* กิเลส คือสภาพที่เศร้าหมอง มัวหมอง เมื่อเกิดกับจิต ก็จะปรุงแต่งให้จิตเศร้าหมอง มัวหมอง เป็นอกุศล
* เมื่อได้ยินคำว่ากิเลส ก็คงไม่มีใครชอบ แต่จริงๆ แล้ว รังเกียจสภาวะที่เป็นกิเลส ที่ไม่ใช่แต่เพียงคำว่า กิเลส จริงหรือไม่ เช่น
- ขณะที่ชอบสี เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่กระทบสัมผัสทางกายที่น่าพอใจ หรือ ชอบสนุก ชอบสบาย ก็เป็นกิเลส คือโลภะทั้งนั้น
- ยังพอใจที่จะโกรธบางคนอยู่ ยังให้อภัยไม่ได้ ก็แสดงว่ายังพอใจในกิเลสอยู่
- ดังนั้น จึงอยู่กับกิเลส คุ้นชินกับกิเลส ยังไม่ได้รังเกียจกิเลสของตนเลย
* การที่จะรังเกียจ คือเห็นโทษของกิเลสจรืงๆ นั้น จะต้องเป็นผู้ที่มีปัญญาเข้าใจสภาพธรรมตรงตามความเป็นจริง ในขณะที่สภาพธรรมนั้นกำลังปรากฏให้รู้
* ดังนั้น บัณฑิตผู้รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง จึงเกลียด คือเห็นโทษของกิเลสอกุศลแม้เล็กน้อย ว่าไม่ควรเข้าใกล้ คือเป็นอกุศล โดยประการทั้งปวง แม้ด้วยใจที่เป็นอกุศล ซึ่งไม่แสดงออกมาทางกาย วาจา
โดย อ.อรรณพ หอมจันทร์
อ่านหัวข้ออื่นๆ คลิกที่นี่ ... คติธรรม
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ