท่านพระสารีบุตรมิได้พาศีลขันธ์ปรินิพพานไปด้วย ฯลฯ มิได้พาวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ปรินิพพานไปด้วย. ก็แต่ว่าท่านพระสารีบุตรเป็นผู้กล่าวสอนให้รู้ชัดแสดงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริง ไม่เกียจคร้านในการแสดงธรรม อนุเคราะห์เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ข้าพระองค์ทั้งหลายมาตามระลึกถึงโอชะแห่งธรรม ธรรมสมบัติและการอนุเคราะห์ด้วยธรรมนั้นของท่านพระสารีบุตร.

[๗๓๗] พ. ดูก่อนอานนท์ ข้อนั้น เราได้บอกเธอทั้งหลายไว้ก่อนแล้วไม่ใช่หรือว่า จักต้องมีความเป็นต่างๆ ความพลัดพราก ความเป็นอย่างอื่น. จากของรักของชอบใจทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น จะพึงได้ในของรักชอบใจนี้แต่ที่ไหน. สิ่งใดเกิดแล้ว มีแล้ว ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว มีความทำลายเป็นธรรมดา การปรารถนาว่า ขอสิ่งนั้นอย่าทำลายไปเลย ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้.


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 425

[๗๓๘] ดูก่อนอานนท์ เปรียบเหมือนเมื่อต้นไม้ใหญ่ มีแก่น ตั้งอยู่ ลำต้นใดซึ่งใหญ่กว่า ลำต้นนั้นพึงทำลายลง ฉันใด เมื่อภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ซึ่งมีแก่น ดำรงอยู่ สารีบุตรปรินิพพานแล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้นจะพึงได้ในข้อนี้แต่ที่ไหน. สิ่งใดเกิดแล้ว มีแล้ว ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว มีความทำลายเป็นธรรมดา การปรารถนาว่า ขอสิ่งนั้นอย่าทำลายไปเลย ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้. เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่เถิด.

[๗๓๙] ดูก่อนอานนท์ ภิกษุมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง อยู่อย่างไร. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย. ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย. ดูก่อนอานนท์ ภิกษุมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง อยู่อย่างนี้แล.

[๗๔๐] ดูก่อนอานนท์ ก็ภิกษุพวกใดพวกหนึ่ง ในบัดนี้ก็ดี ในกาลที่เราล่วงไปก็ดี จักเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ พวกภิกษุเหล่านี้นั้นที่เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา จักเป็นผู้เลิศ.

จบจุนทสูตรที่ ๓


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 426

อรรถกถาจุนทสูตร

จุนทสูตรที่ ๓. คำว่า ในแคว้นมคธ คือ ในชนบทที่มีชื่ออย่างนั้น. คำว่า ในตำบลนาฬกะ คือ ในตำบลที่มีชื่ออย่างนั้น อันเป็นของสกุลของตนไม่ไกลกรุงราชคฤห์.

บทว่า สามเณรชื่อว่าจุนทะ ความว่า พระเถระนี้เป็นน้องชายคนเล็กของพระธรรมเสนาบดี ในเวลาที่ท่านยังไม่อุปสมบท พวกพระร้องเรียกท่านว่า สามเณรจุนทะ แม้เวลาเป็นพระเถระก็ร้องเรียกอย่างนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สามเณรจุนทะ.

บทว่า เป็นผู้ทำการอุปัฏฐาก ความว่า เป็นผู้ถวายการอุปัฏฐากด้วยน้ำล้างหน้า ไม้สีฟัน และน้ำฉัน กวาดบริเวณ นวดหลังและรับบาตรจีวร.

บทว่า ปรินิพพานแล้ว ความว่า ปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ.

บทว่า เวลาไหน ความว่า ในปีปรินิพพานของพระผู้มีพระภาคเจ้า ในเรื่องนั้น มีอนุปุพพิกถา ดังต่อไปนี้.

ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอยู่จำพรรษาแล้ว เสด็จออกจากหมู่บ้านเวฬุวะ ทรงดำริว่า เราจะไปเมืองสาวัตถี แล้วเสด็จกลับจากทางที่เสด็จมานั่นเทียว ถึงเมืองสาวัตถีโดยลำดับแล้วเสด็จไปพระเชตวัน. พระธรรมเสนาบดี แสดงวัตรถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วไปที่พักกลางวัน. เพื่อนเหล่าอันเตวาสิกในที่นั้นแสดงวัตรหลีกไปแล้ว ท่านจึงกวาดที่พักกลางวัน ปูแผ่นหนัง ล้างเท้าแล้วนั่งคู้บัลลังก์เข้าผลสมาบัติ. ลำดับนั้น เมื่อท่านออกจากผล


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 427

สมาบัตินั้น ตามกำหนดแล้ว เกิดความปริวิตกนี้ว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายจักปรินิพพานก่อนหรือหนอ หรือว่าพระอัครสาวกปรินิพพานก่อน. แต่นั้นรู้แล้วว่า พระอัครสาวกปรินิพพานก่อน แล้วจึงตรวจดูอายุสังขารของตน. รู้แล้วว่า อายุสังขารของเราจักเป็นไปได้เพียง ๗ วันเท่านั้น จึงคิดว่า เราจะปรินิพพานที่ไหน. ลำดับนั้นจึงคิดแล้วคิดอีกว่า พระราหุลปรินิพพานในดาวดึงส์พิภพ พระอัญญาโกณฑัญญเถระ ปรินิพพานที่สระฉัททันต์ เราจะปรินิพพานที่ไหน ดังนี้ จึงเกิดความสังเวชปรารภมารดาว่า มารดาของเราก็เป็นมารดาของพระอรหันต์ถึง ๗ องค์ ยังไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์เลย ท่านมีอุปนิสัยหรือไม่หนอ ได้เห็นอุปนิสัยแห่งพระโสดาปัตติมรรค จึงตรวจดูว่า จักบรรลุด้วยเทศนาของใคร ทราบว่า จักบรรลุด้วยธรรมเทศนาของเราเท่านั้น มิใช่ของใครอื่น ก็ถ้าเราพึงขวนขวายน้อย ก็จักมีคนกล่าวกับเราว่า พระสารีบุตรเถระ เป็นที่พึ่งของคนที่เหลือทั้งหลาย จริงอย่างนั้น ในวันแสดงสมจิตตสูตรของท่าน เทวดาพันโกฏิ บรรลุพระอรหัต เทวดาที่แทงตลอดมรรคทั้ง ๓ ก็นับไม่ถ้วน ปรากฏการตรัสรู้ในที่อื่นๆ อีกมาก และตระกูลแปดหมื่นทำใจให้เลื่อมใสในพระเถระ ก็ได้เกิดในสวรรค์ทั้งนั้น บัดนี้ ท่านไม่อาจที่จะเปลื้องแม้เพียงความเห็นผิดของมารดาของตนได้ เพราะฉะนั้น จึงตกลงใจว่า เราจักเปลื้องมารดาจากความเห็นผิดแล้วปรินิพพานในห้องที่เกิดนั่นแหละ จึงคิดแล้วว่า วันนี้เทียว เราจะขออนุญาตพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วออกไป ดังนี้ จึงเรียกพระจุนทเถระมาว่า จุนทะ เธอจงให้สัญญาแก่ภิกษุบริษัท ๕๐๐ รูปของเราว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย จงถือเอาบาตรและจีวรไป พระธรรมเสนาบดี ประสงค์จะไปบ้านนาฬกะ. พระเถระก็ได้ทำอย่างนั้น. ภิกษุทั้งหลายจึงเก็บเสนาสนะถือบาตรและจีวรไปสำนักพระเถระ.


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 428

พระเถระเก็บเสนาสนะ กวาดที่พักกลางวัน และยืนที่ประตูที่พักกลางวัน ตรวจดูที่พักกลางวัน คิดว่า บัดนี้เป็นการเห็นครั้งสุดท้าย จะไม่มีการมาอีกแล้ว มีภิกษุ ๕๐๐ รูป แวดล้อมเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถวายบังคมแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอนุญาตข้าพระองค์ ขอพระสุคตเจ้าทรงอนุญาต นี้เป็นกาลปรินิพพานของข้าพระองค์ อายุสังขารข้าพระองค์ปลงลงแล้ว ก็เพราะพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เมื่อตรัสว่า เธอจงปรินิพพาน ก็จะกลายเป็นสรรเสริญความตาย เมื่อตรัสว่า เธออย่าปรินิพพาน คนผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิก็จะยกโทษว่า กล่าวสรรเสริญคุณของวัฏฏะ ฉะนั้น จึงไม่ตรัสคำแม้ทั้งสอง เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า เธอจักปรินิพพานที่ไหน สารีบุตร. เมื่อพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักปรินิพพานในห้องที่ข้าพระองค์เกิดในบ้านนาฬกะ แคว้นมคธนั้น จึงตรัสว่า สารีบุตร เธอจงสำคัญเวลาในบัดนี้ ก็การเห็นภิกษุเช่นเธอ ของภิกษุผู้เป็นทั้งพี่และน้องของเธอจักหาได้ยากในบัดนี้ เธอจงแสดงธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้น.

พระเถระรู้แล้วว่า พระศาสดาทรงหวังเฉพาะการแสดงธรรมที่ขึ้นต้นด้วยการแสดงฤทธิ์ของเรา ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วเหาะขึ้นไปประมาณชั่วต้นตาล เหาะลงแล้วถวายบังคมพระบาทพระทศพล และเหาะขึ้นไปประมาณสองชั่วลำตาลอีกลงแล้ว ถวายบังคมพระบาทพระทศพล แล้วเหาะขึ้นไปประมาณเจ็ดชั่วลำตาลโดยทำนองนี้ แสดงปาฏิหาริย์หลายร้อยอย่าง แล้วปรารภธรรมกถา. พระเถระกล่าวธรรมกถาด้วยกายที่ปรากฏบ้าง ไม่ปรากฏบ้าง ด้วยกายเบื้องบน เบื้องล่าง หรือครึ่งกาย บางทีก็แสดงเป็นรูปพระจันทร์โดยไม่มีใครเห็น บางครั้งก็เป็นรูปพระอาทิตย์ บางครั้งก็เป็นรูปภูเขา บางทีก็เป็นรูปทะเล บางทีก็เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ บางทีก็เป็น


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 429

เวสวัณมหาราช บางทีก็เป็นท้าวสักกมหาราช บางทีก็เป็นท้าวมหาพรหม เมื่อแสดงปาฏิหาริย์หลายร้อยอย่าง อย่างนี้ พระเถระจึงกล่าวธรรมกถา ชาวพระนครทั้งสิ้นประชุมกันแล้ว พระเถระเหาะลงแล้ว ได้ยืนถวายบังคมพระบาทพระทศพล.

ลำดับนั้น พระศาสดา ได้ตรัสกะพระเถระนั้นว่า สารีบุตร ธรรมปริยายนี้ ชื่ออะไร.

ส. ชื่อ สีหนิกีฬิตะ พระเจ้าข้า.

พ. สารีบุตร เอาเถิด ธรรมปริยายนี้ ชื่อว่า สีหนิกีฬิตะ สารีบุตร เอาเถิด กระบวนธรรมนี้ชื่อว่า สีหนิกีฬิตะ. พระเถระได้เหยียดมือมีสีดังครั่งสด แล้วจับที่ข้อพระบาท เช่นกับลายเต่าทอง ของพระศาสดา พลางกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์บำเพ็ญบารมีมาหนึ่งอสงไขย กำไรแสนกัป ก็เพื่อถวายบังคมพระบาททั้งสองนี้ของพระองค์ มโนรถของข้าพระองค์ถึงที่สุดแล้ว บัดนี้ แต่นี้ไปการประชุมกันในที่เดียวกันด้วยอำนาจปฏิสนธิจะมิได้มีอีกแล้ว สมาคมก็จะมิได้มี ความคุ้นเคยกันได้ขาดแล้ว ข้าพระองค์จักเข้าเมือง คือ พระนิพพาน ที่ไม่แก่ ไม่ตาย เกษม มีสุข เย็นสนิท ไม่มีภัย ที่พระพุทธเจ้าหลายแสนพระองค์เข้าไปแล้ว ถ้าว่า พระองค์ไม่ทรงชอบพระทัย โทษไรๆ ของข้าพระองค์ ที่เป็นไปทางกายหรือทางวาจา ขอพระองค์ทรงอดโทษนั้นด้วย ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า นี้เป็นการไปของข้าพระองค์แล้ว.

พ. สารีบุตร เราอดโทษต่อเธอ ก็โทษไรๆ ของเธอที่เป็นไปทางกาย หรือทางวาจา ที่ไม่ชอบใจเราไม่มีเลย สารีบุตร บัดนี้เธอจงสำคัญกาลอันควรเถิด.


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 430

เมื่อท่านพระสารีบุตรพถวายบังคมพระบาทพระศาสดา ลุกขึ้นในลำดับที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตแล้ว แผ่นดินใหญ่แม้ที่กำหนดนับด้วยภูเขาสิเนรุ ภูเขาจักรวาล ภูเขาหิมพานต์ และภูเขาบริภัณฑ์ ร้องขึ้นพร้อมกันดุจกล่าวว่า เราไม่อาจจะทรงกองแห่งพระคุณนี้ไว้ได้ในวันนี้ ได้ไหวแล้ว จนถึงน้ำเป็นที่สุด เทพมโหระทึกในอากาศก็บรรเลงขึ้น มหาเมฆตั้งขึ้นแล้ว ให้ฝนโบกขรพรรษตกแล้ว. พระศาสดาทรงดำริว่า เราจักให้พระธรรมเสนาบดีแสดงโดยเฉพาะ ดังนี้แล้ว จึงทรงลุกขึ้นจากที่ฟังธรรม เสด็จมุ่งหน้าต่อพระคันธกุฏี ได้ประทับยืนบนแผ่นแก้ว. พระเถระทำประทักษิณ ๓ ครั้งแล้ว ถวายบังคมในที่ ๔ แห่ง กราบทูลแล้วว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เลยไปหนึ่งอสงไขย กำไรแสนกัปแต่กัปนี้ไป ข้าพระองค์หมอบลงที่ใกล้พระบาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า อโนมทัสสี ปรารถนาเห็นพระองค์ ความปรารถนาของข้าพระองค์นั้นสำเร็จแล้ว ข้าพระองค์เห็นพระองค์แล้ว เป็นการเห็นครั้งแรก นี้เป็นการเห็นครั้งสุดท้าย การได้เห็นพระองค์ไม่ได้มีอีกแล้ว ดังนี้ แล้วประคองอัญชลี ซึ่งรุ่งเรืองด้วยการประชุมแห่งนิ้วทั้งสิบ หันหน้าเฉพาะตราบเท่าที่ที่จะเห็นได้ ถอยกลับแล้วถวายบังคมแล้วหลีกไป. มหาปฐพีไม่อาจจะทรงไว้ได้ ไหวจนถึงน้ำรองรับแผ่นดิน. พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสกะเหล่าภิกษุที่ยืนแวดล้อมว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงติดตามพี่ชายของพวกเธอเถิด ขณะนั้น บริษัท ๔ ละพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้พระองค์เดียวในพระเชตวัน ออกไปไม่เหลือเลย.

ฝ่ายชาวพระนครสาวัตถี พากันพูดว่า ข่าวว่า พระสารีบุตรเถระทูลลาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ประสงค์จะปรินิพพานออกไปแล้ว พวกเราจะไปเยี่ยมท่าน พากันถือเอาของหอมและพวงมาลัยเป็นต้น ออกไปจนแน่นประตูเมือง สยายผม ร้องไห้ คร่ำครวญ โดยนัยเป็นต้นว่า บัดนี้พวกเราเมื่อ


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 431

ถามว่า ท่านผู้มีปัญญามากนั่งที่ไหน พระธรรมเสนาบดีนั่งที่ไหน ดังนี้ จะไปสำนักของใคร จะไปวางสักการะในมือของใคร พระเถระหลีกไปแล้ว จึงได้ติดตามพระเถระ. พระเถระเพราะความที่ตนดำรงอยู่ในปัญญามาก คิดแล้วว่า ทางนี้คนทั้งหมดไม่ควรก้าวเลยมา แล้วโอวาทมหาชนว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย แม้พวกท่านจงหยุด อย่าถึงความประมาทในพระทศพลเลย แล้วให้หมู่ภิกษุกลับ หลีกไปกับบริษัทของตน. พวกมนุษย์เหล่าใดต่างคร่ำครวญว่า ครั้งก่อน พระผู้เป็นเจ้าเที่ยวจารึกไปแล้วก็กลับมา บัดนี้ การไปนี้เป็นการไปเพื่อไม่กลับมาอีก จึงพากันติดตามอยู่อย่างนั้น. พระเถระกล่าวกะมนุษย์เหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลาย พวกท่านจงเป็นผู้ไม่ประมาท ชื่อว่า สังขารทั้งหลายย่อมเป็นอย่างนี้ จึงให้กลับแล้ว.

ลำดับนั้นแล ท่านพระสารีบุตรทำการสงเคราะห์พวกมนุษย์ตลอดเจ็ดวัน ในระหว่างทางพักแรมคืนเดียว ในที่ทุกแห่ง ถึงบ้านนาฬกะเวลาเย็น ได้ยืนที่โคนต้นนิโครธใกล้ประตูบ้าน. ลำดับนั้น หลานของพระเถระ ชื่อว่า อุปเรวตะ ไปนอกบ้าน ได้เห็นพระเถระแล้ว จึงเข้าไปยืนไหว้อยู่แล้ว. พระเถระจึงกล่าวกับเขาว่า ยายของเธออยู่ในเรือนหรือ.

อุ. ครับ ท่านผู้เจริญ.

ส. เธอจงไปบอกว่าเรามาที่นี้. เมื่อยายกล่าวว่า มาเพราะเหตุอะไร จงกล่าวว่า ข่าวว่า พระเถระจะอยู่ในบ้านตลอดวันหนึ่งในวันนี้ ท่านจงจัดแจงห้องที่พระเถระเกิด และข่าวว่า ท่านจงรู้ที่เป็นที่อยู่ของภิกษุ ๕๐๐ รูป. เขาไปแล้วบอกว่า ยาย ลุง ของผมมาแล้ว.

ยาย. เวลานี้ อยู่ที่ไหน.

อุ. ประตูบ้าน.

ย. มีใครอื่นมาบ้างไหม.


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 432

อุ. มีภิกษุ ๕๐๐ รูป.

ย. มาทำไม.

เขาบอกความเป็นไปนั้น. นางพราหมณีคิดอยู่ว่า ลูกชายเราทำไมจึงให้เตรียมที่อยู่แก่พวกภิกษุเท่านี้ ท่านบวชมาตั้งแต่หนุ่ม ตอนแก่อยากจะสึกละกระมัง จึงให้จัดแจงห้องคลอด ให้ทำที่เป็นที่พักของภิกษุ ๕๐๐ รูป ให้จุดเทียนและตะเกียงส่งไปถวายพระเถระๆ พร้อมกับพวกภิกษุขึ้นปราสาท เข้าไปนั่งยังห้องคลอด พอนั่งลงแล้วก็ส่งพวกภิกษุไปว่า พวกท่านจงไปพักผ่อนกันเถิด พอพวกภิกษุไปแล้วเท่านั้น อาพาธอย่างกล้าก็เกิดขึ้นแก่พระเถระ เวทนาปางตายเพราะถ่ายเป็นโลหิต ต้องเอาภาชนะหนึ่งเข้าไป (รองรับ) เอาภาชนะหนึ่งออกมา. นางพราหมณีคิดว่า เราไม่ชอบใจความเป็นไปแห่งบุตรของเราเลย ได้ยืนพิงประตูห้องที่อยู่ของตน. ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ตรวจดูอยู่ว่า พระธรรมเสนาบดีอยู่ที่ไหน เห็นแล้วว่า นอนบนเตียงเป็นที่ปรินิพพาน ในห้องที่ตนคลอดในบ้านนาฬกะ พวกเราจักไปเยี่ยมเป็นครั้งสุดท้าย มาแล้วได้ยืนไหว้อยู่แล้ว.

สารีบุตร. พวกท่านเป็นใคร.

มหาราช. เป็นท้าวมหาราชขอรับ.

สารีบุตร. มาเพราะเหตุไร.

มหาราช. จักบำรุงท่านผู้เป็นไข้.

ส. ช่างเถิด ผู้บำรุงเราผู้เป็นไข้มีอยู่ พวกท่านจงไปเถิด แล้วได้ส่งไป คล้อยหลังท้าวมหาราชทั้ง ๔ ไปแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพก็มาแล้วโดยนัยนั้นนั่นแหละ ก็เมื่อท้าวสักกะไปแล้ว ท้าวมหาพรหมก็มา พระเถระก็ได้ส่งท่านเหล่านั้นไป เหมือนอย่างนั้นนั่นแล. เมื่อนางพราหมณี เห็นพวกเทวดา


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 433

พากันมาจึงคิดว่า เทวดาเหล่านี้ ไหว้บุตรของเราแล้วก็ไป เพราะเหตุอะไรหนอแล จึงไปยังประตูห้องพระเถระแล้วถามว่า พ่อจุนทะมีความเป็นไปอย่างไร. พระจุนทะบอกความเป็นไปนั้นแล้วจึงเรียนพระเถระว่า ท่านผู้เจริญ มหาอุบาสิกมา. พระเถระจึงถามว่า เพราะเหตุไรจึงมาในเวลาไม่เหมาะ. นางจึงกล่าวว่า พ่อ แม่มาเพื่อเยี่ยมลูก แล้วจึงถามว่า พ่อ พวกใครมาก่อน.

สารีบุตร. ท้าวมหาราชทั้ง ๔ มหาอุบาสิกา.

มารดา. เจ้าใหญ่กว่าท้าวมหาราชทั้ง ๔ หรือพ่อ.

ส. อุบาสิกา ท้าวมหาราชทั้ง ๔ เหมือนเด็กวัด ตั้งแต่พระศาสดาของพวกเราถือปฏิสนธิ ก็ถือพระขรรค์รักษาแล้ว.

ม. พ่อ คล้อยหลังท้าวมหาราชไปแล้วใครเล่า.

ส. ท้าวสักกะจอมเทพ.

ม. เจ้าใหญ่กว่าจอมเทพหรือ พ่อ.

ส. อุบาสิกา ท้าวสักกะก็เช่นเดียวกับสามเณรผู้ถือสิ่งของเวลาที่พระศาสดาของพวกเรา เสด็จลงจากดาวดึงสพิภพ ก็ได้ถือบาตรจีวรตามลงมา.

ม. พ่อ หลังจากที่ท้าวสักกะนั้นไปแล้ว ดูเหมือนสว่างไสว ใครมา.

ส. อุบาสิกา นั่นก็คือมหาพรหม ผู้เป็นพระเจ้าและศาสดาของโยม.

ม. พ่อยังใหญ่กว่ามหาพรหมพระเจ้าของโยมหรือ.

ส. ใช่ อุบาสิกา เล่ากันมาว่า ชื่อว่ามหาพรหม ๔ เหล่านั้น วันที่พระศาสดาของพวกเราประสูติ เอาข่ายทองรองรับพระมหาบุรุษ.

ขณะนั้น เมื่อนางพราหมณีคิดว่า เพียงลูกของเรายังมีอานุภาพเท่านี้ พระศาสดาซึ่งเป็นพระเจ้าของลูกเราจักมีอานุภาพขนาดไหนหนอ พลันปีติห้าอย่างเกิดขึ้นแผ่ไปทั่วสรีระ. พระเถระคิดว่า ปีติโสมนัสเกิดขึ้นแล้วแก่มารดา


ความคิดเห็น 12    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 434

เที่ยว. บัดนี้เป็นเวลาสมควรแสดงธรรม จึงกล่าวว่า มหาอุบาสิกา ท่านกำลังคิดอะไร.

ม. พ่อ แม่กำลังคิดถึงเหตุนี้ว่า เพียงลูกเรายังมีคุณถึงเพียงนี้ แล้วศาสดาของลูกนั้นจะขนาดไหน.

ส. มหาอุบาสิกา ในขณะที่พระศาสดาของอาตมาประสูติ ในขณะเสด็จออกผนวช ในขณะตรัสรู้ และในขณะประกาศธรรมจักร หมื่นโลกธาตุหวั่นไหวแล้ว ขึ้นชื่อว่าผู้ที่เสมอด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติและวิมุตติญาณทัสสนะไม่มี แล้วก็แสดงพระธรรมเทศนาเกี่ยวกับพระคุณของพระพุทธเจ้า ที่ขยายให้พิสดารว่า แม้เพราะเหตุนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ดังนี้ เป็นต้น. เวลาจบธรรมเทศนาของลูกรัก นางพราหมณี ดำรงอยู่ในพระโสดาปัตติผลแล้ว จึงกล่าวกับลูกว่า พ่ออุปติสสะ ทำไมพ่อจึงทำอย่างนี้ พ่อไม่ได้ให้อมตธรรมเห็นปานนี้แก่แม่ตลอดกาลเท่านี้. พระเถระคิดว่า บัดนี้เราให้เท่านี้ก็ควรแก่มารดาแล้ว ค่าเลี้ยงดู สำหรับแม่พราหมณีสารี จักควรด้วยเหตุเท่านี้ จึงกล่าวว่า มหาอุบาสิกา ท่านจงไปเถิด ส่งนางพราหมณีไปจึงกล่าวว่า จุนทะ เวลาเท่าไร.

จุนทะ. จวนสว่างแล้ว ขอรับ.

ส. เธอจงประชุมภิกษุสงฆ์.

จ. ภิกษุสงฆ์ประชุมกันแล้ว ขอรับ.

ส. เธอจงประคองเราให้นั่ง จุนทะ.

พระจุนทะประคองให้นั่งแล้ว. พระเถระจึงเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า อาวุโส เมื่อพวกท่านทั้งหลายเที่ยวไปกับผมตลอด ๔๔ ปี กรรมใดของผม ที่เป็นไปทางกายก็ดี ทางวาจาก็ดี ซึ่งพวกท่านไม่ชอบใจ ขอให้พวกท่านจงอดโทษแก่ผมด้วย.


ความคิดเห็น 13    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 435

ภิกษุ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขึ้นชื่อว่าสิ่งที่ไม่น่าพอใจ ย่อมไม่มีแก่พวกข้าพเจ้า ผู้ไม่ละท่านเที่ยวไป ดุจเงาของท่าน ตลอดกาลเท่านี้. แต่ว่า ขอท่านจงอดโทษให้แก่พวกข้าพเจ้าเถิด.

ลำดับนั้น พระเถระดึงมหาจีวรมาปิดหน้า นอนโดยข้างขวา เข้าสมาบัติ ๙ ตามลำดับสมาบัติทั้งโดยอนุโลมและปฏิโลม เหมือนพระศาสดา แต่ว่าเข้าตั้งต้นแต่ปฐมฌานจนถึงจตุตถฌาน ออกจากจตุตถฌานนั้นแล้ว ให้มหาปฐพีสั่นสะเทือนในทันใดนั้นเอง ปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ.

อุบาสิกาคิดว่า ลูกของเราไม่กล่าวอะไรเลยหรือหนอ ลุกขึ้นนวดหลังเท้ารู้ว่าปรินิพพานแล้ว เปล่งเสียงดังหมอบที่เท้า กล่าวว่า พ่อพวกเราไม่รู้คุณของพ่อ ก่อนแต่นี้ ก็บัดนี้แม่ไม่ได้เพื่อนิมนต์ภิกษุหลายร้อยหลายพัน หลายแสน ตั้งต้นแต่พ่อให้นั่งฉันในนิเวศน์นี้ ไม่ได้เพื่อให้นุ่งห่มด้วยจีวร ไม่ได้เพื่อให้สร้างวิหารเป็นพัน ดังนี้ คร่ำครวญอยู่แล้ว จนถึงอรุณขึ้น. เมื่ออรุณพอขึ้นเท่านั้น นางก็ให้เรียกช่างทองมาให้เปิดห้องเก็บทอง ให้ชั่งด้วยตาชั่งใหญ่ ส่งไปด้วยกล่าวว่า พ่อทั้งหลาย จงทำเรือนยอดห้าร้อย เรือนต้อนรับแขกห้าร้อย.

ฝ่ายท้าวสักกเทวราช ตรัสเรียกวิสสุกรรมเทพบุตรมาตรัสว่า พ่อ พระธรรมเสนาบดีปรินิพพานแล้ว พ่อจงเนรมิตเรือนยอดห้าร้อย เรือนต้อนรับแขกห้าร้อย. เรือนที่มหาอุบาสิกาให้สร้างแล้ว รวมกับที่พระวิษณุกรรมเนรมิตเข้าด้วยกัน เป็นสองพัน ด้วยประการฉะนี้. ลำดับนั้น คนทั้งหลายจึงให้สร้างมหามณฑปล้วนด้วยของสาระ วางเรือนยอดใหญ่ไว้ท่านกลางมณฑป แล้ววางของที่เหลือโดยสังเขปว่าเป็นบริวาร ปรารภการเล่นอย่างดีระหว่างพวกเทวดาได้มีเหล่ามนุษย์ ระหว่างเหล่ามนุษย์ได้มีพวกเทวดา. อุปัฏฐายิกาของพระเถระคนหนึ่งชื่อ เรวดี คิดว่า เราจักบูชาพระเถระ จึงให้ทำเสาดอกไม้ทอง ๓ ต้น. ท้าวสักกเทวราชคิดว่า เราจักบูชาพระเถระ มีนักฟ้อนสองโกฏิห้าแวดล้อม เสด็จ


ความคิดเห็น 14    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 436

ลงแล้ว. มหาชนหันหน้ากลับด้วยคิดว่า ท้าวสักกะเสด็จลง. แม้อุบาสิกานั้นในที่นั้นถอยกลับอยู่ เพราะมีภาระหนัก ไม่อาจจะถอยไป ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ล้มลงแล้วในระหว่างพวกมนุษย์. พวกมนุษย์ไม่เห็นอยู่ได้เหยียบอุบาสิกานั้นแหละไปแล้ว นางตายในที่นั้น เกิดในวิมานทอง ภพชั้นดาวดึงส์. ขณะที่เกิดนั่นเทียว นางได้มีอัตภาพ ๓ คาวุตโดยประมาณ เหมือนท่อนแก้ว นางประดับด้วยเครื่องประดับประมาณเต็มหกสิบเล่มเกวียน มีนางฟ้าพันหนึ่งแวดล้อมแล้ว. นางฟ้าทั้งหลาย จึงวางกระจกสำหรับกายทั้งหมดอันเป็นทิพย์ไว้ข้างหน้านาง. นางเห็นสิริสมบัติของตน คิดอยู่ว่า เราทำกรรมอะไรหนอ ด้วยสมบัติอันมาก ได้เห็นแล้วว่า เราได้ทำการบูชาพระเถระด้วยเสาดอกไม้ทองสามต้น ในที่ปรินิพพานของพระสารีบุตรเถระ มหาชนเหยียบเราแล้ว แต่นั้นเราได้ตายในที่นั้น เกิดแล้วในที่นี้ เราจะกล่าวผลบุญที่เราอาศัยพระเถระได้แล้วในบัดนี้แก่พวกมนุษย์ จึงลงมาพร้อมทั้งวิมานทีเดียว. มหาชนเห็นแต่ไกล แลดูสำคัญอยู่ว่า ดวงอาทิตย์โผล่ขึ้นสองดวงหรือหนอ เมื่อวิมานมาอยู่ ลักษณะเรือนยอดก็ปรากฏ. กล่าวกันแล้วว่า นี่มิใช่ดวงอาทิตย์ นั่นเป็นวิมานหลังหนึ่ง. แม้วิมานนั้นมาแล้วในขณะนั้น ลอยอยู่เหนือเชิงตะกอนไม้ของพระเถระ. เทพธิดาจึงหยุดวิมานไว้ในอากาศนั่นแล แล้วลงมาสู่แผ่นดิน. มหาชนถามแล้วว่า ผู้เป็นเจ้า ท่านเป็นใคร. เราชื่อนางเรวดี บูชาพระเถระด้วยเสาประดับด้วยดอกไม้ทอง ๓ ต้น ถูกพวกมนุษย์เหยียบแล้วตายไป เกิดในดาวดึงสพิภพ เชิญท่านทั้งหลายดูสิริสมบัติของเรา บัดนี้ ถึงพวกท่านก็จงให้ทานทำบุญเถิด.

ครั้นนางกล่าวสรรเสริญการทำกุศล แล้วประทักษิณเชิงตะกอนพระเถระแล้ว ได้ไปเทวสถานของตนนั่นเทียว. ฝ่ายมหาชนเล่นอย่างเรียบร้อยอยู่ ๗ วัน


ความคิดเห็น 15    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 437

แล้ว ได้ทำเชิงตะกอนด้วยของหอมทั้งปวง. เชิงตะกอนประกอบด้วยแก้ว ๙๙ ชนิด. คนทั้งหลาย จึงยกสรีระของพระเถระขึ้นเชิงตะกอนแล้ว เผาด้วยกำหญ้าแฝก การฟังธรรมย่อมเป็นไปตลอดราตรีทั้งหมดในป่าช้า. พระอนุรุทธเถระจึงเอาน้ำหอมทุกชนิดดับเชิงตะกอนพระเถระ. พระจุนทเถระใส่ธาตุลงในผ้ากรองน้ำแล้ว คิดว่า บัดนี้เราไม่อาจจะเก็บไว้ที่นี้ได้ จักกราบทูลว่า พระสารีบุตรผู้เป็นธรรมเสนาบดี พี่ชายของเราปรินิพพานแล้ว แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ถือเอาผ้ากรองน้ำที่ห่อธาตุและบาตรจีวรพระเถระไปเมืองสาวัตถี. และไม่พักเกิน ๒ คืนในที่หนึ่งๆ ถึงเมืองสาวัตถีด้วยการอยู่ที่ละคืนหนึ่งในที่ทั้งปวงนั่นเทียว. เพื่อแสดงเนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ครั้งนั้นแล สามเณรจุนทะ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เยนายสฺมา ท่านพระอานนท์โดยทิศใด ความว่า ท่านได้เข้าไปหาโดยทิศที่ท่านพระอานนท์ ผู้เป็นขุนคลังแห่งธรรมอุปัชฌาย์ของตนอยู่.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระจุนทะนั้นจึงไม่ตรงไปสำนักพระศาสดา (แต่) ไปสำนักพระเถระเล่า.

ตอบว่า เพราะความเคารพในพระศาสดา และพระเถระ.

ได้ยินว่า พระจุนทเถระนั้น ได้อาบน้ำที่สระโบกขรณีในพระเชตวันมหาวิหาร ขึ้นแล้วนุ่งห่มอย่างดี มีความคิดว่า ขึ้นชื่อว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย หนักเหมือนฉัตรหินใหญ่ และเหมือนงูแผ่พังพาน ราชสีห์ เสือ และช้างตกมันเป็นต้น เข้าใกล้ได้ยาก เราไม่อาจจะตรงไปยังสำนักพระศาสดาทีเดียว ควรไปสำนักของใครหนอ. ลำดับนั้น จึงคิดว่าอุปัชฌาย์ของเราผู้เป็นขุนคลังแห่งพระธรรม เป็นสหายผู้ประเสริฐของพระเถระพี่ชาย เราจะไป


ความคิดเห็น 16    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 438

สำนักของท่านพาไปกราบทูลพระศาสดา จึงได้เข้าไปหา เพราะความเคารพในพระศาสดา และพระเถระ.

บทว่า นี้บาตรจีวรของท่าน ความว่า พระเถระกราบทูลแต่ละอย่าง ดังนี้ว่า นี้บาตรสำหรับใช้สอยของท่าน นี้ผ้ากรองน้ำห่อธาตุของท่าน. แต่ในบาลีท่านกล่าวเพียงเท่านี้ว่า นี้บาตรจีวรของท่าน.

คำว่า ถ้อยคำอันดั้งเดิม คือ ถ้อยคำที่เป็นต้นทุน. มูล ท่าน เรียกว่า ต้นทุน ดุจที่ท่านกล่าวไว้ว่า

ผู้มีปัญญา พิจารณาแล้ว ย่อมตั้งตนได้ด้วยต้นทุนแม้น้อย เหมือนคนก่อไฟน้อยฉะนั้น.

บทว่า เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ความว่า เพื่อต้องการเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า.

ถามว่า ก็พระจุนทะนี้ ไม่เคยเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าหรือ. ตอบว่า ไม่เคยเห็นหามิได้ ด้วยว่าท่านผู้นี้ ย่อมไปที่บำรุงนั่นเที่ยววันละ ๑๘ ครั้ง คือ กลางวัน ๙ ครั้ง กลางคืน ๙ ครั้ง แต่ท่านประสงค์จะไปวันละร้อยครั้ง พันครั้งก็ไปหามิได้ เพราะไม่มีเหตุ ด้วยประการฉะนี้ จึงยกปัญหาหนึ่งเป็นเหตุแล้วไป. วันนั้น ท่านประสงค์จะไปด้วยถ้อยคำซึ่งเป็นมูลเดิม จึงกราบทูลอย่างนั้นว่า นี้บาตรจีวรของท่าน. ฝ่ายพระเถระ ก็กราบทูลชี้แจงเฉพาะอย่างๆ ทีเดียวว่า นี้บาตรจีวรของท่าน และนี้ผ้ากรองน้ำห่อธาตุของท่าน.

พระศาสดาทรงเหยียดพระหัตถ์ รับเอาผ้ากรองน้ำห่อธาตุ วางไว้บนฝ่าพระหัตถ์ ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นใด วันก่อนทำปาฏิหาริย์หลายร้อยอย่าง ขออนุญาตปรินิพพาน บัดนี้ ธาตุทั้งหลายเปรียบด้วยสีสังข์เหล่านี้ของเธอปรากฏอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้บำเพ็ญบารมี


ความคิดเห็น 17    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 439

มาหนึ่งอสงไขย กำไรแสนกัป ให้ธรรมจักรที่เราให้เป็นไปเป็นไปแล้ว เธอเป็นผู้สอนองค์ที่สองที่เราได้เฉพาะ เป็นผู้ให้สาวกสันนิบาตครบ ภิกษุนี้เว้นเราเสีย หาผู้เสมอด้วยปัญญาในหมื่นจักรวาลไม่ได้ เธอมีปัญญามาก มีปัญญาหนาแน่น มีปัญญากล่าวให้บันเทิงได้ มีปัญญาแล่นไปเร็ว มีปัญญากล้า มีปัญญาในการแทงตลอด เธอมีความปรารถนาน้อย สันโดษ สงัด ไม่คลุกคลี ปรารภความเพียร เป็นผู้ตักเตือน ติเตียนความชั่ว เธอละมหาสมบัติที่ได้แล้วโดยเฉพาะ บวชแล้วห้าร้อยชาติ มีความอดทนเสมอด้วยแผ่นดินในศาสนาของเรา เช่นกับโคอุสภะที่มีเขาขาด มีจิตอ่อนโยน เช่นบุตรคนจัณฑาล ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงดูธาตุของผู้มีปัญญามาก มีปัญญาหนาแน่น มีปัญญากว้าง มีปัญญาแล่นไปเร็ว มีปัญญากล้าแข็ง มีปัญญาแห่งผู้ควรแทงตลอด ผู้มีความปรารถนาน้อย สันโดษ สงัด ไม่คลุกคลี ปรารภความเพียร ผู้ตักเตือน ติเตียนความชั่ว.

สารีบุตรใด ละกามทั้งหลายอันเป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ บวชแล้วห้าร้อยชาติ พวกเธอจงไหว้พระสารีบุตรนั้น ผู้ปราศจากราคะ มีอินทรีย์สำรวมดีแล้ว ปรินิพพานแล้วเถิด.

สารีบุตรใด มีความอดทนเป็นกำลัง เสมอด้วยแผ่นดิน ย่อมไม่หวั่นไหว ทั้งไม่เป็นไปในอำนาจจิต ด้วยมีความอนุเคราะห์ เป็นผู้ประกอบด้วยกรุณา ปรินิพพานแล้ว พวกเธอจงไหว้สารีบุตรนั้นเถิด.


ความคิดเห็น 18    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 440

ลูกคนจัณฑาล เข้าไปพระนครแล้ว มีใจเจียมตัว ถือกระเบื้องเที่ยวไป ฉันใด สารีบุตรนี้ก็อยู่ฉันนั้น พวกเธอจงไหว้สารีบุตรผู้ปรินิพพานแล้วเถิด.

ก็โคอุสภะตัวมีเขาและหูขาดแล้ว ไม่เบียดเบียน เที่ยวไปภายในเมืองฉันใด สารีบุตรนี้ก็อยู่ฉันนั้น พวกเธอจงไหว้สารีบุตรผู้ปรินิพพานแล้วเถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสรรเสริญพระเถระ ด้วยพระคาถาห้าร้อยด้วยประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสรรเสริญคุณพระเถระโดยประการใดๆ พระเถระก็ไม่อาจจะดำรงอยู่โดยประการนั้นๆ หวั่นไหวเหมือนไก่วิ่งไปข้างหน้าแมวฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น พระอานนทเถระ จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กายของข้าพระองค์ ย่อมหวั่นไหวปานประหนึ่งจะงอมระงมไป. เรื่องทั้งหมดควรให้พิสดาร.

เนื้อความแห่งบทเป็นต้นว่า ประหนึ่งจะงอมระงมไป ในบทนั้นท่านกล่าวไว้แล้วเทียว. ก็ธรรม คือ อุทเทสและการสอบถาม ท่านประสงค์เอาในบทว่า ธรรม นี้. เพราะว่า เมื่อไม่ถือเอาธรรมคืออุทเทสและการสอบถาม จิตก็ไม่เป็นไปเพื่อจะถือเอา หรือว่า ครั้นถือเอาแล้ว จิตก็ไม่เป็นไปเพื่อจะสาธยาย. ลำดับนั้น พระศาสดาทรงลืมพระเนตรที่วิจิตรด้วยประสาททั้ง ๕ ขึ้น ทรงแลดูพระเถระ ทรงถอนพระทัยด้วยหวังว่า เราจะให้เธอเบาใจ จึงตรัสคำเป็นต้นว่า อานนท์ สารีบุตรของเธอไปไหนหนอ.

บรรดาบทเหล่านั้น สีลขนฺธํ กองแห่งศีล ได้แก่ ศีลที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ. แม้ในสมาธิและปัญญาก็นัยนี้แหละ. ส่วนวิมุตติ


ความคิดเห็น 19    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 441

เป็นโลกุตระ วิมุตติญาณทัสสนะ ปัจจเวกขณญาณ นั้นเป็นโลกิยะทั้งนั้น. บทว่า โอวาทโก ผู้สั่งสอน คือผู้ให้โอวาท. ผู้มีปกติกล่าวสั่งสอน โดยประการต่างๆ ในเรื่องทั้งหลาย ที่หยั่งลงแล้วๆ. บทว่า วิญฺาปโก ให้รู้แจ้ง ความว่า ให้รู้แจ้งเหตุและผล ตลอดเวลาที่กล่าวธรรม.

บทว่า สนฺทสฺสโก ผู้แสดงพร้อมอยู่ ความว่า ชี้แจงธรรมเหล่านั้นๆ ด้วยอำนาจขันธ์ธาตุและอายตนะ. บทว่า สมาทปโก ผู้ชักชวน ความว่า ให้ถือเอาอย่างนี้ว่า พวกท่านจงถือเอาสิ่งนี้ด้วยๆ. บทว่า สมุตฺเตชโก ให้อาจหาญ ได้แก่ ให้อุตสาหะขึ้น. บทว่า สมฺปหํสโก ให้รื่นเริง ได้แก่ให้บรรเทิง คือให้โพลงขึ้นด้วยคุณที่ได้แล้ว. บทว่า อกิลาสุ ธมฺมเทสนาย ไม่เกียจคร้านในการแสดงธรรม ความว่า เมื่อเริ่มการแสดงธรรม ก็เป็นผู้เว้นจากการทำย่อหย่อนอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าปวดศีรษะ ปวดหัวใจ ปวดท้อง หรือปวดหลัง เป็นผู้ไม่เกียจคร้าน คือเป็นผู้องอาจ แล่นไปอย่างเร็วดุจสีหะ ตัวหนึ่งหรือสองตัว. เนื้อความแห่งบทว่า อนุคฺคาหโก สพฺรหฺมจารีนํ อนุเคราะห์เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ท่านให้พิสดารแล้วในขันธกวรรค. โภคะนั่นเทียว พระเถระกล่าวแล้ว แม้ด้วยบททั้งสองว่า ธรรมโอชะ ธรรมโภคะ. บทว่า ธมฺมานุคฺคหํ การอนุเคราะห์ด้วยธรรม ได้แก่ การสงเคราะห์ด้วยธรรม. พระศาสดาทรงดำริอยู่ว่า ภิกษุย่อมลำบากอย่างยิ่ง เมื่อจะปลอบโยนเธออีก จึงตรัสคำเป็นต้นว่า อานนท์ ข้อนั้น เราได้บอกเธอไว้แล้วมิใช่หรือ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปิเยหิ มนาเปหิ ของรักของชอบใจ ความว่า ความเป็นต่างๆ กันโดยชาติ ความเว้นจากกันโดยความตาย (และ) ความเป็นโดยประการอื่นโดยภพ จากมารดาบิดาพี่น้องชายและพี่น้องหญิงเป็นต้นย่อมมี. บทว่า อานนท์ จะพึงได้ในของรักของชอบใจนี้แต่ที่ไหน


ความคิดเห็น 20    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 442

ความว่า เพราะเหตุนั้นใด จึงมีความต่างๆ กัน จากสิ่งที่เป็นที่รักที่ชอบใจ เพราะฉะนั้น บุคคลบำเพ็ญบารมี ๑๐ ก็ดี บรรลุสัมโพธิญาณก็ดี ให้ธรรมจักรเป็นไปก็ดี แสดงยมกปาฏิหาริย์ก็ดี ทำการก้าวลงจากเทวโลกก็ดี ร้องไห้บ้าง กล่าวอยู่บ้าง ก็ไม่อาจเพื่อจะได้เหตุที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว ถูกปัจจัยปรุงแต่งแล้ว มีความแตกดับไปเป็นธรรมดานั้น ซึ่งมิใช่ฐานะมีอยู่ด้วยความปรารถนาว่าขอพระสรีระแม้ของพระตถาคตเจ้านั้นอย่าแตกดับไปเลย.

บทว่า โส ปลุชฺเชยฺย ต้นไม้นั้น พึงทำลาย ความว่า ต้นไม้นั้นพึงแตก. ในคำว่า เอวเมว โข ฉันนั้นเหมือนกันแล มีอธิบายว่า ภิกษุสงฆ์ เหมือนต้นหว้าใหญ่สูงร้อยโยชน์. พระธรรมเสนาบดี เปรียบเหมือนลำต้นใหญ่ประมาณห้าสิบโยชน์ ทางทิศเบื้องขวาแห่งต้นไม้นั้น. พระเถระปรินิพพานแล้ว เหมือนต้นไม้ใหญ่นั้นหักแล้ว ก็ไม่มีลำต้นอื่นที่สามารถเจริญขึ้นโดยลำดับแต่ต้นไม้ที่หักแล้วนั้น อันสามารถเพื่อให้ที่นั้นเต็มด้วยดอกและผลเป็นต้น. ความไม่มีภิกษุอื่นผู้ถึงที่สุดแห่งปัญญาสิบหกอย่างเช่นกับพระสารีบุตร ผู้สามารถที่จะนั่งบนอาสนะข้างขวา แต่ภิกษุสงฆ์นั้น เหมือนต้นไม้ในทิศนั้น ส่วนลำต้นพึงทราบว่า เกิดแล้ว. บทว่า ตสฺมา เพราะเหตุนั้น ความว่า เพราะสิ่งที่ปัจจัยทั้งหมดปรุงแต่งแล้ว มีความย่อยยับเป็นธรรมดา บุคคลไม่อาจเพื่อจะได้ว่า ขอสิ่งนั้นจงอย่าทำลายไปเลย.

จบอรรถกถาจุนทสูตรที่ ๓