ความเข้าใจเรื่อง สังเวช สลดใจ
โดย แล้วเจอกัน  6 ส.ค. 2550
หัวข้อหมายเลข 4469

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย เรื่อง ความสังเวช สลดใจ ความสังเวช สลดใจ ต้องเป็นจิตที่เป็นกุศลและประกอบด้วยปัญญา ขณะใดที่เศร้าโศก เสียใจ เพราะสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ขณะนั้นไม่ใช่ความสังเวช สลดใจ ความสังเวช สลดใจนั้น เกิดจากการเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตามความเป็นจริง เช่น เห็นความแก่ เจ็บ ตาย หรือเพราะคำเตือน เป็นต้น เกิดความสังเวช สลดใจแต่ไม่ใช่เห็นแล้วเศร้าโศกเสียใจ แต่เห็นแล้ว รู้ตามความเป็นจริงของสภาพธัมมะนั้น จึงสังเวช สลดใจและปรารภความเพียรที่จะดับกิเลส เป็นต้น หรือ เห็นตามความเป็นจริงของสภาพธัมมะ ว่าสภาพธัมมะทั้งหลายไม่เที่ยงด้วยปัญญา จึงเกิดความสังเวช สลดใจ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องของปัญญา ซึ่งไม่ใช่ความเศร้าโศกเสียใจ หมายถึง ความสังเวช สลดใจ เพราะขณะที่เศร้าโศก เสียใจ เป็นอกุศลจึงไม่ใช่ สังเวช สลดใจ ดังข้อความในพระไตรปิฎกครับ



ความคิดเห็น 1    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 6 ส.ค. 2550

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 311

อรรถกถาอธิมัตตัตถนิเทศ

บทว่า สเวโค อุปฺปชฺชติ ความสังเวชย่อมเกิดขึ้นคือ ความสังเวชในเพราะความปรวนแปร ของสังขารย่อมเกิดขึ้นเพราะรู้แจ้งโทษของสังขารด้วยแสงสว่าง คือญาณ.


ความคิดเห็น 2    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 6 ส.ค. 2550

เชิญคลิกอ่าน...

ความสลดใจ [ธรรมสังคณี]


ความคิดเห็น 3    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 6 ส.ค. 2550

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 411

ญาณประกอบด้วยโอตตัปปะ ชื่อว่าความสังเวช. ความสังเวชนั้น

ญาณประกอบด้วยโอตตัปปะ ชื่อว่าความสังเวช. ความสังเวชนั้นเกิดขึ้นแก่นางเพราะได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ตสฺมา เม อหุ สํเวโค ดังนี้.


ความคิดเห็น 4    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 6 ส.ค. 2550

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 386

อีกอย่างหนึ่ง จิตมากด้วยความสงบ เพราะไม่มีความฟุ้งซ่าน เพราะเกิดความสังเวช และเพราะตั้งความสังเวชไว้โดยแยบคาย ด้วยทุกขานุปัสสนา.


ความคิดเห็น 5    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 6 ส.ค. 2550

ตัวอย่าง ความสังเวช สลดใจ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 153

อรรถกถาทูตสูตร

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เป็นเทวทูต เพราะเป็นทูตของวิสุทธิเทพก็ได้ อธิบายว่า พระโพธิสัตว์ทุกองค์ เห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวชเท่านั้น ก็ถึงความสังเวชแล้วออกบวช. คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวชชื่อว่า เทวทูต เพราะเป็นทูตของวิสุทธิเทพทั้งหลายบ้าง ดังพรรณนามานี้.


ความคิดเห็น 6    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 6 ส.ค. 2550

เรื่อง เมื่อสังเวช แล้วปรารภความเพียร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 120

วิริยะนี้นั้น มีความอุตสาหะเป็นลักษณะ, มีการอุปถัมภ์ สหชาตธรรมเป็นกิจ, มีการไม่ย่อท้อเป็นอาการปรากฏเฉพาะหน้า, มีความสังเวชเป็นเหตุใกล้ โดยพระบาลีว่า เป็นผู้สลดแล้ว เริ่มตั้งความเพียรไว้โดยแยบคาย ดังนี้เป็นต้น, หรือมีเหตุเป็นเครื่องเริ่มความเพียรเป็นเหตุใกล้.


ความคิดเห็น 7    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 6 ส.ค. 2550

เชิญคลิกอ่าน...

เทวดาเตือนพระอานนท์ให้ท่านสังเวช [อานันทสูตร ]


ความคิดเห็น 8    โดย ajarnkruo  วันที่ 7 ส.ค. 2550

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 9    โดย wannee.s  วันที่ 7 ส.ค. 2550

สังเวช หรือความสลดใจ ต้องเป็นปัญญาเป็นกุศล ที่สลดใจจากอกุศล คือถอยกลับ งอกลับ จากความไม่ดีของอกุศลทางกาย ทางวาจา ทำให้มีความมั่นคง ไม่ประมาทในการเจริญกุศลทุกประการ ร่วมถึงการอบรมเจริญปัญญาด้วยค่ะ


ความคิดเห็น 10    โดย aditap  วันที่ 7 ส.ค. 2550

แล้วความหมายของคําว่า สังเวชนียสถาน ที่ถูกหมายความว่าอย่างไรครับ?


ความคิดเห็น 11    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 7 ส.ค. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

เป็นสถานที่ ที่ควรระลึกถึงด้วยความสังเวช ด้วยปัญญา เช่น แม้ พระโพธิสัตว์ก็ยังต้องประสูติ ตราบใดที่ยังไม่ดับกิเลสและเมื่อเกิดความเกิดก็ย่อมเป็นที่ตั้งของทุกข์ประการต่างๆ คือเมื่อเกิดก็ต้องทุกข์เรื่องต่างๆ ดังนั้น ควรสังเวชด้วยปัญญา เห็นภัยในการเกิด จึงปรารภความเพียร เพื่อดับกิเลส นี่คือ สถานที่ที่ควรสังเวช คือแม้ที่พระองค์ประสูติ หรือแม้พระพุทธองค์ก็ต้องทรงดับขันธปรินิพพาน จะกล่าวไปใยถึง พวกเรา เมื่อเป็นดังนี้ สถานที่นั้นจึงเป็นที่ตั้งแห่งความสังเวชด้วยปัญญา โดยเห็นภัยของมรณะ ว่ามาเมื่อไหร่ก็ได้ ควรปรารภความเพียร เช่น ฟังพระธรรม เป็นต้น ดังนั้น สังเวชจึงเป็นชื่อของปัญญา โดยสถานที่ เป็นที่ตั้งให้สังเวช เมื่อเห็นสถานที่นั้นครับ ดังข้อความในพระไตรปิฎก

เรื่อง ความสังเวชใน สถานที่ ๔ แห่งครับ ลองอ่านดูนะ


ความคิดเห็น 12    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 7 ส.ค. 2550

เชิญคลิกอ่าน...

สังเวชนียสถาน ๔ แห่ง [สังเวชนียสูตร]


ความคิดเห็น 13    โดย olive  วันที่ 8 ส.ค. 2550
ขออนุโมทนาค่ะ

ความคิดเห็น 14    โดย เมตตา  วันที่ 4 ก.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 15    โดย suwit02  วันที่ 5 ก.ค. 2552

สาธุ


ความคิดเห็น 16    โดย pamali  วันที่ 27 ธ.ค. 2554

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 17    โดย yu_da2554hotmail  วันที่ 23 ส.ค. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ