๒. สีหสูตร
โดย บ้านธัมมะ  2 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 39568

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 360

ปัณณาสก์

มหาวรรคที่ ๒

๒. สีหสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 360

๒. สีหสูตร

[๑๐๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กูฆาคารศาลา ป่ามหาวัน ใกล้กรุงเวสาลี สมัยนั้นแล เจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียง เป็นจำนวนมาก นั่งประชุมกันที่สัณฐาคาร กล่าวสรรเสริญ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย.

ก็สมัยนั้นแล สีหเสนาบดี สาวกของนิครนถ์นั่งอยู่ในบริษัทนั้น ลำดับนั้นสีหเสนาบดีได้มีความคิดดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น จักเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย จริงอย่างนั้น เจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อจำนวนมากประชุมกันที่สัณฐาคาร กล่าวสรรเสริญพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์โดยอเนกปริยาย ผิฉะนั้น เราพึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้นเถิด ลำดับนั้น สีหเสนาบดีเข้าไปหานิครนถ์นาฏบุตร ถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว จึงกล่าวกะนิครนถ์นาฏบุตรว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าปรารถนาจะเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดม.

นิครนถ์นาฏบุตรกล่าวว่า ดูก่อนสีหะ ก็ท่านเป็นกิริยวาท จักเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดมเป็นอกิริยวาททำไม เพราะพระสมณโคดมเป็นอกิริยวาท จึงแสดงธรรมเพื่อกิริยวาท และแนะนำ พวกสาวกด้วยอกิริยวาทนั้น ครั้งนั้น การตระเตรียมที่จะเข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าของสีหเสนาบดี ระงับไป.

แม้ครั้งที่สอง เจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก ได้นั่ง ประชุมกันที่สัณฐาคาร กล่าวสรรเสริญพระพุทธ พระธรรม


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 361

พระสงฆ์ โดยอเนกปริยา แม้ครั้งที่สอง สีหเสนาบดีก็มีความคิด ดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น จักเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย... การตระเตรียมที่จะเข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าของสีหเสนาบดีระงับไป,

แม้ครั้งที่สาม เจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก นั่งประชุม กันที่สัณฐาคาร กล่าวสรรเสริญพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย แม้ครั้งที่สาม สีหเสนาบดีก็มีความคิดดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น จักเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยไม่ต้องสงสัย จริงอย่างนั้น เจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก นั่งประชุมกันที่สัณฐาคาร กล่าวสรรเสริญพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย พวกนิครนถ์ทั้งหลาย เราจะลาหรือ ไม่ลา จักทำอะไรเราได้ ผิฉะนั้นเราจะไม่ลาละ พึงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นเถิด.

ลำดับนั้น สีหเสนาบดีออกจากกรุงเวสาลี ในเวลายังวัน พร้อมด้วยรถประมาณ ๕๐๐ คัน เพื่อเฝ้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นไปด้วยยานเท่าที่ยานจะไปได้ แล้วลงจากยานเดินตรงเข้าไป ยังอาราม แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวาย บังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับมา ดังนี้ว่า พระสมณโคดมเป็นอกิริยวาท ย่อมแสดงธรรมเพื่ออกิริยวาท และแนะนำสาวกด้วยอกิริยวาทนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ชนเหล่าใด กล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมเป็นอกิริยวาท ย่อมแสดงธรรมเพื่อ


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 362

อกิริยวาท และแนะนำสาวกด้วยอกิริยวาทนั้น คนเหล่านั้นจะชื่อว่า กล่าวตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว มิใช่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคำอันไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม หรือ การคล้อยตามวาทะอันชอบแก่เหตุไรๆ จะไม่มาถึงฐานะ อันสมควรติเตียนแลหรือ เพราะข้าพระองค์ไม่ประสงค์จะกล่าวตู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าเลย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสีหะ เหตุที่เขากล่าวหา เราว่า พระสมณโคดมเป็นอกิริยวาท ผู้กล่าวกรรมอันบุคคลทำอยู่ว่า ไม่เป็นอันทำ แสดงธรรมเพื่ออกิริยวาท และแนะนำสาวกนั้นหลาย ด้วยกิริยวาท ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น มีอยู่.

เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นกิริยวาท ผู้ กล่าวกรรมอันบุคคลทำอยู่ว่า เป็นอันทำ ย่อมแสดงธรรมเพื่อ กริยวาทและแนะนำสาวกทั้งหลายด้วยกิริยวาท ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบ นั้น มีอยู่.

เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นอุจเฉทวาท ผู้กล่าวความขาดสูญ ย่อมแสดงธรรมเพื่ออุจเฉทวาท และแนะนำ สาวกทั้งหลายด้วยอุจเฉทวาท ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น มีอยู่.

เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นเชคุจฉี คนช่าง เกลียด ย่อมแสดงธรรมเพื่อเชคุจฉี และแนะนำสาวกทั้งหลาย ด้วยเชคุจฉี ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น มีอยู่.

เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นเวนยิกะ คน กำจัด ย่อมแสดงธรรมเพื่อกำจัด และแนะนำสาวกนั้นหลายด้วย


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 363

การกำจัด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น มีอยู่.

เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นตปัสสี คน เผาผลาญ ย่อมแสดงธรรมเพื่อเผาผลาญ และแนะนำสาวก ทั้งหลายด้วยการเผาผลาญ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น มีอยู่.

เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นอัปปคัพภะ ไม่ผุดไม่เกิด ย่อมแสดงธรรมเพื่อไม่ผุดไม่เกิด และแนะนำ สาวกทั้งหลายด้วยการไม่ผุดไม่เกิด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น มีอยู่.

เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นอัสสัตถะ คนใจเบา ย่อมแสดงธรรมเพื่อความใจเบา และแนะนำสาวกทั้งหลาย ด้วยการใจเบา ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น มีอยู่.

ดูก่อนสีหะ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็น อกิริยวาท ย่อมแสดงธรรมเพื่ออกิริยวาท และแนะนำสาวก ด้วยอกิริยวาท ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น เป็นไฉน ดูก่อนสีหะ เพราะเรากล่าวการไม่ทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เรา กล่าวการไม่ทำซึ่งธรรมอันเป็นบาปอกุศลหลายอย่าง นี้แลเป็นเหตุ ที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นอกิริยวาท ย่อมแสดงธรรม เพื่ออกิริยวาท และแนะนำสาวกทั้งหลายด้วยอกิริยวาท ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบ.

ดูก่อนสีหะ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็น กิริยวาท ย่อมแสดงธรรมเพื่อกิริยวาท และแนะนำสาวก ด้วยกิริยวาท ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น เป็นไฉน ดูก่อนสีหะ


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 364

เพราะเรากล่าวการทำกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต กล่าวการ ทำกุศลธรรมหลายอย่าง นี้แลเป็นเหตุที่เขากกล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นกิริยวาท ย่อมแสดงธรรมเพื่อกิริยวาท และแนะนำ สาวกทั้งหลายด้วยกิริยวาท ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบ.

ดูก่อนสีหะ ก็เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดม เป็นอุจเฉทวาท ย่อมแสดงธรรมเพื่ออุจเฉทวาท และแนะนำสาวก ทั้งหลายด้วยอุจเฉทวาท ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น เป็นไฉน ดูก่อน สีหะ เพราะเรากล่าวความขาดสูญแห่งราคะ โทสะ โมหะ และ ธรรมอันเป็นบาปอกุศลหลายอย่าง นี้แลเป็นเหตุที่เขากล่าวหาเรา ว่าพระสมณโคดมเป็นอุจเฉทวาท ย่อมแสดงธรรมเพื่ออุจเฉทวาท และแนะนำสาวกทั้งหลายด้วยอุจเฉทวาท ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบ.

ดูก่อนสีหะ. เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็น เชคุจฉี คนช่างเกลียด ย่อมแสดงธรรมเพื่อความช่างเกลียด และ แนะนำสาวกทั้งหลายด้วยความช่างเกลียด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบ นั้นเป็นไฉน ดูก่อนสีหะ เพราะเราเกลียดชังกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต และเกลียดชังการเข้าถึงธรรมอันเป็นบาปอกุศลหลาย อย่าง นี้แลเป็นเหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นคน ช่างเกลียด ย่อมแสดงธรรมเพื่อความช่างเกลียด และแนะนำสาวก ด้วยความช่างเกลียด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบ.

ดูก่อนสีหะ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็น เวนยิกะ คนกำจัด ย่อมแสดงธรรมเพื่อกำจัด และแนะนำสาวก ทั้งหลายด้วยการกำหนด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น เป็นไฉน ดูก่อน


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 365

สีหะ เพราะเราแสดงธรรมเพื่อกำจัดราคะ โทสะ โมหะ และธรรม อันเป็นบาปอกุศลหลายอย่าง นี้แลเป็นเหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นคนกำจัด ย่อมแสดงธรรมเพื่อกำจัด และแนะนำ สาวกทั้งหลายด้วยการกำจัด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบ.

ดูก่อนสีหะ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็น ตปัสสี คนเผาผลาญ ย่อมแสดงธรรมเพื่อความเผาพลาญ และ แนะนำสาวกทั้งหลายด้วยการเผาผลาญ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น เป็นไฉน ดูก่อนสีหะ เพราะเรากล่าวธรรมอันเป็นบาปอกุศล คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ว่าเป็นธรรมควรเผาผลาญ ดูก่อนสีหะ ผู้ใดแลละธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่ควรเผาผลาญได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้ เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เรากล่าวผู้นั้นว่า ตัดรากขาดแล้ว ทำ ให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดอีกต่อไปเป็น ธรรมดา นี้แลเป็นเหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็น คนเผาผลาญ ย่อมแสดงธรรมเพื่อความเผาผลาญ และแนะนำ สาวกทั้งหลายด้วยการเผาผลาญ ดังนี้ ชื่อว่า กล่าวชอบ.

ดูก่อนสีหะ ก็เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดม เป็นอัปปคัพภะ คนไม่ผุดไม่เกิด ย่อมแสดงธรรมเพื่อความไม่ผุด ไม่เกิด และแนะนำสาวกทั้งหลายด้วยการไม่ผุดไม่เกิด ดังนี้ ชื่อว่า กล่าวชอบนั้น. เป็นไฉน ดูก่อนสีหะ ผู้ใดแลละการนอนในครรภ์ การเกิดในภพใหม่ได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาล ยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เรากล่าวผู้นั้นว่า


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 366

ผู้ไม่ผุดไม่เกิด ตถาคตละการนอนในครรภ์ การเกิดในภพใหม่ได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิด อีกต่อไปเป็นธรรมดา นี้ เป็นเหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นคนไม่ผุดไม่เกิด ย่อมแสดงธรรมเพื่อความไม่ผุดไม่เกิด และแนะนำสาวกทั้งหลายด้วยการไม่ผุดไม่เกิด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบ.

ดูก่อนสีหะ ก็เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็น อัสสัตถะ คนใจเบา ย่อมแสดงธรรมเพื่อใจเบา และแนะนำสาวก ทั้งหลายด้วยการใจเบา ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น เป็นไฉน ก่อน สีหะ เพราะเราเป็นคนใจเบา ย่อมแสดงดธรรมเพื่อความใจเบา ด้วยความใจเบา อย่างยิ่ง และแนะนำสาวกทั้งหลายด้วยการใจเบา นี้แลเป็นเหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นคนใจเบา ย่อมแสดงธรรมเพื่อความใจเบา และแนะนำสาวกทั้งหลายด้วยการ ใจเบา ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบ.

ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว สีหเสนาบดีได้ กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิต ของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะ ตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

พ. ดูก่อนสีหะ ท่านจงใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงกระทำ การใคร่ครวญก่อนแล้วกระทำ เป็นความดีของคนที่มีชื่อเสียง เช่นท่าน.


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 367

สี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พอใจชื่นใจอย่าง ล้นเหลือต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ด้วยพระดำรัสที่ตรัสกะข้าพระองค์ ว่า ดูก่อนสีหะ ท่านจงใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงกระทำ การ ใคร่ครวญก่อนแล้วกระทำ เป็นความดีของตนที่มีชื่อเสียงเช่นท่าน เพราะพวกอัญญเดียรถีย์ได้ข้าพระองค์เป็นสาวกแล้ว พึงยกธง เที่ยวประกาศทั่วเมืองเวสาลีว่า สีหเสนานดียอมเป็นสาวกพวกเรา แล้ว แต่พระผู้มีพระภาคเจ้ากลับตรัสกะข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ดูก่อนสีหะ ท่านจงใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงกระทำ การใคร่- ครวญก่อนแล้วกระทำ เป็นความดีของคนที่มีชื่อเสียงเช่นท่าน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า กับ ทั้งพระธรรมและภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ เป็นครั้งที่สอง ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงจำข้าพระองค์ไว้ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

พ. ดูก่อนสีหะ ตระกูลของท่านเป็นเสมือนบ่อน้ำของพวก นิครนถ์มานานแล้ว ท่านควรสำคัญบิณฑบาตที่ท่านจะพึงให้แก่ พวกนิครนถ์เหล่านั้นผู้เข้าไปแล้ว.

สี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พอใจชื่นใจอย่าง ล้นเหลือต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า มีด้วยพระดำรัสที่ตรัสกะข้าพระองค์ ว่า ดูก่อนสีหะ ตระกูลของท่านเป็นเสมือนบ่อน้ำของพวกนิครนถ์ มานานแล้ว ท่านควรสำคัญบิณฑบาต ที่ท่านจะพึงให้แก่พวกนิครนถ์ เหล่านั้นผู้เข้าไปแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับมา ดังนี้ว่า พระสมณโคดมตรัสอย่างนี้ว่า ควรให้ทานแก่เราเท่านั้น


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 368

ไม่ควรให้แก่ผู้อื่น ควรให้แก่สาวกของเราเท่านั้น ไม่ควรให้แก่ สาวกของพวกอื่น ทานที่ให้แก่เราเท่านั้นมีผลมาก ให้แก่พวกอื่น ไม่มีผลมาก ให้แก่สาวกของเราเท่านั้นมีผลมาก ให้แก่สาวกของ พวกอื่นไม่มีผลมาก แต่พระผู้มีพระภาคเจ้ากลับตรัสชักชวนข้า พระองค์ในการให้ทานแม้ในพวกนิครนถ์ด้วย อนึ่ง ข้าพระองค์ จักรู้กาลอันควร ที่จะให้ทานนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า กับทั้งพระธรรม และภิกษุสงฆ์ว่า เป็นสรณะ เป็นครั้งที่สาม ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงจำ ข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุปุพพิกถาโปรดสีหเสนาบดี คือ ทรงประกาศทานกถา ศีลกถา สัคคกถา โทษแห่งกาม อันต่ำทรามเศร้าหมอง และอานิสงส์ในเนกขัมมะ เมื่อใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า สีหเสนาบดี มีจิตควร อ่อน ปราศจาก นิโวรณ์ บันเทิง เลื่อมใสแล้ว เมื่อนั้น จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงเอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้น แก่สีหเสนาบดี ณ ที่นั่งนั้นเองว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็น ธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา เปรียบเหมือน ผ้าที่สะอาดปราศจากดำ จะพึงย้อมติดดี ฉะนั้น.

ครั้งนั้นแล สีหเสนาบดีผู้เห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรมแล้ว รู้แจ้งธรรมแล้ว หยั่งซึ้งถึงธรรมแล้ว ข้ามพ้นความสงสัยได้แล้ว ปราศจากความเคลือบแคลงแล้ว ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้อง


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 369

เชื่อผู้อื่น ในพระศาสนาของพระศาสดา ได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์รับนิมนต์ฉันอาหารบิณฑบาตในวันพรุ่งนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับโดยดุษณีภาพ.

ครั้งนั้นแล สีหเสนาบดีทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง รับนิมนต์แล้วลุกจากที่นั่ง ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า กระทำ ประทักษิณแล้วหลีกไป ครั้งนั้นแล สีหเสนาบดี เรียกชายคนหนึ่ง มาบอกว่า พ่อมหาจำเริญ พ่อจงไปหาเนื้อ เลือกเอาเฉพาะที่ขาย ทั่วไป พอล่วงราตรีนั้น สีหเสนาบดีสั่งให้จัดขาทนียโภชนียาหาร อันประณีตไว้ในนิเวศน์ของตนแล้ว ให้ไปกราบทูลเวลาภัตตาหาร แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผูเจริญ ถึงเวลาแล้ว พระเจ้าข้า ภัตตาหารในนิเวศน์ของท่านสีหเสนาบดีสำเร็จแล้ว.

ครั้งนั้น ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองอันตรวาสก ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของสีหเสนาบดี ประทับ นั่งบนอาสนะที่ปูไว้พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ก็สมัยนั้น นิครนถ์เป็น จำนวนมาก พากันประคองแขนคร่ำครวญตามถนนต่างๆ ตาม สีแยกต่างๆ ในกรุงเวสาลีว่า วันนี้ สีหเสนาบดีฆ่าสัตว์อ้วนพี ปรุงเป็นอาหารถวายพระสมณโคดม พระสมณโคดมทั้งที่รู้ ทรง ฉันอุทิศมังสะที่เขาอาศัยตนทำ.

ลำดับนั้น บุรุษคนหนึ่งเข้าไปหาสีหเสนาบดีกระซิบบอกว่า พระเดชพระคุณได้โปรดทราบ นิครนถ์เป็นจำนวนมากเหล่านี้ พากันประคองแขนคร่ำครวญตามถนนต่างๆ ตามสี่แยกต่างๆ


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 370

ในกรุงเวสาลีว่า วันนี้ สีหเสนาบดีฆ่าสัตว์อ้วนพีปรุงเป็นภัตตาหาร ถวายพระสมณโคดม พระสมณโคดมทั้งที่รู้อยู่ ทรงฉันอุทิศมังสะ ที่เขาอาศัยตนทำ.

สีหเสนาบดีกล่าวว่า อย่าเลย เพราะเป็นเวลานานมาแล้ว ที่พระคุณเจ้าเหล่านั้น ใคร่จะกล่าวโทษพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แต่ท่านเหล่านี้ไม่กระดากอายเสียเลย ย่อมกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยคำอันไม่เป็นจริง แม้เพราะเหตุแห่งชีวิตไม่ ลำดับนั้น สีหเสนาบดี ได้อังคาสพระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ให้อิ่มหนำสำราญ ด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีตด้วยมือของตน และเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าฉันเสร็จแล้ว ชักพระหัตถ์ออกจากบาตรแล้ว สีหเสนาบดี นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรง ชี้แจง สีหเสนาบดีนั่งเรียบร้อยแล้ว ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้ อาจหาญ รื่นเริงด้วยธรรมมีกถา แล้วเสด็จลุกจากที่นั่งหลีกไป.

จบ สีหสูตรที่ ๒

อรรถกถาสีหสูตาที่ ๒

สีหสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อภิญฺาตา ได้แก่ รู้จักกันแล้ว รู้จักกันแล้ว ปรากฏ แล้ว. บทว่า สนฺถาคาเร ได้แก่ สันถาคารของมหาชน คือ เรือนที่ สร้างไว้เพื่อต้องการพักผ่อน (ของมหาชน). เล่ากันว่า สันถาคารศาลานั้น ได้มีอยู่กลางเมือง ปรากฏแก่คนทั้งสองซึ่งอยู่ที่ประตู


ความคิดเห็น 12    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 371

ทั้ง ๔ ด้าน พวกมนุษย์ที่มาจากทิศทั้ง ๔ พักผ่อนที่สันถาคาร นั้นก่อน ภายหลังจึงไปยังที่อันผาสุกแก่ตน. บางอาจารย์กล่าวว่า เรือนที่สร้างไว้เพื่อปฏิบัติราชกิจของราชตระกูล ดังนี้บ้าง. จริงอยู่ เจ้าลิจฉวีประทับนั่งที่สันถาคารนั้น ริเริ่มกระทำจัดราชกิจ. บทว่า สนฺนิสินฺนา ความว่า นั่งประชุมบนอาสนะที่ตกแต่งไว้ มีเครื่อง ลาดควรค่ามาก ยกเศวตฉัตรขั้นไว้ เพื่อสำหรับเจ้าลิจฉวีเหล่านั้น ประทับนั่ง.

บทว่า อเนกปริยาเยน พุทฺธสฺส วณฺณํ ภาสนฺติ ความว่า เจ้าลิจฉวีทั้งหลาย พิจารณาในราชสกุลและการบำเพ็ญประโยชน์ แก่โลกแล้วกล่าวพูดของคุณของพระพุทธเจ้าด้วยเหตุมิใช่น้อย. จริงอยู่ เจ้าเหล่านั้นเป็นบัณฑิตมีศรัทธาเสื่อมใส เป็นพระอริยสาวก ระดับโสดาบันบ้าง สกทาคามีบ้าง อนาคามีบ้าง เจ้าเหล่านั้นทุก พระองค์ตัดรกชัฏฝ่ายโลกีย์ได้แล้ว สรรเสริญคุณของรัตนะทั้ง ๓ มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น. บรรดารัตนะทั้ง ๓ เหล่านั้น ชื่อว่า คุณของ พระพุทธเจ้ามี อย่าง คือ จริยคุณ สรีรคุณ คุณคุณ. บรรดา คุณทั้ง ๓ นั้น เจ้าเหล่านี้ ปรารภพระจรรยาคุณ :- คือกล่าวคุณ ของพระพุทธเจ้าด้วยชาดก ๕๕๐ เรื่องว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญบารมี ๓๐ ทัศคือ บารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ สิ้นสี่อสงไขยกำไรแสนกัป ทรงทำญาตัตถจริยา โลกัตถจริยา และพุทธัตถจริยาให้ถึงที่สุด แล้วทำบริจาคซึ่งมหาบริจาค ๕ ประการ ทรงทำกิจกรรมที่ทำยากหนอดังนี้ พรรณนาจนถึง ภพดุสิตแล้วจึงหยุด.


ความคิดเห็น 13    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 372

อนึ่ง เมื่อกล่าวคุณของพระธรรม ได้กล่าวพระธรรมคุณ เป็นส่วนๆ ว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น แสดงแล้ว ว่าโดยนิกายมี ๕ นิกาย ว่าโดยปิฎกมี ๓ ปิฎก ว่าโดย องค์มี ๙ องค์ ว่าโดยขันธ์มี ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์.

เมื่อกล่าวคุณของพระสงฆ์ ก็กล่าวสังฆคุณโดยสังเขป แห่งบรรพชาว่า กุลบุตรทั้งหลายได้ฟังธรรมเทศนาของพระศาสดา ได้มีศรัทธา ละกองโภคะและวงศ์ญาติ ไม่นำพาถึงเศวตฉัตร ตำแหน่งอุปราช ตำแหน่งเสนาบดี เศรษฐีและขุนคลังเป็นต้น ออกบวชในศาสนาอันประเสริฐของพระศาสนา. ในสมัยพุทธกาล เฉพาะราชบรรพชิต เช่นพระเจ้าภัททิยะ พระเจ้ามหากัปปิยและ พระเจ้าปุกกุสาติเป็นต้น ผู้ละเศวตฉัตรออกบวชมีจำนวนถึง ๘๐,๐๐๐ พระองค์. ส่วนสำหรับกุบบุตรทั้งหลายมีสกุลบุตร โสณบุตรเศรษฐี และรัฐปาลกุลบุตรเป็นต้น ผู้ละทรัพย์หลายโกฏิ ออกบวช กำหนดไม่ได้ กุลบุตรเห็นปานนี้ๆ ย่อมบวชในพระศาสนาของพระศาสดา.

บทว่า สีโห เสนาปติ ได้แก่ แม่ทัพผู้มีชื่ออย่างนั้น. ก็ใน เมืองเวสาลี มีเจ้าถึง ๗,๗๐๗ พระองค์ แม้เจ้าทั้งหมดนั้นประชุม กัน เจ้าทั้งหมดต่างยึดน้ำใจกัน เลือกเฟ้นกันว่า ท่านทั้งหลาย จงเลือกเฟ้นเจ้าสักพระองค์หนึ่งผู้สามารถบริหารรัฐแว่นแคว้นได้ เห็นสีหราชกุมาร จึงตกลงกันว่า ผู้มีจักสามารถ จึงได้ถวายฉัตร ประจำตำแหน่งเสนาบดีสีเหมือนทับทิม บุด้วยผ้ากัมพลแก่สีหราช-


ความคิดเห็น 14    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 373

กุมารนั้น. ทรงหมายเอาสีหราชกุมารนั้นจึงตรัสว่า สีโห เสนาปติ ดังนี้.

บทว่า นิคฺคณฺสาวโก ได้แก่ อุปฐากผู้ให้ปัจจัยแก่นิครนถ์ นาฏบุตร. ก็ในภาคพื้นชมพูทวีป มีชน ๓ คนที่เป็นอัครอุปฐาก ของพวกนิครนถ์ คือ ในเมืองนาลันทาอุบาลีคหบดี,ในเมืองกบิลพัสดุ์- วัปปศากยะ, ในเมืองเวสาลีสีหเสนาบดีผู้นี้.

บทว่า นิสินฺโน โหติ ความว่า ปูลาดอาสนะตามริมๆ สำหรับ บริษัทของเหล่าเจ้าหอกนั้น ส่วนของสีหเสนาบดี ปูลาดไว้ตรงกลาง ดังนั้น สีหเสนาบดีจึงประทับนั่งเหนือราชอาสน์อันควรค่ามากที่เขา

บทว่า นิสฺสํสยํ ได้แก่ ไม่สงสัย คือโดยแม้ส่วนเดียว เพราะว่า เจ้าลิจฉวีเหล่านี้จะไม่กล่าวคุณของเจ้าผู้มีศักดิ์น้อยองค์ไรๆ ด้วย เหตุหลายร้อยอย่างนี้.

บทว่า เยน นิคฺคณฺโ นาฏปุตฺโต เตนุปสงฺกมิ ความว่า เขาเล่าว่า นิครนถ์นาฏบุตรคิดว่า ถ้าสีหเสนาบดีนี้ เมื่อใครๆ กล่าวคุณของพระสมณโคดม ได้ฟังแล้วจักเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดม ไซร้ เราก็จักเสื่อม จึงได้กล่าวคำนี้ กะสีหเสนาบดีล่วงหน้าไว้ก่อนว่า

ดูก่อนเสนาบดี ในโลกนี้ คนเป็นอันมากเที่ยวพูดว่า เราเป็น พระพุทธเจ้า เราเป็นพระพุทธเจ้า ถ้าท่านประสงค์จะเข้าไปพบ ใครๆ ไซร้ ควรจะถามเรา ที่อันสมควร เราจะส่งท่านไปที่ไม่ สมควร เราก็จะห้ามท่านเสีย สีหเสนาบดีนั้นระลึกถึงถ้อยคำนั้น จึงคิดว่า ถ้าท่านนิครนถ์นาฏบุตรจักส่งเราไปไซร้ เราจักไป


ความคิดเห็น 15    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 374

ถ้าไม่ส่ง เราจักไม่ไป ดังนี้แล้วเข้าไปหานิครนถ์นาฏบุตรถึงที่อยู่. ครั้งนั้น นิครนถ์ได้ฟังคำของสีหเสนาบดีนั้น ถูกความโศกอย่าง รุนแรงดุจภูเขาใหญ่ทับ เสียใจว่า เราไม่ปราถนาให้เขาไปที่ใด เขาก็ประสงค์จะไปที่นั้น เราถูกเขาฆ่าเสียแล้ว จึงคิดว่า เราจัก ทำอุบายห้ามเขา จึงกล่าวคำ อาทิว่า กึ ปน ตฺวํ ดังนี้. นิครนถ์ เมื่อกล่าวอย่างนี้ ทำปีติอันเกิดขึ้นแล้วของสีหเสนาบดีให้พินาศไป เหมือนเอาปากกระแตกโคตัวกำลังเที่ยวไป เหมือนทำประทีปที่ ลุกโพลงให้ดับ เหมือนคว่ำบาตรที่เต็มภัตตาหาร ฉะนั้น. บทว่า คมิยาภิสงฺขาโร ได้แก่ การตระเตรียมที่เป็นไปโดยการให้เทียมช้าง ม้า และการถือเอามาลัยและของหอมเป็นต้น. บทว่า โส วูปสนฺโต ได้แก่ การเตรียมจะไปนั้นถูกระงับแล้ว.

บทว่า ทุติยมฺปิ โข คือ แม้วาระที่ ๒. ในวาระแม้นี้ เมื่อ เจ้าลิจฉวีสรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้า ได้กล่าวสรีรคุณ ด้วย อำนาจมหาปุริสลักขณะ ๓๒ ประการ พระอนุพยัญชนะ ๘๐ และพระรัศมีข้างละวาแห่งพระทศพล กำหนดเอาเบื้องล่างแต่พื้นเท้า ขึ้นไป เบื้องบนแต่ปลายผมลงมา ตั้งแต่ภพดุสิตจนถึงมหาโพธิบัลลังก์. เมื่อจะกล่าวสรรเสริญคุณพระธรรมได้กล่าวคุณของพระธรรม ด้วยอำนาจธรรมที่ตรัสไว้ดีแล้วเท่านั้นว่า ชื่อว่าความพลั้งพลาด ในบทหนึ่งก็ดี ในพยัญชนะตัวหนึ่งก็ดี ไม่มีเลย. เมื่อกล่าวสรรเสริญ คุณของพระสงฆ์ ได้กล่าวคุณของพระสงฆ์ ด้วยอำนาจปฏิปทา การปฏิบัติว่า กุลบุตรผู้ละยศ สิริ และทรัพย์สมบัติเห็นปานนี้ บวชในศาสนาของพระศาสดา ไม่เป็นผู้เกียจคร้านปกติ แต่


ความคิดเห็น 16    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 375

เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในธุดงค์คุณ ๑๓ ประการ กระทำกิจกรรม ในอนุปัสสนา ๗ ใช้การจำแนกอารมณ์ ๓๘.

ก็ในวาระที่ ๓ เมื่อจะกล่าวสรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้า กล่าวพุทธคุณทั้งหลายโดยปริยายแห่งพระสูตรนั่นแลว่า อิติปิ โส ภควา ดังนี้เป็นต้น. กล่าวสรรเสริญพระธรรมคุณทั้งหลายโดย ปริยายแห่งพระสูตรนั่นแหละว่า สฺวากฺขาโต ภควาตา ธมฺโม ดังนี้เป็นต้น. กล่าวสรรเสริญพระสังฆคุณทั้งหลายโดยปริยาย แห่งพระสูตรนั่นแหละว่า สุปฏิปนฺดน ภควโต สาวกสงฺโฆ ดังนี้เป็นต้น. ลำดับนั้น สีหเสนาบดีคิดว่า ก็เมื่อบิจฉวีราชกุมาร เหล่านี้กล่าวพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ จำเดิมแต่วันที่ ๓ พระโอฐก็ไม่พอ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงประกอบ ด้วยพระคุณไม่ต่ำทรามแน่ บัดนี้ เราจะไม่ละปีติที่เกิดขึ้นแล้วนี้ อย่างเด็ดขาด จักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าวันนี้. ลำดับนั้น สีหเสนาบดีเกิดความวิตกขึ้นว่า พวกนิครนถ์จักกระทำอะไรแก่เรา เล่า. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กึ หิ เม กริสฺสนฺติ ความว่า นิครนถ์ทั้งหลายจักกระทำอไรแก่เรา. บทว่า อปโลกิตา วา อนปโลกิตา วา ได้แก่ บอกกล่าวหรือจะไม่บอกกล่าว. อธิบายว่า นิครนถ์เหล่านั้นเราบอกกล่าวแล้ว จักให้สมบัติ. คือยานพาหนะ (และ) อิศริยยศอันพิเศษก็หาไม่ เราไม่บอกกล่าว เขาจักนำ อิศริยยศไปเสียก็หามิได้ การบอกกล่าวนิครนถ์เหล่านั้นจึงไม่มีผล.

บทว่า เวสาลิยา นิยฺยาสิ ความว่า เหมือนอย่างว่า เมื่อฝนตก ในฤดูร้อน น้ำไหลลงสู่แม่น้ำ ไหลไปได้หน่อยหนึ่งเท่านั้นก็หยุด


ความคิดเห็น 17    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 376

ไม่ไหล ฉันใด เวลาที่เมื่อปีติเกิดขึ้นแก่สีหเสนาบดีในวันแรกว่า เราจักเฝ้าพระทศพล ถูกนิครนถ์ห้ามไว้ก็ฉันนั้น. เหมือนอย่างว่า เมื่อฝนตกในวันที่ ๒ น้ำไหลลงสู่แม่น้ำ ไหลไปได้หน่อยหนึ่ง ปะทะ กองทรายเข้า ก็หยุดไหล ฉันใด เวลาที่เมื่อปีติเกิดขึ้นแก่สีหเสนาบดี ในวันที่ ๒ ว่าเราจักเฝ้าพระทศพล ถูกนิครนถ์ห้ามไว้ ก็ฉันนั้น. เมือฝนตกในวันที่ ๓ น้ำไหลลงสู่แม่น้ำ พัดพาเอาใบไม้เก่า ท่อนไม้ แห้ง ต้นอ้อ และหยากเยื่อเป็นต้นไป พังกองทราย ไหลลงสมุทร ไปได้ ฉันใด สีหเสนาบดีก็ฉันนั้น เมื่อความปีติปราโมทย์ เกิดขึ้น เพราะได้ฟังกถาพรรณนาคุณของวัตถุ (คือสรณะ) ทั้ง ๓ ในวันที่ ๓ จึงคิดว่า พวกนิครนถ์ไม่มีผล พวกนิครนถ์ไร้ผล นิครนถ์เหล่านี้ จักทำอะไรเรา จำเราจักไปเฝ้าพระศาสดา จึงตระเตรียมการ เสร็จแล้วก็ออกไปจากเมืองเวสาลี. ก็เมื่อจะออกไปคิดว่า เรา ประสงค์จะไปเฝ้าพระทศพล เป็นเวลานานมาแล้ว ก็การไปด้วย เพศที่ใครๆ ไม่รู้จัก (คือปลอมตัวไป) ไม่ควรแก่เราแล จึงให้ ป่าวร้องว่า คนเหล่าใดเหล่าหนึ่งประสงค์จะไปเฝ้าพระทศพล คนทั้งหมดจงออกมา แล้วให้เทียมรถ ๕๐๐ คัน และบริษัทหมู่ใหญ่ ห้อมล้อม ถือเอาของหอม ดอกไม้ และจุณณอบ เป็นต้นออกไป.

บทว่า ทิวา ทิวสฺส ได้แก่ ในเวลากลางวัน คือในเวลา ประมาณเลยเที่ยงไป. บทว่า. เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ ความว่า เมื่อเข้าไปยังพระอารามได้เห็นพระรัศมีด้านละวาแห่งอนุพยัญชนะ ๘๐ พระปุริสลักษณะ ๓๒ และพระรัศมีหนาแน่นมีวรรณะ ๖ ประการ แต่ที่ไกลทีเดียว จึงคิดว่า เราไม่ได้พบบุรุษเห็นปานนี้


ความคิดเห็น 18    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 377

ซึ่งอยู่ในที่ใกล้อย่างนี้ เป็นเวลาถึงเท่านี้ เราถูกลวงเสียแล้วหนอ เราไม้มีลาภหนอ เกิดความปีติปราโมทย์ เหมือนบุรุษเข็ญใจพบ ขุมทรัพย์ใหญ่ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ.

บทว่า ปรเมน อสฺสาเทน ความว่า ด้วยความโล่งใจอย่างยิ่ง กล่าวคือมรรค ผล. บทว่า อสฺสาสาย ธมฺมํ เทเสมิ ความว่า จำเราจะแสดงธรรมเพื่อความโล่งใจ เพื่อสนับสนุน. ดังนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงแสดงธรรมแก่สีหเสนาบดี ด้วยองค์ ๘.

บทว่า อนุวิจฺจการํ ความว่า ใคร่ครวญแล้ว อธิบายว่า คิดแล้ว คือพิจารณาแล้วจึงกระทำกิจที่พึงกระทำ. บทว่า สาธุ โหติ แปลว่า เป็นความดี. จริงอยู่ เมื่อบุคคลเช่นท่าน เห็นเราแล้ว ก็ถึงเราว่าเป็นที่พึง เห็นนิครนถ์แล้วก็ถึงนิครนถ์ว่าเป็นที่พึ่ง ย่อม จะเกิดครหาขึ้นว่า ทำไม สีหเสนาบดีผู้นั้นจึงถึงผู้ที่ตนเห็นแล้วๆ เท่านั้น ว่าเป็นที่พึ่งเพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงแสดงว่า การใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ เป็นความดีสำหรับบุคคลเช่นท่าน. บทว่า ปฏากํ ปริหเรยฺยุํ ความว่า ได้ยินว่า นิครนถ์เหล่านั้น ได้บุคคลเห็นปานนั้นเป็นสาวก ก็ยกป้ายแผ่นผ้าเที่ยวป่าวร้อง ไปในพระนครว่า พระราชาองค์นั้น ราชมหาอำมาตย์คนโน้น เศรษฐีคนโน้นถึงสรณะที่พึ่งของเรา. เพราะเหตุไร? เพราะ นิครนถ์เหล่านั้นคิดว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ความเป็นใหญ่ของเราจัก ปรากฏชัด และคิดว่า ก็ถ้าสีหเสนาบดีนั้น พึงเกิดความร้อนใจขึ้นว่า เราถึงนิครนถ์เหล่านี้เป็นที่พึ่งทำไม สีหเสนาบดีนั้นจักบรรเทา ความร้อนใจนั้นว่า ชนเป็นอันมากรู้ว่าเราถึงนิครนถ์เหล่านั้น


ความคิดเห็น 19    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 378

เป็นที่พึ่ง ก็จักไม่ถอยกลับ เพราะเหตุนั้น จึงกล่าวว่า ปฏากํ ปริหเรยฺยุํ.

บทว่า โอปานภูตํ ได้แก่ ตระกูลที่ตั้งอยู่ดุจบ่อน้ำที่เขาจัด แต่งไว้. บทว่า กุลํ ได้แก่ นิเวศน์ที่อยู่อาศัยของท่าน. ด้วยบทว่า ทาตพฺพํ มญฺเยฺยาสิ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงโอวาทว่า เมื่อ ก่อนท่านเห็นชน ๑๐ คนบ้าง ๒๐ คนบ้าง มาถึงไม่กล่าวว่าไม่มี แล้วก็ให้ไป บัดนี้ ท่านอย่างตัดไทยธรรมสำหรับนิครนถ์เหล่านี้เสีย โดยเหตุเพียงถึงเราเป็นที่พึ่งเท่านั้นเลย ความจริงท่านควรให้แก่ นิครนถ์ผู้มาถึงอย่างเดิม. สีหเสนาบดีทูลว่า คำนั้นข้าพระองค์ ได้ฟังมาแล้ว พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ได้ฟัง มาจากไหน? สีหเสนาบดีทูลว่า จากสำนักนิครนถ์ พระเจ้าข้า. ได้ยินว่า นิครนถ์เหล่านั้นประกาศไปในเรือนแห่งตระกูลทั้งหลาย อย่างนี้ว่า เราทั้งหลายกล่าวว่า ควรให้แก่ผู้ใดผู้หนึ่งผู้มาถึงเข้า แต่พระสมณโคดมพูดอย่างนี้ว่า ควรให้ทานแก่เราเท่านั้น ไม่ควร ให้ทานแก่คนเหล่อื่น ควรให้แก่สาวกของเราเท่านั้น ไม่ควร ให้แก่สาวกของศาสดาอื่น ทานที่ให้แก่เราเท่านั้นมีผลมาก ทาน ที่ให้แก่คนเหล่าอื่นไม่มีผลมาก ทานที่ให้แก่สาวกของเราเท่านั้น มีผลมาก ที่ให้แก่สาวกของศาสดาอื่นไม่มีผลมาก. สีหเสนาบดี กล่าวว่า สุตเมตํ หมายเอาคำนัน.

บทว่า อนุปุพฺพกถํ ได้แก่ ถ้อยคำตามลำดับอย่างนี้ว่า ศีลในลำดับแห่งทาน สวรรค์ในลำดับแห่งศีล มรรคในลำดับแห่ง สวรรค์. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทานกถํ ได้แก่ ถ้อยคำที่ เกี่ยวด้วยคุณของทานมีอาทิอย่างนี้ว่า ชื่อว่าทานนี้เป็นเหตุแห่ง


ความคิดเห็น 20    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 379

ความสุข เป็นมูลแห่งสมบัติ เป็นที่ตั้งแห่งโภคะทั้งหลาย เป็นที่ ต้านทาน เป็นที่เร้น เป็นคติ เป็นที่สำนักของบุคคลผู้เดินทางไม่เรียบ ที่พึงอาศัย ที่พึ่ง ที่ยึดหน่วง ที่ต้านทาน ที่เร้น ที่ไป ที่พำนัก เช่นกันทาน ในโลกนี้และโลกหน้า ไม่มี. จริงอยู่ ทานนี้เป็นเช่น กับอาสนะทองคำอันสำเร็จด้วยรัตนะ เพราะอรรถว่าเป็นที่พึ่ง อาศัย เป็นเช่นกับมหาปฐวี เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้งอาศัย เป็น เช่นกับเชือกสำหรับยึดเหนี่ยว เพราะอรรถว่าเป็นที่ยึดหน่วง และทานนี้เป็นดุจนาวา เพราะอรรถว่าเป็นที่ช่วยทุกข์ เป็นดุจนักรบ ผู้แกล้วกล้าในสงคราม เพราะอรรถว่าเป็นที่โล่งใจ เป็นดุจนคร ที่จัดแต่งไว้ดีแล้ว เพราะอรรถว่าเป็นที่ต้านภัย เป็นดุจดอกปทุม เพราะอรรถว่าไม่ถูกมลทินคือ ความตระหนี่เป็นต้น ซึมซาบ เป็น ดุจเพลิง เพราะอรรถว่าเผามลทินคือ ความตระหนี่เป็นต้นเหล่านั้น เป็นดุจอสรพิษ เพราะอรรถว่าเข้าใกล้ได้ยาก เป็นดุจสีหะ เพราะ อรรถว่าไม่หวาดสะดุ้ง เป็นดุจช้าง เพราะอรรถว่ามีกำลัง เป็นดุจ โคอุสภะขาว เพราะอรรถว่าอันโลกสมบัติว่าเป็นมงคลยิ่ง เป็นดุจ พระยาม้าวลาหก เพราะอรรถว่าทำบุคคลให้ถึงถิ่นอันเกษมปลอดภัย. บรรดาว่าทานนี้เป็นหนทางที่เราไป นั่นเป็นวงศ์ของเรา เราเมื่อ บำเพ็ญบารมี ๑๐ ได้ปฏิบัติมหายัญเป็นอเนกคือ มหายัญครั้งเป็น เวลามพราหมณ์ มหายัญครั้งเป็นมหาโควินทพราหมณ์ มหายัญ ครั้งเป็นพระเจ้าจักรพรรดินามว่ามหาสุทัศนะ มหายัญครั้งเป็น เวสสันดร เราเมื่อครั้งเป็นกระต่ายได้มอบตนในกองเพลิงที่ลุกโชน แล้วประคับประคองจิตของยาจกที่มาถึงไว้ได้ ด้วยว่าทานในโลก


ความคิดเห็น 21    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 380

ย่อมให้สักกสมบัติ มารสมบัติ พรหมสมบัติ จักรพรรดิสมบัติ สาวกบารมีญาณ ปัจเจกโพธิญาณ ให้อภิสัมโพธิญาณ.

ก็เพราะเหตุที่ผู้ให้ทานอาจสมาทานศีลได้ ฉะนั้น จึงตรัส สีลกถาในลำดับทาน. บทว่า สีลกถํ ได้แก่ถ้อยคำที่เกี่ยวด้วยคุณ ของศีล มีอาทิอย่างนี้ว่า ชื่อว่า ศีลนี้เป็นที่พึ่งอาศัย เป็นที่พำนัก เป็นที่ยึดหน่วง เป็นที่ต้านทาน เป็นคติ เป็นที่ไปในเบื้องหน้า ธรรมดาว่า ศีลนี้เป็นวงศ์ของเรา เราบำเพ็ญศีลในอัตภาพทั้งหลาย หาที่สุดมิได้ เช่นครั้งเป็นพระยานาค ชื่อว่า สังขบาล ครั้งเป็น พระยานาค ชื่อว่า จัมเปยยะ ครั้งเป็นพระยานาค ชื่อว่า ศีลวะ ครั้งเป็นพระยาช้างผู้เลี้ยงมารดา ครั้งเป็นพระยาช้าง ชื่อว่า ฉัททันตะ เพราะที่พึ่งอาศัย ที่พึ่ง ที่ยึดหน่วง ที่ต้านทาน ที่เร้น ที่ไป และที่พำนัก แห่งสมบัติในโลกนี้และโลกอื่น เสมือนศีล ไม่มี. เครื่องประดับเช่นเครื่องประดับต่อศีลไม่มี. ดอกไม้เช่น ดอกไม้คือศีลไม่มี กลิ่นเช่นกับกลิ่นคือศีลไม่มี เพราะชาวโลก กับทั้งเทวโลก เมื่อตรวจดูคนผู้ประดับด้วยเครื่องประดับคือศีล ลูบไล้ด้วยกลิ่นคือศีล ย่อมไม่อิ่มใจ อนึ่ง เพื่อทรงแสดงว่า บุคคล อาศัยศีลนี้ ย่อมได้สวรรค์นี้จึงตรัสสัคคกถาในลำดับแห่งศีล.

บทว่า สคฺคกถ ได้แก่ ถ้อยคำที่เกี่ยวด้วยคุณแห่งสวรรค์ มีอาทิ อย่างนี้ว่า ธรรมดาว่า สวรรค์นี้น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ในสวรรค์นี้มีการเล่นเป็นนิตย์ ได้สมบัติเป็นนิตย์ เทพชั้นจาตุ- มหาราชิกะเสวยสุขสมบัติ ทิพยสมบัติ ๙๐,๐๐๐ ปี เทวดาชั้นดาวดึงษ์ เสวยสุขสมบัติ ทิพยสมบัติ ๓๖,๐๐๐,๐๐๐ ปี. จริงอยู่ พระโอษฐ์


ความคิดเห็น 22    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 381

ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่พอที่จะกล่าวพรรณนาสวรรค์สมบัติ สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราพึงกล่าวสัคคกถา โดยอเนกปริยายแล.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสประเล้าประโลมด้วยสัคคกถา อย่างนี้แล้ว เพื่อจะแสดงว่า สวรรค์แม้นี้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่ควร ทำความยินดีด้วยอำนาจ ความพอใจในสวรรค์นั้น เหมือนบุคคล ประทับช้างแล้วตัดงวงช้างเสีย จึงทรงแสดงโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมอง ของกามทั้งหลาย โดยนัยมีอาทิว่า กามทั้งหลาย มีความอร่อยน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนี้ มากยิ่ง บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาทีนโว ได้แก่ โทษ. บทว่า โอกาโร แปลว่า ความต่ำทราม ได้แก่ความเลวทราม. บทว่า สงฺกิเลโส ได้แก่ ความที่สัตว์ทั้งหลายเศร้าหมองใน สังสารวัฏฏ์ ก็ด้วยกามเหล่านั้น. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ไว้ว่า ดูก่อนผู้เจริญทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมเศร้าหมองหนอ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงขู่ด้วยโทษแห่งกามอย่างนี้แล้ว จึงทรงประกาศอานิสงส์ในเนกขัมมะ การออกจากกาม. บทว่า กลฺลจิตฺตํ ได้แก่ จิตไม่เสีย. บทว่า สามุกฺกํสิกา ได้แก่ พระธรรมเทศนาที่ทรงยกขึ้นเอง. คือจับยกขึ้นด้วยพระองค์เอง อธิบายว่า พระธรรมเทศนาที่ทรงเห็นด้วยพระสยัมภูญาณ ไม่สาธาธารณ์ ทั่วไปแก่คนเหล่าอื่น. ถามว่า ก็เทศนาที่ยกขึ้นแสดงเองนั้นคืออะไร? ตอบว่า คือ อริยสัจจเทศนา. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล ท่านจึงกล่าวว่า ทุกขํ สมุทยํ นิโรธํ มคฺคํ. บทว่า วิรชํ วีตมลํ ความว่า


ความคิดเห็น 23    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 382

ธรรมจักษุ ชื่อว่า ปราศจากธุลี เพราะไม่มีธุลีคือราคะ เป็นต้น. ชื่อว่า ปราศจากมลทิน เพราะปราศจากมลทิน มีมลทินคือราคะ เป็นต้น. ในบทว่า ธมฺมจกฺขุํ นี้ หมายถึงโสดาปัตติมรรค. เพื่อจะทรงแสดงอาการเกิดขึ้นของโสดาปัตติมรรคนั้น จึงตรัสว่า ยงฺกิญฺจิ สมุทยํธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาสิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา. ก็ธรรมจักขุนั้น ทำนิโรธให้เป็นเป็นอารมณ์ รู้แจ้งแทงตลอดธรรม คือสัจจะด้วยอำนาจกิจนั่นแหละเกิดขึ้น.

อริยสัจจธรรม อันสีหเสนาบดีนั้นเห็นแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทิฏฐธัมมะ ผู้มีธรรมอันเห็นแล้ว แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้ วิจิกิจฉา อันสีหเสนาบดีนั้น ข้ามได้แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ติณฺณวิจิกิจฺฉะ มีวิจิกิจฉา ความสงสัยอันข้ามได้แล้ว. ความ เคลือบแคลงของสีหเสนาบดีนั้น ไปปราศแล้ว เพราะเหตุนั้น จึง ชื่อว่า วิคตกถังกถะ ผู้ปราศจากความเคลือบแคลง สีหเสนาบดีนั้น ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เวสารัชชปัตตะ ผู้ถึงความแกล้วกล้า. ผู้อื่นไม่เป็นปัจจัยแห่งเสนาบดีนั้นในศาสนา ของพระศาสดา คือเขาเป็นไปในศาสนานี้โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่น เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า อปรปัจจยะ ไม่มีผู้อื่นเป็นปัจจัย.

บทว่า ปวตฺตมํสํ ได้แก่ เนื้อที่เป็ปกัปปิยะ ที่เป็นไปแล้ว ตามปกติ. อธิบายว่า เธอจงหาซื้อเอาในร้านตลาด. บทว่า สมฺพหุลา นิคฺคณฺา ได้แก่ นิครนถ์ประมาณ ๕๐๐. บทว่า ถูลํ ปสุํ ได้แก่


ความคิดเห็น 24    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 383

สัตว์ของเลี้ยงกล่าวคือ กวาง กระบือ และสุกรที่อ้วนคือตัวใหญ่. บทว่า อุทฺทิสฺสกตํ ความว่า เนื้อที่เขาทำ คือ ฆ่าเจาะจงตน.

บทว่า ปฏิจฺจกมฺมํ ความว่า พระสมณโคดมนี้นั้น ย่อมถูก ต้องกรรม คือการฆ่าสัตว์มีชีวิตนั้น เพราะอาศัยเนื้อนี้. นิครนถ์ เหล่านั้นมีลัทธิอย่างนี้ว่า จริงอยู่ กรรมที่เป็นอกุศลนั้นมีแก่ทายก กึ่งหนึ่ง มีแก่ปฏิคาหกกึ่งหนึ่ง. อีกนัยหนึ่ง บทว่า ปฏิจฺจกมฺมํ ได้แก่ เนื้อที่เขาอาศัยตนทำ. อีกนัยหนึ่ง บทว่า ปฏิจฺจกมฺมํ นี้ เป็นชื่อของนิมิตกรรม. ปฏิจจกรรมมีในเนื้อนี้ เพราะเหตุนั้น แม้เนื้อก็เรียกว่า ปฏิจจกรรม.

บทว่า อุปกณฺณเก แปลว่า ที่กกหู. ก็คำว่า อลํ นี้ เป็นคำปฏิเสธ อธิบายว่า จะมีประโยชน์อะไรด้วยเนื้อนี้. บทว่า น จ ปเนเต ความว่า ท่านเหล่านั้นเป็นผู้จะติเตียนมานาน. แม้ เมื่อจะกล่าวติเตียนก็กล่าวตู่ไม่กระดากปาก อธิบายว่า กล่าวตู่ ไม่รู้จักจบ. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ชีรนฺติ นี้ พึงเห็นโดยอรรถว่า ละอาย. อธิบายว่า ย่อมไม่ละอาย.

จบ อรรถกถาสีหสูตรที่ ๒