[เล่มที่ 43] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 214
๗. เรื่องอาคันตุกภิกษุ [๒๒๙]
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 43]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 214
๗. เรื่องอาคันตุกภิกษุ [๒๒๙]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุผู้อาคันตุกะหลายรูป ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "นครํ ยถา" เป็นต้น.
พวกภิกษุไปกรุงสาวัตถีเพื่อเฝ้าพระศาสดา
ได้ยินว่า พวกภิกษุเหล่านั้น เข้าจำพรรษาอยู่ในปัจจันตนครแห่งหนึ่ง ได้อยู่เป็นสุขในเดือนแรก. ในเดือนท่ามกลาง พวกโจรได้มาปล้นบ้านอันเป็นที่โคจรของภิกษุเหล่านั้น จับชาวบ้านเป็นเชลยไป. จำเดิมแต่กาลนั้น มนุษย์ทั้งหลายได้พากันมาปฏิสังขรณ์ปัจจันตนครนั้น เพื่อประโยชน์จะป้องกันพวกโจร จึงไม่ได้โอกาสจะอุปัฏฐากภิกษุเหล่านั้นอย่างแข็งแรง. พวกภิกษุเหล่านั้นจำพรรษาหาความสำราญมิได้ (ครั้น) ออกพรรษาแล้ว ได้ไปสู่กรุงสาวัตถี เพื่อจะเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว นั่ง ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง.
พระศาสดาตรัสถามสุขทุกข์กะภิกษุเหล่านั้น
พระศาสดาทรงทำการปฏิสันถารกับภิกษุเหล่านั้น ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพากันอยู่สบายหรือ" เมื่อภิกษุเหล่านั้น กราบทูลว่า "พระเจ้าข้า พวกข้าพระองค์อยู่สบายแต่ในเดือนแรกเท่านั้น, ในเดือนท่ามกลาง พวกโจรได้ปล้นบ้าน, จำเดิมแต่กาลนั้นมนุษย์ทั้งหลาย พากันปฏิสังขรณ์นคร ไม่ได้โอกาสจะบำรุงอย่างแข็งแรง เพราะฉะนั้น พวกข้าพระองค์ จึงจำพรรษาหาความสำราญมิได้" จึงตรัสว่า "ช่างเถอะ ภิกษุทั้งหลาย, พวกเธออย่าได้คิดเลย, ธรรมดาว่าความอยู่เป็นสุขสำราญ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 215
ตลอดกาลเป็นนิตย์ อันบุคคลหาได้ยาก ธรรมดาว่าภิกษุ รักษาอัตภาพนั่นแหละ เหมือนกับพวกมนุษย์เหล่านั้นคุ้มครองนครฉะนั้น ย่อมควร" ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
๗. นครํ ยถา ปจฺจนตํ คุตฺตํ สนฺตรพาหิรํ เอวํ โคเปถ อตฺตานํ ขโณ โว มา อุปจฺจคา ขณาตีตา หิ โสจนฺติ นิรยมฺหิ สมปฺปิตา.
"ท่านทั้งหลายควรรักษาตน*๑ เหมือนกับพวกมนุษย์ป้องกันปัจจันตนคร*๒ ทั้งภายในและภายนอก ฉะนั้น, ขณะอย่าเข้าไปล่วงท่านทั้งหลายเสีย*๓ เพราะว่าชนทั้งหลายผู้ล่วงเสียซึ่งขณะ เป็นผู้เบียดเสียดกันในนรก เศร้าโศกอยู่"๔ แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺตรพาหิรํ เป็นต้น ความว่า ภิกษุทั้งหลาย ปัจจันตนครนั้น อันมนุษย์เหล่านั้นช่วยกันทำที่มั่นทั้งหลายมีประตูและกำแพงเป็นต้น ชื่อว่าทำให้มั่นในภายใน เขาทำที่มั่นทั้งหลายมีป้อมและคูเป็นต้น ชื่อว่าทำให้มั่นในภายนอก เพราะเหตุนั้นปัจจันตนครนั้น จึงเป็นเมืองที่พวกมนุษย์ทำให้มั่นทั้งภายในทั้งภายนอกรักษาแล้ว ฉันใด ก็พวกท่านจงเข้าไปตั้งสติไว้ จงปิดทวารทั้ง ๖ อันเป็นภายใน ไม่ปล่อยสติซึ่งรักษาทวาร ทำอายตนะภายใน ๖ เหล่านั้นให้มั่น ด้วยการไม่ถือเอาโดยประการที่อายตนะภายนอก ๖ ซึ่งยึดถืออยู่ จะเป็นไปเพื่อขจัดอายตนะภายในเสีย ไม่ละสติที่รักษาทวาร เพื่อไม่ให้อายตนะภายนอกเหล่านั้นเข้าไปประพฤติอยู่ ชื่อว่ารักษาตนไว้ฉันนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 216
บาทพระคาถาว่า ขโณ โว มา อุปจฺจคา ความว่า ก็ผู้ใดไม่ปกครองตนอย่างนั้น, ขณะนี้แม้ทั้งสิ้น คือ "ขณะเป็นที่บังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้านี้ ขณะบังเกิดในมัชฌิมประเทศ ขณะอันได้สัมมาทิฏฐิ ขณะไม่ขาดแคลนแห่งอายตนะทั้ง ๖ ประการ ย่อมก้าวล่วงเสียซึ่งบุคคลผู้นั้น ขณะนั้นจงอย่าก้าวล่วงท่านทั้งหลายไปเสีย.
บทว่า ขณาตีตา เป็นต้น ความว่า เพราะว่า บุคคลเหล่าใดล่วงเสียซึ่งขณะนั้น, และขณะนั้นล่วงเสียซึ่งบุคคลเหล่านั้น ชนเหล่านั้นเป็นผู้เบียดเสียดกันในนรก คือบังเกิดในนรกนั้นแล้ว เศร้าโศกอยู่.
ในกาลจบเทศนา ภิกษุเหล่านั้นเกิดความสังเวช ตั้งอยู่ในพระอรหัตตผลแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องอาคันตุกภิกษุ จบ.