สวัสดีครับ..
ท่านผู้มีจิตอันเป็นกุศลทุกท่าน ผมเป็นอีกคนหนึ่งที่มีความสนใจในการศึกษาพระพุทธศาสนา แต่ด้วยความที่ผมยังติดความสะดวกสบาย และความรื่นเริงในโลกปัจจุบันอยุ่ อยากจะขอคำแนะนำจากท่านผู้รู้เกี่ยวกับการดำเนินชีวิต ที่จะทำให้ห่างไกลจากความวุ่นวายที่ได้เกิดขึ้นนี้ด้วยครับ
ขออนุโมทนาจิตอันเป็นกุศลทุกท่านครับ
การดำเนินชีวิตของพระอริยสาวกผู้เป็นฆราวาสในสมัยครั้งพุทธกาล ท่านมีชีวิตเป็นปกติทุกอย่างแต่มีการอบรมปัญญามากขึ้นด้วยการฟังพระธรรม และการเจริญกุศลทุกๆ ประการ และท่านทำหน้าที่ของตนในฐานะต่างๆ เช่น โดยความเป็นลูกต้องดูแลพ่อแม่ พ่อแม่ต้องดูแลลูก อาจารย์ต้องดูแลศิษย์ เป็นต้น ดังนั้น การจะเป็นคนดีต้องฝึกอบรมตนตามหลักคำสอนของพระพุทธองค์ เช่น เรื่องมงคล ๓๘ การไม่คบคนพาล การคบบัณฑิต การใช้ทรัพย์ในทางที่ถูกต้อง เป็นต้น แต่การจะละกิเลส อันเป็นสาเหตุแห่งความทุกข์ความวุ่นวายได้ ต้องอบรมปัญญาจึงจะละได้
[เล่มที่ 47] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ หน้าที่ 124
มงคลสูตรที่ ๔
ว่าด้วยอุดมมงคล ๓๘
[๓๑๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว เทวดาคนหนึ่งมีรัศมีอันงดงามยิ่ง ทำพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า
[๓๑๘] เทวดาและมนุษย์เป็นอันมากผู้หวังความสวัสดีได้พากันคิดมงคลทั้งหลาย ขอพระองค์ได้โปรดตรัสอุดมมงคล. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระคาถาตอบว่า
การไม่คบคนพาล ๑
การคบบัณฑิต ๑
การบูชาบุคคลที่ควรบูชา ๑
นี้เป็นอุดมมงคล
การอยู่ในประเทศอันสมควรมงคล ๑
ความเป็นผู้มีบุญอันทำไว้แล้วในกาลก่อน ๑
การตั้งตนไว้ชอบ ๑
นี้เป็นอุดมมงคล
พาหุสัจจะ ๑
ศิลปะ ๑
วินัยที่ศึกษาดีแล้ว ๑
วาจาสุภาษิต ๑
นี้เป็นอุดมมงคล
การบำรุงมารดา ๑
การบำรุงบิดา ๑
การสงเคราะห์บุตรภรรยา ๑
การงานอันไม่อากูล ๑
นี้เป็นอุดมมงคล
ทาน ๑
การประพฤติธรรม ๑
การสงเคราะห์ญาติ ๑
กรรมอันไม่มีโทษ ๑
นี้เป็นอุดมมงคล
การงดเว้นจากบาป ๑
ความสำรวมจากการดื่มน้ำเมา ๑
ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย ๑
นี้เป็นอุดมมงคล
การเคารพ ๑
ความประพฤติถ่อมตน ๑
ความสันโดษ ๑
ความกตัญญู ๑
การฟังธรรมตามกาล ๑
นี้เป็นอุดมมงคล
ความอดทน ๑
ความเป็นผู้ว่าง่าย ๑
การได้เห็นสมณะทั้งหลาย ๑
การสนทนาธรรมตามกาล ๑
นี้เป็นอุดมมลคล
อความเพียร ๑
พรหมจรรย์ ๑
การเห็นอริยสัจ ๑
การกระทำนิพพานให้แจ้ง ๑
นี้เป็นอุดมมงคล
จิตของผู้ใดอันโลกธรรมทั้งหลายถูกต้องแล้ว ย่อม
ไม่หวั่นไหว ๑
ไม่เศร้าโศก ๑
ปราศจากธุลี ๑
เป็นจิตเกษม ๑
นี้เป็นอุดมมงคล
[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ หน้าที่ 560
๔. ทีฆชาณุสูตร
[๑๔๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิคมแห่งชาวโกลิยะ ชื่อ กักกรปัตตะ ใกล้เมืองโกลิยะ ครั้งนั้นแล โกลิยบุตร ชื่อทีฆชาณุ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับถวายบังคม แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้กราบพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นคฤหัสถ์ ยังบริโภคกาม อยู่ครองเรือน นอนเบียดบุตร ใช้จันทร์ในแคว้นกาสี ยังทรงดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ ยังยินดีเงินและทองอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดแสดงธรรมที่เหมาะแก่ข้าพระองค์ อันจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขในปัจจุบัน เพื่อประโยชน์เพื่อความสุขในภายหน้าเถิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพยัคฆปัชชะ ธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขในปัจจุบันแก่กุลบุตร ๔ ประการเป็นไฉนคือ
อุฏฐานสัมปทา ๑
อารักขาสัมปทา ๑
กัลยาณมิตตตา ๑
สมชีวิตา ๑.
ดูก่อนพยัคฆปัชชะ ก็อุฏฐานสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้ เลี้ยงชีพด้วยการหมั่นประกอบการงาน คือ กสิกรรมพาณิชยกรรม โครักขกรรม รับราชการฝ่ายทหาร รับราชการฝ่ายพลเรือน หรือศิลปอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้านในการงานนั้น ประกอบด้วยปัญญาเครื่องสอดส่องอันเป็นอุบายในการงานนั้น สามารถจัดทำได้ ดูก่อนพยัคฆปัชชะ นี้เรียกว่า อุฏฐานสัมปทา.
ดูก่อนพยัคฆปัชชะ ก็อารักขสัมปทาเป็นไฉน
กุลบุตรในโลกนี้ โภคทรัพย์หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร สั่งสมด้วยกำลังแขน เหงื่อโทรมตัว ชอบธรรม ได้มาโดยธรรม เขารักษาคุ้มครองโภคทรัพย์เหล่านั้นไว พร้อมมูล ด้วยทำไว้ในใจว่า ไฉนหนอ พระราชาไม่พึงริบโภคทรัพย์เหล่านี้ของเรา โจรไม่พึงลัก ไฟไม่พึงไหม้ น้ำไม่พึงพัดไปทายาทผู้ไม่เป็นที่รักจะไม่พึงลักไป ดูก่อนพยัคฆปัชชะ นี้เรียกว่าอารักขสัมปทา
ดูก่อนพยัคฆปัชชะ ก็กัลยาณมิตตตาเป็นไฉน
กุลบุตรในโลกนี้ อยู่อาศัยในฐานหรือนิคมใด ย่อมดำรงตน หรือบุตรสนทนากับบุคคลในบ้านหรือนิคมนั้น ซึ่งเป็นคฤหบดี หรือบุตรคฤหบดี เป็นคนหนุ่มหรือคนแก่ ผู้มีสมาจารบริสุทธิ์ ผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา ศึกษาศรัทธาสัมปทาตามผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ ศึกษาปัญญาสัมปทาตามผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ดูก่อนพยัคฆปัชชะ นี้เรียกว่ากัลยาณมิตตตา
ดูก่อนพยัคฆปัชชะ ก็สมชีวิตาเป็นไฉน
กุลบุตรในโลกนี้ ทางเจริญแห่งทรัพย์ และทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์ แล้วเลี้ยงชีพพอเหมาะ ไม่ให้ฟูมฟายนัก ไม่ให้ฝืดเคืองนัก ด้วยคิดว่า รายได้ของเราจักต้องเหนือรายจ่าย และรายจ่ายของเราจักต้องไม่เหนือรายได้
ดูก่อนพยัคฆปัชชะ เปรียบเหมือนคนชั่งตราชั่งหรือลูกมือคนชั่งตราชั่ง ยกตราชั่งขึ้นแล้ว ย่อมลดออกเท่านี้ หรือต้องเพิ่ม
[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ หน้าที่ 562
เข้าเท่านี้ ฉันใด กุลบุตรก็ฉันนั้นเหมือนกัน รู้ทางเจริญ และทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์ แล้วเลี้ยงชีพพอเหมาะ. ไม่ให้ฟูมฟายนัก ไม่ให้ฝืดเคืองนัก ด้วยคิดว่า รายได้ของเราจักต้องเหนือรายจ่าย และรายจ่ายของเราจักต้องไม่เหนือรายได้
ดูก่อนพยัคฆปัชชะ ถ้ากุลบุตรผู้นี้มีรายได้น้อย แต่เลี้ยงชีวิตอย่างโอ่อ่า จะมีผู้ว่าเขาว่า กุลบุตรผู้นี้ใช้โภคทรัพย์เหมือนคนเคี้ยวกินผลมะเดื่อฉะนั้น ก็ถ้ากุลบุตรผู้ที่มีรายได้มาก แต่เลี้ยงชีพอย่างฝืดเคือง จะมีผู้ว่าเขาว่ากุลบุตรผู้นี้จักตายอย่างอนาถา แต่เพราะกุลบุตรผู้นี้รู้ทางเจริญ และทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์ แล้วเลี้ยงชีพพอเหมาะ ไม่ให้ฟูมฟายนัก ไม่ให้ฝืดเคืองนัก ด้วยคิดว่า รายได้ของเราจักต้องเหนือรายจ่าย และรายจ่ายของเราจักต้องไม่เหนือรายได้ ดูก่อน พยัคฆปัชชะ นี้เรียกว่าสมชีวิตา
ดูก่อนพยัคฆปัชชะ โภคทรัพย์ที่เกิดโดยชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมมีทางเสื่อม ๔ ประการ คือ
เป็นนักเลงหญิง ๑
เป็นนักเลงสุรา ๑
เป็นนักเลงการพนัน ๑
มีมิตรชั่วสหายชั่ว เพื่อนชั่ว ๑
ดูก่อนพยัคฆปัชชะเปรียบเหมือนสระน้ำใหญ่ มีทางไหลเข้า ๔ ทาง ทางไหลออก ๔ ทาง บุรุษพึงปิดทางไหลเข้า เปิดทางไหลออกของสระนั้น ฝนก็มิตกต้องตามฤดูกาล ด้วยประการฉะนี้ สระน้ำใหญ่นั้นพึงหวังความเสื่อมอย่างเดียว ไม่มีความเจริญเลย ฉันใด โภคทรัพย์ที่เกิดโดยชอบอย่างนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมมีทางเสื่อม ๔ ประการ คือ
เป็นนักเลงหญิง ๑
เป็นนักเลงสุรา ๑
เป็นนักเลงการพนัน ๑
มีมิตรชั่ว สหายชั่ว เพื่อนชั่ว ๑
ดูก่อนพยัคฆปัชชะ โภคทรัพย์ที่เกิดโดยชอบอย่างนี้แล้วย่อมมีความเจริญ ๔ ประการ คือ
ไม่เป็นนักเลงหญิง ๑
ไม่เป็นนักเลงสุรา ๑
ไม่เป็นนักเลงการพนั้น ๑
มีมิตรดี สหายดี เพื่อนดี ๑
ดูก่อนพยัคฆปัชชะ เปรียบเหมือนสระน้ำใหญ่ มีทางไหลเข้า ๔ ทาง ไหลออก ๔ ทาง บุรุษพึงเปิดทางไหลเข้า ปิดทางไหลออกของสระนั้น ทั้งฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล ด้วยประการฉะนี้ สระน้ำใหญ่นั้นพึงหวังความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม ฉันใด โภคทรัพย์ที่เกิดโดยชอบอย่างนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมมีทางเจริญ ๔ ประการ คือ
ไม่เป็นนักเลงหญิง ๑
ไม่เป็นนักเลงสุรา ๑
ไม่เป็นนักเลงการพนัน ๑
มีมิตรดี สหายดี เพื่อนดี ๑
ดูก่อนพยัคฆปัชชะธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อความสุขในปัจจุบันแก่กุลบุตร
ดูก่อนพยัคฆปัชชะ ธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขในภายหน้าแก่กุลบุตร ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ
สัทธาสัมปทะ ๑
สีลสัมปทา ๑
จาคสัมปทา ๑
ปัญญาสัมปทา ๑
ดูก่อนพยัคฆปัชชะ ก็สัทธาสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้มีศรัทธาคือ เพื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ดูก่อนพยัคฆปัชชะ นี้เรียกว่าสัทธาสัมปทา
ดูก่อนภิกษุพยัคฆปัชชะ สีลสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ เป็นผู้งดเว้นจาการดื่มน้ำเมา ฯลฯ
โปรดศึกษาต่อโดยตรงจากพระไตรปิฎก
ขออนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ กับการกระทำทุกการกระทำ เราไม่มีสติ ก็ทำให้เราหลงลืมไปว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ หลายครั้งที่ตัวเอง เหมือนล่องลอยอยู่ในอากาศ หาหลักยึดมั่นไม่มี บางครั้งก็เหนื่อยกับการกระทำของตัวเอง อยากจะหาเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ แต่ก็ไม่อาจหักเหใจหรือความเป็นตัวเองที่ยังยึดติดกับสิ่งต่างๆ
ขออนุโมทนา
ขออนุโมทนาครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น