๑๐. อาจยคามิติกะ - อนุโลมติกปัฏฐาน
โดย บ้านธัมมะ  23 ก.พ. 2565
หัวข้อหมายเลข 42214

[เล่มที่ 87] พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓

พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๗

ปัฏฐาน ภาคที่ ๓

อนุโลมติกปัฏฐาน

๑๐. อาจยคามิติกะ

ปฏิจจวาระ

อนุโลมนัย 213

๑. เหตุปัจจัย 213

๒. อารัมมณปัจจัย 215

๓. อธิปติปัจจัย 216

๔. อนันตรปัจจัย ฯลฯ ๒๓. อวิคตปัจจัย 217

การนับจํานวนวาระในอนุโลม 217

ปัจจนียนัย 218

๑. นเหตุปัจจัย 218

๒. นอารัมมณปัจจัย 219

๓. นอธิปติปัจจัย 220

๔. นอนันตรปัจจัย ฯลฯ ๙. นปัจฉาชาตปัจจัย 221

๑๐. นอาเสวนปัจจัย 221

๑๑. นกัมมปัจจัย 222

๑๒. นวิปากปัจจัย ฯลฯ ๒๐. โนวิคตปัจจัย 223

การนับจํานวนวาระในปัจจนียะ 223

อนุโลมปัจจนียนัย 224

การนับจํานวนวาระในอนุโลมปัจจนียะ 224

ปัจจนียานุโลม 225

การนับจํานวนวาระในปัจจนียานุโลม 225

ปัจจยวาระ

อนุโลมนัย 225

๑. เหตุปัจจัย 225

๒. อารัมมณปัจจัย 228

๓. อธิปติปัจจัย 230

๔. อนันตรปัจจัย ฯลฯ ๖. สหชาตปัจจัย 230

๗. อัญญมัญญปัจจัย ฯลฯ ๒๓. อวิคตปัจจัย 231

การนับจํานวนวาระในอนุโลม 231

ปัจจนียนัย 232

๑. นเหตุปัจจัย 232

๒. นอารัมมณปัจจัย 233

๓. นอธิปติปัจจัย 233

๔. นอนันตรปัจจัย ฯลฯ ๘. นปัจฉาชาตปัจจัย 235

๑๐. นอาเสวนปัจจัย 235

๑๑. นกัมมปัจจัย 237

๑๒. นวิปากปัจจัย 239

๑๓. นอาหารปัจจัย ฯลฯ ๑๖. นมัคคปัจจัย 239

๑๗. นสัมปยุตตปัจจัย ฯลฯ ๒๐. โนวิคตปัจจัย 240

การนับจํานวนวาระในปัจจนียะ 240

อนุโลมปัจจนียนัย 241

การนับวาระในอนุโลมปัจจนียะ 241

ปัจจนียานุโลมนัย 241

การนับจํานวนวาระในปัจจนียานุโลม 241

สังสัฏฐวาระ

อนุโลมนัย 243

๑. เหตุปัจจัย 243

การนับจํานวนวาระในอนุโลม 244

ปัจจนียนัย 244

๑. นเหตุปัจจัย 244

๒. นอธิปติปัจจัยฯลฯ ๕. นอาเสวนปัจจัย 245

๖. นกัมมปัจจัยฯลฯ ๑๐. นวิปปยุตตปัจจัย 245

การนับจํานวนวาระในอนุโลมปัจจนียะ 246

อนุโลมปัจจนียนัย 246

การนับจํานวนวาระในอนุโลมปัจจนียะ 246

ปัจจนียานุโลมนัย 246

การนับจํานวนวาระในปัจจนียานุโลม 246

ปัญหาวาระ

อนุโลมนัย 248

๑. เหตุปัจจัย 248

๒. อารัมมณปัจจัย 249

๓. อธิปติปัจจัย 254

๔. อนันตรปัจจัย 258

๕. สมนันตรปัจจัย 260

๖. สหชาตปัจจัย 260

๗. อัญญมัญญปัจจัย 261

๘. นิสสยปัจจัย 261

๙. อุปนิสสยปัจจัย 261

๑๐. ปุเรชาตปัจจัย 266

๑๑. ปัจฉาชาตปัจจัย 268

๑๒. อาเสวนปัจจัย 269

๑๓. กัมมปัจจัย 269

๑๔. วิปากปัจจัย 272

๑๕. อาหารปัจจัยฯลฯ ๑๙. สัมปยุตตปัจจัย 272

๒๐. วิปปยุตตปัจจัย 272

๒๑. อัตถิปัจจัย 275

การนับจํานวนวาระในอนุโลม 280

ปัจจนียนัย 281

การยกปัจจัยในปัจจนียะ 281

การนับจํานวนวาระในปัจจนียะ 283

อนุโลมปัจจนียนัย 284

การนับจํานวนวาระในอนุโลมปัจจนียะ 284

ปัจจนียานุโลมนัย 284

การนับจํานวนวาระในปัจจนียานุโลม 284

อรรถกถาอาจยคามิติกะ 285


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 87]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 213

๑๐. อาจยคามิติกะ

ปฏิจจวาระ

อนุโลมนัย

๑. เหตุปัจจัย

[๑๐๑๖] ๑. อาจยคามิธรรม อาศัยอาจยคามิธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอาจยคามิธรรม ฯลฯ ขันธ์ ๒ อาศัย ขันธ์ ๒.

๒. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม อาศัยอาจยคามิธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอาจยคามิธรรม

๓. อาจยคามิธรรม และเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม อาศัยอาจยคามิธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอาจยคามิธรรม ฯลฯ ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒.

[๑๐๑๗] ๔. อปจยคามิธรรม อาศัยอปจยคามิธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 214

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอปจยคามิธรรม ฯลฯ ขันธ์ ๒ อาศัย ขันธ์ ๒.

๕. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม อาศัยอปจยคามิธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอปจยคามิธรรม

๖. อปจยคามิธรรม และเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม อาศัยอปจยคามิธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอปจยคามิธรรม ฯลฯ ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒.

[๑๐๑๘] ๗. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม อาศัยเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ.

ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ.

หทยวัตถุ อาศัยขันธ์ทั้งหลาย, ขันธ์ทั้งหลายอาศัยหทยวัตถุ.

มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ ฯลฯ มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒.

จิตตสมุฏฐานรูป กฏัตตารูป ที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูป ทั้งหลาย.


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 215

[๑๐๑๙] ๘. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม อาศัยอาจยคามิธรรม และเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ที่เป็นอาจยคามิธรรม และมหาภูตรูปทั้งหลาย.

๙. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม อาศัยอปจยคามิธรรม และเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ที่เป็นอปจยคามิธรรม และมหาภูตรูปทั้งหลาย.

๒. อารัมมณปัจจัย

[๑๐๒๐] ๑. อาจยคามิธรรม อาศัยอาจยคมิธรรม เกิดขึ้นเพราะอารัมมณปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอาจยคามิธรรม ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ.

[๑๐๒๑] ๒. อปจยคามิธรรม อาศัยอปจยคามิธรรม เกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอปจยคามิธรรม ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ.

[๑๐๒๒] ๓. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม อาศัยเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัย


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 216

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒.

ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ทั้งหลายอาศัยหทยวัตถุ.

๓. อธิปติปัจจัย

[๑๐๒๓] ๔. อาจยคามิธรรม อาศัยอาจยคามิธรรม เกิดขึ้น เพราะอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ (วาระ ๑ - ๓)

๔. อปจยคามิธรรม ฯลฯ เพราะอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ (วาระ๔- ๖)

๗. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม อาศัย เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ มี ๑ วาระ ปฏิสนธิ ไม่มี.

คือ มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ ฯลฯ จิตตสมุฏฐานรูปที่เป็น อุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลาย.

๘. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม อาศัยอาจยคามิธรรม และเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เกิดขึ้น เพราะอธิปติปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ที่เป็นอาจยคามิธรรม และมหาภูตรูปทั้งหลาย.

๙. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม อาศัยอปจยคามิธรรม และเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ เพราะอธิปติปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์เป็นอปจยคามิธรรม และมหาภูตรูปทั้งหลาย.


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 217

๔. อนันตรปัจจัย ฯลฯ ๒๓. อวิคตปัจจัย

[๑๐๒๔] อาจยคามิธรรม อาศัยอาจยคามิธรรม ฯลฯ เพราะ อนันตรปัจจัย เพราะ สมนันตรปัจจัย เพราะ สหชาตปัจจัย พึงกระทำมหาภูตรูปทั้งหมด.

เพราะ อัญญมัญญปัจจัย จิตตสมุฏฐานรูปก็ดี กฏัตตารูปก็ดี อุปาทารูปก็ดี ไม่มี.

เพราะ นิสสยปัจจัย เพราะ อุปนิสสยปัจจัย เพราะ ปุเรชาตปัจจัย เพราะ อาเสวนปัจจัย เพราะ กัมมปัจจัย เพราะ วิปากปัจจัย

เพราะ อาหารปัจจัย เพราะ อินทริยปัจจัย เพราะ ฌานปัจจัย เพราะ มัคคปัจจัย เพราะ สัมปยุตตปัจจัย เพราะ วิปปยุตตปัจจัย เพราะ อัตถิปัจจัย เพราะ นัตถิปัจจัย เพราะ วิคตปัจจัย เพราะ อวิคตปัจจัย.

การนับจำนวนวาระในอนุโลม

[๑๐๒๕] ในเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ ในอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ในอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๙ วาระ ในวิปาก ปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๙ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๙ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๙ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๙ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 218

๓ วาระ ในวิปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ ในนัตถิ ปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.

พึงนับอย่างนี้.

อนุโลม จบ

ปัจจนียนัย

๑. นเหตุปัจจัย

[๑๐๒๖] ๑. อาจยคามิธรรม อาศัยอาจยคามิธรรม เกิดขึ้น เพราะนเหตุปัจจัย

คือ โมหะ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ.

[๑๐๒๗] ๒. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม อาศัยเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ เพราะนเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นเนวาจยคามิ- นาปจยคามิธรรม ซึ่งเป็นเหตุกะ ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ.

ในอเหตุกปฏิสนธิขณะ หทยวัตถุ อาศัยขันธ์ทั้งหลาย, ขันธ์ทั้งหลาย อาศัยหทยวัตถุ.

มหาภูตรูป ๑ ฯลฯ

พาหิรรูป ... อาหารสมุฏฐานรูป ... อุตุสมุฏฐานรูป ฯลฯ

ส่วนอสัญญสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ อาศัยมหาภูตรูป ๑ ฯลฯ.


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 219

๑. นอารัมมณปัจจัย

[๑๐๒๘] ๑. เนวาจยคมินาปจยคามิธรรม อาศัยอาจยคามิธรรม ฯลฯ เพราะนอารัมมณปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอาจยคามิธรรม.

๒. เนวายคามินาปจยคามิธรรม อาศัยอปจยคามิธรรม ฯลฯ เพราะนอารัมมณปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอปจยคามิธรรม.

[๑๐๒๙] ๓. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม อาศัยเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ เพราะนอารัมมณปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม.

ในปฏิสนธิขณะ หทยวัตถุ อาศัยขันธ์ทั้งหลาย.

มหาภูตรูป ๑ ฯลฯ

พาหิรรูป ... อาหารสมุฏฐานรูป ... อุตุสมุฏฐานรูป ฯลฯ.

ส่วนอสัญญสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ.

[๑๐๓๐] ๔. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม อาศัยอาจคามิธรรม และเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ เพราะนอารัมมณปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ที่เป็นอาจยคามิธรรม และมหาภูตรูป ทั้งหลาย.


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 220

[๑๐๓๑] ๕. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม อาศัยอปจยคามิธรรม และเนวาจยคามิธรรม ฯลฯ เพราะนอารัมมณปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ที่เป็นอปจยคามิธรรม และมหาภูตรูปทั้งหลาย.

๓. นอธิปติปัจจัย

[๑๐๓๒] ๑. อาจยคามิธรรม อาศัยอาจคามิธรรม เกิดขึ้น เพราะนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ

๔. อปจยคามิธรรม อาศัยอปจยคามิธรรม เกิดขึ้น เพราะนอธิปติปัจจัย

คือ อธิปติธรรมที่เป็นอปจยคามิธรรม อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอปจยคามิธรรม.

๕. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม อาศัยเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ เพราะนอธิปติปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ.

ในปฏิสนธิขณะ หทยวัตถุอาศัยขันธ์ทั้งหลาย, ขันธ์ทั้งหลายอาศัย หทยวัตถุ.

มหาภูตรูป ๑ ฯลฯ

พาหิรรูป... ส่วนอสัญญสัตว์ทั้งหลาย มหาภูตรูป ๑ ฯลฯ.


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 221

[๑๐๓๓] ๔. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม อาศัยอาจยคามิธรรม และเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ เพราะนอธิปติปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ที่เป็นอาจยคามิธรรม และมหาภูตรูป ทั้งหลาย.

๔. นอนันตรปัจจัย ฯลฯ ๙. นปัจฉาชาตปัจจัย

[๑๐๓๔] เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม อาศัยอาจยคามิธรรม ฯลฯ เพราะนอนันตรปัจจัย เพราะนสมนันตรปัจจัย เพราะนอัญญมัญญปัจจัย เพราะนอุปนิสสปัจจัย เพราะนปุเรชาตปัจจัย

มี ๗ วาระ เหมือนกับ กุสลติกะ.

เพราะนปัจฉาชาตปัจจัย (มี ๙ วาระ)

๑๐. นอาเสวนปัจจัย

[๑๐๓๕] ๑. อาจยคามิธรรม อาศัยอาจยคามิธรรม เกิดขึ้น เพราะนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ (วาระที่ ๑ - ๓)

๔. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม อาศัยอปจยคามิธรรม เกิดขึ้น เพราะนอาเสวนปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอปจยคามิธรรม.

๕. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม อาศัยเนวจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ เพราะนอาเสวนปัจจัย

มี ๑ วาระ พึงกระทำมหาภูตรูปทั้งหมด.


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 222

[๑๐๓๖] ๖. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม อาศัยอาจยคามิธรรม และเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ เพราะนอาเสวนปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขีนธ์ที่เป็นอาจยคามิธรรม และมหาภูตรูป ทั้งหลาย.

๗. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม อาศัยอาจยคามิธรรม และเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เกิดขึ้น เพราะนอาเสวนปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ที่เป็นอปจยคามิธรรม และมหาภูตรูป ทั้งหลาย.

๑๑. นกัมมปัจจัย

[๑๐๓๗] ๑. อาจยคามิธรรม อาศัยอาจยคามิธรรม เกิดขึ้น เพราะนกัมมปัจจัย

คือ เจตนาที่เป็นอาจยคามิธรรม อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอาจยคามิธรรม.

๒. อปจยคามิธรรม อาศัยอปจยคามิธรรม ฯลฯ เพราะนกัมมปัจจัย

คือ เจตนาที่เป็นอปจยคามิธรรม อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอปจยคามิธรรม.

๓. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม อาศัยเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ เพราะนกัมมปัจจัย


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 223

คือ เจตนาที่เป็นเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่ เป็นเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม.

พาหิรรูป... อาหารสมุฏฐานรูป... อุตุสมุฏฐานรูป ฯลฯ มหาภูตรูป ๑ ฯลฯ

๑๒. นวิปากปัจจัย ฯลฯ ๒๐. โนวิคตปัจจัย

[๑๐๓๘] ๑. อาจยคามิธรรม อาศัยอาจยคามิธรรม เกิดขึ้น เพราะนวิปากปัจจัย พึงใส่ให้เต็ม. ปฏิสนธิ ไม่มี ฯลฯ.

เพราะนอาหารปัจจัย เพราะนอินทริยปัจจัย เพราะนณานปัจจัย เพราะนมัคคปัจจัย เพราะนสัมปยุตตปัจจัย เพราะนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ.

เพราะโนนัตถิปัจจัย เพราะโนวิคตปัจจัย.

การนับจำนวนวาระในปัจจนียะ

[๑๐๓๙] ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๖ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๗ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย


ความคิดเห็น 12    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 224

มี ๙ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วานะ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ใน โนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

พึงนับอย่างนี้.

ปัจจนียนัย จบ

อนุโลมปัจจนียนัย

การนับจำนวนวาระในอนุโลมปัจจนียะ

[๑๐๔๐] เพราะเหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ใน นอธิปติปัจจัย มี ๖ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๗ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

พึงนับอย่างนี้.

อนุโลมปัจจนียนัย จบ


ความคิดเห็น 13    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 225

ปัจจนียานุโลม

การนับจำนวนวาระในปัจจนียานุโลม

[๑๐๔๑] เพราะนเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๒ วาระ... ใน อนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๒ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ ใน ปุเรชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๒ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๒ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๒ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๒ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

พึงนับอย่างนี้.

ปัจจนียานุโลมนัย จบ

ปฏิจจวาระ จบ

สหชาตวาระ เหมือนกับปฏิจจวาระ.

ปัจจยวาระ

อนุโลมนัย

๑. เหตุปัจจัย

[๑๐๔๒] ๑. อาจยคามิธรรม อาศัยอาจยคามิธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย


ความคิดเห็น 14    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 226

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอาจยคามิธรรม ฯลฯ ขันธ์ ๒ อาศัย ขันธ์ ๒.

๒. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม อาศัยอาจยคามิธรรม ฯลฯ เพราะเหตุปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอาจยคามิธรรม

๓. อาจยคามิธรรม และเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม อาศัยอาจยคามิธรรม

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอาจยคามิธรรม ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ

๔. อปจยคามิธรรม อาศัยอปจยคามิธรรม มี ๓ วาระ.

[๑๐๔๓] ๗. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม อาศัยเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นเนวาจยคามิ นาปจยคามิธรรม ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ

ในปฏิสนธิขณะ หทยวัตถุ อาศัยขันธ์ทั้งหลาย, ขันธ์ทั้งหลาย อาศัยหทยวัตถุ.

ฯลฯ อาศัยมหาภูตรูป ๑ ฯลฯ

ฯลฯ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม อาศัยหทยวัตถุ

๘. อาจยคามิธรรม อาศัยเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ เพราะเหตุปัจจัย


ความคิดเห็น 15    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 227

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอาจยคามิธรรม อาศัยหทยวัตถุ.

๙. อปจยคามิธรรม อาศัยเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอปจยคามิธรรม อาศัยหทยวัตถุ.

๑๐. อาจยคามิธรรม และเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม อาศัยเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอาจยคามิธรรมอาศัยหทยวัตถุ.

จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยมหาภูตรูปทั้งหลาย.

๑๑. อปจยคามิธรรม และเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม อาศัยเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอปจยคามิธรรม อาศัยหทยวัตถุ.

จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลาย.

[๑๐๔๔] ๑๒. อาจยคามิธรรม อาศัยอาจยคามิธรรม และเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอาจยคามิธรรม และหทยวัตถุ ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ

๑๓. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม อาศัยอาจยคามิธรรม และเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ เพราะเหตุปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นอาจยคามิธรรม และมหาภูตรูป ทั้งหลาย.


ความคิดเห็น 16    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 228

๑๔. อาจยคามิธรรม และเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม อาศัยอาจยคามิธรรม และเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอาจยคามิธรรม และหทยวัตถุ ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ

จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ที่เป็นอาจยคามิธรรม และมหาภูตรูป ทั้งหลาย.

๑๕. อปจยคามิธรรม อาศัยอปจยคามิธรรม และเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ มี ๓ วาระ (รวมเป็น ๑๗ วาระ)

๒. อารัมมณปัจจัย

[๑๐๔๕] ๑. อาจยคามิธรรม อาศัยอาจยคามิธรรม เกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัย

คือ ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอาจคามิธรรม

๒. ฯลฯ อาศัยอปจยคามิธรรม มี ๑ วาระ

[๑๐๔๖] ๓. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม อาศัยเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ


ความคิดเห็น 17    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 229

ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ทั้งหลาย อาศัยหทยวัตถุ.

จักขุวิญญาณ อาศัยจักขายตนะ ฯลฯ กายวิญญาณ อาศัยกายายตนะ

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม อาศัยหทยวัตถุ.

๔. อาจยคามิธรรม อาศัยเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอาจยคามิธรรม อาศัยหทยวัตถุ.

๕. อปจยคามิธรรม อาศัยเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอปจยคามิธรรม อาศัยหทยวัตถุ.

[๑๐๔๗] ๖. อาจยคามิธรรม อาศัจอาจยคามิธรรม และเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอาจยคามิธรรม และหทยวัตถุ ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ

[๑๐๔๘] ๗. อปจยคามิธรรม อาศัยอปจยคามิธรรม และเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอปจยคามิธรรม และหทยวัตถุ ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ


ความคิดเห็น 18    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 230

๓. อธิปติปัจจัย

[๑๐๔๙] ๑. อาจยคามิธรรม อาศัยอาจยคามิธรรม เกิดขึ้น เพราะอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ อาศัยอปจยคามิธรรม มี ๓ วาระ.

๗. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ

คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นเนวาจยคามินาปจยคมิธรรม ฯลฯ ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม อาศัยหทยวัตถุ.

๘. อาจยคามิธรรม อาศัยเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ แม้ในข้อนี้ ปัจจัยสงเคราะห์ก็เหมือนกับเหตุปัจจัย.

๔. อนันตรปัจจัย ฯลฯ ๖. สหชาตปัจจัย

[๑๐๕๐] ๑. อาจยคามิธรรม อาศัยอาจยคามิธรรม เกิดขึ้น เพราะอนันตรปัจจัย, เพราะ สมนันตรปัจจัย, เพราะ สหชาตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๔. อปจยคามิธรรม มี ๓ วาระ.

๗. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม อาศัยเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ เพราะสหชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ.

ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ ส่วนอสัญญสัตว์ทั้งหลาย มหาภูตรูป ๑ ฯลฯ


ความคิดเห็น 19    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 231

จักขุวิญญาณ อาศัยจักขายตนะ ฯลฯ กายวิญญาณ อาศัยกายายตนะ ฯลฯ อาศัยหทยวัตถุ.

๘. อาจยคามิธรรม อาศัยเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ เพราะสหชาตปัจจัย ฯลฯ

พึงกระทำปัจจัยสงเคราะห์ทั้งหลาย.

๗. อัญญมัญญปัจจัย ฯลฯ ๒๓. อวิคตปัจจัย

[๑๐๕๑] ฯลฯ อาศัยอปจยคามิธรรม ฯลฯ เพราะ อัญญมัญญปัจจัย, เพราะ นิสสยปัจจัย เพราะ อุปนิสสยปัจจัย, เพราะ ปุเรชาตปัจจัย, เพรา ะ อาเสวนปัจจัย, เพราะ กัมมปัจจัย, เพราะ วิปากปัจจัย, เพราะ อาหารปัจจัย เพราะ อินทริยปัจจัย, เพราะ ฌานปัจจัย, เพราะ มัคคปัจจัย, เพราะ สัมปยุตตปัจจัย เพราะ วิปปยุตตปัจจัย, เพราะ อัตถิปัจจัย เพราะ นัตถิปัจจัย, เพราะ วิคตปัจจัย เพราะ อวิคตปัจจัย.

การนับจำนวนวาระในอนุโลม

[๑๐๕๒] ในเหตุปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในอารัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ ในอิธปติปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในอนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย ๗ วาระ ใน นิสสยปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๗ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๑๗ วาระ ใน


ความคิดเห็น 20    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 232

วิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในอินทริยปัจจัย ในฌานปัจจัย ในมัคคปัจจัย (แต่ละปัจจัย) มี ๑๗ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในนัตถิ ปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑๗ วาระ.

พึงนับอย่างนี้.

อนุโลมนัย จบ

ปัจจนียนัย

๑. นเหตุปัจจัย

[๑๐๕๓] ๑. อาจยคามิธรรม อาศัยอาจยคามิธรรม เกิดขึ้นเพราะนเหตุปัจจัย

คือ โมหะ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ อาศัยขันธ์ ทั้งหลายที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ.

๒. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม อาศัยเนวาจยคามิ- นาปจยคามิธรรม ฯลฯ เพราะนเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ เป็นเนวาจยคามินา ปจยคามิธรรม ซึ่งเป็นอเหตุกะ ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ.

ในอเหตุกปฏิสนธิขณะ ฯลฯ ส่วนอสัญญสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ อาศัยมหาภูตรูป ๑. ฯลฯ

จักขุวิญญาณ อาศัยจักขายตนะ ฯลฯ กายวิญญาณ อาศัยกายาตนะ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ซึ่งเป็นอเหตุกะ อาศัยหทยวัตถุ.


ความคิดเห็น 21    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 233

๓. อาจยคามิธรรม อาศัยเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ เพราะนเหตุปัจจัย

คือ โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ อาศัยหทยวัตถุ

[๑๐๕๔] ๔. อาจยคามิธรรม อาศัยอาจยคามิธรรม และ เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ เพราะนเหตุปัจจัย

คือ โมหะ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะและหทยวัตถุ.

๒. นอารัมมณปัจจัย

[๑๐๕๕] ๑. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม อาศัยอาจยคามิธรรม ฯลฯ เพราะนอารัมมณปัจจัย ฯลฯ เหมือนกับ ปฏิจจวาระ.

๓. นอธิปติปัจจัย

[๑๐๕๖] ๑. อาจยคามิธรรม อาศัยอาจยคามิธรรม เกิดขึ้น เพราะนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ.

๔. อปจยคามิธรรม อาศัยอปจยคามิธรรม ฯลฯ เพราะนอธิปติปัจจัย

คือ อธิปติธรรมที่เป็นอปจยคามิธรรม อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอปจยคามิธรรม.


ความคิดเห็น 22    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 234

๕. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ

คือ ส่วนอสัญญสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ จักขุวิญญาณ อาศัยจักขายตนะ กายายตนะ ฯลฯ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม อาศัยหทยวัตถุ.

๖. อาจยคามิธรรม อาศัยเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ เพราะนอธิปติปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอาจคามิธรรม อาศัยหทยวัตถุ.

๗. อปจยคามิธรรม อาศัยเนวจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ เพราะนอธิปติปัจจัย

คือ อธิปติธรรมที่เป็นอปจยคามิธรรม อาศัยหทยวัตถุ.

๘. อาจยคามิธรรม และเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม อาศัยเนวจายคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ เพราะอธิปติปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอาจยคามิธรรม อาศัยหทยวัตถุ, จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยมหาภูตรูปทั้งหลาย.

[๑๐๕๗] ๙. อาจยคามิธรรม อาศัยอาจยคามิธรรม และเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ เพราะนอธิปติปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอาจยคามิธรรม และหทยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ

๑๐. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม อาศัยอาจยคามิธรรม และเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ


ความคิดเห็น 23    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 235

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ที่เป็นอาจยคามิธรรม และมหาภูตรูป ทั้งหลาย.

๑๑. อาจยคามิธรรม และเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม อาศัยอาจยคามิธรรม และเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอาจยคามิธรรม และหทยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ที่เป็นอาจยคามิธรรม และมหาภูตรูป ทั้งหลาย.

[๑๐๕๘] ๑๒. อปจยคามิธรรม อาศัยอปจยคามิธรรม และ เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ เพราะนอธิปติปัจจัย

คือ อธิปติธรรมที่เป็นอปจยคามิธรรม อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็น อปจยคามิธรรม และหทยวัตถุ.

๔. นอนันตรปัจจัย ฯลฯ ๙. นปัจฉาชาตปัจจัย

เพราะนอนันตรปัจจัย เพราะนสมนันตรปัจจัย เพราะนอัญญมัญญปัจจัย เพราะนอุปนิสสยปัจจัย เพราะนปุเรชาตปัจจัย เหมือนกับปฏิจจวาระ มี ๗ วาระ.

เพราะนปัจฉาชาตปัจจัย พึงใส่ให้เต็ม.

๑๐. นอาเสวนปัจจัย

[๑๐๕๙] ๑. อายคามิธรรม อาศัยอาจยคามิธรรม ฯลฯ เพราะ นอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ.


ความคิดเห็น 24    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 236

๔. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม อาศัยอปจยคามิธรรม ฯลฯ เพราะนอาเสวนปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอปจยคามิธรรม.

๕. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม อาศัยเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ

คือ ส่วนอสัญญสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ อาศัยจักขายตนะ อาศัยหทยวัตถุ.

๖. อาจยคามิธรรม อาศัยเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เพราะนอาเสวนปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอาจยคามิธรรม อาศัยหทยวัตถุ.

๗. อาจยคามิธรรม และเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม อาศัยเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอาจยคามิธรรม อาศัยหทยวัตถุ, จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลาย.

[๑๐๖๐] ๘. อาจยคามิธรรม อาศัยอาจยคามิธรรม และเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอาจยคามิธรรม และหทยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ

๙. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม อาศัยอาจยคามิธรรม และเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ


ความคิดเห็น 25    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 237

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ที่เป็นอาจยคามิธรรม และมหาภูตรูป ทั้งหลาย.

๑๐. อาจยคามิธรรม และเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม อาศัยอาจยคามิธรรม และเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอาจยคามิธรรม และหทยวัตถุ ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒ และหทยวัตถุ.

จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ที่เป็นอาจยคามิธรรม และมหาภูตรูป ทั้งหลาย.

๑๑. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม อาศัยอปจยคามิธรรม และเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ เพราะนอาเสวนปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ที่เป็นอปจยคามิธรรม และมหาภูตรูปทั้งหลาย.

๑๑. นกัมมปัจจัย

[๑๐๖๑] ๑. อาจยคามิธรรม อาศัยอาจยคามิธรรม เกิดขึ้น เพราะนกัมมปัจจัย

คือ เจตนาที่เป็นอาจยคามิธรรม อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอาจยคามิธรรม.

๒. อปจยคามิธรรม อาศัยอปจยคามิธรรม ฯลฯ เพราะนกัมมปัจจัย


ความคิดเห็น 26    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 238

คือ เจตนาที่เป็นอปจยคามิธรรม อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอปจยคามิธรรม.

๓. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม อาศัยเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ เพราะนกัมมปัจจัย

คือ เจตนาที่เป็นเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม.

พาหิรรูป... อาหารสมุฏฐานรูป... อุตุสมุฏฐานรูป ฯลฯ

เจตนาที่เป็นเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม อาศัยหทยวัตถุ.

๔. อาจยคามิธรรม อาศัยเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ เพราะนกัมมปัจจัย

คือ เจตนาที่เป็นอาจยคามิธรรม อาศัยหทยวัตถุ.

๕. อปจยคามิธรรม อาศัยเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ เพราะนกัมมปัจจัย

คือ เจตนาที่เป็นอปจยคามิธรรม อาศัยหทยวัตถุ.

[๑๐๖๒] ๖. อาจยคามิธรรม อาศัยอาจยคามิธรรม และเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ เพราะนกัมมปัจจัย

คือ เจตนาที่เป็นอาจยคามิธรรม อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอาจยคามิธรรม และหทยวัตถุ.


ความคิดเห็น 27    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 239

[๑๐๖๓] ๗. อปจยคามิธรรม อาศัยอปจยคามิธรรม และ เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ เพราะนกัมมปัจจัย

คือ เจตนาที่เป็นอปจยคามิธรรม อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอปจยคามิธรรม และหทยวัตถุ.

๑๒. นวิปากปัจจัย

[๑๐๖๔] ๑. อาจยคามิธรรม อาศัยอาจยคามิธรรม ฯลฯ เพราะ นวิปากปัจจัย

พึงกระทำให้เต็ม (๑๗ วาระ) ในปฏิสนธิขณะ ไม่มี.

๑๓. นอาหารปัจจัย ฯลฯ ๑๖. นมัคคปัจจัย

[๑๐๖๕] ๑. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม อาศัยเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ เพราะนอาหารปัจจัย

คือ พาหิรรูป... อุตุสมุฏฐานรูป ฯลฯ

ส่วนอสัญญสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ

[๑๐๖๖] ฯลฯ เพราะนอินทริยปัจจัย

คือ พาหิรรูป... อาหารสมุฏฐานรูป... อุตุสมุฏฐานรูป ฯลฯ ส่วนอสัญญสัตว์ทั้งหลาย รูปชีวิตินทรีย์ อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลาย.

[๑๐๖๗] ฯลฯ เพราะนฌานปัจจัย

คือ ปัญจวิญญาณ... พาหิรรูป... อาหารสมุฏฐานรูป... อุตุ- สมุฏฐานรูป ฯลฯ


ความคิดเห็น 28    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 240

ส่วนอสัญญสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ

จักขุวิญญาณ อาศัยจักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ

[๑๐๖๘] ฯลฯ เพราะนมัคคปัจจัย

คือ เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ซึ่งเป็นอเหตุกะ ฯลฯ

ส่วนอสัญญสัตว์ทั้งหลาย มหาภูตรูป ๑ ฯลฯ

จักขุวิญญาณ อาศัยจักขายตนะ ฯลฯ อาศัยกายายตนะ.

เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ซึ่งเป็นอเหตุกะ อาศัยหทยวัตถุ.

๑๗. นสัมปยุตตปัจจัย ฯลฯ ๒๐. โนวิคตปัจจัย

ฯลฯ เพราะนสัมปยุตตปัจจัย เพราะนวิปปยุตตปัจจัย เหมือนกับปฏิจจวาระ มี ๓ วาระ.

เพราะโนนัตถิปัจจัย เพราะโนวิคตปัจจัย.

การนับจำนวนวาระในปัจจนียะ

[๑๐๖๙] ในนเหตุปัจจัย มี ๔ วาระ ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑๒ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๗ วาร ในนวิปากปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ


ความคิดเห็น 29    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 241

ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

พึงนับอย่างนี้.

ปัจจนียะ จบ

อนุโลมปัจจนียนัย

[๑๐๗๐] เพราะนเหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๔ วาระ... ในนอธิปติปัจจัย มี ๑๒ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัยมี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑๗ วาระ โนนอาเสวนปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

พึงนับอย่างนี้.

อนุโลมปัจจนียะ จบ

ปัจจนียานุโลมนัย

การนับจำนวนวาระในปัจจนียานุโลม

[๑๐๗๑] เพราะนเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๔ วาระ... ในอนันตรปัจจัย มี ๔ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๔ วาระ ในสหชาตปัจจัย


ความคิดเห็น 30    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 242

มี ๔ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๔ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๔ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๔ วาระ โนปุเรชาตปัจจัย มี ๔ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๔ วาระ โนกัมมปัจจัย มี ๔ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๔ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๔ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๔ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๔ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๔ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๔ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๔ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๔ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๔ วาระ.

พึงนับอย่างนี้.

ปัจจนียานุโลม จบ

ปัจจยวาระ จบบริบูรณ์

นิสสยวาระ เหมือนกับ ปัจจยวาระ.


ความคิดเห็น 31    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 243

สังสัฏฐวาระ

อนุโลมนัย

๑. เหตุปัจจัย

[๑๐๗๒] อาจยคามิธรรม เจือกับอาจคามิธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ เจือกับขันธ์ ๑ ที่เป็นอาจยคามิธรรม ฯลฯ เจือกับขันธ์ ๒.

[๑๐๗๓] อปจยคามิธรรม เจือกับอปจยคามิธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ เจือกับขันธ์ ๑ ที่เป็นอปจยคามิธรรม ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ

[๑๐๗๔] เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เจือกับ เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ

คือ ขันธ์ ๓ เจือกับขันธ์ ๑ ที่เป็นเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ

ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ

[๑๐๗๕] อาจยคามิธรรม เจือกับอาจยคามิธรรม เกิดขึ้น เพราะ อารัมมณปัจจัย เพราะ อธิปติปัจจัย เพราะ อนันตรปัจจัย เพราะ สมนันตรปัจจัย เพราะ สหชาติปัจจัย เพราะ อัญญมัญญปัจจัย เพราะ นิสสยปัจจัย เพราะ อุปนิสสยปัจจัย เพราะ ปุเรชาตปัจจัย เพราะ อาเสวนปัจจัย เพราะ กัมมปัจจัย เพราะ วิปากปัจจัย เพราะ


ความคิดเห็น 32    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 244

อาหารปัจจัย เพราะ อินทริยปัจจัย เพราะ ฌานปัจจัย เพราะ มัคคปัจจัย เพราะสัมปยุตตปัจจัย เพราะวิปปยุตตปัจจัย เพราะ อัตถิปัจจัย เพราะ นัตถิปัจจัย เพราะ วิคตปัจจัย เพราะ อวิคตปัจจัย.

การนับจำนวนวาระในอนุโลม

[๑๐๗๖] ในเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ในอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ในอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๓ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ

พึงนับอย่างนี้.

อนุโลมนัย จบ

ปัจจนียนัย

๑. นเหตุปัจจัย

[๑๐๗๗] อาจยคามิธรรม เจือกับอาจยคามิธรรม เกิดขึ้น เพราะนเหตุปัจจัย


ความคิดเห็น 33    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 245

คือ โมหะ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ เจือกับขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ.

[๑๐๗๘] เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เจือกับเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ เพราะนเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ เจือกับขันธ์ ๑ ที่เป็นเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ซึ่งเป็นอเหตุกะ ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ

ในอเหตุกปฏิสนธิขณะ ฯลฯ

๒. นอธิปติปัจจัย ฯลฯ ๕. นอาเสวนปัจจัย

[๑๐๗๙] ๑. อาจยคามิธรรม เจือกับอาจยคามิธรรม เกิดขึ้นเพราะนอธิปติปัจจัย เพราะนปุเรชาตปัจจัย เพราะนปัจฉาชาตปัจจัย เพราะนอาเสวนปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ เจือกับขันธ์ ๑ ที่เป็นอาจยคามิธรรม ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ.

[๑๐๘๐] ๒. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เจือกับเนวาจยคา มินาปจยคามิธรรม ฯลฯ เพราะนอาเสวนปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ เจือกับขันธ์ ๑ ที่เป็นเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ.

๖. นกัมมปัจจัย ฯลฯ ๑๐. นวิปปยุตตปัจจัย

เพราะนกัมมปัจจัย เพราะนวิปากปัจจัย เพราะนฌานปัจจัย เพราะนมัคคปัจจัย เพราะนวิปยุตตปัจจัย.


ความคิดเห็น 34    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 246

การนับจำนวนวาระในปัจจนียะ

[๑๐๘๑] ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๒ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ.

พึงนับอย่างนี้.

ปัจจนียนัย จบ

อนุโลมปัจจนียนัย

การนับจำนวนวาระในอนุโลมปัจจนียะ

[๑๐๘๒] เพราะเหตุปัจจัย ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ... ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๒ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ.

พึงนับอย่างนี้.

อนุโลมปัจจนียนัย จบ

ปัจจนียานุโลมนัย

การนับจำนวนวาระในปัจจนียานุโลม

[๑๐๘๓] เพราะนเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๒ วาระ... ใน อนันตรปัจจัย ในสมนันตรปัจจัย ในสหชาตปัจจัย ในอัญญมัญญปัจจัย ในนิสสย-


ความคิดเห็น 35    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 247

ปัจจัย ในอุปนิสสยปัจจัย ในปุเรชาตปัจจัย ในอาเสวนปัจจัย ในกัมมปัจจัย แต่ละปัจจัย มี ๒ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๒ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๒ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๒ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย ในอัตถิปัจจัย ในนัตถิปัจจัย ในวิคตปัจจัย ในอวิคตปัจจัย แต่ละปัจจัย มี ๒ วาระ.

พึงนับอย่างนี้.

ปัจจนียานุโลม จบ

สังสัฏฐวาระ จบ

สัมปยุตตวาระเหมือนกับสังสัฏฐวาระ.


ความคิดเห็น 36    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 248

ปัญหาวาระ

อนุโลมนัย

๑. เหตุปัจจัย

[๑๐๘๔] ๑. อาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อาจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นอาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.

[๑๐๘๕] ๒. อาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นอาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.

[๑๐๘๖] ๓. อาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อาจยคามิธรรม และเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นอาจคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.

[๑๐๘๗] ๔. อปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ (วาระที่ ๔ ๕ ๖)


ความคิดเห็น 37    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 249

[๑๐๘๘] ๗. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

เหตุทั้งหลายที่เป็นเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่ สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.

ในปฏิสนธิขณะ เหตุทั้งหลายที่เป็นเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และกฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.

๒. อารัมมณปัจจัย

[๑๐๘๙] ๑. อาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อาจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล การทำอุโบสถกรรมแล้ว ย่อมพิจารณา กุศลกรรมนั้น.

บุคคลพิจารณากุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน.

บุคคลออกจากฌานแล้ว พิจารณาฌาน.

พระเสกขบุคคลทั้งหลายพิจารณากิเลสที่ละแล้ว, พิจารณากิเลสที่ข่มแล้ว รู้ซึ่งกิเลสทั้งหลายที่เคยเกิดขึ้นแล้วในกาลก่อน.

พระเสกขบุคคล หรือ ปุถุชน พิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายที่เป็น อาจยคานิธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา, ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภขันธ์นั้น ราคะ ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.


ความคิดเห็น 38    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 250

บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิตที่เป็นอาจยคามิธรรม ด้วยเจโตปริยญาณ.

อากาสานัญจายตนกุศล เป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตกุศล ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

อากิญจัญญายตนกุศล เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญตนกุศล.

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ แก่เจโตปริยญาณ แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมูปคญาณ แก่อนาคตังสญาณ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

[๑๐๙๐] ๒. อาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ พระอรหันต์พิจารณากิเลสที่ละแล้ว, รู้ซึ่งกิเลสทั้งหลายที่เคยเกิดขึ้นแล้วในกาลก่อน.

บุคคลพิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอาจยคามิธรรม โดยความเป็น ของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.

บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิตที่เป็นอาจยคามิธรรม ด้วย เจโตปริยญาณ.

พระเสกขบุคคล หรือ ปุถุชน พิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอาจยคามิธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เมื่อกุศลดับไปแล้ว ตทารัมมณจิตที่เป็นวิบากย่อมเกิดขึ้น.


ความคิดเห็น 39    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 251

บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง ซึ่งขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอาจยคามิ- ธรรม เพราะปรารภขันธ์นั้น ราคะ ย่อมเกิดขึ้น โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น เมื่ออกุศลดับไปแล้ว ตารัมมณจิตที่เป็นวิบาก ย่อมเกิดขึ้น.

อากาสานัญจายตนกุศล เป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนวิบาก และ กิริยา ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

อากิญจัญญายตนกุศล เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนวิบาก กิริยา ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมูปคญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

[๑๐๙๑] ๓. อปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อาจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ พระเสกขบุคคลทั้งหลายออกจากมรรคแล้ว ย่อมพิจารณามรรค.

บุคคลย่อมรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิตที่เป็นอปจยคามิธรรม ด้วยเจโตปริยญาณ.

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่อนาคตังสญาณ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

[๑๐๙๒] ๔. อปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย


ความคิดเห็น 40    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 252

คือ พระอรหันต์ออกจากมรรคแล้ว พิจารณามรรค.

บุคคลย่อมรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิตที่เป็นอปจยคามิธรรม ด้วยเจโตปริยญาณ.

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ แก่ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

[๑๐๙๓] ๕. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

คือ พระอรหันต์พิจารณาผล พิจารณานิพพาน.

พระอรหันต์พิจารณาเห็นจักษุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.

พิจารณาเห็นโสตะ ฯลฯ หทยวัตถุ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.

ย่อมเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ, ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.

รู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิต ที่เป็นเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ด้วยเจโตปริยญาณ.

อากาสานัญจายตนกิริยา เป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนกิริยา ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

อากิญจัญญายตนกิริยา เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญายาตนกิริยา.


ความคิดเห็น 41    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 253

รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ.

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ แก่เจโตปริยญาณ แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

[๑๐๙๔] ๖. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่ อาจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

คือ พระเสกขบุคคลทั้งหลายพิจารณาผล พิจารณานิพพาน.

นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู แก่โวทาน ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

พระเสกขบุคคล หรือ ปุถุชน พิจารณาเห็นจักษุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภจักษุนั้น ราคะ ย่อมเกิดขึ้น โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.

พิจารณาเห็นโสตะ ฯลฯ หทยวัตถุ ฯลฯ พิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภโสตะเป็นต้นนั้น ราคะย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น วิจิกิจฉา ฯลฯ โทมนัส ฯลฯ

เห็นรูปด้วยทิพยจักษุ, ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.

ย่อมรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิต ที่เป็นเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ด้วยเจโตปริยญาณ.


ความคิดเห็น 42    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 254

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ แก่เจโตปริยญาณ แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่อนาคตังสญาณ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

[๑๐๙๕] ๗. เนวาจยคามินาปจตยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

คือ นิพพาน เป็นปัจจัยแก่มรรค ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

๓. อธิปติปัจจัย

[๑๐๙๖] ๑. อาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อาจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.

มี ๒ อย่างคือ ที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ

ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่

บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรมแล้ว กระทำกุศลกรรม นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา.

บุคคลกระทำกุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา.

บุคคลออกจากฌาน กระทำฌานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา.


ความคิดเห็น 43    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 255

บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอาจยคามิธรรม ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำขันธ์นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.

ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่

อธิปติธรรมที่เป็นอาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.

[๑๐๙๗] ๒. อาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.

มีอย่างเดียว คือที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่

อธิปติธรรมที่เป็นอาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.

[๑๐๙๘] ๓. อาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อาจยคามิธรรม และเนวาจยคามินาปจยคามธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.

มีอย่างเดียว คือเป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่

อธิปติธรรมที่เป็นอาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

[๑๐๙๙] ๔. อปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.


ความคิดเห็น 44    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 256

มีอย่างเดียว คือที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่

อธิปติธรรมที่เป็นอาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.

[๑๑๐๐] ๕. อปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อาจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่

พระเสขบุคคลทั้งหลายออกจากมรรค กระทำธรรคให้เป็นอารมณ์ อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา.

[๑๑๐๑] ๖. อปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มี ๒ อย่างคือ ที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ

ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่

พระอรหันต์ออกจากมรรค กระทำมรรคให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา.

ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่

อธิปติธรรมที่เป็นอปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ทั้งหลาย.


ความคิดเห็น 45    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 257

[๑๑๐๒] ๗. อปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อปจยคามิธรรม และเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่

อธิปติธรรมเป็นอปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.

[๑๑๐๓] ๘. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มี ๒ อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ

ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่

พระอรหันต์กระทำผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา, กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา.

นิพพาน เป็นปัจจัยแก่ผล ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.

ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่

อธิปติธรรมที่เป็นเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.

[๑๑๐๔] ๙. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อาจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่


ความคิดเห็น 46    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 258

พระเสกขบุคคลทั้งหลาย กระทำผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา, กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา.

นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู แก่โวทาน ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.

บุคคลการทำจักษุให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลิน ฯลฯ

บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำหทยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเนวาจยคามินาปจยคามิธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ย่อม เกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.

[๑๑๐๕] ๑๐. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่ อปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่

นิพพาน เป็นปัจจัยแก่มรรค ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย ฯลฯ เป็น ปัจจัย ฯลฯ

๔. อนันตรปัจจัย

[๑๑๐๖] ๑. อาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อาจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย


ความคิดเห็น 47    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 259

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอาจยคามิธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอาจยคามิธรรม ที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.

อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โคตรภู, อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โวทาน ด้วย อำนาจของอนันตรปัจจัย.

[๑๑๐๗] ๒. อาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อปจยคามิธรรม ฯลฯ

คือ โคตรภู เป็นปัจจัยแก่มรรค, โวทาน เป็นปัจจัยแก่มรรค ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.

[๑๑๐๘] ๓. อาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.

อนุโลมของพระเสกขบุคคล เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ, เนวสัญญานาสัญญายตนะของบุคคลผู้ออกจากนิโรธ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.

[๑๑๐๙] ๔. อปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ มรรค เป็นปัจจัยแก่ผล ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.


ความคิดเห็น 48    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 260

[๑๑๑๐] ๕. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดหลังๆ, ภวังค์ เป็นปัจจัยแก่อาวัชชนะ, กิริยา เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ, อนุโลมของพระอรหันต์ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ, เนวสัญญานาสัญญายตนกิริยา ของบุคคลผู้ออกจากนิโรธ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.

[๑๑๑๑] ๖. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่ อาจยคามิธรรม ฯลฯ

คือ อาวัชชนะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอาจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.

๕. สมนันตรปัจจัย

[๑๑๑๒] ๑. อาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อาจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย เหมือนกับอนันตรปัจจัย (คือ ๖ วาระ).

๖. สหชาตปัจจัย

ในสหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ เหมือนกับสหชาตปัจจัยในปฏิจจวาระ.


ความคิดเห็น 49    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 261

๗. อัญญมัญญปัจจัย

ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ เหมือนกับอัญญมัญญปัจจัยใน ปฏิจจวาระ.

๘. นิสสยปัจจัย

ในนิสสยปัจจัย เหมือนกับนิสสยปัจจัยในปัจจัยวาระ แม้ทั้ง ๔ ปัจจัย ปัจจัยสงเคราะห์ที่ต่างกันไม่มี มี ๑๓ วาระ.

๙. อุปนิสสยปัจจัย

[๑๑๑๓] ๑. อาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อาจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี ๓ อย่างคือ ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ.

ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่

บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาที่เป็นอาจยคามิธรรมแล้ว ให้ทาน รักษาศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ ฌาน ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น ก่อมานะ ถือทิฏฐิ.

บุคคลเข้าไปอาศัยศีลที่เป็นอาจยาคามิธรรม ฯลฯ สุตะ จาคะ ปัญญา ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ฯลฯ ความปรารถนาแล้ว ให้ทานรักษาศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ ฌาน ฯลฯ วิปัสสนา ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ สมาบัติ ฯลฯ ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์.


ความคิดเห็น 50    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 262

ศรัทธาที่เป็นอาจยคามิธรรม ฯลฯ ปัญญา ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา เป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่เป็นอาจยคามิธรรม แก่ปัญญา แก่ราคะ ฯลฯ แก่ความ ปรารถนา ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

บริกรรมแห่งปฐมฌาน เป็นปัจจัยแก่ปฐมฌาน ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัยฯสฯ บริกรรมแห่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญาตนะ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

ปฐมฌาน เป็นปัจจัยแก่ทุติยฌาน ฯลฯ อากิญจัญญายตนะ เป็นปัจจัย แก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

[๑๑๑๔] ๒. อาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี ๒ อย่าง คือที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูนิสสยะ ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่

บริกรรมแห่งปฐมมรรค เป็นปัจจัยแก่ปฐมมรรค ฯลฯ บริกรรมแห่ง จตุตถมรรค เป็นปัจจัยแก่จตุตถมรรค ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

[๑๑๑๕] ๓. อาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี ๒ อย่าง คือที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ

ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่


ความคิดเห็น 51    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 263

บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธา ที่เป็นอาจยคามีธรรม แล้วกระทำตนให้เดือดร้อน ให้เร่าร้อน ย่อมได้รับทุกข์ มีการแสวงหาเป็นมูล.

บุคคลเข้าไปอาศัยศีลที่เป็นอาจยคามิธรรม ปัญญา ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา แล้วกระทำตนให้เดือดร้อน ให้เร่าร้อน ย่อมได้รับทุกข์ มีการแสวงหาเป็นมูล.

ศรัทธาที่เป็นอาจยคามิธรรม ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา เป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย แก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจ ของอุปนิสสยปัจจัย.

กุศลกรรมและอกุศลกรรม เป็นปัจจัยแก่วิบาก ด้วยอำนาจของ อุปนิสสยปัจจัย.

[๑๑๑๖] ๔. อปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่

ปฐมมรรค เป็นปัจจัยแก่ทุติยมรรค ฯลฯ ตติยมรรค เป็นปัจจัยแก่ จตุตถมรรค ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

[๑๑๑๗] ๕. อปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อาจยคามิธรรม ฯลฯ

มี ๒ อย่าง คือที่เป็น อารัมณูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ

ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่


ความคิดเห็น 52    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 264

พระเสกขบุคคลทั้งหลาย เข้าไปอาศัยมรรคแล้ว ยังกุศลสมาบัติที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เข้าสมาบัติที่เกิดขึ้นแล้ว.

บุคคลพิจารณาเห็นสังขาร โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.

มรรคของพระเสกบุคคล เป็นปัจจัยแก่อัตถปฏิสัมภิทา แก่ธัมมปฏิสัมภิทา แก่นิรุตติปฏิสัมภิทา แก่ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ความฉลาดในฐานะและอฐานะ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

[๑๑๑๘] ๖. อปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ

มี ๓ อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ

ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่

พระอรหันต์เข้าไปอาศัยมรรคแล้วยังกิริยาสมาบัติที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น เข้าสมาบัติที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่ฐานาฐานโกสัลละ ด้วยอำนาจ ของอุปนิสสยปัจจัย.

มรรค เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

[๑๑๑๙] ๗. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

มี ๓ อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ


ความคิดเห็น 53    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 265

ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่

บุคคลเข้าไปอาศัยสุขทางกาย แล้วกระทำตนให้เดือดร้อน ให้เร่าร้อน ย่อมได้รับทุกข์ มีการแสวงหาเป็นมูล.

บุคคลเข้าไปอาศัยทุกข์ทางกาย ฯลฯ อุตุ ฯลฯ โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะ แล้วกระทำตนให้เดือดร้อน ให้เร่าร้อน.

สุขทางกาย ฯลฯ ทุกข์ทางกาย ฯลฯ อุตุ ฯลฯ โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย แก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

พระอรหันต์เข้าไปอาศัยสุขทางกายแล้ว ยังกิริยาสมาบัติที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ฯลฯ ย่อมเห็นแจ้ง ฯลฯ เข้าไปอาศัยทุกข์ทางกาย ฯลฯ อุตุ ฯลฯ โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะ ฯลฯ ย่อมเห็นแจ้ง ฯลฯ.

[๑๑๒๐] ๘. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อาจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี ๓ อย่างที่เป็นคือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ

ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่

บุคคลเข้าไปอาศัยสุขทางกายแล้วให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น ฆ่า สัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์.

บุคคลเข้าไปอาศัยทุกข์ทางกาย ฯลฯ อุตุ ฯลฯ โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะ แล้ว ให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์.


ความคิดเห็น 54    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 266

สุขทางกาย ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่เป็นอาจยคามิธรรม แก่ปัญญา แก่ราคะ แก่ความปรารถนา ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

[๑๑๒๑] ๙. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี ๓ อย่างคือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ

ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่

บุคคลเข้าไปอาศัยสุขทางกายแล้วยังมรรคให้เกิดขึ้น.

สุขทางกาย ฯลฯ ทุกข์ทางกาย ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่มรรค ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

๑๐. ปุเรชาตปัจจัย

[๑๑๒๒] ๑. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

มี ๒ อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ

ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่

พระอรหันต์พิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.

เห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.


ความคิดเห็น 55    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 267

รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัย แก่กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.

ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่

จักขาตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ.

หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.

[๑๑๒๓] ๒. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อาจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

มี ๒ อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ

ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่

พระเสกขบุคคลหรือปุถุชน พิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภจักษุเป็นต้นนั้น ราคะ ย่อมเกิดขึ้น โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.

บุคคลเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ, ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.

ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่

หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอาจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.


ความคิดเห็น 56    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 268

[๑๑๒๔] ๓. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

คือ วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่

หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.

๑๑. ปัจฉาชาตปัจจัย

[๑๑๒๕] ๑. อาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอาจยคามิธรรม ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย.

[๑๑๒๖] ๒. อปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอาจยคามิธรรม ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจปัจฉาชาตปัจจัย.

[๑๑๒๗] ๓. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวาจยคามินาปจยามิธรรม ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเนวาจยคามินาปจยมิธรรม ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย.


ความคิดเห็น 57    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 269

๑๒. อาเสวนปัจจัย

[๑๑๒๘] ๑. อาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อาจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอาจยคามิธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอาจยคามิธรรมที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย.

อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โคตรภู, อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โวทาน ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย.

[๑๑๒๙] ๒. อาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย

คือ โคตรภู เป็นปัจจัยแก่มรรค, โวทานเป็นปัจจัยแก่มรรค ด้วยอำนาจของเสวนปัจจัย

[๑๑๓๐] ๓. เนวาจคามินาปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวาจยคามินาปจยมิธรรม ฯลฯ

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเนวาจยคามินาปจยคามิธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเนวาจยคามินาปจยคามิธรรมที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย.

๑๓. กัมมปัจจัย

[๑๑๓๑] ๑. อาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อาจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย


ความคิดเห็น 58    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 270

คือ เจตนาที่เป็นอาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย

[๑๑๓๒] ๒. อาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวาจยาคามินาปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย

มี ๒ อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ นานาขณิกะ

ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่

เจตนาที่เป็นอาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสุมฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.

ที่เป็น นานาขณิกะ ได้แก่

เจตนาที่เป็นอาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์และกฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.

[๑๑๓๓] ๓. อาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อาจยคามิธรรม และเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ

คือ เจตนาที่เป็นอาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.

[๑๑๓๔] ๔. อปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย


ความคิดเห็น 59    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 271

คือ เจตนาที่เป็นอาจยคามิธรรม เป็นปัจจัย แก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย

[๑๑๓๕] ๕. อปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย

มี ๒ อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ นานาขณิกะ

ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่

เจตนาที่เป็นอปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย.

ที่เป็น นานาขณิกะ ได้แก่

เจตนาที่เป็นอปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.

[๑๑๓๖] ๖. อปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อปจยคามิธรรม และเนวาจยคามินาปจยมิธรรม ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย

คือ เจตนาที่เป็นอปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.

[๑๑๓๗] ๗. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย

คือ เจตนาที่เป็นเนวาจยคามินาปจยมิธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.


ความคิดเห็น 60    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 272

ในปฏิสนธิขณะ เจตนาที่เป็นเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และกฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.

๑๔. วิปากปัจจัย

[๑๑๓๘] ๑. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวาจยคามินาปจยมิธรรม ด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย

คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นเนวาจยคามินาปจยมิธรรม ซึ่งเป็นวิบาก เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ฯลฯ

ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่หทยวัตถุ ด้วยอำนาจ ของวิปากปัจจัย.

๑๕. อาหารปัจจัย ฯลฯ ๑๙. สัมปยุตตปัจจัย

[๑๑๓๙] อาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อาจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของฌานปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของมัคคปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสัมปยุตตปัจจัย.

๒๐. วิปปยุตตปัจจัย

[๑๑๔๐] ๑. อาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย


ความคิดเห็น 61    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 273

มี ๒ อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ ปัจฉาชาตะ

ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอาจยคามิธรรมที่เกิดพร้อมกัน เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอาจยคามิธรรมที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

[๑๑๔๑] ๒. อปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย

มี ๒ อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ ปัจฉาชาตะ

ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอปจยคามิธรรมที่เกิดพร้อมกัน เป็นปัจจัยแก่ จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอปจยคามิธรรมที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

[๑๑๔๒] ๓. เนวจยคามินาปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย


ความคิดเห็น 62    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 274

มี ๓ อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ ปุเรชาตะ และ ปัจฉาชาตะ

ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเนวาจยคามินาปจยคามิธรรมที่เกิดพร้อมกัน เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

ขันธ์ทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่หทยวัตถุ ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย, หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของวิปปตยุตตปัจจัย.

ที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่

จักขาตะที่เกิดก่อน ฯลฯ กายายตนะที่เกิดก่อน เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ.

หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเนวาจยคามินาปจยคามิธรรมที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน.

[๑๑๔๓] ๔. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อาจยามิธรรม ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่


ความคิดเห็น 63    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 275

หทยวัตถุที่เกิดก่อน เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอาจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

[๑๑๔๔] ๕. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่

หทยวัตถุที่เกิดก่อน เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

๒๑. อัตถิปัจจัย

[๑๑๔๕] ๑. อาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อาจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ฯลฯ

[๑๑๔๖] ๒. อาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มี ๒ อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ ปัจฉาชาตะ

ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอาจยคามิธรรมที่เกิดพร้อมกัน เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.


ความคิดเห็น 64    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 276

ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอาจยคามิธรรมที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

[๑๑๔๗] ๓. อาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อาจยคามิธรรม และเนวาจยคามินาปจยคมิธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ

๔. อปจยคามิธรรม ฯลฯ มี ๓ วาระ (วาระที่ ๔ - ๕ - ๖-) พึงกระทำโดยนัยแห่งอาจยคามิธรรม.

[๑๑๔๘] ๗. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มี ๕ อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และ อินทริยะ

ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่

ขันธ์ ๑ ที่เป็นเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ

ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่หทยวัตถุ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย, หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.


ความคิดเห็น 65    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 277

มหาภูตรูป ๑ ฯลฯ

พาหิรรูป... อาหารสมุฏฐาน... อุตุสมุฐานรูป ฯลฯ

ส่วนอสัญญสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ

ที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่

พระอรหันต์พิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.

เห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฯลฯ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.

รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ.

จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่ กายวิญญาณ.

หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเนวาจยคามินาปจยคามิธรรมที่เกิดภายหลัง เป็น ปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

กวฬีการาหาร เป็นปัจจัยแก่กายนี้.

รูปชีวิตนทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลาย.

[๑๑๔๙] ๘. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อาจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย


ความคิดเห็น 66    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 278

มีอย่างเดียว คือที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่

พระเสกขบุคคล หรือปุถุชนพิจารณาเห็นจักษุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภจักษุนั้น ราคะ ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.

บุคคลพิจารณาเห็นโสตะ ฯลฯ หทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภโสตะเป็นต้นนั้น ราคะ ย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.

บุคคลเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ.

ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.

หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอาจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

[๑๑๕๐] ๙. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่

หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

[๑๑๕๑] ๑๐. อาจยคามิธรรม และเนวาจยคามินาปจยคามิธรรมเป็นปัจจัยแก่อาจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย


ความคิดเห็น 67    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 279

มีอย่างเดียว คือที่เป็น สหชาตะ รวมกับ ปุเรชาตะ ได้แก่

ขันธ์ ๑ ที่เป็นอาจยคามิธรรม และหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ

[๑๑๕๒] ๑๑. อาจยคามิธรรม และเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มี ๓ อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ, ปัจฉาชาตะ รวมกับ อาหาระ และรวมกับ อินทริยะ

ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอาจยคามิธรรม และมหาภูตรูปทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

ที่เป็น ปัจฉาชาตะ รวมกับ อาหาระ ได้แก่

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอาจยคามิธรรมและกวฬีการาหาร เป็นปัจจัยแก่ กายนี้ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

ที่เป็น ปัจฉาชาตะ รวมกับ อาหาระ ได้แก่

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอาจคามิธรรมและรูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่ กฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.


ความคิดเห็น 68    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 280

[๑๑๕๓] ๑๒. อปจยคามิธรรม และเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

พึงกระทำเป็น ๒ วาระตามนัยที่ได้แสดงมาแล้ว.

เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของนัตถิปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของวิคตปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอวิคตปัจจัย.

การนับจำนวนวาระในอนุโลม

สุทธมูลกนัย

[๑๑๕๔] ในเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ ในอารัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ ในอธิปติปัจจัย มี ๑๐ วาระ ในอนันตรปัจจัย มี ๖ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๖ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๗ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๗ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๗ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๗ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๖ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๖ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑๓ วาระ.

อนุโลมนัย จบ


ความคิดเห็น 69    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 281

ปัจจนียนัย

การยกปัจจัยในปัจจนียะ

[๑๑๕๕] อาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อาจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

[๑๑๕๖] อาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

[๑๑๕๗] อาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย, เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.

[๑๑๕๘] อาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อาจยคามิธรรมและเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย.

[๑๑๕๙] อปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

[๑๑๖๐] อปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อาจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย, เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

[๑๑๖๑] อปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย, เป็นปัจจัยด้วยอำนาของสหชาตปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย, เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย.


ความคิดเห็น 70    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 282

[๑๑๖๒] อปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อปจยคามิธรรม และเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย.

[๑๑๖๓] เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของ ปัจฉาชาตปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย.

[๑๑๖๔] เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อาจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.

[๑๑๖๕] เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.

[๑๑๖๖] อาจยคามิธรรม และเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อาจยคามิธรรม ฯลฯ

มี อย่างเดียวคือ สหชาตะ รวมกับ ปุเรชาตะ

[๑๑๖๗] อาจยคามิธรรม และเนวาจยคามินาปจยมิธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ

มี ๓ อย่างคือ สหชาตะ ปัจฉาชาตะ รวมกับ อาหาระ และรวมกับ อินทริยะ


ความคิดเห็น 71    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 283

[๑๑๖๘] อปจยคามิธรรม และเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อปจยคามิธรรม ฯลฯ

มีอย่างเดียวคือ สหชาตะ รวมกับ ปุเรชาตะ

[๑๑๖๙] อปจยคามิธรรม และเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ

มี ๓ อย่างเดียวคือ สหชาตะ, ปัจฉาชาตะ รวมกับ อาหาระ และรวมกับ อินทริยะ.

การนับจำนวนวาระในปัจจนียะ

[๑๑๗๐] ในนเหตุปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในนอารัมมณปัจจัย ในน อธิปติปัจจัย ในนอนันตรปัจจัย ในนสมนันตรปัจจัย แต่ละปัจจัยมี ๑๕ วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนนิสสยปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑๔ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย ในนกัมมปัจจัย ในนวิปากปัจจัย ในนอาหารปัจจัย ในนอินทริยปัจจัย ในนฌานปัจจัย ในนมัคคปัจจัย แต่ละปัจจัยมี ๑๕ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ ในโนอัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.

พึงนับอย่างนี้.

ปัจจนียนัย จบ


ความคิดเห็น 72    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 284

อนุโลมปัจจนียนัย

การนับจำนวนวาระในอนุโลมปัจจนียะ

[๑๑๗๑] เพราะเหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ... ใน นอธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ มี ๗ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย ในนปัจฉาชาตปัจจัย ในนอาเสวนปัจจัย ในนกัมมปัจจัย ในนวิปากปัจจัย ในนอาหารปัจจัย ในอินทริยปัจจัย ในนฌานปัจจัย ในนมัคคปัจจัย แต่ละปัจจัยมี ๗ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนันตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

พึงนับอย่างนี้.

อนุโลมปัจจนียนัย จบ

ปัจจนียานุโลมนัย

การนับจำนวนวาระในปัจจนียานุโลม

[๑๑๗๒] เพราะนเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ... ในอธิปติปัจจัย มี ๑๐ วาระ ในอนันตรปัจจัย มี ๖ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๖ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ


ความคิดเห็น 73    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 285

ในกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๗ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๗ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๗ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๗ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๖ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๖ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑๓ วาระ.

พึงนับอย่างนี้.

ปัจจนียานุโลมนัย จบ

อาจยคามิติกะ ที่ ๑๐ จบ

อรรถกถาอาจยคามิติกะ

อนุโลมปัฏฐานในปฏิจจวาระ และสังสัฏฐวาระ ใน อาจยคามิติกะ เหมือนกับในกุศลติกะ คำที่เหลือท่านอธิบายไปตามบาลีนั่นเอง ทั้งโดยวิสัชนา และการนับ.

อรรถกถาอาจยคามิติกะ จบ