ความทุกข์และความสุขเกิดจากอะไรแล้วแตกต่างกันอย่างไร
ขอบคุณคะที่อนุโมทนาให้
ความสุขและความทุกข์เป็นสภาพธรรมที่มีจริง โดยสภาพธรรมคือเ วทนาเจตสิก ที่เป็น
ความรู้สึก สุข ทุกข์ ซึ่งเวทนา แบ่งได้ดังนี้ครับ คือ โสมนัสเวทนา สุขเวทนา อุเบกขา-
เวทนา โทมนัส เวทนา และทุกขเวทนา สำหรับโสมนัสเวทนา เป็นความรู้สึก สุขทางใจ
ครับ เช่น เวลาดีใจ ขณะนั้นมีโสมนัสเวทนา สุขเวทนา คือ ความรู้สึกสุขทางกาย เช่นได้
กระทบสัมผัสสิ่งที่ดีทางกาย มีความรู้สึกสุขเวทนา ทางกายเกิดขึ้น อุเบกขาเวทนา คือ
ความรู้สึกที่เกิดที่ใจ ที่รู้สึกเฉยๆ ไม่สุขและไม่ทุกข์ครับ โทมนัสเวทนา คือ ความรู้สึก
ทุกข์ใจ เช่น เศร้าใจ เสียใจ เป็นเวทนาเจตสิกที่เป็น โทมนัสเวทนาครับ ทุกขเวทนา คือ
ความรู้สึกทางกายที่ไม่ดี ที่เป็นทุกข์ เช่น กระทบสัมผัสสิ่งที่ไม่ดี ไม่น่าสัมผัส ขณะที่เจ็บ
ที่ปวด ขณะนั้นเป็นความรู้สึกทุกขเวทนาครับ ส่วนความรู้สึกสุขและทุกข์เกิดขึ้นได้เพราะ
มีสภาพธรรมที่มีจริงที่เกิดขึ้น คือ เพราะมี จิต เจตสิกและรูป หรือ มีขันธ์ 5 จึงทำให้เกิด
ความรู้สึกสุขและทุกข์ได้ครับ
ดังนั้นความรู้สึกที่เป็นเวทนาจึงแบ่งเป็นเวทนาทางกายและเวทนาทางใจครับ ดังนั้น
เพราะมีสภาพธรรมเกิดขึ้น จึงมีสุขและทุกข์เกิดขึ้นครับ เพราะยังมีกิเลส ก็ทำให้เกิด
ความรู้สึกทุกข์ใจที่เป็นโทมนัสเวทนาได้ เช่น เศร้าใจ เสียใจ เพราะยังมีกิเลส คือโทสะ
จึงเป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์ใจ เพราะมีผลของกรรมที่ทำมาไม่ดี ก็เป็นปัจจัยให้เกิด ทุกข์
กาย ได้รับความเจ็บปวด เช่น พระพุทธเจ้าจะปรินิพพาน ก็ต้องป่วย ได้รับความเจ็บ
เพราะผลของกรรมเก่าทำให้พระองค์ เกิดทุกข์กายครับ แต่พระองค์ไม่มีทุกข์ใจ
เพราะดับกิเลสแล้วครับ ส่วนความรู้สึกสุขใจ เกิดได้เพราะยังมีขันธ์ 5 ส่วนความรู้สึก
ทางกายที่เป็นสุขกาย ทางกายเกิดจากการได้รับผลของกรรมที่ดี คือ การทำกุศลกรรม
ไว้ เมื่อเหตุพร้อมก็ทำให้ได้รับวิบากที่ดีทางกาย ทำให้เกิดสุขเวทนาที่เกิดทางกาย
ครับ สรุปคือ สุขและทุกข์ ไม่ว่าจะเป็นสุขกาย สุขใจ และทุกข์กาย ทุกข์ใจเกิดขึ้นได้
มีได้ เพราะมีการเกิด เมื่อมีการเกิด ก็มีขันธ์ 5 ก็ทำให้มีความรู้สึก สุขและทุกข์ได้ครับ
ถ้าไม่มีสภาพธรรมที่เกิดขึ้น ก็จะไม่มีสุขและทุกข์เกิดข้ึนเลยครับ สมดังที่ท่านพระสารี
บุตรกล่าวว่า สุขและทุกข์เกิดขึ้นมีได้เพราะอาศัยการเกิดนั่นเองครับ ขออนุโมทนา
มีทุกข์ ก็มีสุข มีลาภ ก็มีเสื่อมลาภ มีสรรเสริญ ก็มีนินทา มียศ ก็มีเสื่อมยศ ฯลฯ นี้เป็น
ธรรมดาของโลก แต่ผู้มีปัญญา จะไม่หวั่นไหวกับสิ่งเหล่านี้ ส่วนปุถุชนมีความหวั่นไหว
เป็นธรรมดา ผลของกรรมที่ไม่ดี ทำให้เราได้รับทุกข์ทางกาย ส่วนทุกข์ใจเป็นกิเลส
ไม่ใช่ผลของกรรม ถ้าทำเหตุดีผลก็ดี ผลของกุศลทำให้เราได้รับรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส
ที่ดี แต่ก็เป็นความสุขที่ไม่เที่ยง การแสวงหาปัญญาจนถึงบรรลุ มรรค ผล นิพพาน
จึงจะเป็นความสุขอย่างยิ่ง สมดังคำที่ว่า สุขอื่นยิ่งกว่านิพพานไม่มีค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทุกข์กาย เป็นผลของอกุศลกรรม ,ทุกข์ใจ เป็นเรื่องของกิเลส, สุขกาย เป็นผลของกุศลกรรม, สุขใจ เป็นโสมนัสสเทวนา โสมนัสสเวทนานั้น เกิดกับอกุศล ก็ได้ เกิดร่วมกับ กุศล ก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าจะเกิดร่วมกับจิตประเภทใด ในคำสอนทางพระพุทธศาสนา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงถึงสิ่งที่จะนำมาซึ่งความสุข หลายๆ ประการ มีทั้งความสุขที่เป็นไปในชีวิตประจำวัน และความสุขอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นความสุขอย่างแท้จริงคือการดับกิเลสได้โดยเด็ดขาด สิ้นวัฏฏะ ไม่กลับมาเกิดอีกเลย ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ สิ่งที่นำความสุขมาให้ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ หลักๆ แล้ว เพราะยังมีกิเลสทั้งหลาย มีอวิชชาและตัณหา เป็นต้น จึงเป็นเหตุนำมาซึ่งทุกข์ เพราะเหตุว่า เมื่อยังมีกิเลสโดยเฉพาะอวิชชาและตัณหา จึงทำให้มีการเกิดในภพต่างๆ อยู่ร่ำไป ที่เรามีทุกข์ทั้งทุกข์กายและทุกข์ใจ นั้น ก็เพราะมีการเกิด ตราบใดที่ยังมีการเกิด ยังไม่พ้นจากทุกข์ หากไม่เกิดแล้ว ก็ย่อมจะไม่มีทุกข์เหล่านี้ ทั้งหมดนั้น ไม่พ้นไปจากธรรมที่มีจริงเลย ครับ. ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขอบคุณและขออนุโมทนาคะ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนา และอย่าลืมแชร์ความรู้กับเพื่อนๆ ด้วย
ขออนุโมทนา ครับ
เวทนา เป็นขันธ์ที่ ๒ ในขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
เวทนา เกิดจาก ผัสสะ (การกระทบ) ของ สฬายตนภายนอก กับ ภายใน
เวทนา เป็น ปัจจัย ให้เกิด ตัณหา
ตัณหา เป็นปัจจัย ให้เกิด อุปปาทาน (ความยึดมั่นถือมั่น)
อุปปาทาน เป็นปัจจัย ให้เกิด ภพ (ความมี ความเป็น)
ให้ ศึกษา (อ่าน ฟัง คิด พิจารณา ถาม จด จำ และ ทำ) เพิ่มเติม ในเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท
สุข ทุกข์ เกิด ที่ใจ จากใจ ใจหลงยึดมั่นถือมั่น ไม่รู้ธรรมชาติตามเป็นจริง
ที่จริง เป็นเพียงธาตุ ๔ ดินแข็ง น้ำเหลว ลมเคลื่อนไหว ไฟร้อนอบอุ่นเย็น
ที่จริง ไม่ใช่เราของเรา
ทำ แล้ว จะรู้
ปุถุชน คนธรรมดา เป็นผู้มากด้วยกิเลส ย่อม มี หลงโกรธโลภ เป็นธรรมดา
เพียงแต่ รู้ เฉยๆ
ใจ มี ๔ หน้าที่ รับ รู้ คิด เก็บ
เมื่อ ใจ ทำหน้าที่ เรียกว่า จิต
ใจ เป็นธรรมชาติ ต้องทำหน้าที่
หากว่ามีสติ (ระลึกรู้) อาการของจิตใจ ปัญญาเห็นอาการเกิดขึ้น แปรไป ดับไป ของจิตใจ
เห็น ไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) ชัดเจน
ก็ เกิดที่ใจ ดับที่ใจ ก็ เห็น"นิพพาน"
คนปุถุชน ทำ ไม่ได้ ต้อง พัฒนา ครับ
ขอ อนุโมทนา ครับ
สวัสดี ครับ
ทุกข์กับสุขเป็นเรื่องของขันธ์ ไม่ใช่ของเรา เมื่อเห็นว่าไม่ใช่เรา ความทุกข์ก็น้อยลง
และเมื่อไหร่ปล่อยวางขันธ์ นั่นแหละถึงหมดทุกข์ เพราะไม่มีอุปาทานขันธ์
อนุโมทนา