สงสัยว่าทำไมตัวเองจึงเป็นคนอ่อนแอ ขี้เหงา ขี้น้อยใจ ขี้แง คิดมาก จะทำ อย่างไรที่จะฝึกอยู่กับตัวเองคนเดียวได้ เป็นคนมีเพื่อนน้อย เป็นห่วงว่าในอนาคตจะ อยู่กับใคร ชีวิตจะเดินไปในทางใด
ขอแนะนำว่า ควรค่อยๆ ศึกษาพระธรรมให้เข้าใจมากขึ้น เมื่อเข้าใจพระธรรมมากขึ้น ปัญญาย่อมกระทำกิจของปัญญา เพราะผู้ที่มีปัญญาย่อมเข้มแข็ง ไม่ขี้เหงา ไม่คิดมาก ไม่กังวลเรื่องอนาคต ควรเจริญกุศลทุกประการ กระทำวันนี้ให้ดีที่สุด อนาคต จะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่ที่เหตุและปัจจัยการกังวลล่วงหน้าไม่มีประโยชน์อะไร ทุกขณะ เป็นเพียงสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ที่เกิดขึ้นกระทำกิจไม่ใช่ของของเรา
ตามความเป็นจริง เราเข้าใจว่า เรามีคนนั้น คนนี้ แต่เราก็อยู่แต่กับความคิดของ ตัวเองทั้งนั้น เพื่อนที่ติดตามเราจริงๆ คือ โลภะ ที่คอยสั่งให้ทำนั่น ทำนี่ ดังนั้น ทุก คนยังมีเพื่อนเพื่อน 2 ก็คือ โลภะ นั่นเอง โลภะเป็นสาเหตุให้เราเกิดความเหงา อ่อนแอ เพราะต้องการในสิ่งนั้นมาก และเราก็สะสมอุปนิสัย เช่นนั้นมานาน จึงเป็น คนเช่นนั้น ดังนั้น เมื่อมีปัญญาก็จะไม่เหงา ไม่อ่อนแอ ขี้น้อยใจ แต่ก็เป็นธรรมดา เมื่อยังเป็นปุถุชน ก็ต้องเป็นอย่างนี้ที่สำคัญ รู้ว่าตัวเองเป็นอย่างนี้แล้ว จะยังจมอยู่กับ ความคิดอย่างนั้น หรือศึกษาธัมมะมากขึ้นและเจริญกุศลทุกประการ เพื่อความเจริญ ของปัญญา อันจะไม่นำมาซึ่ง อกุศลทั้งหลายที่คุณกล่าวถึงครับ
[เล่มที่ 41] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ -หน้าที่ 185
"คนพาล ย่อมเดือดร้อนว่า 'บุตรทั้งหลาย ของเรามีอยู่ ทรัพย์ (ของเรา) มีอยู่' ตนแล ย่อมไม่มีแก่ตน บุตรทั้งหลายจักมีแต่ที่ไหน ทรัพย์จักมีแต่ที่ไหน"
ถึงจะฟังมามากมาย เราต่างก็เพียงแต่รู้จักแต่ชื่อและจำเรื่องราวได้เท่านั้น แต่ตัว จริงๆ เกิดแล้วเราก็ไม่รู้ว่าเป็นธรรมะ เราขาดการอบรมบารมี ๑๐ทำให้เราอ่อนแอ ถึงจะรู้หนทางที่จะดำเนินไปสู่การดับทุกข์ ถ้าไม่มีบารมี ๑๐ เราก็เปรียบเหมือนคนอ่อนแอ ไม่มีแรงที่จะเดิน และในบารมี ๑๐ ที่ขาดไม่ได้เลย คือ ปัญญาบารมี
ขออนุโมทนาครับ
อนุโมทนาค่ะ