[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 458
ปัญจมปัณณาสก์
กิมพิลวรรควรรณนาที่ ๑
๙. คีตสูตร
ว่าด้วยโทษของขับด้วยเสียงยาว
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 458
๙. คีตสูตร
ว่าด้วยโทษของขับด้วยเสียงยาว
[๒๐๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษของภิกษุผู้กล่าวธรรม ด้วยเสียงขับที่ยาว ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ ตนเองย่อมกำหนัดในเสียงนั้นบ้าง ผู้อื่นย่อมกำหนัดในเสียงนั้นบ้าง พวกคฤหบดีย่อมยกโทษว่า พวกสมณศากยบุตรเหล่านี้ ย่อมขับเหมือนพวกเราขับบ้าง เมื่อภิกษุพอใจกระทำเสียง ความเสื่อมแห่งสมาธิย่อมมีบ้าง ประชุมชนรุ่นหลัง ย่อมถือเป็นแบบอย่างบ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษของภิกษุผู้กล่าวธรรม ด้วยเสียงขับที่ยาว ๕ ประการ นี้แล.
จบคีตสูตรที่ ๙
อรรถกถาคีตสูตร
พึงทราบวินิจฉัย ในคีตสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อายตเกน ได้แก่ ยาว คือ ทำให้ระเบียบคาถา [คำร้อยกรอง] ซึ่งมีบท และพยัญชนะบริบูรณ์เสียไป. บทว่า สรกุตฺติมฺปิ นิกามยมานสฺส ความว่า เมื่อปรารถนาการแต่งเสียงด้วยคิดว่า เสียงขับเราควรทำอย่างนี้ ดังนี้. บทว่า สมาธิสฺส ภงฺโค โหติ ความว่า จิตที่ประกอบด้วยสมถะ และวิปัสสนาก็เสียไป.
จบอรรถกถา คีตสูตรที่ ๙