เนกขัมมะ โดยความเกษม
โดย pirmsombat  27 ก.พ. 2556
หัวข้อหมายเลข 22545

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความบางตอนจาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 277

[๓๙๙] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนชตุกัณณี)

ท่านเห็นแล้วซึ่งเนกขัมมะโดยความเกษม จงกำจัด

ความกำหนัดในกามทั้งหลายเสีย กิเลสเครื่องกังวลที่ท่าน

ยึดไว้ ควรสลัดเสีย อย่าได้มีแก่ท่านเลย.

[๔๐๐] โดยหัวข้อว่า กาเมสุ ในอุเทศว่า กาเมสุ วินยเคธํ

ดังนี้ กาม มี ๒ คือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑ ฯ ล ฯ เหล่านี้

ท่านกล่าวว่าวัตถุกาม ฯ ล ฯ เหล่านี้ท่านกล่าวว่ากิเลสกาม ตัณหา ราคะ

สาราคะ ฯ ล ฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ท่านกล่าวว่า ความกำหนัด

ในคำว่า เคธํ.

คำว่า จงกำจัดความกำหนัดในกามทั้งหลายเสีย ความว่า ท่าน

จงกำจัด คือ จงปราบปราม จงละ จงบรรเทา จงทำให้สิ้นสุด ให้

ถึงความไม่มี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านจงกำจัดความกำหนัดในกาม

ทั้งหลายเสีย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยโคตรว่า

ชตุกัณณี.

คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯ ล ฯ คำว่า ภควา

นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสตอบว่า ดูก่อนชตุกัณณี.

[๔๐๑] คำว่า ซึ่งเนกขัมมะ ในอุเทศว่า เนกฺขมฺมํ ทฏฺฐุ เขมโต

ดังนี้ ความว่า เห็น คือ เห็นแจ้ง เทียบเคียง พิจารณา เจริญ ทำให้แจ้งแล้ว

ชึ่งความปฏิบัติชอบ

ความปฏิบัติสมควร

ความปฏิบัติไม่เป็นข้าศึก

ความปฏิบัติเป็นไปตามประโยชน์

ความปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

ความทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย

ความคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย

ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ

การประกอบความเพียรในความเป็นผู้ตื่น

สติสัมปชัญญะ สติปัฏฐาน ๔

สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘

นิพพานและข้อปฏิบัติให้ถึงนิพพาน โดยความเกษม คือ โดยเป็นที่ต้านทาน

โดยเป็นที่ซ่อนเร้น โดยเป็นสรณะ โดยเป็นที่พึ่ง โดยไม่มีภัย

โดยความไม่เคลื่อนไหว โดยความไม่ตาย โดยเป็นธรรมออกจากตัณหา

เครื่องร้อยรัด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

เห็นแล้วซึ่งเนกขัมมะ

โดยความเกษม.

[๔๐๒] คำว่า ที่ท่านยึดไว้ ในอุเทศว่า อุคฺคหิตํ นิรตฺตํ วา

ดังนี้ ความว่า ที่ท่านยึด คือจับต้อง ถือมั่น ติดใจ น้อมใจไปด้วย

สามารถตัณหา ด้วยสามารถทิฏฐิ.

คำว่า ควรสลัดเสีย ความว่า ควรสลัด คือ ควรปล่อย ควรละ

ควรบรรเทา ควรทำให้สิ้นสุด ควรให้ถึงความไม่มี เพราะฉะนั้น จึง

ชื่อว่า ที่ท่านยึดไว้ ควรสลัดเสีย.

[๔๐๓] คำว่า กิเลสเครื่องกังวลอย่าได้มีแก่ท่าน ความว่า

กิเลสเครื่องกังวลคือราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส ทุจริต

กิเลสเครื่องกังวลนี้อย่าได้มี คือ อย่าได้ประจักษ์ อย่าได้ปรากฏ คือ

ท่านจงละ จงบรรเทา จงทำให้สิ้นสุด จงให้ถึงความไม่มี เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า กิเลสเครื่องกังวล อย่าได้มีแล้วแก่ท่าน เพราะเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ท่านเห็นแล้วซึ่งเนกขัมมะโดยความเกษม จงกำจัด

ความกำหนัดในกามทั้งหลายเสีย กิเลสเครื่องกังวลที่ท่าน

ยึดไว้ ควรสลัดเสียอย่าได้มีแก่ท่านเลย.



ความคิดเห็น 1    โดย ผู้ร่วมเดินทาง  วันที่ 28 ก.พ. 2556

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาคุณหมอครับ


ความคิดเห็น 2    โดย nong  วันที่ 28 ก.พ. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 3    โดย paderm  วันที่ 28 ก.พ. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 4    โดย pirmsombat  วันที่ 28 ก.พ. 2556

ขอบพระคุณและอนุโมทนาคุณผู้ร่วมเดินทาง คุณผเดิม และ ทุกท่านครับ


ความคิดเห็น 5    โดย ฐาณิญา  วันที่ 28 ก.พ. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 6    โดย jaturong  วันที่ 1 มี.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ