อยู่พรหมจรรย์ เป็นอย่างไร?
โดย ชีวิตคือขณะจิต  29 พ.ย. 2553
หัวข้อหมายเลข 17575

คำว่า "อยู่จบพรหมจรรย์ กิจอื่นที่พึงกระทำเพื่อเป็นอย่างนี้มิได้มี " ทำให้คิดว่า เรายังไม่ได้อยู่พรหมจรรย์เลย แล้วจะจบได้หรือ?



ความคิดเห็น 1    โดย chaiyut  วันที่ 30 พ.ย. 2553

พระอรหันต์ คือผู้ที่อยู่จบพรหมจรรย์ ในสมัยพุทธกาลก่อนหน้านั้นที่ท่านจะบรรลุ ท่านทำอะไร ท่านถึงอยู่จบพรหมจรรย์ได้ ต้องไม่ใช่การอยู่เฉยๆ ไม่ทำอะไรแน่นอน แต่ท่านไม่ประมาท ท่านฟังธรรมเพื่อเข้าใจ ท่านอบรมปัญญา แล้วน้อมประพฤติปฏิบัติตามด้วยการบำเพ็ญบารมีในชีวิตประจำวันให้ถึงพร้อม เพื่อขัดเกลากิเลส จนกระทั่งเมื่อเหตุถึงความสมบูรณ์ ผลก็คือการดับกิเลสทั้งหมดเป็นสมุจเฉท ถึงที่สุดทุกข์ อยู่จบพรหมจรรย์ หมดกิจเพื่อการเกิดมาเป็นอย่างนี้อีก เพราะฉะนั้น เราควรใส่ใจเหตุที่จะเกื้อกูลให้ถึงตรงนั้นเช่นเดียวกับท่าน แต่ไม่ใช่ด้วยความต้องการให้ถึงอย่างท่านทันที จะต้องอบรมปัญญาถึงความเป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามี ตามลำดับก่อนและก่อนหน้านั้นอีกนานมาก (นับกัปป์ไม่ถ้วน) ต้องเข้าใจธรรม เพื่อละคลายความเห็นผิดว่า เป็นสัตว์ บุคคล ตัวตนด้วย ใส่ใจเหตุดีกว่าคำนึงถึงผล พระพุทธองค์ทรงชี้ทางไว้แล้ว ทางก็มีแล้ว แต่ไม่มีผู้เดิน ปัญญาที่อบรมแล้วเท่านั้นจึงจะถึงทางนั้นได้ครับ


ความคิดเห็น 2    โดย khampan.a  วันที่ 1 ธ.ค. 2553

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

คำว่า "พรหมจรรย์" หมายถึง การประพฤติที่ประเสริฐ มีนัยที่กว้างขวางมาก ซึ่งเมื่อกล่าวโดยรวมแล้ว ได้แก่กุศลทุกประเภท ไม่ใช่อกุศล คำว่า "อยู่จบพรหมจรรย์" หมายถึง ประพฤติพรหมจรรย์ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ เสร็จสิ้นแล้ว สมบูรณ์แล้ว ซึ่งพระอรหันต์เท่านั้น ที่เป็นผู้อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว พระอนาคามี พระสกทาคามี พระโสดาบัน รวมถึงกัลยาณปุถุชน ชื่อว่า ผู้กำลังอยู่ประพฤติพรรมจรรย์ จนกว่าจะถึงความเป็นพระอรหันต์ ทั้งหมดนั้น เป็นเรื่องของปัญญา ความเข้าใจถูก เห็นถูก ซึ่งต้องอาศัยการฟัง การศึกษาพระธรรม ฟังในสิ่งที่มีจริง สะสมความเข้าใจไปทีละเล็กทีละน้อย อบรมโดยอาศัย กาลเวลาที่ยาวนาน

ถ้าไม่มีปัญญา แล้วจะถึงความเป็นพระอริยบุคคลขั้นต่างๆ ได้อย่างไร และที่ว่า "กิจอื่นที่พึงกระทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี" หมายถึงดับกิเลสหมดสิ้นแล้ว ไม่มีกิเลสเกิดขึ้นอีกแล้ว ก็ไม่ต้องกระทำกิจ คือการดับกิเลสอีกต่อไป ดังนั้น พระอรหันต์ ชื่อว่า ผู้กระทำกิจคือการดับ กิเลสเสร็จสิ้นแล้ว ส่วนกัลยาณปุถุชน จนถึงพระอนาคามี ชื่อว่า ผู้ยังต้องกระทำกิจดังกล่าวนั้นอยู่ จุดประสงค์ของการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม เพื่อความเข้าใจถูก เห็นถูก ซึ่งเป็นการละตั้งแต่ต้น ไม่ใช่เพื่ออย่างอื่น ตราบใดที่่ยังเป็นผู้มีกิเลสอยู่ ก็ยังจะต้องฟังพระธรรมศึกษาพระธรรมต่อไป ด้วยความไม่ท้อถอย เพราะฟังเท่าไหร่ ศึกษาเท่าไหร่ก็ยังไม่พอจนกว่าจะถึงความเป็นพระอรหันต์ ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...


ความคิดเห็น 3    โดย จักรกฤษณ์  วันที่ 2 ธ.ค. 2553

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 4    โดย พุทธรักษา  วันที่ 3 ธ.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 5    โดย Komsan  วันที่ 8 ธ.ค. 2553

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 6    โดย bsomsuda  วันที่ 10 ธ.ค. 2553

"..ตราบใดที่่ยังเป็นผู้มีกิเลสอยู่ ก็ยังจะต้องฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมต่อไปด้วยความไม่ท้อถอย เพราะฟังเท่าไหร่ ศึกษาเท่าไหร่ก็ยังไม่พอ จนกว่าจะถึงความเป็นพระอรหันต์ ครับ.."

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 9    โดย สามา  วันที่ 6 เม.ย. 2554

อนุโมทนาสาธุค่ะ


ความคิดเห็น 10    โดย peem  วันที่ 17 ก.ค. 2554
ขออนุโมทนาค่ะ

ความคิดเห็น 11    โดย ใหญ่ราชบุรี  วันที่ 4 ต.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 12    โดย chatchai.k  วันที่ 15 ก.พ. 2564

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 13    โดย chatchai.k  วันที่ 31 ต.ค. 2564

ขอเชิญอ่านเพิ่มเติม....

๗. เขมสุมนสูตร ว่าด้วยผู้หมดมานะ

ข้อความบางตอนจากพระสูตรนี้...

พระขีณาสพทั้งหลาย ไมนอมตนเขาไปเปรียบบุคคลที่ดีกวา ไมนอมตนเขาไปเปรียบบุคคลที่เลวกวา ไมนอมตนเขาไปเปรียบบุคคลที่เสมอกัน มีชาติสิ้นแลว อยูจบพรหมจรรยแลว ประพฤติ เปนผูหลุดพนจากสังโยชน