ทิฏฐิคตสัมปยุต แปลว่าประกอบด้วยความเห็นผิด เช่นชอบดอกไม้เพราะว่าดอกไม้สวย , ชอบลอดช่องเพราะอร่อย คือ ชอบในสมมติบัญญัติ
ทิฏฐิคตวิปยุต แปลว่าไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เช่น ชอบสีของดอกไม้, ชอบลอดช่องเพราะความหวาน คือ ชอบในปรมัตถ์ของธรรมที่ปรากฏ
ใช่หรือไม่ครับ
ขอบพระคุณครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระธรรมที่ได้ยินได้ฟัง ไม่พ้นไปจากเพื่อให้เข้าใจสิ่งที่มีจริงตรงตามความเป็นจริงว่า เป็นธรรม คือ เป็นสิ่งที่มีจริงๆ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล เป็นแต่เพียงสภาพธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย เท่านั้น
แม้แต่คำที่กล่าวถึง คือ ทิฏฐิคตสัมปยุต แปลว่า ประกอบด้วยความเห็นผิด หมายถึง อกุศลจิต ประเภทที่มีโลภะ เกิดร่วมด้วย และยังมีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วย เช่น เห็นว่า เที่ยง ยั่งยืน เป็นต้น
ส่วน ทิฏฐิคตวิปปยุต แปลว่า ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด หมายถึง อกุศลจิตประเภทที่มีโลภะเกิดร่วมด้วย แต่โลภะ ในขณะนั้น ไม่ได้เป็นไปพร้อมกับความเห็นผิด
ดังนั้น จากประเด็นคำถาม ถ้าเพียงเกิดความติดข้องต้องการ โดยที่ไม่ได้มีความยึดถือด้วยอำนาจแห่งความเห็นผิดว่า เที่ยง ยั่งยืน ก็เป็นแต่เพียงความติดข้องต้องการ ที่ไม่มีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วย ซึ่งชีวิตประจำวัน ก็มากไปด้วยความติดข้องต้องการจริงๆ ปัญญาความเข้าใจถูกเห็นถูกเท่านั้นที่จะสามารถเข้าใจสิ่งที่มีจริงที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริงได้ จึงต้องค่อยๆ ฟัง ค่อยๆ ศึกษาสะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกไปทีละเล็กทีละน้อย ครับ
ขอเชิญศึกษาเพิ่มเติมได้ที่หัวข้อด้านล่างนี้
เห็นบัญญัติธรรม กับ เห็นปรมัตถธรรม
ถ้าไม่มีปรมัตถธรรม.....อะไรๆ ก็ไม่มี
...อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
กราบขอบพระคุณอย่างยิ่งในความกรุณา และ ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านครับ
เจริญในธรรม
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ทิฏฐิคตสัมปยุต แปลว่าประกอบด้วยความเห็นผิด เช่น ไม่เชื่อเรื่องบุญบาป ทำดีไม่มีผล ทำชั่วไม่มีผล ฯลฯ
ทิฏฐิคตวิปยุต แปลว่าไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เช่น อาหารอร่อย ค่ะ
ขออนุโมทนาครับ