๘. อุปักกิเลสสูตร
โดย บ้านธัมมะ  28 ส.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 36134

[เล่มที่ 23] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 124

๘. อุปักกิเลสสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 23]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 124

๘. อุปักกิเลสสูตร

[๔๓๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารโฆสิตาราม กรุงโกสัมพี สมัยนั้นแล พวกภิกษุในกรุงโกสัมพีเกิดขัดใจทะเลาะวิวาทกัน เสียดสีกันและกันด้วยฝีปากอยู่.

[๔๔๐] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอยืนเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกภิกษุในกรุงโกสัมพีนี้ เกิดขัดใจทะเลาะวิวาทกัน เสียดสีกันและกันด้วยฝีปากอยู่ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าได้โปรดอาศัยความอนุเคราะห์ เสด็จเข้าไปยังที่อยู่ของภิกษุเหล่านั้นเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับด้วยดุษณีภาพ ต่อนั้นได้เสด็จเข้าไปยังที่อยู่ของภิกษุเหล่านั้น ครั้นแล้วได้ตรัสกะภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่าเลย อย่าขัดใจ อย่าทะเลาะ อย่าแก่งแย่ง อย่าวิวาทกันเลย เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วอย่างนี้ ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นเจ้าของธรรม ทรงยับยั้งก่อน ขอได้โปรดทรงเป็นผู้ขวนขวายน้อย ทรงประกอบเนืองๆ แต่สุขวิหารธรรมในปัจจุบันอยู่เถิด พวกข้าพระองค์ยังจักปรากฏอยู่ด้วย (รับผิดชอบใน) การขัดใจ ทะเลาะ แก่งแย่ง วิวาทกันเช่นนี้.

[๔๔๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะภิกษุเหล่านั้นแม้ในวาระที่ ๒ ดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่าเลย อย่าขัดใจ อย่าทะเลาะ อย่าแก่งแย่ง อย่าวิวาทกันเลย ภิกษุรูปนั้นก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ในวาระที่ ๒


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 125

ดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นเจ้าของธรรมทรงยับยั้งก่อน ขอได้โปรดทรงเป็นผู้ขวนขวายน้อย ทรงประกอบเนืองๆ แต่สุขวิหารธรรมในปัจจุบันอยู่เถิด พวกข้าพระองค์ยังจักปรากฏอยู่ด้วยการขัดใจ ทะเลาะ แก่งแย่ง วิวาทกันเช่นนี้.

[๔๔๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะภิกษุเหล่านั้นแม้ในวาระที่ ๓ ดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่าเลย อย่าขัดใจ อย่าทะเลาะ อย่าแก่งแย่ง อย่าวิวาทกันเลย ภิกษุรูปนั้นก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ในวาระที่ ๓ ดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นเจ้าของธรรมทรงยับยั้งก่อน ขอได้โปรดทรงเป็นผู้ขวนขวายน้อย ทรงประกอบเนืองๆ แต่สุขวิหารธรรมในปัจจุบันอยู่เถิด พวกข้าพระองค์ยังจักปรากฏอยู่ด้วยการขัดใจ ทะเลาะแก่งแย่ง วิวาทกันเช่นนี้.

ว่าด้วยภาษิตคาถา

[๔๔๓] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งสบง ทรงบาตรจีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงโกสัมพีในเวลาเช้า ครั้นเสด็จกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเวลาพระกระยาหารแล้ว ทรงเก็บเสนาสนะ กําลังประทับยืนอยู่นั่นแหละ ได้ตรัสพระคาถา ดังนี้ว่า

ภิกษุมีเสียงดังเสมอกัน ไม่มีใครๆ สําคัญตัวว่าเป็นพาล เมื่อสงฆ์แตกกัน ต่างก็มิได้สําคัญตัวกันเองให้ยิ่ง พวกที่เป็นบัณฑิต ก็พากันหลงลืม มีปากพูดก็มีแต่คำพูดเป็นอารมณ์พูดไป เท่าที่ปรารถนาแสดงฝีปาก ไม่รู้เหตุที่ตนนําไป


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 126

ก็ชนเหล่าใดผูกโกรธเขาว่า คนโน้นได้ด่าเรา คนโน้นได้ประหารเรา คนโน้นได้ชนะเรา คนโน้นได้ลักของของเรา เวรของตนเหล่านั้นย่อมไม่สงบ ส่วนชนเหล่าใดไม่ผูกโกรธเขาว่า คนโน้นได้ด่าเรา คนโน้นได้ประหารเรา คนโน้นได้ชนะเรา คนโน้นได้ลักของของเรา เวรของชนเหล่านั้น ย่อมเข้าไปสงบได้ เวรในโลกนี้ ย่อมไม่ระงับได้ด้วยเวรเลย ในกาลไหนๆ แต่จะระงับได้ด้วยไม่มีเวรกัน นี้เป็นธรรมดามีมาเก่าแก่ ก็คนพวกอื่นย่อมไม่รู่สึกว่า พวกเราจะย่อยยับในที่นี้ แต่ชนเหล่าใดในที่นั้นรู้สึก ความมุ่งร้ายกัน ย่อมสงบแต่ชนเหล่านั้นได้ คนพวกอื่นตัดกระดูกกัน ผลาญชีวิตกัน ลักโค ม้า ทรัพย์กัน แม้ชิงแว่นแคว้นกัน ยังมีคืนดีกันได้

เหตุไร พวกเธอจึงไม่มีเล่า ถ้าบุคคลได้สหายที่มีปัญญารักษาตัวร่วมทางจรเป็นนักปราชญ์ มีปกติให้สําเร็จประโยชน์อยู่ คุ้มอันตรายทั้งปวงได้ พึงชื่นชมมีสติเที่ยวไปกับสหายนั้นเถิด ถ้าไม่ได้สหายที่มีปัญญารักษาตัวร่วมทางจร เป็นนัก-


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 127

ปราชญ์ มีปกติให้สําเร็จประโยชน์อยู่ พึงเป็นผู้ผู้เดียวเที่ยวไป เหมือนพระราชาที่ทรงสละราชสมบัติ และเหมือนช้างมาตังคะในป่า ฉะนั้น การเที่ยวไปคนเดียวประเสริฐกว่า เพราะความเป็นสหายกันในคนพาลไม่มี พึงเป็นผู้ผู้เดียวเที่ยวไป และไม่พึงทําบาป เหมือนช้างมาตังคะมีความขวนขวายน้อยในป่าฉะนั้น.

[๔๔๔] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นประทับยืนตรัสพระคาถานี้แล้ว ได้เสด็จเข้าไปยังบ้านพาลกโลณการ ก็สมัยนั้นแล ท่านพระภคุอยู่ในบ้านพาลกโลณการ ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแต่ไกล ครั้นเห็นแล้วจึงแต่งตั้งอาสนะและน้ำสําหรับล้างพระบาทไว้ พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอาสนะที่แต่งตั้งไว้แล้วทรงล้างพระบาท ท่านพระภคุถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่านพระภคุผู้นั่งเรียบร้อยแล้วดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ พอทน พอเป็นไปได้หรือ เธอไม่ลําบากด้วยเรื่องบิณฑบาตบ้างหรือ.

ท่านพระภคุกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พอทน พอเป็นไปได้ และข้าพระองค์ไม่ลําบากด้วยเรื่องบิณฑบาตเลย พระพุทธเจ้าข้า ต่อนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้ท่านพระภคุให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยกถาประกอบด้วยธรรมแล้ว ทรงลุกจากอาสนะเสด็จเข้าไปประทับนั่งยังป่าปาจีนวงสทายวัน.

[๔๔๕] ก็สมัยนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะและท่านพระกิมพิละ อยู่ในป่าปาจีนวงสทายวัน คนรักษาป่าได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแต่ไกล ครั้นเห็นแล้ว ได้กล่าวกะพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่-


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 128

ท่านสมณะ ท่านอย่าเข้าไปยังป่านี้ ในป่านี้ มีกุลบุตร ๓ คน กําลังหวังอัตตาอยู่ ท่านอย่าได้ทําความไม่สําราญแก่เขาเลย ท่านพระอนุรุทธะได้ยินคนรักษาป่าพูดกับพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่ ครั้นได้ยินแล้ว จึงบอกคนรักษาป่าดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้รักษาป่า ท่านอย่าห้ามพระผู้มีพระภาคเจ้าเลย พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระศาสดาของพวกเราได้เสด็จถึงแล้วโดยลําดับ ต่อนั้น ท่านพระอนุรุทธะเข้าไปหาท่านพระนันทิยะและท่านพระกิมพิละยังที่อยู่ แล้วบอกดังนี้ว่า นิมนต์ท่านทั้งสองไปข้างหน้าๆ กันเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระศาสดาของพวกเรา เสด็จถึงแล้วโดยลําดับ ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่าน พระกิมพิละต้อนรับพระผู้มีพระภาคเจ้า รูปหนึ่งรับบาตรจีวรของพระผู้มีพระภาคเจ้า รูปหนึ่งแต่งตั้งอาสนะ รูปหนึ่งตั้งน้ำสําหรับล้างพระบาท พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอาสนะที่แต่งตั้งแล้ว ทรงล้างพระบาท แม้ท่านทั้ง ๓ นั้นก็ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๔๔๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่านพระอนุรุทธะผู้นั่งเรียบร้อยแล้ว ดังนี้ว่า ดูก่อนอนุรุทธะ เธอพอทน พอเป็นไปได้หรือ พวกเธอไม่ลําบากด้วยเรื่องบิณฑบาตบ้างหรือ.

ท่านพระอนุรุทธะกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พอทนได้ พอเป็นไปได้ พวกข้าพระองค์ไม่ลําบากด้วยเรื่องบิณฑบาตเลย พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนอนุรุทธะ... ก็พวกเธอพร้อมเพรียงกัน ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน เข้ากันได้ดังนมสดกับน้ำ มองดูซึ่งกันและกันด้วยนัยน์ตาที่น่ารักอยู่หรือ.

อ. อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์พร้อมเพรียงกัน ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน เข้ากันได้ดังนมสดกับน้ำ มองดูซึ่งกันและกันด้วยนัยน์ตาที่น่ารักอยู่.


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 129

พ. ดูก่อนอนุรุทธะอย่างไรเล่า พวกเธอจึงพร้อมเพรียงกัน ยินดีต่อกันไม่วิวาทกัน เข้ากันได้ดังนมสดกับน้ำ มองดูซึ่งกันและกันด้วยนัยน์ตาที่น่ารักอยู่ได้.

ว่าด้วยเอกจิต

[๔๔๗] อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์มีความดําริอย่างนี้ว่า เป็นลาภของเรา เราได้ดีแล้วหนอที่อยู่กับเพื่อนภิกษุผู้ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกันเห็นปานนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นั้นเข้าไปตั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันประกอบด้วยเมตตา ในท่านผู้มีอายุเหล่านี้ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ และมีความดําริว่า ไฉนหนอ เราพึงวางจิตของตนให้เป็นไปตามอํานาจจิตของท่านผู้มีอายุเหล่านี้ ข้าพระองค์นั้นแล จึงวางจิตของตนให้เป็นไปตามอํานาจจิตของท่านผู้มีอายุเหล่านี้ ก็พวกข้าพระองค์ต่างกันแต่กายเท่านั้น ส่วนจิตคงเป็นอันเดียวกัน.

[๔๔๘] แม้ท่านพระนันทิยะและท่านพระกิมพิละ ก็กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์ก็มีความดําริอย่างนี้ว่า เป็นลาภของเรา เราได้ดีแล้วหนอที่อยู่กับเพื่อนภิกษุผู้ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกันเห็นปานนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นั้นเข้าไปตั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันประกอบด้วยเมตตา ในท่านผู้มีอายุเหล่านี้ ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ และมีความดําริว่า ไฉนหนอ เราพึงวางจิตของตนให้เป็นไปตามอํานาจจิตของท่านผู้มีอายุเหล่านี้ ข้าพระองค์นั้นแล จึงวางจิตของตนให้เป็นไปตามอํานาจจิตของท่านผู้มีอายุเหล่านี้ ก็พวกข้าพระองค์ต่างกันแต่กายเท่านั้น ส่วนจิตคงเป็นอันเดียวกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อย่างนี้แล พวกข้า


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 130

พระองค์จึงพร้อมเพรียงกัน ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน เข้ากันได้ดังนมสดกับน้ำ มองดูซึ่งกันและกัน ด้วยนัยน์ตาที่น่ารักอยู่ได้.

[๔๔๙] พ. ดีละๆ อนุรุทธะ... ก็พวกเธอเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วบ้างหรือ.

อ. แน่นอน พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์ย่อมเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้ว.

พ. ดูก่อนอนุรุทธะ... อย่างไรเล่า พวกเธอจึงเป็นผู้ไม่ประมาทมีความเพียร มีตนส่งไปแล้ว.

[๔๕๐] อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในเรื่องนี้ พวกข้าพระองค์รูปใดกลับจากบิณฑบาตแต่หมู่บ้านก่อน รูปนั้นย่อมแต่งตั้งอาสนะ ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ และกระโถนไว้ รูปใดกลับทีหลัง ถ้ามีภัตที่ฉันเหลือยังปรารถนาอยู่ ก็ฉันไปถ้าไม่ปรารถนา ก็เทเสียในที่ปราศจากหญ้า หรือทิ้งเสียในน้ำที่ปราศจากตัวสัตว์ รูปนั้นจะเก็บอาสนะ เก็บน้ำฉันน้ำใช้และกระโถน กวาดโรงฉัน รูปใดเห็นหม้อน้ำฉัน หรือหม้อน้ำในเวจกุฎีว่างเปล่า รูปนั้นจะตักใส่ไว้ ถ้ารูปนั้นไม่อาจ พวกข้าพระองค์จะกวักมือเรียกรูปที่สองมาแล้ว ช่วยกันตั้งหม้อน้ำฉันหรือหม้อน้ำใช้ไว้โดยช่วยกันหิ้วคนละมือ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์จะไม่ปริปาก เพราะเหตุนั้นเลย และพวกข้าพระองค์จะนั่งประชุมสนทนาธรรมกันคืนยังรุ่งทุกๆ ห้าวัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อย่างนี้แล พวกข้าพระองค์จึงเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้ว.

ว่าด้วยการให้สาธุการ

[๔๕๑] พ. ดีละๆ อนุรุทธะ... ก็พวกเธอผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอย่างนี้ ย่อมมีคุณวิเศษคือ ญาณทัสสนะอันประเสริฐสามารถกว่าธรรมของมนุษย์อันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่สบายอันได้บรรลุแล้วหรือ


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 131

อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในเรื่องนี้ พวกข้าพระองค์ผู้ไม่ประมาทมีความเพียร มีตนส่งไปแล้ว ย่อมรู้สึกแสงสว่างและการเห็นรูป แต่ไม่ช้าเท่าไร แสงสว่างและการเห็นรูปอันนั้นของพวกข้าพระองค์ ย่อมหายไปได้พวกข้าพระองค์ยังไม่แทงตลอด (เข้าใจ) นิมิตนั้น.

[๔๕๒] พ. ดูก่อนอนุรุทธะ... พวกเธอต้องแทงตลอดนิมิตนั้นแล แม้เราก็เคยมาแล้ว เมื่อก่อนตรัสรู ยังไม่รู้เองด้วยปัญญาอันยิ่ง ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ย่อมรู้สึกแสงสว่างและการเห็นรูปเหมือนกัน แต่ไม่ช้าเท่าไร แสงสว่างและการเห็นรูปอันนั้นของเรา ย่อมหายไปได้ เราจึงมีความดําริดังนี้ว่า อะไรหนอแลเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้แสงสว่างและการเห็นรูปของเราหายไปได้ ดูก่อนอนุรุทธะ... เรานั้น ได้มีความรู้ดังนี้ว่า วิจิกิจฉาแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็วิจิกิจฉาเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้ เราจักทําให้ไม่เกิดวิจิกิจฉาขึ้นแก่เราได้อีก.

[๔๕๓] ดูก่อนอนุรุทธะ... เรานั้นแลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้ว ย่อมรู้สึกแสงสว่างและการเห็นรูป แม้ไม่ช้าเท่าไร แสงสว่างและการเห็นรูปอันนั้นของเรา ย่อมหายไปได้ เราจึงมีความดําริดังนี้ว่า อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้แสงสว่างและการเห็นรูปของเราหายไปได้ ดูก่อนอนุรุทธะ เรานั้นได้มีความรู้ดังนี้ว่า อมนสิการแล เกิดขึ้นแล้วแก่เราก็อมนสิการเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้ เราจักทําให้ไม่เกิดวิจิกิจฉา และอมนสิการขึ้นแก่เราได้อีก.

[๔๕๔] ดูก่อนอนุรุทธะ เรานั้นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ดูก่อนอนุรุทธะเรานั้นได้มีความรู้ดังนี้ว่า ถีนมิทธะแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ถีนมิทธะเป็นเหตุสมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึง


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 132

หายไปได้ เราจักทําให้ไม่เกิดวิจิกิจฉา อมนสิการ และถีนมิทธะขึ้นแก่เราได้อีก.

[๔๕๕] ดูก่อนอนุรุทธะ เรานั้นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ดูก่อนอนุรุทธะเรานั้นได้มีความรู้ดังนี้ว่า ความหวาดเสียวแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ความหวาดเสียวเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้ ดูก่อนอนุรุทธะ เปรียบเหมือนบุรุษเดินทางไกลเกิดมีคนปองร้ายเขาขึ้นที่สองข้างทาง เขาจึงเกิดความหวาดเสียว เพราะถูกคนปองร้ายนั้นเป็นเหตุ ฉันใด ดูก่อนอนุรุทธะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ความหวาดเสียวแลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ความหวาดเสียวเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้ เราจักทําให้ไม่เกิดวิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมีทธะและความหวาดเสียวขึ้นแก่เราได้อีก.

ว่าด้วยเกิดความตื่นเต้น

[๔๕๖] ดูก่อนอนุรุทธะ เรานั้นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ดูก่อนอนุรุทธะเรานั้น ได้มีความรู้ ดังนี้ว่า ความตื่นเต้นแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ความตื่นเต้นเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้ ดูก่อนอนุรุทธะ เปรียบเหมือนบุรุษแสวงหาแหล่งขุมทรัพย์แห่งหนึ่ง พบแหล่งขุมทรัพย์เข้า ๕ แห่งในคราวเดียวกัน เขาจึงเกิดความตื่นเต้น เพราะพบแหล่งชุมทรัพย์ ๕ แห่งนั้นเป็นเหตุ ฉันใด ดูก่อนอนุรุทธะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ความตื่นเต้นแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ความตื่นเต้นเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้ เราจักทําให้ไม่เกิดวิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความหวาดเสียว และความตื่นเต้นขึ้นแก่เราได้อีก.


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 133

[๔๕๗] ดูก่อนอนุรุทธะ เรานั้นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ดูก่อนอนุรุทธะ เรานั้นได้มีความรู้ ดังนี้ว่า ความชั่วหยาบแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ความชั่วหยาบเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้ เราจักทําให้ไม่เกิดวิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความหวาดเสียว ความตื่นเต้น และความชั่วหยาบขึ้นแก่เราได้อีก.

[๔๕๘] ดูก่อนอนุรุทธะ เรานั้นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ดูก่อนอนุรุทธะเรานั้นได้มีความรู้ดังนี้ว่า ความเพียรที่ปรารภเกินไปแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ความเพียรที่ปรารภเกินไปเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้ ดูก่อนอนุรุทธะ เปรียบเหมือนบุรุษเอามือทั้ง ๒ จับนกคุ่มไว้แน่น นกคุ่มนั้นต้องถึงความตายในมือนั้นเองฉันใด ดูก่อนอนุรุทธะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ความเพียรที่ปรารภเกินไปแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แลความเพียรที่ปรารภเกินไปเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้ เราจักทําให้ไม่เกิดวิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความหวาดเสียว ความตื่นเต้น ความชั่วหยาบ และความเพียรที่ปรารภเกินไปขึ้นแก่เราได้อีก.

[๔๕๙] ดูก่อนอนุรุทธะ เรานั้นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ดูก่อนอนุรุทธะ เรานั้นได้มีความรู้ ดังนี้ว่า ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไปแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้ ดูก่อนอนุรุทธะ เปรียบเหมือนบุรุษจับนกคุ่มหลวมๆ นกคุ่มนั้นต้องบินไปจากมือเขาได้ ฉันใด ดูก่อนอนุรุทธะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไปแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้ เราจักทําให้ไม่


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 134

เกิดวิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความหวาดเสียว ความตื่นเต้น ความชั่วหยาบ ความเพียรที่ปรารภเกินไป และความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไปขึ้นแก่เราได้อีก.

[๔๖๐] ดูก่อนอนุรุทธะ เรานั้นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ดูก่อนอนุรุทธะเรานั้นได้มีความรู้ ดังนี้ว่า ตัณหาที่คอยกระซิบแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ตัณหาที่คอยกระซิบเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้วแสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้ เราจักทําให้ไม่เกิดวิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความหวาดเสียว ความตื่นเต้น ความชั่วหยาบ ความเพียรที่ปรารภเกินไป ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไป และตัณหาที่คอยกระซิบขึ้นแก่เราได้อีก

ว่าด้วยการเกิดตัณหาคอยกระซิบ

[๔๖๑] ดูก่อนอนุรุทธะ เรานั้นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ดูก่อนอนุรุทธะ เรานั้นได้มีความรู้ ดังนี้ว่า ความสําคัญสภาวะว่าต่างกันแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ความสําคัญสภาวะว่าต่างกันเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้ เรานั้นจักทําให้ไม่เกิดวิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความหวาดเสียว ความตื่นเต้น ความชั่วหยาบ ความเพียรที่ปรารภเกินไป ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไป ตัณหาที่คอยกระซิบ และความสําคัญสภาวะว่าต่างกันขึ้นแก่เราได้อีก.

[๔๖๒] ดูก่อนอนุรุทธะ เรานั้นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้ว ย่อมรู้สึกแสงสว่างและการเห็นรูป แต่ไม่ช้าเท่าไร แสงสว่างและการเห็นรูปอันนั้นของเรา ย่อมหายไปได้ เราจึงมีความดําริดังนี้ว่า อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้แสงสว่างและการเห็นรูปของเราหายไปได้ดูก่อนอนุรุทธะ เรานั้นได้มีความรู้ดังนี้ว่า ลักษณะที่เพ่งเล็งรูปเกินไปแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา


ความคิดเห็น 12    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 135

ก็ลักษณะที่เพ่งเล็งรูปเกินไปเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้ เราจักทําให้ไม่เกิดวิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความหวาดเสียว ความตื่นเต้น ความชั่วหยาบ ความเพียรปรารภเกินไป ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไป ตัณหาที่คอยกระซิบ ความสําคัญสภาวะว่าต่างกัน และลักษณะที่เพ่งเล็งรูปเกินไปขึ้นแก่เราได้อีก.

[๔๖๓] ดูก่อนอนุรุทธะ... เรานั้นแลรู้ว่า วิจิกิจฉาเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมอง จึงละวิจิกิจฉาอันเกาะจิตไห้เศร้าหมองเสียได้ รู้ว่า อมนสิการเป็นเครื่องเกาะให้จิตเศร้าหมอง จึงละอมนสิการอันเกาะจิตให้เศร้าหมองเสียได้ รู้ว่าถีนมิทธะเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมอง จึงละถีนมิทธะอันเกาะจิตให้เศร้าหมองเสียได้ รู้ว่า ความหวาดเสียวเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมอง จึงละความหวาดเสียว อันเกาะจิตให้เศร้าหมองเสียได้ รู้ว่า ความตื่นเต้นเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมอง จึงละความตื่นเต้นอันเกาะจิตให้เศร้าหมองเสียได้ รู้ว่า ความชั่วหยาบเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมอง จึงละความชั่วหยาบอันเกาะจิตให้เศร้าหมองเสียได้ รู้ว่า ความเพียรที่ปรารภเกินไปเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมอง จึงละความเพียรที่ปรารภเกินไปอันเกาะจิตให้เศร้าหมองเสียได้ รู้ว่าความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมอง จึงละความเพียรย่อหย่อนเกินไปอันเกาะจิตให้เศร้าหมองเสียได้ รู้ว่า ตัณหาที่คอยกระซิบเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมอง จึงละตัณหาที่คอยกระซิบอันเกาะจิตให้เศร้าหมองเสียได้ รู้ว่า ความสําคัญสภาวะว่าต่างกันเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมอง จึงละความสําคัญสภาวะว่าต่างกันอันเกาะจิตให้เศร้าหมองเสียได้ รู้ว่า ลักษณะที่เพ่งเล็งรูปเกินไปเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมอง จึงละลักษณะที่เพ่งเล็งรูปเกินไปอันเกาะจิตให้เศร้าหมองเสียได้.


ความคิดเห็น 13    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 136

ว่าด้วยการเกิดปริวิตก

[๔๖๔] ดูก่อนอนุรุทธะ... เรานั้นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้ว ย่อมรู้สึกแสงสว่างอย่างเดียวแล แต่ไม่เห็นรูป เห็นรูปอย่างเดียวแล แต่ไม่รู้สึกแสงสว่าง ตลอดกลางคืนบ้าง ตลอดกลางวันบ้าง ตลอดทั้งกลางคืนและกลางวันบ้าง เรานั้น จึงมีความดําริดังนี้ว่า อะไรหนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เรารู้สึกแสงสว่างอย่างเดียวแล แต่ไม่เห็นรูป เห็นรูปอย่างเดียวแล แต่ไม่รู้สึกแสงสว่าง ตลอดกลางคืนบ้าง ตลอดกลางวันบ้าง ตลอดทั้งกลางคืนและกลางวันบ้าง ดูก่อนอนุรุทธะ เรานั้นได้มีความรู้ดังนี้ว่า สมัยใดเราไม่ใส่ใจ นิมิตหรือรูป ใส่ใจแต่นิมิตคือแสงสว่าง สมัยนั้น เรารู้สึกแสงสว่างอย่างเดียวแล แต่ไม่เห็นรูป ส่วนสมัยใดเราไม่ใส่ใจนิมิตคือแสงสว่างใส่ใจแต่นิมิตคือรูป สมัยนั้น เราย่อมเห็นรูปอย่างเดียวแล แต่ไม่รู้สึกแสงสว่างตลอดกลางคืนบ้าง ตลอดกลางวันบ้าง ตลอดทั้งกลางคืนและกลางวันบ้าง.

ว่าด้วยสมาธิภาวนา ๓ อย่าง

[๔๖๕] ดูก่อนอนุรุทธะ... เรานั้นรู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้ว ย่อมรู้สึกแสงสว่างเพียงนิดหน่อย เห็นรูปได้นิดหน่อย และรู้ลึกแสงสว่างอย่างหาประมาณมิได้ เห็นรูปอย่างหาประมาณมิได้ ตลอดกลางคืนบ้าง ตลอดกลางวันบ้าง ตลอดทั้งกลางคืนและกลางวันบ้าง เราจึงมีความดําริดังนี้ว่า อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้เรารู้สึกแสงสว่างเพียงนิดหน่อย เห็นรูปได้นิดหน่อย และรู้สึกแสงสว่างอย่างหาประมาณมิได้ เห็นรูปอย่างหาประมาณมิได้ ตลอดกลางคืนบ้าง ตลอดกลางวันบ้าง ตลอดทั้งกลางคืนและกลางวันบ้าง ดูก่อนอนุรุทธะ เรานั้นได้มีความรู้ดังนี้ว่า สมัยใด เรามีสมาธินิดหน่อย สมัยนั้น เราก็มีจักษุนิดหน่อย ด้วยจักษุนิดหน่อย เรานั้นจึงรู้สึก


ความคิดเห็น 14    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 137

แสงสว่างเพียงนิดหน่อย เห็นรูปได้นิดหน่อย ส่วนสมัยใด เรามีสมาธิหาประมาณมิได้ สมัยนั้น เราก็มีจักษุหาประมาณมิได้ ด้วยจักษุหาประมาณมิได้เรานั้น จึงรู้สึกแสงสว่างหาประมาณมิได้ แลเห็นรูปหาประมาณมิได้ ตลอดกลางคืนบ้าง ตลอดกลางวันบ้าง ตลอดทั้งกลางคืนและกลางวันบ้าง.

ดูก่อนอนุรุทธะ เพราะเรารู้ว่าวิจิกิจฉาเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมองแล้ว เป็นอันละวิจิกิจฉาอันเกาะจิตให้เศร้าหมองได้ รู้ว่าอมนสิการเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมองแล้วเป็นอันละอมนสิการอัน เกาะจิตให้เศร้าหมองได้ รู้ว่าถีนมิทธะเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมองแล้ว เป็นอันละถีนมิทธะอัน เกาะจิตให้เศร้าหมองได้ รู้ว่าความหวาดเสียวเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมองแล้ว เป็นอันละความหวาดเสียวอันเกาะจิตให้เศร้าหมองได้ รู้ว่า ความตื่นเต้นเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมองแล้ว เป็นอันละความตื่นเต้นอันเกาะจิตให้เศร้าหมองได้ รู้ว่า ความชั่วหยาบเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมองแล้วเป็นอันละความชั่วหยาบอันเกาะจิตให้เศร้าหมองได้ รู้ว่า ความเพียรที่ปรารภเกินไปเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมองแล้ว เป็นอันละความเพียรที่ปรารภเกินไปอันเกาะจิตให้เศร้าหมองได้ รู้ว่าความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นเครื่องเกาะจิตไห้เศร้าหมองแล้ว เป็นอันละความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไปอันเกาะจิตให้เศร้าหมองได้ รู้ว่าตัณหาที่คอยกระซิบเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมองแล้ว เป็นอันละตัณหาที่คอยกระซิบอันเกาะจิตให้เศร้าหมองได้ รู้ว่า ความสําคัญสภาวะว่าต่างกันเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมองแล้ว เป็นอันละความสําคัญสภาวะว่าต่างกันอันเกาะจิตให้เศร้าหมองได้ รู้ว่า ลักษณะที่เพ่งเล็งรูปเกินไปเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมองแล้ว เป็นอันละลักษณะที่เพ่งเล็งรูปเกินไปอันเกาะจิตให้เศร้าหมองได้ เรานั้นจึงได้มีความรู้ ดังนี้ว่า เครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมองนั้นๆ ของเรา เราละได้แล้วแลดังนี้ เราจึงเจริญสมาธิโดยส่วนสามได้ในบัดนี้.


ความคิดเห็น 15    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 138

[๔๖๖] ดูก่อนอนุรุทธะ... เรานั้นได้เจริญสมาธิมีวิตกมีวิจารบ้าง ได้เจริญสมาธิไม่มีวิตกมีแต่วิจารบ้าง ได้เจริญสมาธิไม่มีวิตกไม่มีวิจารบ้าง ได้เจริญสมาธิมีปีติบ้าง ได้เจริญสมาธิไม่มีปิติบ้าง ได้เจริญสมาธิสหรคตด้วยสุขบ้าง ได้เจริญสมาธิสหรคตด้วยอุเบกขาบ้าง.

ดูก่อนอนุรุทธะ เพราะสมาธิชนิดที่มีวิตกมีวิจารบ้าง ชนิดที่ไม่มีวิตกมีแต่วิจารบ้าง ชนิดที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจารบ้าง ชนิดที่มีปีติบ้าง ชนิดที่ไม่มีปีติบ้าง ชนิดที่สหรคตด้วยสุขบ้าง ชนิดที่สหรคตด้วยอุเบกขาบ้าง เป็นอันเกิดเจริญแล้ว ฉะนั้นแล ความรู้ความเห็นจึงได้เกิดขึ้นแก่เราว่า วิมุตติของเราไม่กําเริบ ชาตินี้เป็นชาติที่สุด บัดนี้ความเกิดใหม่ย่อมไม่มี.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอนุรุทธะ จึงชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบอุปักกิเลสสูตรที่ ๘


ความคิดเห็น 16    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 139

อรรถกถาอุปักกิเลสสูตร

อุปักกิเลสสูตร มีบทเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอตทโวจ (ได้กราบทูล... ดังนี้) ความว่า มิใช่กราบทูลด้วยความประสงค์จะให้แตกแยกกัน และมิใช่เพื่อจะประจบ แท้จริง ภิกษุนั้นได้ความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุเหล่านี้เชื่อฟังเราแล้ว จักงดเว้น และธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงมุ่งอนุเคราะห์เพื่อประโยชน์สถานเดียว พระองค์จักตรัสบอกเหตุอย่างหนึ่งแก่ภิกษุเหล่านี้เป็นแน่ ภิกษุเหล่านั้นฟังเหตุเหล่านั้นแล้วจักงดเว้น แต่นั้นภิกษุเหล่านั้น จักอยู่อย่างผาสุก. เพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้นจึงกราบทูลคํามีอาทิว่า อิธ ภนฺเต (ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญพวกภิกษุในกรุงโกสัมพีนี้) ดังนี้. ในบทเป็นต้นว่า มา ภณฺฑนํ พึงเติมปาฐะที่เหลือว่า อกตฺถ เป็นต้นเข้าไปด้วย แล้วถือเอาความอย่างนี้ว่า มา ภณฺฑนํ (อกตฺถ) อย่าทําการขัดแย้งกัน. บทว่า อฺตโร (รูปหนึ่ง) ความว่า ได้ยินว่า ภิกษุนั้น มุ่งประโยชน์ต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า คือได้ยินว่า ภิกษุนั้นมีความประสงค์อย่างนี้ว่า ภิกษุเหล่านี้ ถูกความโกรธครอบงําแล้ว จะไม่เชื่อฟังคําสอนของพระศาสดา ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อกล่าวสอนภิกษุเหล่านี้อยู่อย่าทรงลําบากเลยดังนี้ เพราะฉะนั้น จึงกราบทูลอย่างนี้.

บทว่า ปิณฺฑาย ปาวิสิ (เสด็จไปบิณฑบาต) ความว่า มิใช่เสด็จเข้าไปเพื่อบิณฑบาตอย่างเดียว แต่ได้ทรงอธิษฐานพระหฤทัยว่า คนที่เห็นเราแล้ว จงเข้าเฝ้าเรา.

ถามว่า ทรงอธิฏานเพื่อประโยชน์อะไร.

ตอบว่า เพื่อทรงทรมานภิกษุเหล่านั้น. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จกลับจากบิณฑบาตโดยอาการอย่างนั้นแล้ว ตรัสคาถามีอาทิว่า ปุถุสทฺโทสมชโน (ภิกษุมีเสียงดัง เป็นชนเสมอกัน) ดังนี้แล้ว เสด็จออกจากกรุงโกสัมพีตรงไปยังพาลกโลณการคาม.


ความคิดเห็น 17    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 140

แต่นั้นเสด็จไปในปาจีนวังสมิคทายวัน ต่อนั้นเสด็จเข้าไปยังชัฏป่าชื่อว่าปาริเลยยกะ. อันช้างตัวประเสริฐชื่อปาริเลยยกะบํารุงอยู่ ประทับอยู่ตลอดไตรมาส.แม้ชาวพระนครคิดว่า พระศาสดาเสด็จเข้าไปสู่วิหารแล้ว พวกเราจะไปฟังธรรม แล้วถือของหอมดอกไม้ตรงไปยังวิหาร ถามว่า ท่านเจ้าข้า พระศาสดาเสด็จไปไหน. ภิกษุทั้งหลายบอกว่า พวกท่านจะเฝ้าพระศาสดาได้ที่ไหน พระองค์เสด็จมาด้วยหวังว่า จักเกลี้ยกล่อมภิกษุเหล่านี้ให้สามัคคีกัน แต่ไม่อาจทําให้สามัคคีกันได้ จึงเสด็จออกไปแล้ว. พวกชาวเมืองทั้งหมดพากันคาดโทษว่า พวกเราจะเสียเงินทั้งร้อยหรือพัน ก็ไม่สามารถจะนําพระศาสดามาได้ ถึงพวกเราจะไม่กราบทูลวิงวอน พระองค์ก็จะเสด็จมาเอง เพราะอาศัยภิกษุเหล่านี้ ทําให้พวกเราไม่ได้สดับธรรมกถาเฉพาะพระพักตร์ของพระองค์ ภิกษุเหล่านั้น บวชเจาะจงพระศาสดา แม้เมื่อพระองค์ทรงกระทําให้สามัคคีกัน ก็ไม่ยอมสมัครสมานสามัคคีกันเช่นนี้ จะเชื่อฟังใครเล่า พอกันที พวกเราอย่าถวายภิกษาแก่ภิกษุเหล่านี้. ครั้นวันรุ่งขึ้น ภิกษุเหล่านั้นเที่ยวไปบิณฑบาต ทั่วทั้งพระนครไม่ได้ภิกษาแม้สักทัพพีเดียว กลับวิหารแล้ว. แม้พวกอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายกล่าวกะภิกษุเหล่านั้นอีกว่า พวกเราจะลงทัณฑกรรมเช่นนี้แหละแก่ท่านทั้งหลายจนกว่าพวกท่านจะให้พระศาสดาทรงอดโทษ. ภิกษุเหล่านั้นคิดว่า พวกเราจักให้พระศาสดาอดโทษ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ายังไม่ทันเสด็จถึงพระนครสาวัตถี ได้ไปรอคอยอยู่ในเมืองสาวัตถีแล้ว พระศาสดาทรงแสดง เภทกรวัตถุ ๑๘ ประการ แก่ภิกษุเหล่านั้นแล้ว ในเรื่องนี้มีข้อความตามที่กล่าวไว้ในบาลีมุตตกะเพียงเท่านี้.

บัดนี้จะวินิจฉัยในคาถามีอาทิว่า ปุถุสทฺโท (ภิกษุมีเสียงดัง) ดังต่อไปนี้. ชื่อว่า ปุถุสทฺโท (มีเสียงดัง) เพราะอรรถว่า มีเสียงดัง เสียงใหญ่ทีเดียว. บทว่า สมชโน (เป็นชนเสมอกัน) ได้แก่ คนที่เหมือนกัน คือคล้ายๆ คน คนเดียวกัน ท่านอธิบายว่า คน


ความคิดเห็น 18    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 141

ผู้ทําการแตกร้าวกันทั้งหมดนี้ มีเสียงดังด้วย มีเสียงคล้ายกันด้วย โดยการเปล่งเสียงดังลั่นไปรอบๆ. บทว่า น พาโล โกจิ มฺถ (ไม่มีใครๆ สำคัญตัวเป็นคนพาล) ความว่า ในคนเหล่านั้น ไม่มีใครแม้แต่คนเดียว ที่จะสําคัญตนว่า เราเป็นคนพาลทุกๆ คนเข้าใจตนว่า เป็นบัณฑิตทั้งนั้น. บทว่า นาฺํ ภิยฺโย อมฺรุํ (ก็มิได้สำคัญเรื่องอื่น) ได้แก่ ไม่มีใครๆ แม้คนเดียว สําคัญตนว่า เราเป็นพาล อธิบายว่า เมื่อสงฆ์แตกกัน ต่างก็มิได้สําคัญเหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ให้ยิ่งขึ้นไป คือไม่สําคัญถึงเหตุนี้ว่า สงฆ์แตกกันเพราะเราเป็นเหตุ. บทว่า ปริมุฏา แปลว่า มีสติหลงลืม.บทว่า วาจาโคจรภาณิโน (พูดแต่วาจาที่ชวนให้ทะเลาะกันเป็นอารมณ์) นี้ ท่านอาเทส ราอักษร ให้เป็น ร อักษรความก็ว่า พูดตามอารมณ์ ไม่มีสติปัฏฐานควบคุม ได้แก่พูดพล่อยๆ. บทว่ายาวิจฺฉนฺติ มุขายานํ (พูดไปเท่าที่ปรารถนาแสดงฝีปาก) ได้แก่พูดไปเพียงเพื่อปรารถนาจะตีฝีปาก อธิบายว่า แม้ภิกษุรูปเดียวก็ไม่ยอมสงบปาก ด้วยความเคารพในสงฆ์. บทว่า เยน นีตา (เหตุที่นำไป) ความว่า อันความทะเลาะใด นําไปสู่ความเป็นคนหน้าด้านนี้. บทว่า น ตํ วิทู (ไม่รู้เหตุ) ความว่า ไม่รู้ถึงเหตุนั้นว่า การทะเลาะนี้ มีโทษอย่างนี้. บทว่า เย จ ตํ อุปนยฺหนฺติ (ชนเหล่าใดเข้าไปผูกความโกรธนั้น) ความว่า คนเหล่าใดเข้าไปผูกโกรธเขา มีอาการเป็นต้นว่า ผู้นี้ได้ด่าเราดังนี้. บทว่า สนนฺตโน (เป็นของเก่า) แปลว่า เป็นของเก่า. บทว่า ปเร (ชนพวกอื่น) ความว่า ยกเว้นบัณฑิตทั้งหลายเสียแล้ว ผู้ก่อการทะเลาะเหล่าอื่น ชื่อว่าคนเหล่าอื่นจากบัณฑิตนั้น คนเหล่านั้น เมื่อก่อการทะเลาะกันในท่ามกลางสงฆ์นี้ย่อมไม่รู้ว่าพวกเราจะย่อยยับ คือจะฉิบหายใกล้ตายเข้าไปทุกขณะมิได้ขาด.บทว่า เย จ วิชานนฺติ (ชนเหล่าใดในหมู่นั้นรู้สึก)) ความว่า บรรดาคนเหล่านั้น คนเหล่าใดเป็นบัณฑิต รู้ตัวว่า พวกเราอยู่ใกล้มัจจุดังนี้. บทว่า ตโต สมฺมนฺติ เมธคา (ความหมายมั่นกันและกันย่อมสงบเพราะการปฏิบัติของชนพวกนั้น) ความว่า ก็บัณฑิตเหล่านั้น รู้อยู่อย่างนี้ เกิดโยนิโสมนสิการ ย่อมปฏิบัติเพื่อความเข้าไปสงบระงับ ความบาดหมางและความทะเลาะ. คาถาว่า อฏิจฺฉิทา (ตัดกระดูกกัน) เป็นต้นนี้มีมาในชาดก ท่านกล่าวหมายถึง พระเจ้าพรหมทัตและทีฆาวุกุมาร.


ความคิดเห็น 19    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 142

ในพระคาถานี้ มีใจความดังต่อไปนี้ แม้คนเหล่านั้น คือคนที่จองเวรกันถึงปานนั้น ยังคืนดีกันได้ เหตุใดพวกเธอจึงไม่คืนดีกันเล่า. เพราะพวกเธอยังไม่ถึงกับแช่งชักหักกระดูกกัน ยังไม่ถึงกับล้างผลาญชีวิตกัน ยังไม่ถึงกับลักโค ม้า และทรัพย์กัน. ตรัสพระคาถามีอาทิว่า สเจ ลเภถ (ถ้าบุคคลได้) ดังนี้ไว้ เพื่อจะทรงแสดงคุณและโทษแห่งสหายที่เป็นบัณฑิต และสหายที่เป็นพาล. บทว่า อภิภุยฺย สพฺพานิ ปริสฺสยานิ (คุ้มอันตรายทั้งปวงได้) ความว่า พึงชื่นชม มีสติ เที่ยวไปกับสหายผู้คุ้มกันอันตรายทั้งที่ปรากฏและไม่ปรากฏได้นั้น. บทว่า ราชาว รฏํ วิชิตํ (เหมือนพระราชาที่ทรงสละราชสมบัติ) ความว่า พึงเที่ยวไปเหมือนพระมหาชนก และพระเจ้าอรินทมมหาราชที่ทรงละแว่นแคว้น ซึ่งพระองค์ทรงรบชนะแล้ว เสด็จเที่ยวไปแต่ผู้เดียว.บทว่า มาตงฺครฺเว นาโค (เหมือนช้างมาตังคะในป่า) ความว่า เหมือนช้างมาตังคะเที่ยวไปในป่าฉะนั้น. ช้างธรรมดาท่านเรียกว่า มาตังคะ. บทว่า นาโค นี้ เป็นชื่อของช้างใหญ่. ท่านจึงกล่าวไว้ดังนี้ว่า เที่ยวไปแต่ผู้เดียว ไม่กระทําความชั่วทั้งหลายเหมือนช้างมาตังคะตัวเลี้ยงแม่ เที่ยวไปในป่าแต่ตัวเดียว ไม่กระทําความชั่วและเหมือนช้างปาริเลยยกะฉะนั้น. บทว่า พาลกโลณการคาโม (บ้านพาลกโลณการ) ได้แก่บ้านส่วยของอุบาลีคฤหบดี. ในบทว่า เตนุปสงฺกมิ (ได้เสด็จเข้าไป) นี้ มีคําถามว่า เสด็จเข้าไปทําไม.

ตอบว่า ได้ยินว่า พระองค์ทรงเห็นโทษในการอยู่เป็นหมู่ของท่านพระภคุนั้น ทรงปรารถนาจะเห็นภิกษุอยู่อย่างโดดเดี่ยว ฉะนั้นจึงเสด็จเข้าไปในพาลกโลณการคาม เหมือนคนถูกความหนาวเป็นต้นเบียดเบียนแล้วปรารถนาความอบอุ่นเป็นต้น ฉะนั้น. บทว่า ธมฺมิยา กถาย (ด้วยกถาประกอบด้วยธรรม) ความว่าปฏิสังยุตด้วยอานิสงส์ในความอยู่โดดเดี่ยว.

ถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงเสด็จเข้าไปในปาจีนวังสทายวันนั้น.


ความคิดเห็น 20    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 143

ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมีพุทธประสงค์จะพบภิกษุทั้งหลายผู้ก่อการทะเลาะกัน แล้วกลับอยู่ด้วยความสมัครสมานสามัคคีกัน หลังแต่เห็นโทษของความทะเลาะนั้น เพราะฉะนั้นจึงเสด็จเข้าไปในปาจีนวังสทายวันนั้นดุจคนถูกความหนาวเป็นต้นเบียดเบียนแล้ว ปรารถนาความอบอุ่นเป็นต้นฉะนั้น. บทว่า อายสฺมา จ อนุรุทฺโธ (ท่านพระอนุรุทธะ) เป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ.บทว่า อตฺถิ ปน โว (ก็เมื่อพวกเธอ... บ้างไหม) ความว่า พึงถามโลกุตตรธรรมด้วยคําถามครั้งหลังสุด.ก็โลกุตตรธรรมนั้นไม่มีแก่พระเถระทั้งหลาย เพราะฉะนั้น การถามถึงโลกุตตรธรรมจึงไม่สมควรเลย เพราะฉะนั้นท่านจึงถามถึงโอภาสแห่งบริกรรม.

บทว่า โอภาสํ เยว สฺชานาม (ย่อมรับรู้แสงสว่าง) ได้แก่รู้สึกแสงสว่างแห่งบริกรรม.บทว่า ทสฺสนฺจ รูปานํ (การเห็นรูป) ได้แก่รู้ชัดการเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ. บทว่า ตฺจ นิมิตฺตํ น ปฏิวิชฺฌาม (พวกข้าพระองค์ยังไม่แทงตลอดนิมิตนั้น) ความว่า ก็โอภาสและการเห็นรูปของข้าพระองค์ทั้งหลาย ย่อมหายไปด้วยเหตุใด ข้าพระองค์ทั้งหลายยังไม่รู้ซึ้งซึ่งเหตุนั้น. บทว่า ตํ โข ปน โว อนุรุทฺธา นิมิตฺตํ ปฏิวิชฺฌิตพฺพํ (อนุรุทธะ พวกเธอแทงตลอดนิมิตนั้นแล) ความว่า พวกเธอควรรู้เหตุนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภเทศนานี้ ด้วยคํานี้อาทิว่า อหํ ปิ สุทํ (แม้เราก็เคยมาแล้ว) ดังนี้ ก็เพื่อจะทรงแสดงว่า ดูก่อนอนุรุทธะ พวกเธอหม่นหมองอยู่หรือหนอ แม้เราก็เคยหม่นหมองมาแล้วด้วยอุปกิเลส ๑๑ ประการเหล่านี้. ในบทว่า วิจิกิจฺฉา โข เม (วิจิกิจฉาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา) เป็นต้น ความว่า พระมหาสัตว์ เจริญอาโลกกสิณแล้วเห็นรูปมีอย่างต่างๆ ด้วยทิพยจักษุจึงเกิดวิจิกิจฉาว่า นี้อะไรหนอ นี้อะไรหนอ. บทว่า สมาธิ จวิ (สมาธิจึงเคลื่อน) ความว่าบริกรรมสมาธิ จึงเคลื่อน. บทว่า โอภาโส (แสงสว่าง) ความว่า แม้โอภาสแห่งบริกรรมก็หายไป คือไม่เห็นรูปแม้ด้วยทิพยจักษุ. บทว่า อมนสิกาโร (อมนสิการ) ความว่าวิจิกิจฉาย่อมเกิดแก่ผู้ที่เห็นรูป คือเกิดอมนสิการว่า บัดนี้เราจะไม่ใส่ใจอะไรๆ.บทว่า ถีนมิทฺธํ ความว่า เมื่อไม่ใส่ใจถึงอะไรๆ ถีนมิทธะก็เกิดขึ้น. บทว่า ฉมฺภิตตฺตํ (ความหวาดเสียว) ความว่า ภิกษุเจริญอาโลกกสิณ มุ่งหน้าไปทางหิมวันตประเทศ


ความคิดเห็น 21    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 144

ได้เห็นสัตว์ต่างๆ เช่นยักษ์ ผีเสื้อน้ำ และงูเหลือมเป็นต้น ที่นั้น ความหวาดเสียวเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ. บทว่า อุพฺพิลํ (ความเบิกบานใจ) ความว่า เมื่อภิกษุคิดว่า สิ่งที่เราเห็นว่าน่ากลัว เวลาแลดูตามปกติย่อมไม่มี เมื่อไม่มี ทําไมจะต้องไปกลัวดังนี้ ความตื่นเต้นก็หมดไป. บทว่า สกึเทว (ในคราวเดียวกัน) ความว่าพึงพบขุมทรัพย์ ๕ ขุม ด้วยการขุดค้นเพียงครั้งเดียวเท่านั้น. บทว่า ทุฏุลฺลํ (ความชั่วหยาบ) ความว่า ความเพียรอันเราประคองไว้อย่างมั่นคง ได้ถูกความตื่นเต้นที่เกิดแก่เรานั้น กระทําให้ย่อหย่อน. แต่นั้นจะมีแต่ความกระวนกระวาย. บทว่า กายทุฏุลฺลํ ความว่าความกระวนกระวายคือภาวะที่ร่างกายเกียจคร้านก็เกิดขึ้น. บทว่า อจฺจารทฺธวิริยํ (ความเพียรที่ตึงเกินไป) ความว่า ความเพียรที่ปรารภเกินไป เกิดแล้วแก่ภิกษุผู้เริ่มตั้งความเพียรใหม่ ด้วยคิดว่า ความตื่นเต้นทําความเพียรของเราให้ย่อหย่อน ความชั่วร้ายจึงเกิดขึ้นได้. บทว่า ปตเมยฺย แปลว่า พึงตาย. บทว่า อติลีนวิริยํ (ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไป) ความว่าเมื่อเราประคองความเพียร ก็เป็นอย่างนี้ เมื่อทําความเพียรย่อหย่อนความเพียรที่หย่อนยาน ก็เกิดขึ้นได้อีก.

บทว่า อภิชปฺปา (ตัญหาที่คอยกระซิบ) ความว่า เมื่อเราเจริญอาโลกกสิณ มุ่งตรงเฉพาะเทวโลก เห็นหมู่เทวดา ตัณหาก็เกิดขึ้น. บทว่า นานตฺตสฺา ความว่าเมื่อเราเจริญอาโลกกสิณ มุ่งตรงเฉพาะเทวโลกตามกาล แล้วใส่ใจถึงรูปมีอย่างต่างๆ กัน ด้วยคิดว่า เมื่อเราใส่ใจถึงรูปที่มีกําเนิดอย่างเดียวกัน ตัณหากระซิบหูเกิดขึ้นแล้ว เราจะใส่ใจถึงรูปมีอย่างต่างๆ ดังนี้ ความสําคัญสภาวะว่าต่างกันก็เกิดขึ้น.

บทว่า อตินิชฺฌายิตตฺตํ (ลักษณะที่เพ่งเล็งรูปเกินไป) ความว่า เมื่อเราใส่ใจถึงรูปมีอย่างต่างๆ กัน ความสําคัญสภาวะว่าต่างกันก็เกิดขึ้น เมื่อเราตั้งใจว่า จะใส่ใจถึงรูปที่มีกําเนิดอย่างเดียวกัน จะน่าปรารถนาหรือไม่ก็ตามที แล้วใส่ใจอย่างนั้น รูปที่มีการเพ่งเล็งเกินไปเป็นลักษณะก็เกิด.


ความคิดเห็น 22    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 145

บทว่า โอภาสนิมิตฺตํ มนสิกโรมิ (ใส่ใจแต่นิมิตคือแสงสว่าง) ความว่า เราได้มีความรู้ดังนี้ว่า เราใส่ใจแต่แสงสว่างแห่งบริกรรมอย่างเดียว. บทว่า น จรูปานิ ปสฺสามิ (แต่ไม่เห็นรูป) ความว่า เราไม่เห็นรูปด้วยทิพยจักษุ. บทว่าม รูปนิมิตฺตํ มนสิกโรมิ (ใส่ใจแต่นิมิตคือรูป) ความว่า เราใส่ใจถึงรูปที่เป็นอารมณ์เท่านั้น ด้วยทิพยจักษุ.

บทว่า ปริตฺตฺเจว โอภาสํ (แสงสว่างเพียงนิดหน่อย) ได้แก่ แสงสว่างในพระกัมมัฏฐานนิดหน่อย. บทว่า ปริตฺตานิ จ รูปานิ (เห็นรูปได้นิดหน่อย) ได้แก่ รูปในพระกัมมัฏฐานนิดหน่อย. บัณฑิตพึงทราบทุติยวาร โดยปริยายตรงกันข้าม. บทว่า ปริตฺโต สมาธิ (สมาธินิดหน่อย) ได้แก่ โอภาสแห่งบริกรรมนิดหน่อย. แต่ในที่นี้ ท่านกล่าวบริกรรมสมาธิว่า นิดหน่อยดังนี้ หมายถึงแสงสว่างเล็กน้อย. บทว่า ปริตฺตํ เม ตสฺมึ สมเย ความว่า ในสมัยนั้น แม้ทิพยจักษุ ก็มีเล็กน้อย. แม้ในอัปปมาณวารก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า อวิตกฺกํปิ วิจารมตฺตํ (ไม่มีวิตกมีแต่วิจารบ้าง) ได้แก่สมาธิในทุติยฌานในปัญจกนัย.บทว่า อวิตกฺกํปิ อวิจารํ (ไม่มีวิตกไม่มีแต่วิจารบ้าง) ได้แก่สมาธิในหมวด ๓ แห่งฌาน ทั้งในจตุกกนัยทั้งในปัญจกนัย. บทว่า สปฺปีติกํ (มีปิติ) ได้แก่ สมาธิในทุกฌาน และติกฌาน.

บทว่า นิปฺปีติกํ (ไม่มีปิติ) ได้แก่สมาธิในทุกทุกฌาน. บทว่า สาตสหคตํ (สหรคตด้วยสุข) ได้แก่ สมาธิในติกจตุกกฌาน. บทว่า อุเปกฺขาสหคตํ (สหรคตด้วยอุเบกขา) นี้ ในจตุกกนัยได้แก่ สมาธิในจตุตถฌาน ในปัญจกนัยได้แก่ สมาธิในปัญจมฌาน.

ถามว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเจริญสมาธิมีอย่าง ๓ นี้ในเวลาไหน.

ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่ง ณ ควงมหาโพธิพฤกษ์ ทรงเจริญสมาธิอย่างนี้ในปัจฉิมยาม.


ความคิดเห็น 23    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 146

ก็ปฐมมรรค ได้เป็นองค์ประกอบแห่งปฐมฌานแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า.ทุติยมรรคเป็นต้น ก็ได้เป็นองค์ประกอบแห่งทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน. ในปัญจกนัย ปัญจมฌานไม่มีมรรค. คําว่า มรรคนั้น จัดเป็นโลกีย์นี้ ท่านกล่าวหมายถึงมรรคที่เจือด้วยโลกิยะและโลกุตตระ. คําที่เหลือในบททั้งปวง ง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถาอุปักกิเลสสูตรที่ ๘