จากข้อความที่ท่านวิทยากรนำมาแสดงไว้
อธิปติปัจจัย หมายถึง สภาพธรรมที่เป็นปัจจัยโดยความเป็นใหญ่ เป็นหัวหน้าและมีกำลังมากกว่าสภาพธรรมที่เกิดร่วมกับตน และ เป็นใหญ่โดยความเป็นอารมณ์ที่ดียิ่ง จิตที่เป็นอธิปติปัจจัยคือ จิตที่มีกำลัง ได้แก่ เป็นจิตที่ทำกิจชวนะและประกอบด้วยเหตุ ๒ เหตุขึ้นไป เช่น ขณะที่จิตเป็นฌานจิตและ โลกุตตรจิต เป็นต้น
จากที่ได้อ่านเรื่องของปัจจัยมาบ้าง มีการแสดงไว้ว่า อธิปติปัจจัย จำแนกเป็น ๒ คือ สหชาตาธิปติปัจจัย และ อารัมมณปัจจัย ยังไม่ค่อยเข้าใจค่ะ จึงขอเรียนถามดังนี้
สหชาตาธิปติปัจจัย และ อธิปติปัจจัย (หมายถึง ฉันทะ จิตตะ วิริยะ วิมังสา ซึ่งเป็นเจตสิก) มีความแตกต่างกันโดยนัยใดหรือไม่ อย่างไร
ขอบพระคุณค่ะ
อธิปติปัจจัย มี ๒ คือ สหชาตาธิปติปัจจัย และ อารัมมณาธิปติปัจจัย มีความแตกต่างกันโดย สหชาตาธิปติปัจจัย เป็นใหญ่ มีกำลังมากกว่าสภาพธรรมที่เกิดร่วมกับตน
ส่วนอารัมมณาธิปติ เป็นใหญ่ในฐานะเป็นอารมณ์ ที่ดีที่น่าปรารถนา ส่วนสหชาตาธิปติ หมายถึง ฉันทะ จิตตะ วิริยะ วิมังสา เท่านั้น
ขออนุญาตเรียนถามเพิ่มเติมดังนี้ค่ะ
๑. ฉันทะ วิริยะ และ จิตตะ ที่เกิดกับจิตส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวันนั้น มีอยู่ แต่เพราะไม่ปรากฏกับสติ ปัญญาจึงรู้ลักษณะของเขาไม่ได้ ถูกต้องไหมคะ
๒. อารัมมณาธิปติ เป็นใหญ่ ในฐานะเป็นอารมณ์ที่ดีเท่านั้นใช่ไหมคะ ถ้าใช่ เหตุใด อารมณ์ที่ไม่ดีจึงไม่เป็นอธิปดี เช่น ในชีวิตประจำวัน ก็มีขณะมีลักษณะของโทสเจตสิกเป็นอารมณ์ เช่น เศร้า โกรธ ฯลฯ ซึ่งเข้าใจว่าเป็นใหญ่ เพราะคงอยู่นานและไม่ยอมปล่อยไปง่ายๆ (เช่นบางขณะ ที่เรียกกันว่าย้ำคิด ย้ำทำ) และปรากฏลักษณะที่ชัดเจน
๑. ถูกต้องครับ จะปรากฏกับสติและสัมปชัญญะ
๒. ถูกครับ ต้องเป็นอารมณ์ที่ดี ที่น่าปรารถนา ไม่ควรทอดทิ้ง อามรมณ์ที่ไม่ดี ไม่มีใครต้องการจนถึงอารัมมณาธิปติ แต่มิได้หมายความว่า สิ่งที่เกิดบ่อยๆ หรือปรากฏชัด จะเป็นอารัมมณาธิปติปัจจัย
ขออนุโมทนา
ขอบพระคุณ
สาธุ อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ
ด้วยความเคารพยิ่ง
จาก ใหญ่ราชบุรี – ธิดารัตน์ เดื่อมขันมณี
ขออนุโมทนาครับ