เรียนถามเรื่อง ... อดทน
โดย ปุจฉา  20 ม.ค. 2551
หัวข้อหมายเลข 7068

๑. อย่างนี้ชื่อว่า "อดทน" ไหมครับ คือ ตัวอย่างเช่น เราถูกผู้สูงอายุกว่ามากเหน็บแนม เราก็รู้ ว่าท่านกล่าวเหน็บแนม แต่เราไม่ยักจะโกรธท่าน ไม่แสดงอาการออกมา แต่ความโกรธความขุ่นใจที่เกิดในจิตก็ตั้งอยู่ไม่นาน แล้วมันก็ดับไปเอง แล้วเราก็คุย สนทนากับท่านต่อด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใสโดยที่ไม่ฝืนอัธยาศัยเลย เป็นการอดทน ไหมครับ หรือว่าไม่เป็นแล้วมันเป็นอกุศลได้ไหมครับ

๒. เวลาคุยกัน มีหลายคนกำลังสนทนาธรรมกันอยู่ แล้วความอยากร่วมคุยด้วยมันก็ เกิดขึ้นเราก็เริ่มรู้ว่าตัวเองอยากคุยแล้ว แต่ก็อดทนที่จะเก็บคำพูดที่เตรียมจะพูดไว้ก่อน เพื่อรอจังหวะและโอกาส แต่สุดท้ายก็ไม่ได้พูด แต่ก็ไม่ได้โกรธที่ไมได้พูด อย่างนี้เรียกว่า "อดทน" ไหมครับ มีพระสูตรเกี่ยวกับความอดทนเป็นธรรมทาน บ้างไหมครับ

ขอขอบพระคุณอย่างสูงครับ



ความคิดเห็น 1    โดย study  วันที่ 21 ม.ค. 2551

ขันติ คือ ความอดทน ความอดกลั้น ได้แก่ ความไม่โกรธ ไม่ด่าว่า ไม่ประทุษร้าย ความจริงแล้วความอดทนมีหลายระดับ สูงสุดคือ ความไม่โกรธ แม้จะถูกด่าว่า ประทุษร้ายก็ตาม แต่ถ้าเพียงไม่พอใจ อยู่ในใจเท่านั้น ไม่แสดงออกทางกาย วาจา ก็ เป็นความอดทนระดับหนึ่งเช่นกัน ดังข้อความในมงคลัตถที่ปนีอธิบายดังนี้

เชิญคลิกอ่าน...

ความอดทน [มังคลัตถทีปนีแปล]


ความคิดเห็น 2    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 21 ม.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

จิตเกิดดับสลับกันเร็วมาก ขณะขุ่นใจขณะนั้นไม่ใช่ขันติ ขันติซึ่งเป็นธรรมฝ่ายดี เป็นกุศล ไม่ใช่เพียงเฉยๆ แล้วจะหมายความว่าเป็นขันติครับ หากแต่ว่าขันติเป็นความอดทนที่เกิดจากการพิจารณาด้วยความถูกต้องจึงไม่โกรธ เช่น เป็นเพียงสภาพธรรมหรือพิจารณาไม่ควรโกรธเพราะความโกรธมีโทษ จึงมีขันติ เป็นต้น ดังนั้นเหตุใกล้ให้เกิด ขันติ คือการรู้ตามความเป็นจริง รู้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา รู้ว่าความโกรธมีโทษ จึงมีขันติ ดังนั้นเมื่อเข้าใจพระธรรม ปัญญาเจริญขึ้น ขันติก็ย่อมเกิดขึ้นบ่อยและขันติก็มีหลาย ะดับครับ อย่างไรก็ตามการงดเว้นที่จะไม่พูดทางกาย วาจา จึงสามารถเป็นได้ทั้งกุศล และอกุศล จะรู้ได้ด้วยสติและสัมปชัญญะของผู้นั้น ครับ

เชิญคลิกอ่านพระสูตรเพิ่มเติมครับ

ขันติ

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์


ความคิดเห็น 3    โดย chatchai.k  วันที่ 17 ม.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ