ได้ฟังเทปที่ท่านอาจารย์สุจินต์ บรรยายไว้เกี่ยวกับปลิโพธ ซึ่งหมายถึงเครื่องกังวลใจ ประการที่ ๑ - ๙ นั้นเช่น กังวลเรื่องที่อยู่อาศัย กังวลเรื่องเจ็บไข้ได้ป่วย เป็นต้น ไม่ขัดขวางการเจริญวิปัสสนา เมื่อความกังวลเกิดขึ้นผู้เจริญสติพิจารณารู้ลักษณะของ จิตในขณะนั้นได้ว่าเป็นเพียงลักษณะของจิตที่ขุ่นเคือง เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ละ ความยึดถือสภาพของจิตนั้นว่าเป็นตัวตนได้ เป็นจิตตานุปัสสนาสติปัฎฐาน ความ กังวลใจทุกคนมีเป็นปกติในชีวิตประจำวัน การอบรมเจริญสติปัฎฐานสามารถรู้ลักษณะ ของสภาพธรรมที่กำลังปรากฎขณะนั้นตามความเป็นจริงได้ เพราะฉะนั้นความกังวลใจจึงไม่เป็นเครื่องขัดขวางต่อการอบรมเจริญปัญญา รู้ลักษณะสภาพธรรมตาม ความเป็นจริงได้
ขออนุโมทนาค่ะ
สาธุ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ.
ห้ามความวิตกกังวล..ห้ามไม่ได้เพราะธรรมะเป็นอนัตตารู้ลักษณะของจิตในขณะกังวลว่าเป็นเพียงลักษณะของจิตที่ขุ่นข้องเป็นจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานเป็นการเจริญปัญญา อันเป็นหนทางเดียวที่จะละความวิตกกังวลได้สิ้นจากข้อความในพระไตรปิฏก...
เชิญคลิกอ่าน...
อนิมิตตสมาธิดับอกุศลวิตก ๓
ในพระพุทธศาสนามีวิธีแก้ความวิตกกังวลไว้อย่างไรบ้างครับ
มีความฟุ้งซ่านคิดวิตกกังวลจะแก้อย่างไร
ความวิตกกังวล
มีความวิตกกังวลล่วงหน้า
ขอให้กำลังใจคนช่างวิตกกังวล (รวมทั้งตัวเอง) .....สู้ๆ ๆ คะ
ขออนุโมทนา
ขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาค่ะ
ตราบใดที่ยังไม่ได้ดับกิเลสความกังวลใจก็ย่อมเกิดขึ้นเป็นปกติ ผู้ที่เจริญสติปัฏฐาน ระลึกรู้ลักษณะธรรมะที่กำลังปรากฏในขณะนั้น ไม่ว่าจะเป็นความกังวลหรือเป็นสภาพ ธรรมะอื่นๆ ก็ตาม เพราะธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา และเป็นอารมณ์ของสติปัฏฐานค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
ขอเชิญอ่านเพิ่มเติม จาก ...
คำบรรยายของ ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์
ปลิโพธ เป็นความห่วงใย เป็นความกังวล
ขอต่อไปถึงเรื่องของปลิโพธ ซึ่งคำว่า ปลิโพธ เป็นความห่วงใย เป็นความกังวล ผู้ที่ยังไม่หมดกิเลส ก็ย่อมมีความกังวล ย่อมมีความห่วงใย เป็นของที่แน่นอนที่สุด ไม่ว่าคฤหัสถ์หรือบรรพชิต เพราะเหตุว่าเรื่องของปลิโพธ มีกล่าวไว้โดยละเอียดใน วิสุทธิมรรค สมาธินิทเทส วิสุทธิมรรค มี ๓ ภาค คือ ศีลนิทเทส สมาธินิทเทส ปัญญานิทเทส