[เล่มที่ 19] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 278
๓. มหาเวทัลลสูตร
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 19]
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 278
๓. มหาเวทัลลสูตร
[๔๘๓] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ :-
"สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับที่พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกะ กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโกฏฐิกะออกจากที่เร้นในเวลาบ่ายแล้วเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่พักแล้วก็ชื่นชมกับท่านพระสารีบุตร เมื่อเสร็จถ้อยคําที่ทําให้เกิดความชื่นชม เป็นที่ตั้งแห่งความระลึกนึกถึงกันแล้ว ก็นั่งลงในควรส่วนหนึ่ง."
[๔๙๔] เมื่อท่านพระมหาโกฏฐิกะ นั่งลงในที่ควรส่วนหนึ่งแล้วก็ได้พูดกับท่านพระสารีบุตรอย่างนี้ว่า "ท่าน คําที่เขาเรียกกันว่า "คนมีปัญญาชั่วๆ " (นั้น) ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอท่าน เขาจึงเรียกว่า"คนมีปัญญาชั่ว"
สา. " ที่เขาเรียกว่า คนมีปัญญาชั่ว (คนโง่) ก็เพราะเขาไม่รู้ชัดไม่เข้าใจแจ่มแจ้งนั่นแหละคุณ ก็เขาไม่รู้ชัดอะไรเล่า? เขาไม่รู้ชัดว่า " นี้ทุกข์ "" นี้เหตุให้เกิดทุกข์ขึ้น ". ไม่รู้ชัดว่า " นี้ความดับทุกข์ได้โดยไม่เหลือ ",ไม่รู้ชัดว่า " นี้ข้อปฏิบัติ ให้ถึงความดับทุกข์ได้โดยไม่เหลือ ", ที่เรียกว่า" คนโง่." ก็เพราะเขาไม่รู้ชัดไม่เข้าใจ (อริยสัจ) นี่แหละคุณ "
"ดีมากครับท่าน " ท่านพระมหาโกฏฐิกะ ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตร แล้วก็ถามปัญหากับท่านพระสารีบุตรให้ยิ่งขึ้นไปว่า " ท่านครับ คําที่เขาว่า คนมีปัญญาๆ (นั้น) ด้วยเหตุมีประมาณเพียงไรหนอท่าน เขาจึงเรียกว่า " คนมีปัญญา "
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 279
สา. "คุณ! ที่เขาเรียกว่า "คนมีปัญญา" ก็เพราะ "เขาเข้าใจชัดเข้าใจแจ่มแจ้ง" นั่นแหละ. เข้าใจแจ่มแจ้งอะไรเล่า เข้าใจแจ่มแจ้งว่า "นี้ทุกข์",เข้าใจแจ่มแจ้งว่า "นี้เหตุให้ทุกข์เกิดขึ้น" เข้าใจแจ่มแจ้งว่า "นี้ความดับทุกข์ได้โดยไม่เหลือ". ที่เรียกว่า "คนมีปัญญา" ก็เพราะเข้าใจชัดเข้าใจแจ่มแจ้ง (อริยสัจ) นี่แหละคุณ"
โก. "ท่านครับ ที่เขาเรียกว่า "วิญญาณๆ (ความรู้แจ้ง) " (นั้น) ,เขาเรียกว่า "วิญญาณ" ด้วยเหตุมีประมาณเพียงไรหนอ ท่าน?"
สา. "คุณ! ที่เรียกว่า"วิญญาณ" ก็เพราะเป็นธรรมชาติที่ย่อมรู้แจ่ม ย่อมรู้แจ้ง นั่นแหละ. รู้แจ้งอะไรเล่า ย่อมรู้แจ้งว่า "สุข" บ้างย่อมรู้แจ้งว่า "ทุกข์" บ้าง, ย่อมรู้แจ้งว่า "ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข (๑) "บ้าง. ที่เรียกว่า"วิญญาณ" ก็เพราะเป็นธรรมชาติที่ย่อมรู้แจ้งดังนี้แหละคุณ!"
โก. "เอะ ท่านครับ ธรรมคือปัญญาความรู้ชัดและวิญญาณความรู้แจ้งเหล่านี้ มันคละกัน หรือมันแยกกัน และก็ เราจะแยกแยะธรรมเหล่านี้แล้วบัญญัติให้แตกต่างกันได้ไหม"
สา. "คุณ ธรรมคือปัญญาความรู้ชัดและวิญญาณความรู้แจ้งเหล่านี้มันคละกันแยกกันไม่ได้ และเราจะแยกแยะธรรมเหล่านี้แล้วบัญญัติให้แตกต่างกันก็ไม่ได้ด้วย. คุณ เพราะอันใดเป็นความรู้ชัด. อันนั้นเป็นความรู้แจ้งอันใดเป็นความรู้แจ้ง อันนั้นเป็นความรู้ชัด, ฉะนั้น ธรรมเหล่านี้จึงคละกันแยกจากกันไม่ออก และเราจะแยกแยะแล้วบัญญัติให้แตกต่างกันก็ไม่ได้ด้วย"
(๑) เคยเห็นมา วิญญาณ คือ จักขุวิญญาณ เป็นต้น, ในที่นี้รู้แจ้งเวทนา น่าคิด.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 280
โก. "อ้าวท่านครับ เมื่อธรรมคือปัญญาและวิญญาณเหล่านี้มันคละกัน แยกจากกันไม่ออกแล้วอะไรล่ะ ที่ทําให้แตกต่างกัน"
สา. "คุณ เมื่อธรรมคือปัญญาและวิญญาณเหล่านี้ มันคละกัน แยกจากกันไม่ได้. ปัญญาอันบุคคลต้องอบรม วิญญาณอันบุคคลต้องกําหนดรู้ นี้ เหตุที่ทําให้แตกต่างกันของธรรมเหล่านั้น."
[๔๙๕] "ท่านครับ ที่เรียกว่า เวทนา เวทนา (ความรู้สึกๆ) " (นั้น) ด้วยเหตุมีประมาณเพียงไรหนอ ท่าน เขาจึงเรียกว่า เวทนา?"
สา. "ที่เขาเรียกว่า "เวทนา" ก็เพราะเป็นธรรมชาติที่ย่อมเสวยย่อมรู้สึกนั่นแหละ. ณ รู้สึกอะไรเล่า? รู้สึกสุขบ้างรู้สึกทุกข์บ้างรู้สึกไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง. ที่เรียกว่า "เวทนา" ก็เพราะเป็นธรรมชาติที่ย่อมเสวยย่อมรู้สึกนั่นแหละคุณ.
โก. "ที่เรียกกันว่า "สัญญาๆ (ความจําได้หมายรู้) " ล่ะครับท่านเขาเรียกว่า "สัญญา" กันด้วยเหตุมีประมาณเพียงไรครับ"
สา. "ที่เรียกกันว่า "สัญญา" (นั้น) นะคุณ ก็เพราะเป็นธรรมชาติที่ย่อมจําได้ย่อมหมายรู้ จําได้หมายรู้อะไรเล่า? ย่อมจําได้หมายรู้สีเขียวบ้าง..สีเหลืองบ้าง... แดงบ้าง...สีขาวบ้าง. ที่เรียกว่า "สัญญา" ก็เพราะเป็นธรรมชาติที่ย่อมจําได้ ย่อมหมายรู้นั่นแหละคุณ"
โก. "ท่านครับ ธรรมคือเวทนา สัญญาและวิญญาณ เหล่านี้มันคละกัน หรือแยกออกจากกัน และเราพอจะแยกแยะธรรมเหล่านี้แล้วบัญญัติให้แตกต่างกันได้ไหม"
สา. "คุณ ธรรมคือเวทนา สัญญาและวิญญาณเหล่านี้ มันคละกัน แยกจากกันไม่ออก และเราจะแยกแยะธรรมเหล่านี้แล้วบัญญัติให้แตก
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 281
ต่างกันก็ไม่ได้ด้วย. คุณ เพราะเวทนารู้สึกสิ่งใด สัญญาก็จําสิ่งนั้นสัญญาจําสิ่งใด วิญญาณก็รู้แจ้งสิ่งนั้น. ฉะนั้น สิ่งเหล่านี้จึงเกี่ยวข้องกัน แยกกันไม่ออก และเราจะแยกแยะธรรมเหล่านี้แล้วบัญญัติให้แตกต่างออกไป ก็ไม่ได้ด้วย."
[๔๙๖] โก. "ท่านครับ ก็มโนวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางใจ) ที่สละหมดจดแล้วด้วยอินทรีย์ห้า พึงนําอะไรมา?"
สา. "คุณ มโนวิญญาณที่สละหมดจดแล้วด้วยอินทรีย์ห้า พึงนําอากาสานัญจายตนะที่บริกรรมว่า "อากาศไม่มีที่สุด" มา, นําวิญญาณัญจายตนะที่บริกรรมว่า "วิญญาณไม่มีที่สุด" มา, นําอากิญจัญญายตนะที่บริกรรมว่า "อะไรๆ ก็ไม่มี (หรือ น้อยหนึ่ง ก็ไม่มี) มา."
โก. "ท่านครับ ก็บุคคลจะทราบไนยธรรม (สิ่งที่ถูกนํามา-ไป) ได้ด้วยอะไร"
สา. "ทราบไนยธรรมได้ด้วยปัญญาจักษุ (ตาคือปัญญา) ซิคุณ"
โก. "ปัญญา (มี) เพื่อประโยชน์อะไรล่ะท่าน"
สา. "ปัญญาที่แล มีเพื่อประโยชน์แก่การรู้ยิ่ง เพื่อประโยชน์แก่การรู้รอบ (กําหนดรู้) เพื่อประโยชน์แก่การละซิคุณ"
[๔๙๗] โก. "ก็แลปัจจัยเพื่อจะทําให้เกิดความเห็นที่ถูกต้อง (สัมมาทิฏฐิ) ขึ้นมีเท่าไรล่ะครับ"
สา. ปัจจัยที่ทําให้เกิดความเห็นที่ถูกต้องขึ้นมี ๒ อย่างแหละคุณคือ เสียง (ก้อง) จากคนอื่น และการเอาใจใส่อย่างมีเหตุผลเหล่านี้แลคุณคือปัจจัย ๒ อย่างที่ทําให้เกิดความเห็นที่ถูกต้องขึ้น"
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 282
โก. "ด้วยองค์เท่าไรล่ะครับท่าน ความเห็นที่ถูกต้องที่ประดับประคองแล้ว ย่อมมีเจโตวิมุตติ (หลุดพ้นด้วยใจ) เป็นผลและมีเจโตวิมุตติเป็นผลานิสงส์, มีปัญญาวิมุตติ (หลุดพ้นด้วยปัญญา) เป็นผล และมีปัญญาวิมุตติเป็นผลานิสงส์"
สา. "ก็ด้วยองค์ห้านี่แลคุณ ความเห็นที่ถูกต้องที่บุคคลประดับประคองแล้ว ย่อมมีเจโตวิมุตติเป็นผลและมีเจโตวิมุตติเป็นผลานิสงส์, มีปัญญาวิมุตติเป็นผลและมีปัญญาวิมุตติเป็นผลานิสงส์. คุณ ในองค์ทั้งห้าคือความเห็นที่ถูกต้องอันศีลประดับประคองไว้ ๑ อันสุตะ (การฟัง, ศึกษาเล่าเรียน) ประคับประคองไว้๑ อันสากัจฉา (คุยแลกเปลี่ยนความรู้กัน) ประคับประคองไว้๑ อันสมถะ (อุบายเครื่องเรื่องปัญญา) ประคับประคองไว้ ๑.อันวิปัสสนา ประคองไว้ ๑ คุณ ก็แลความเห็นที่ถูกต้องซึ่งองค์ทั้งห้าเหล่านี้แลประดับประคองแล้วย่อมมีผลเป็นเจโตวิมุตติและย่อมมีผลานิสงส์เป็นเจโตวิมุตติ ย่อมมีผลเป็นปัญญาวิมุตติและย่อมมีผลานิสงส์เป็นปัญญาวิมุตติ."
[๔๙๘] โก. "ภพมีเท่าไรครับท่าน"
สา. "ภพมี๓ อย่างซิคุณ. เหล่านี้คือกามภพ รูปภพและอรูปภพ."
โก. "การเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป จะมีได้อย่างไรครับท่าน?"
สา. "สําหรับพวกสัตว์ที่ยังมีความไม่รู้กางกั้น มีความทะยานอยากผูกไว้ ก็ยังมีความเพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ นะคุณเอย. แบบนี้ก็ยังมีการเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไปอีก."
โก. "ทําอย่างไรครับท่าน. จึงจะไม่มีการเกิดภพใหม่ขึ้นมาอีกต่อไป."
สา. "เพราะสํารอกความไม่รู้ทําความรู้ให้เกิดขึ้น ดับความทะยานอยากได้โดยไม่เหลือ แบบนี้ซิคุณ จึงจะไม่มีการเกิดภพใหม่ขึ้นมาอีกต่อไป."
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 283
[๔๙๙] "ท่านครับ ก็ฌานที่๑ เป็นไฉน"
สา. "คุณ ภิกษุในพระศาสนานี้ เพราะสงัดจากกามทั้งหลายได้จริงๆ เพราะสงัดจากเรื่องอกุศลทั้งหลายจึงเข้าถึงฌานที่๑ ที่ยังมีความตรึก ยังมีความตรอง มีความอิ่มเอิบและความสบายที่เกิดจากความสงัดแล้วแลอยู่. นี้คุณ เรียกว่าฌานที่ ๑"
โก. "ฌานที่ ๑ มีองค์เท่าไรครับท่าน?"
สา. "ฌานที่๑ แลมีองค์ห้าซิคุณ คือคุณในกรณีนี้ความตรึก๑ ความตรอง ๑ ความอิ่มเอิบ ๑ ความสบาย ๑ ความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว ๑ ย่อมเป็นไปแก่ภิกษุผู้เข้าฌานที่ ๑ ซึ่งมีองค์๕ คุณ ฌานที่๑ แลมีองค์ ๕ อย่างนี้.
โก. "ก็ฌานที่ ๑ ละองค์เท่าไร? ประกอบด้วยองค์เท่าไรครับท่าน"
สา. "คุณ ฌานที่๑ แลละองค์ ๕ ประกอบด้วยองค์๕ คือ คุณในกรณีนี้เมื่อภิกษุเข้าสู่ฌานที่ ๑ ความพอใจในกาม ก็เป็นอันละได้ความคิดปองร้ายก็เป็นอันละได้, ความง่วงเหงาหาวนอน (ความท้อใจและความท้อ (นาม) กาย) ก็เป็นละได้, ความฟุ้งซ่านและรําคาญก็เป็นละได้, ความสงสัยก็เป็นละได้. ความตรึก ๑ ความตรอง ๑ ความเอิบอิ่ม ๑ ความสบาย๑ ความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว ๑. คุณ ฌานที่ ๑ นี่แลละองค์ ๕ ประกอบด้วยองค์ ๕ อย่างนี้."
[๕๐๐] โก. "ท่านครับ เหล่านี้คืออินทรีย์ห้า ที่มีวิสัย (อารมณ์) ต่างกันคือ มีโคจร (อารมณ์สําหรับเที่ยวไป) ต่างกัน ไม่เสวยโคจรวิสัย (อารมณ์) ของกันและกัน คืออินทรีย์คือตา อินทรีย์คือหูอินทรีย์คือจมูกอินทรีย์คือลิ้น อินทรีย์คือกาย. ท่านครับ อะไรเป็นที่พึ่งอาศัย ของอินทรีย์
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 284
ทั้งห้าเหล่านี้แล ซึ่งมีวิสัยต่างกัน คือมีโคจรต่างกัน ไม่เสวยโคจรวิสัยของกันและกัน และอะไร เสวยเฉพาะโคจรวิสัยของอินทรีย์เหล่านั้น"
สา. "คุณ อินทรีย์ห้าเหล่านี้ ที่มีวิสัยต่างกัน คือมีโคจรต่างกัน ไม่เสวยเฉพาะโคจรวิสัยของกันและกันคือ อินทรีย์คือตา...หู...จมูก...ลิ้น...กาย. คุณ อะไร เป็นที่พึ่งอาศัยของอินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้แล ซึ่งมีวิสัยต่างกัน คือมีโคจรต่างกัน ใช้ทําหน้าที่รับอารมณ์แทนกันไม่ได้. และใจใช้ทําหน้าที่รับอารมณ์แทนอินทรีย์เหล่านั้นได้ (คือใจคิดถึงรูปเป็นต้นได้)."
[๕๐๑] โก. "ท่านครับ อินทรีย์ห้าเหล่านี้คืออินทรีย์คือ ตา...หู...จมูก...ลิ้น...กาย. คุณ อินทรีย์ห้าเหล่านี้แลอาศัยอายุตั้งอยู่ได้."
โก. "ก็อายุอาศัยอะไรจึงตั้งอยู่ได้ครับท่าน"
สา. "อายุอาศัยไออุ่น (เตโชธาตุ) จึงตั้งอยู่ได้ (คุณ) "
โก. "ก็ไออุ่นอาศัยอะไรจึงตั้งอยู่ได้ครับท่าน"
สา. "ไออุ่นก็อาศัยอายุจึงตั้งอยู่ได้ (คุณ) "
โก. "พวกเราเพิ่งรู้ภาษิตของท่านพระสารีบุตรเดี๋ยวนี้เอง อย่างนี้ว่า "อายุอาศัยไออุ่น ตั้งอยู่". พวกเราเพิ่งรู้ภาษิตของท่านพระสารีบุตรเมื่อกี้นี้เองอย่างนี้ว่า "ไออุ่นก็อาศัยอายุตั้งอยู่". ท่านครับ พวกเราจะพึงทราบใจความของคําที่ท่านกล่าวนี้ได้อย่างไร"
สา. "คุณ ถ้าอย่างนั้น ผมจะทําการเปรียบเทียบให้คุณ (ฟัง). รู้บางท่าน ในโลกนี้ย่อมเข้าใจเนื้อความของคําที่กล่าวแล้ว ด้วยการเปรียบเทียบก็มีคืออายุย่อมอาศัยไออุ่นตั้งอยู่ (และ) ไออุ่นก็อาศัยอายุตั้งอยู่เหมือนตะเกียงน้ำมันที่กําลังไหม้แสงย่อมอาศัยเปลวไฟจึงปรากฏ (และ) เปลวไฟก็ย่อมอาศัยแสงจึงจะปรากฏ ฉันใด ก็ฉันนั้นนั่นแล.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 285
โก. "ท่านครับ อายุสังขารก็อันนั้นแหละ สิ่งที่จะพึงรู้ก็อันนั้นหรือหนอ? หรือว่า อายุสังขาร เป็นอันอื่น สิ่งที่จะพึงรู้ก็เป็นอันอื่น?"
สา. "หามิได้เลยคุณ ที่อายุสังขารก็อันนั้นแหละ สิ่งที่จะพึงรู้ก็เป็นอันนั้น, คุณ ถ้าอายุสังขารจะได้เป็นอันนั้น, สิ่งที่จะพึงรู้ก็จะได้เป็นอันนั้น, การออกของภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธนี้ก็จะพึงปรากฏไม่ได้แต่เพราะอายุสังขารก็เป็นอันอื่น สิ่งที่จะพึงรู้ก็เป็นอันอื่น, ฉะนั้น การออกของภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ (ดับสัญญาและเวทนา=ดับจิตใจ) จึงปรากฏ."
[๕๐๒] โก. "ท่านครับ เมื่อไรหนอ สิ่งกี่อย่างจึงจะละร่างนี้ไป แล้วก็ตอนนั้น ร่างนี้ ก็ถูกทิ้งถูกวางลง นอนเหมือนกับท่อนไม้ที่ไร้จิตใจหรือ"
สา. "คุณ เมื่อใดแล สิ่งสามอย่างคืออายุไออุ่น และวิญญาณ ละร่างนี้ไป, เมื่อนั้นร่างนี้ก็ถูกทิ้งถูกวางลง นอนเหมือนกับท่อนไม้ที่ไร้จิตใจ.
โก. "อะไรที่เป็นเครื่องทําให้แตกต่างกันระหว่างคนที่ตายผู้ทํากาละแล้วกับผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธเหล่านี้ครับท่าน"
สา. "คุณ สําหรับผู้ที่ตายทํากาละแล้วนี้นั้น เครื่องปรุงกาย (ลมหายใจเข้าออก) ดับ สงบไปแล้ว, เครื่องปรุงจิต (ความรู้สึก ความจําได้) ดับ สงบไปแล้ว, อายุก็หมดสิ้นแล้ว, ไออุ่นก็ระงับไปแล้ว, อินทรีย์ทั้งหลายก็พังทะลายแล้ว, และสําหรับภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธนี้นั้น เครื่องปรุงกายก็ดับสงบไปแล้ว, เครื่องปรุงวาจาก็ดับสงบไปแล้ว, เครื่องปรุงจิต ก็ดับสงบไปแล้ว; (แต่) อายุยังไม่หมดสิ้น, ไออุ่นก็ยังไม่ระงับ, อินทรีย์ทั้งหลายกลับผ่องใสเป็นพิเศษ, นี้คือข้อที่ทําให้แตกต่างกันระหว่างผู้ที่ตายทํากาละแล้วกับผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธเหล่านั้น"
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 286
[๕๐๓] โก. "ก็แลปัจจัยแห่งการเข้าถึงเจโตวิมุตติที่ไม่ใช่ทุกข์และไม่ใช่สุขมีเท่าไรครับท่าน?"
สา. "มีสี่อย่างแหละคุณ ปัจจัยแห่งการเข้าถึงเจโตวิมุตติ ที่ไม่ใช่ทุกข์และไม่ใช่สุข. คือ ภิกษุในพระศาสนานี้ คุณ เพราะละสุขและละทุกข์ได้ เพราะความดีใจและความเสียใจดับไปได้ก่อน, เข้าถึงฌานที่สี่ที่ไม่ใช่ทั้งทุกข์ทั้งสุข มีความรู้สึกเฉยๆ เพราะมีสติหมดจดแล้วแลอยู่. นี้แลคุณ ปัจจัยสี่อย่างแห่งการเข้าถึงเจโตวิมุตติที่ไม่ใช่ทั้งทุกข์ทั้งสุข."
โก. "ก็แลปัจจัยแห่งการเข้าถึงเจโตวิมุตติชนิดหาเครื่องหมายไม่ได้มีเท่าไรครับท่าน"
สา. "สําหรับปัจจัยแห่งการเข้าถึงเจโตวิมุตติชนิดไม่มีเครื่องหมาย มีสองอย่างได้แก่ ความไม่สนใจเครื่องหมายทุกอย่างและความสนใจธาตุที่ไม่มีเครื่องหมาย. นี้แลคุณ ปัจจัยสองอย่างแห่งการเข้าถึงเจโตวิมุตติชนิดไม่มีเครื่องหมาย.
โก. "สําหรับปัจจัยแห่งการดํารงอยู่แห่งเจโตวิมุตติที่ไม่มีเครื่องหมาย มีเท่าไรครับท่าน"
สา. "มีสามอย่างซิคุณ ปัจจัยแห่งการดํารงอยู่แห่งเจโตวิมุตติที่ไม่มีเครื่องหมายคือความไม่สนใจเครื่องหมายทุกอย่าง ความสนใจธาตุที่ไม่มีเครื่องหมายและการตระเตรียมไว้ล่วงหน้านี้แล คุณ ปัจจัยสามอย่างแห่งการดํารงอยู่แห่งเจโตวิมุตติที่ไม่มีเครื่องหมาย"
โก. "ก็แหละปัจจัยแห่งการออกจากเจโตวิมุตติที่ไม่มีเครื่องหมาย มีกี่อย่างครับท่าน"
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 287
สา. "ปัจจัยแห่งการออกจากเจโตวิมุตติที่ไม่มีเครื่องหมายมีสองอย่างคุณ คือความสนใจเครื่องหมายทุกอย่างและความไม่สนใจธาตุที่ไม่มีเครื่องหมาย. นี้แลคุณ ปัจจัยแห่งการออกจากเจโตวิมุตติที่ไม่มีเครื่องหมายสองอย่าง"
[๕๐๔] โก. "ท่านครับ สิ่งที่เป็นเจโตวิมุตติ ที่ไม่จํากัดขอบเขต, ที่เป็นเจโตวิมุตติที่เกิดจากบริกรรมว่าอะไรน้อยหนึ่งก็ไม่มี, ที่เป็นเจโตวิมุตติชนิดที่มีแต่ความว่างเปล่าเป็นอารมณ์ และที่เป็นเจโตวิมุตติชนิดที่ไม่มีอะไรเป็นเครื่องหมายเหล่านี้ ใจความก็ต่างกันและพยัญชนะก็ต่างกันหรือใจความเป็นอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น"
สา. "คุณ เจโตวิมุตติที่ไม่จํากัดขอบเขต อันใด, เจโตวิมุตติที่เกิดจากบริกรรมว่าอะไรน้อยหนึ่งก็ไม่มีอันใด, เจโตวิมุตติที่มีแต่ความว่างเปล่าเป็นอารมณ์อันใด และเจโตวิมุตติชนิดที่ไม่มีอะไรเป็นเครื่องหมายอันใด,คุณ แบบที่เมื่ออาศัยแล้วสิ่งเหล่านี้มีใจความต่างกัน และมีพยัญชนะต่างกัน ก็มี, และแบบที่เมื่ออาศัยแล้ว สิ่งเหล่านี้มีใจความเป็นอย่างเดียวกันต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น ก็มีนะคุณ".
"แบบที่เมื่ออาศัยแล้ว สิ่งเหล่านี้มีใจความต่างกัน และมีพยัญชนะก็ต่างกัน เป็นไฉน เล่าคุณ คือ :-
"คุณ ภิกษุในพระศาสนานี้ ใช้จิตที่ไปด้วยกันกับความรัก แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งแล้วแลอยู่, ทิศที่สองก็อย่างนั้น, ทิศที่สามก็อย่างนั้น, ทิศที่สี่ก็อย่างนั้น. เธอใช้จิตที่ประกอบด้วยความรัก อันกว้างขวาง ยิ่งใหญ่หาขอบเขตไม่ได้ ไม่มีแวว ไม่มีความคิดแก้แค้น แผ่ไปทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ทุกหนทุกแห่ง ทั่วโลกทั้งหมดอย่างหมดสิ้นด้วยประการฉะนี้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 288
แล้วแลอยู่. เธอใช้จิตที่ประกอบด้วยความสงสาร...ที่ประกอบด้วยความรู้สึกพลอยยินดีด้วย... ที่ประกอบด้วยความรู้สึกวางเฉย แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งแล้วแลอยู่. ทิศที่สองก็อย่างนั้น, ทิศที่สามก็อย่างนั้น, ทิศที่สี่ก็อย่างนั้น.เธอใช้จิตที่ประกอบด้วยความรู้สึกเฉยๆ อันกว้างขวางยิ่งใหญ่ ไร้ขอบเขต ไม่มีเวรไม่มีความคิดแก้แค้น แผ่ไปทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวางทุกแห่งหน จนหมดสิ้นทั่วทั้งโลก ดังที่ว่ามานี้แล้วแลอยู่. นี้คุณ เรียกว่าเจโตวิมุตติที่ไม่จํากัดขอบเขต.
"ก็เจโตวิมุตติที่เกิดจากบริกรรมว่า อะไรน้อยหนึ่งไม่มีเป็นไฉนเล่าคุณ คือ :-
"คุณ ภิกษุในพระคาสนานี้เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวงได้เป็นอย่างดีจึงเข้าถึงอากิญจัญญายตนะด้วยบริกรรมว่า "น้อยหนึ่งก็ไม่มี" แล้วแลอยู่. คุณ นี้เรียกว่า เจโตวิมุตติที่เกิดจากบริกรรมว่าอะไรน้อยหนึ่งก็ไม่มี.
"ก็เจโตวิมุตติที่มีแต่ความว่างเปล่าเป็นอารมณ์ เป็นไฉน เล่าคุณ คือ :-
"คุณ ภิกษุในพระศาสนานี้อยู่ในป่าอยู่ที่โคนไม้หรืออยู่ที่เรือนว่าง มาพิจารณาอย่างนี้ว่า นี้เป็นของว่างจากตนหรือจากของตน".คุณ นี้เรียกว่า เจโตวิมุตติชนิดที่มีแต่ความว่างเปล่าเป็นอารมณ์.
"สําหรับเจโตวิมุตติที่ไม่มีอะไรเป็นนิมิตเป็นไฉน เล่าคุณ คือ :-
"คุณ ภิกษุในพระศาสนานี้เพราะเลิกสนใจนิมิตทุกอย่าง จึงเข้าถึงเจโตสมาธิ (ความตั้งมั่นของจิตใจ) ที่ไม่มีอะไรเป็นนิมิต แล้วแลอยู่. คุณนี้เรียกว่า เจโตวิมุตติที่ไม่มีอะไรเป็นนิมิต.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 289
"นี้แล ณ แบบที่เมื่ออาศัยแล้ว สิ่งเหล่านี้มีใจความต่างกัน และมีพยัญชนะต่างกัน.
"คุณ แบบที่เมื่ออาศัยแล้ว สิ่งเหล่านี้มีใจความเป็นอย่างเดียวกันพยัญชนะเท่านั้นที่ต่างกันเป็นไฉน คือ :-
"ความรักเทียวคุณ เป็นเครื่องทําประมาณ (ขอบเขตจํากัด) , ความคิดประทุษร้ายเป็นเครื่องทําประมาณ, ความหลง เป็นเครื่องทําประมาณ,ความรัก โกรธ หลงเหล่านั้น อักภิกษุผู้สิ้นกิเลสเครื่องหมักดองได้ละแล้วถอนรากได้แล้ว มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา. คุณ เจโตวิมุตติทั้งหลาย ที่หาขอบเขตไม่ได้ อันไม่กําเริบ มีประมาณเพียงใดแล, ท่านย่อมกล่าวเจโตวิมุตติว่าเป็นเลิศกว่าเจโตวิมุตติเหล่านั้น เพราะเจโตวิมุตติที่ไม่กําเริบนั้นแล เป็นธรรมชาติที่ว่างจากความรัก, ว่างจากความโกรธ (โทสะ) ว่างจากความหลง. ความรักเทียวคุณ เป็นความกังวล, ความโกรธ (โทสะ) เป็นความกังวล, ความหลงเป็นความกังวล, ความรัก โกรธ หลงเหล่านั้น อันภิกษุผู้กิเลสเครื่องหมักดอง ละได้แล้วถอนรากได้แล้ว ทําให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ทําให้ไม่มีไม่เป็นแล้ว มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา. คุณ เจโตวิมุตติทั้งหลาย ที่เกิดจากบริกรรมว่าอะไรน้อยหนึ่งไม่มี (ไม่มีความกังวล) อันไม่กําเริบ มีประมาณเพียงใดแล, เจโตวิมุตติอันท่านย่อมกล่าวว่าเป็นยอดแห่งเจโตวิมุตติเหล่านั้น. เพราะเจโตวิมุตติที่ไม่กําเริบนั้น เป็นธรรมชาติที่ว่างจากความรัก, ว่างจากความโกรธ (โทสะ) , ว่างจากความหลง ความรักเทียวคุณเป็นเครื่องทํานิมิต, ความโกรธ (โทสะ) เป็นเครื่องทํานิมิต, ความหลงเป็นเครื่องทํานิมิต, ความรัก โกรธหลง เหล่านั้นอันภิกษุผู้สิ้นกิเลสเครื่องหมักดอง ละได้แล้ว ถอนรากได้แล้ว ทําให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ทําให้ไม่มีไม่เป็นแล้ว มีความไม่เกิด
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 290
ขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา. ณ เจโตวิมุตติทั้งหลายชนิดที่ไม่มีเครื่องหมายอันไม่กําเริบมีประมาณเพียงใดแล ท่านกล่าวเจโตวิมุตติว่าเป็นยอดแห่งเจโตวิมุตติเหล่านั้น. เพราะเจโตวิมุตติที่ไม่กําเริบนั้นเป็นธรรมชาติที่ว่างจากความรัก, ว่างจากความโกรธ (โทสะ) , ว่างจากความหลง. นี้แลคุณ แบบที่เมื่ออาศัยแล้ว สิ่งเหล่านี้ ก็มีใจความอย่างเดียวกัน พยัญชนะเท่านั้น ที่แตกต่างออกไป.
ท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวธรรมบรรยายนี้จบแล้ว. ท่านพระมหาโกฏฐิกะก็เพลิดเพลินกับภาษิตของท่านพระสารีบุตรเป็นอย่างยิ่ง ด้วยประการฉะนี้.
จบมหาเวทัลลสูตร ที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 291
อรรถกถามหาเวทัลลสูตร
มหาเวทัลลสูตรขึ้นต้นว่า "ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้."ในคําเหล่านั้น คําว่า "ผู้มีอายุ" นี้เป็นคําแสดงความเคารพและความยําเกรง. คําว่า "มหาโกฏฐิกะ" เป็นชื่อของพระเถระนั้น. คําว่า "ออกจากที่เร้น" คือออกจากผลสมาบัติ. ในคําว่า "มีปัญญาทราม" นี้ คือ ขึ้นชื่อว่าปัญญาที่ชั่วทราม ไม่หมายความว่าไม่มีปัญญาคือไร้ปัญญา. คําว่า"ด้วยเหตุมีประมาณเพียงไรหนอแล" คือคําถามกําหนดเหตุ. หมายความว่าที่เรียกอย่างนั้น ด้วยเหตุเท่าไรหนอแล. ก็แลชื่อว่าการถามนี้ มี๕ อย่างคือ
๑. ถามเพื่อส่องสิ่งที่ยังไม่เห็น
๒. ถามเพื่อเทียบเคียงสิ่งที่เห็นแล้ว.
๓. ถามเพื่อตัดความสงสัย.
๔. ถามเพื่อซ้อมความเข้าใจ (ให้ยอมรับรู้, ให้อนุมัติ).
๕. ถามเพื่อต้องการแสดง (เสียเอง ถามเอง ตอบเอง).
ต่อไปนี้เป็นเหตุที่ทําให้การถามเหล่านั้น แตกต่างกันออกไป.
การถามเพื่อส่องสิ่งที่ยังไม่เห็นเป็นไฉน
โดยปกติ ผู้ที่ยังไม่เข้าใจ ยังไม่เห็น ยังไม่ชั่งยังไม่ไตร่ตรองยังไม่แจ่มแจ้ง ยังไม่อบรมลักษณะ ก็ถามปัญหาเพื่อเข้าใจ เพื่อเห็น เพื่อชั่ง (เทียบ) เพื่อไตร่ตรอง เพื่อแจ่มแจ้ง เพื่ออบรมลักษณะนั้น นี้คือการถามเพื่อส่องถึงสิ่งที่ยังไม่เห็น.
การถามเพื่อเทียบเคียงสิ่งที่เห็นแล้วเป็นไฉน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 292
โดยปกติ ผู้ที่เข้าใจได้เห็น ได้ชั่ง ได้ไตร่ตรองได้ทราบ ได้แจ่มแจ้ง ได้อบรมลักษณะไว้แล้ว ก็ยังถามปัญหาเพื่อต้องการเทียบเคียงกับหมู่ปราชญ์พวกอื่น นี้คือการถามเพื่อเทียบเคียง.
การถามเพื่อตัดความสงสัยเป็นไฉน
โดยปกติผู้ที่แล่นไปในความสงสัย แล่นไปในความเคลือบแคลงเกิดความคิดสองจิตสองใจว่า "เป็นอย่างนี้ หรือไม่หนอเป็นอะไรอย่างไรหนอ " ก็ถามปัญหาเพื่อต้องการตัดความสงสัย นี้คือการถามเพื่อตัดความสงสัย.
ส่วนการถือเอาความยอมรับรู้แล้วถามในเวลาแสดงธรรมอย่างนี้ว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเข้าใจข้อนั้นอย่างไรรูปเที่ยง หรือไม่เที่ยงไม่เที่ยง พระเจ้าข้า" ดังนี้เป็นต้น ชื่อว่าการถามเพื่อซ้อมความเข้าใจ.
การถามของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ทรงถามภิกษุสงฆ์ด้วยพระองค์เองแท้ๆ แล้วทรงต้องการตอบเสียด้วยพระองค์เอง แบบนี้ว่า "ภิกษุทั้งหลาย หลักตั้งมั่นของความระลึกเหล่านี้ มีสี่อย่าง สี่อย่างเป็นไฉน" ดังนี้เป็นต้น ชื่อว่าการถามเพื่อต้องการจะตอบ.
ในการถามห้าอย่างนั้น ในที่นี้ประสงค์เอาการถามเพื่อเทียบเคียงสิ่งที่เห็นแล้ว.
จริงอยู่พระเถระ นั่งในที่พักกลางวันของตนแล้วตั้งปัญหาขึ้นเองเมื่อจะตัดสินเสียเองก็ทําพระสูตรนี้ตั้งแต่เริ่มต้นให้จบได้ ก็แหละบางคนอาจตั้งปัญหาขึ้นได้ แต่ตัดสินไม่ได้ บางคนตัดสินได้ แต่ตั้งขึ้นไม่ได้ บางคนไม่ได้ทั้งสองอย่าง บางคนก็ได้ทั้งสองอย่าง ในคนเหล่านั้น พระเถระเป็นได้ทั้งสองอย่างทีเดียวเพราะเหตุไร เพราะมีปัญญามาก ก็เพราะอาศัยปัญญามากจึงได้พระเถระหลายรูปที่บรรลุฐานะพิเศษในศาสนานี้คือ พระสารีบุตร
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 293
เถระ พระมหากัจจายนะเถระ พระปุณณเถระ พระกุมารกัสสปเถระพระอานนทเถระ และพระคุณท่านรูปนี้แหละ.
จริงอยู่ ภิกษุที่มีปัญญาน้อยจะสามารถถึงที่สุดสาวกบารมีญาณไม่ได้ แต่ผู้มีปัญญามากจะสามารถถึงได้ เพราะความมีปัญญามากดังที่ว่ามานี้ พระสารีบุตรเถระ จึงได้บรรลุตําแหน่งนั้น. ผู้มีปัญญาเหมือนพระเถระไม่มีเลย. เพราะเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงตั้งท่านไว้ในตําแหน่งเลิศว่า "ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเลิศกว่าเหล่า
ภิกษุผู้มีปัญญามาก ซึ่งเป็นสาวกของเรานั้นคือ สารีบุตร.ภิกษุที่มีปัญญาน้อย แค่ขนาดนิดหน่อยก็แบบนั้น จะสามารถรวบรวมเอามาเทียบเคียงกับพระสัพพัญุตญาณ แล้วจําแนกเนื้อความของพระดํารัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างย่อๆ โดยพิสดารไม่ได้ แต่ผู้มีปัญญามากอาจทําได้. เพราะความเป็นผู้มีปัญญามากดังที่ว่ามานี้ พระมหากัจจายนะเถระจึงเป็นผู้มีความสามารถในเรื่องนั้น. เพราะเหตุนั้นเอง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงตั้งท่านไว้ ในตําแหน่งเลิศว่า "ภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นเลิศกว่าเหล่าภิกษุผู้จําแนกเนื้อความ ของคําที่เรากล่าวไว้อย่างย่อๆ โดยพิสดารได้ซึ่งเป็นสาวกของเรานั้น คือมหากัจจายนะ."
ภิกษุที่มีปัญญาน้อย ก็แบบนั้น จะกล่าวธรรมกถา ปรารภเรื่องที่พึงกล่าว ๑๐ ประการแล้วแจกแจงวิสุทธิ ๗ ประการจะไม่สามารถกล่าวธรรมกถาได้ แต่ผู้มีปัญญามากทําได้ เพราะความเป็นมีปัญญามากดังว่ามานี้ พระปุณณเถระจึงแสดงลีลาเหมือนพระจันทร์วันเพ็ญนั่งจับพัดที่วิจิตรบนที่นั่งแสดงธรรมที่ตกแต่งแล้วกล่าวธรรมกถากลางบริษัทสี่ เพราะเหตุนั้นเอง พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงตั้งท่านไว้ใน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 294
ตําแหน่งเลิศว่า "ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเลิศกว่าเหล่าภิกษุแสดงธรรม ซึ่งเป็นสาวกของเรานั้น คือ ปุณณะลูกชายนางพราหมณ์มันตานี."
ภิกษุที่มีปัญญาน้อย ก็แบบนั้น เมื่อจะกล่าวธรรมกถาก็ดําเนินไปอย่างสะเปะสะปะ เหมือนคนตาบอดถือไม้เท้าเดินสะเปะสะปะ และเหมือนคนไต่สะพานไม้ที่เป็นไปได้เพียงคนเดียว. แต่ผู้มีปัญญามากยกเอาคาถาแค่สี่บทมาตั้ง แล้วชักเอาข้อเปรียบเทียบและเหตุผลมารวมทําให้พระไตรปิฎกซึ่งเป็นพระพุทธดํารัส ซึ่งมีทั้งแบบต่ําและแบบสูงแสดงอยู่. ก็เพราะความเป็นผู้มีปัญญามาก พระกุมารกัสสปเถระจึงยกเอาคาถาแค่สี่บทมาตั้ง แล้วนําเอาข้อเปรียบเทียบและเหตุผลมาประกอบเข้ากับบทเหล่านั้น ทําให้พระไตรปิฎก ซึ่งเป็นพระพุทธดํารัส มีทั้งแบบต่ําและแบบสูงแสดงอยู่ เหมือนทําให้ดอกไม้ห้าสีบานอยู่ในสระธรรมชาติ หรือเหมือนจุดตะเกียงน้ำมัน พันไส้ให้โพลงอยู่บนยอดเขาสิเนรุ ฉะนั้น เพราะเหตุนั้นเองพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงตั้งท่านไว้ในตําแหน่งเลิศว่า "ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเลิศกว่าเหล่าภิกษุผู้กล่าวอย่างวิจิตร ซึ่งเป็นสาวกของเรานั้นคือ กุมารกัสสปะ."
ภิกษุที่มีปัญญาน้อยก็แบบนั้น ถึงใช้เวลาตั้งสี่เดือน ก็ไม่สามารถเรียนคาถาเพียงสี่บทได้. ส่วนผู้มีปัญญามากยืนอยู่บนก้าวเดียวก็เรียนได้ตั้งร้อยตั้งพันบท ก็พระอานนทเถระ ท่านยืนบนก้าวที่กําลังยกก้าวเดียวได้ ฟังครั้งเดียวเท่านั้น ไม่ถามซ้ำอีก ก็รับเอาได้ตั้งหกหมื่นบทตั้งหนึ่งหมื่นห้าพันคาถา ในขณะเดียวกันนั่นเอง, เหมือนเอาเถาวัลย์ดึงเอาดอกไม้มาถือไว้, และที่ท่านได้เล่าเรียนมาแล้วก็ตั้งอยู่โดยอาการที่ได้รับไว้ เหมือนรอยขีดบนแผ่นหิน และเหมือนมันเหลวราชสีห์ที่ใส่ในหม้อทองเพราะเหตุที่ท่านมีปัญญามาก. เหตุนั้นเอง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงตั้งท่านไว้ในตําแหน่งเลิศว่า "ภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่เป็นเลิศกว่าเหล่าภิกษุผู้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 295
มีคติ ซึ่งเป็นสาวกของเรานั้น คืออานนท์ ผู้มีสติ, ผู้มีธิติ (ปัญญาเครื่องทรงจํา) ,ผู้ได้ฟังมาก, ผู้อุปัฏฐาก (รับใช้) นั่นคืออานนท์."
อันภิกษุที่มีปัญญาน้อย ไม่สามารถที่จะถึงยอดประเภทปัญญาที่แตกฉานทั้งสี่อย่างได้เลย ต่อเป็นผู้มีปัญญามากจึงจะสามารถ.เพราะความเป็นผู้มีปัญญามาก ดังที่ว่ามานี้ พระมหาโกฏฐิกเถระจึงถึงปัญญาที่แตกฉานทั้งสี่ประเภท ที่แน่นหนาไปด้วยนัยไม่มีที่สุดด้วยอํานาจการประกอบไว้ในเบื้องต้นด้วยการบรรลุ การสอบถามและการฟัง. เหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงตั้งท่านไว้ในตําแหน่งเลิศว่า "ภิกษุทั้งหลาย. ตําแหน่งอันเลิศแห่งเหล่าภิกษุบรรลุปัญญาที่แตกฉาน ซึ่งเป็นสาวกของเรานั้นคือ มหาโกฏฐิกะ" ดังนี้.
ด้วยความเป็นผู้มีปัญญามากดังกล่าวมานี้ พระเถระจึงตั้งปัญหาขึ้นก็ได้ ชี้ขาดก็ได้ทั้งสองอย่างก็ได้. ขณะที่ท่านนั่งในที่พักกลางวัน ท่านเองได้ตั้งปัญหาทุกข้อขึ้นมาแล้ว ท่านเองจะวินิจฉัยพระสูตรนี้ตั้งแต่ต้นจนถึงจบ (ก็ได้แต่) คิดว่า "ธรรมเทศนานี้งามเหลือเกิน จําเราจะเทียบเคียงกับท่านแม่ทัพธรรมผู้พี่ชายใหญ่ ต่อจากนั้น พระธรรมเทศนา ที่เราสองคนใช้มติอย่างเดียวกัน ใช้อัธยาศัยอย่างเดียวกันตั้งไว้นี้ จะกลายเป็นธรรมเทศนาที่หนักแน่น ปานร่มหิน และจะกลายเป็นธรรมเทศนาที่มีอุปการะมากเหมือนเรือที่จอดไว้ที่ท่า สําหรับผู้ต้องการข้ามห้วงน้ำทั้งสี่แห่ง (มหาสมุทรทั้งสี่) และเหมือนรถเทียมม้าอาชาไนยพันตัว สําหรับต้องการไปสวรรค์."ดังนี้แล้วจึงถามปัญหาเพื่อเทียบเคียงสิ่งที่เห็นแล้ว. เหตุนั้นจึงว่า ในบรรดาการถามเหล่านั้น ในที่นี้มุ่งเอาการถาม เพื่อเทียบเคียงสิ่งที่เห็นแล้ว.
ในบทว่า "ไม่เข้าใจแจ่มแจ้งนี้" มีใจความว่า ผู้ที่ถูกเรียกว่า "ไม่มีปัญญา" ก็เพราะไม่เข้าใจแจ่มแจ้ง. ทุกแห่งมีนัยเหมือนกันนี้. คําว่า "ไม่เข้า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 296
ใจชัดเจนว่า นี้เป็นทุกข์" คือไม่เข้าใจชัดเจนซึ่งความจริงเกี่ยวกับทุกข์ว่า นี้เป็นทุกข์ ทุกข์มีเพียงเท่านี้ ไม่มีทุกข์ที่นอกเหนือไปจากนี้โดยลักษณะพร้อมกับหน้าที่ตามความเป็นจริง. คําว่า "นี้เหตุให้ทุกข์เกิดขึ้น" คือ ไม่เข้าใจชัดเจนโดยลักษณะพร้อมทั้งหน้าที่ตามความเป็นจริงว่า ความทะยานอยากที่เป็นตัวการให้เกิดมีทุกข์อันเป็นไปว่า "ทุกข์ย่อมโผล่มาจากความทะยานนี้" เป็นความจริงเกี่ยวกับเหตุเกิดขึ้น. คําว่า "นี้เป็นความดับทุกข์ได้โดยไม่เหลือ" คือไม่รู้แจ่มแจ้งโดยลักษณะพร้อมทั้งหน้าตามความเป็นจริงว่า ความจริงเกี่ยวกับความดับโดยไม่เหลือคือความดับที่ทุกข์และเหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ทั้งสองเลิกเป็นไปว่า "นี้ทุกข์ และนี้คือตัวการที่ทําให้ทุกข์เกิดขึ้น" เมื่อถึงตําแหน่งนี้แล้วย่อมดับไปโดยไม่เหลือ". คําว่า "นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ได้โดยไม่เหลือ" คือ ไม่เข้าใจชัดเจนความจริงที่เกี่ยวกับทางว่า ข้อปฏิบัตินี้ ย่อมไปถึงความดับทุกข์โดยไม่เหลือได้ โดยลักษณะพร้อมกับหน้าที่ตามความเป็นจริง. แม้ในอนันตรวาระ (วาระแห่งอนันตรปัจจัย) ก็พึงทราบใจความโดยนัยนี้. สําหรับในที่นี้พึงทราบว่า ท่านกล่าวถึงบุคคลผู้ทํากัมมัฏฐาน ที่ยึดเอาความจริงสี่อย่างมาเป็นอารมณ์อย่างย่อ.
จริงอยู่ บุคคลนี้เรียนความจริงสี่ประการในสํานักอาจารย์ด้วยการฟัง เมื่อเรียนเสร็จแล้วก็ยึดมั่นอย่างนี้ว่ายกเว้นความทะยานอยากเสียแล้วสิ่งที่เกี่ยวกับภูมิสามชื่อว่าเป็นความจริงเกี่ยวกับทุกข์, ที่ชื่อว่าความจริงเกี่ยวกับเหตุให้ทุกข์เกิดขึ้นคือความทะยานอยาก, ความดับคือความไม่เป็นไปแห่งทุกข์และเหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์, ชื่อว่าความจริงเกี่ยวกับความดับทุกข์ได้โดยไม่เหลือ, เมื่อกําหนดรู้ความจริงเกี่ยวกับทุกและความจริงเกี่ยวกับเหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ก็จัดเป็นทางที่ความดับโดยไม่เหลือแห่งทุกข์ให้บรรลุ ก็ชื่อว่าเป็นความจริง คือทาง (ให้ถึงความดับทุกข์ได้โดยไม่เหลือ) ในความจริงทั้งสี่ประการนั้น ความจริงสองประการแรก เป็นวัฏฏะ สองประการหลังเป็น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 297
วิวัฏฏะ ความยึดมั่นในวัฏฏะก็มี ไม่ใช่ความยึดมั่นในวิวัฏฏะ. ฉะนั้นเมื่อยึดมั่น ก็ชื่อว่ายึดมั่นในความจริงเกี่ยวกับทุกข์ด้วยประการฉะนี้. ที่ชื่อว่าความจริงเกี่ยวกับทุกข์ก็คือขันธ์ทั้งห้า มีรูปเป็นต้น. เพื่อจะกําหนดขันธ์ห้านั้น ก็หยั่งลงด้วยอํานาจกัมมัฏฐานที่มีธาตุสี่เป็นอารมณ์แล้วจึงกําหนดมหาภูตสี่อย่างและรูปที่อาศัยมหาภูตทั้งสี่ว่า รูป. เมื่อกําหนดอย่างนี้ว่า เวทนาสัญญา สังขารวิญญาณ ที่มีธาตุสี่นั้นเป็นอารมณ์ เป็นนาม จึงชื่อว่ากําหนดว่า สองสิ่งนี้แหละคือ นามรูป เหมือนตัดต้นตาลคู่ เมื่อได้กําหนดปัจจัยและสิ่งที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัยว่า "ก็สิ่งนี้ไม่ใช่ ไม่มีเหตุ มันมีเหตุมีปัจจัย,ก็อะไรเล่าที่เป็นปัจจัย สิ่งทั้งหลายมีความไม่รู้เป็นต้น (เป็นปัจจัย) " อย่างนี้แล้ว ก็ยกขึ้นสู่ลักษณะที่ไม่เที่ยงว่า สิ่งทั้งหมดนี้ เป็นของไม่เที่ยง เพราะอรรถว่าไม่มี. ต่อจากนั้นก็ยกขึ้นสู่ลักษณะ ๓ อย่างว่า เป็นทุกข์เพราะอาการเกิดขึ้น เสื่อมไป และบีบคั้น, ว่าเป็นของไม่มีตัวตน เพราะอาการไม่เป็นไปในอํานาจ, แล้วพิจารณาอยู่ตามลําดับวิปัสสนาก็ย่อมบรรลุทางที่อยู่เหนือโลกได้ ในขณะแห่งทาง (มรรคขณะ) ก็ย่อมแทงตลอดความจริงทั้งสี่ประการ ด้วยการแทงตลอดเพียงครั้งเดียว. ย่อมตรัสรู้ ด้วยความตรัสรู้เพียงครั้งเดียวย่อมแทงตลอดทุกข์ด้วยการแทงตลอดด้วยอํานาจการกําหนดรู้, ย่อมแทงตลอดเหตุเกิดขึ้น ด้วยการแทงตลอดคือการละ ย่อมแทงตลอดความดับโดยไม่เหลือให้แจ่มแจ้ง, ย่อมแทงตลอดทางด้วยการแทงตลอดการอบรม. ย่อมตรัสรู้ทุกข์ด้วยความตรัสรู้การกําหนดรู้. ย่อมตรัสรู้เหตุให้ทุกข์เกิดด้วยความตรัสรู้การละ, ย่อมตรัสรู้ความดับโดยไม่เหลือ ด้วยความตรัสรู้ทําให้แจ้ง, ย่อมตรัสรู้หนทาง ด้วยความตรัสรู้การอบรม. เขาแทงตลอดความจริงทั้งสามอย่างโดยหน้าที่ แทงตลอดความดับโดยไม่เหลือโดยอารมณ์. ส่วนในขณะแห่งผลของเขานั้น ไม่ต้องมีความผูกใจความรวบรวมใจความเอาใจใส่และการพิจารณาว่า "เรากําหนดรู้ทุกข์ กําลังละเหตุให้เกิดทุกข์กําลังทําให้แจ้ง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 298
ความดับโดยไม่เหลือ กําลังอบรมหนทาง. แต่สําหรับผู้ที่กําลังกําหนดถืออยู่นั้นหนทางของผู้ที่กําลังกําหนดถืออยู่นั้นแล ทําหน้าที่มีการกําหนดรู้เป็นต้นในความจริงสามประการ ให้สําเร็จอยู่ทีเดียว แทงตลอดความดับโดยไม่เหลือโดยอารมณ์.
ในคําว่า "เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่าผู้มีปัญญา" นี้โดยต่ําที่สุด พระโสดาบัน สูงที่สุด พระขีณาสพ ท่านแสดงว่าเป็นผู้มีมีปัญญา ส่วนผู้ที่เล่าเรียนคําของพระพุทธเจ้า (จบ) สามปิฎกโดยบาลีบ้างโดยอรรถกถาบ้างโดยอนุสนธิบ้างโดยก่อนหลังบ้างแล้วเที่ยวทําให้เป็นชั้นต่ําและชั้นสูง แต่ไม่มีแม้แต่การกําหนดเอาด้วยอํานาจแห่งความไม่เที่ยง เป็นทุกข์และความไม่มีตัวตนเลยนี้ หาได้ชื่อว่า ผู้มีปัญญาไม่ ยังชื่อว่าผู้ไม่มีปัญญา (อยู่ตามเดิม) อย่าไปเรียกผู้ที่เที่ยวเอาแต่ความรู้แจ้ง (วิญญาณจริต) นั้นว่าเป็นผู้มีปัญญาเข้านะ. คราวนี้ผู้ที่ได้ยกขึ้นสู่ลักษณะสามอย่างแล้วพิจารณาตามลําดับวิปัสสนาอยู่ เที่ยวคิดว่าวันนี้ วันนี้แหละ อรหัตนี้ชื่อว่าเป็นผู้มีปัญญา ไม่ใช่ไม่มีปัญญา. ผู้มีปัญญา เมื่อใครยอมให้พบด้วยก็พบ (แต่) ฝ่าย (ที่มีปัญญาด้วยกัน) ส่วนในพระสูตร ท่านกล่าวแต่ความแทงตลอดเท่านั้น ในคําว่า "ความรู้แจ้ง" นี้พระมหาโกฏฐิกเถระ ย่อมถามถึงอะไร ผู้ที่เอาความรู้แจ้งอันใดมาพิจารณาสังขารนั้น ก็เป็นผู้มีปัญญา ท่านพระมหาโกฏฐิกเถระจึงถามว่า "ข้าพเจ้าขอถามวิปัสสนาที่ต้องมา ความรู้แจ้ง และจิตผู้ทํางานของการพิจารณาสังขารนั้นกับท่าน. คําว่า "ย่อมรู้แจ้ง สุขบ้าง" คือย่อมรู้แจ้งความรู้สึกเป็นสุขบ้าง.แม้ในสองบทข้างบน ก็ทํานองเดียวกันนั่นแล. ด้วยบทว่า "ย่อมรู้แจ้งสุขบ้างนี้" แสดงถึงกัมมัฏฐานที่ไม่ได้ใช้รูปเป็นอารมณ์ด้วยอํานาจความรู้สึกที่มาโดยนัยเป็นต้นว่า "เมื่อเราเสวยความรู้สึกที่เป็นสุขอยู่ก็รู้แจ้งว่าเรา
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 299
เสวยความรู้สึกที่เป็นสุขอยู่" ควรทราบใจความของบทนั้นตามนัยที่กล่าวไว้ในสูตรที่ว่าด้วยหลักตั้งสติ (=สติปัฏฐานสูตร) นั่นแล.
คําว่า "คละกัน" คือพระเถระย่อมถามว่า ที่ชื่อคละกันเพราะอรรถว่า ประกอบพร้อมด้วยลักษณะมีการเกิดขึ้นพร้อมกันเป็นต้น หรือแยกออกจากกัน สําหรับข้อนี้ไม่พึงเข้าใจไปว่า พระเถระเอาสิ่งที่เป็นของโลกและที่อยู่เหนือโลกทั้งสองสิ่งคือปัญญาในมรรคและความรู้แจ้งแห่งวิปัสสนาเหล่านี้มาระคนปนเปกัน แล้วทําลายเสียระหว่างชั้น แล้วถามอย่างผู้ไม่รู้จักสมัย แต่พึงทราบว่า ท่านถามถึงความคละกัน พร้อมกับความรู้แจ้ง หนทาง ในความรู้ชัดหนทางและกับความรู้แจ้งวิปัสสนา ในความรู้ชัดวิปัสสนาเท่านั้น ถึงพระเถระเมื่อจะตอบใจความนั้นแลแก่พระมหาโกฏฐิกะนั้น ก็กล่าวคําเป็นต้นว่า "สิ่งเหล่านี้คละกัน" คําว่าและในกรณีนั้นบุคคลไม่พึงได้แห่งสิ่งเหล่านี้" คือแห่งสิ่งสองอย่างที่เกิดขึ้นพร้อมกัน ทั้งในขณะโลกิยมรรค ทั้งในขณะโลกุตรมรรคเหล่านี้. คําว่า "จําแนกแยกแยะ" หมายความว่าไม่มีใครสามารถเพื่อจะแยกเป็นแผนกและพลิกแพลงแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างกันโดยอารมณ์ โดยที่ตั้ง โดยการเกิดขึ้น หรือโดยการดับไปได้.
ก็ธรรมดาว่าอารมณ์ของสิ่งนั้นๆ มีอยู่. จริงอยู่ เมื่อบรรลุสิ่งที่เป็นของแบบโลกๆ จิตย่อมเป็นใหญ่เป็นหัวหน้า เมื่อบรรลุสิ่งที่อยู่เหนือโลกความรู้ชัดย่อมเป็นใหญ่เป็นหัวหน้า. จริงอย่างนั้นแม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อตรัสถามถึงสิ่งที่เป็นของแบบโลกๆ ก็ไม่ตรัสถามอย่างนี้ว่า "ภิกษุเธอบรรลุความรู้ชัดชนิดไหน เป็นความรู้ชัดในทางชั้นต้น หรือเป็นความรู้ชัดในทางชั้นที่สอง ที่สาม และที่สี่" แต่จะตรัสถาม ด้วยอํานาจจิตว่า "ภิกษุเธอมีจิตอย่างไร" และไม่ตรัสถามว่า "ภิกษุเธอมีผัสสะอย่างไร มีเวทนาอย่าง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 300
ไร มีสัญญาอย่างไร มีเจตนาอย่างไร" แม้เมื่อจะทรงบัญญัติกุศลและอกุศล ก็ทรงบัญญัติด้วยอํานาจจิตอย่างนี้ว่า " สิ่งทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้ามีใจประเสริฐสุด สําเร็จด้วยใจ" และว่า "สิ่งที่เป็นกุศลเป็นไฉน ในสมัยใดจิตเป็นกุศลที่ท่องเที่ยวอยู่ในชั้นกาม ย่อมเป็นของเกิดขึ้นแล้ว" แต่เมื่อจะทรงถามถึงสิ่งที่อยู่เหนือโลกจะไม่ทรงถามว่า ภิกษุ เธอมีสิ่งที่ทําหน้าที่กระทบอย่างไร มีความรู้สึกอย่างไร มีความรู้จําอย่างไร มีความจงใจอย่างไร" จะทรงถามด้วยอํานาจความรู้ชัดอย่างนี้ว่า "ภิกษุ ความรู้ชัดที่เธอบรรลุแล้วเป็นไฉน เป็นความรู้ชัดในหนทางชั้นต้น หรือเป็นความรู้ชัดในหนทางชั้นที่สอง ชั้นที่สามและชั้นที่สี่" แม้ในอินทรีย์สังยุต ก็ตรัสแต่สิ่งแบบโลกๆ และที่อยู่เหนือโลกในอารมณ์เท่านั้นอย่างนี้ว่า " ภิกษุทั้งหลายอินทรีย์ห้าเหล่านี้. ห้าอะไรบ้าง? คืออินทรีย์คือความเชื่อถือ, อินทรีย์คือความเพียร, อินทรีย์คือความระลึก, อินทรีย์คือความตั้งใจมั่น, อินทรีย์คือความรู้ชัดเจน, ภิกษุทั้งหลาย ก็อินทรีย์คือความเชื่อถืออันบุคคลพึงเห็นได้ที่ไหน พึงเห็นอินทรีย์ คือความเชื่อถือ ในส่วนประกอบ สําหรับการถึงกระแสสี่อย่างนี้. ก็ภิกษุทั้งหลายอินทรีย์คือความเพียรอันบุคคลพึงได้ที่ไหน พึงเห็นอินทรีย์คือความเพียรในความเพียรชอบสี่อย่างนี้. ก็แลภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์คือความระลึกอันบุคคลพึงเห็นที่ไหน พึงเห็นอินทรีย์คือความรู้ชัดเจนได้ที่ความจริงอันประเสริฐ ๔ นี้" ดังนี้.
เหมือนอย่างว่า เมื่อพวกเพื่อนซึ่งมีพระราชาเป็นที่ห้าคือลูกชายเศรษฐี๔ คน พระราชา ๑ คิดว่า พวกเราจะเล่นนักขัตฤกษ์แล้วพากันเดินไปตามถนน เมื่อถึงเรือนลูกชายเศรษฐีคนหนึ่ง อีก ๔ คน ก็พากันนั่งนิ่ง. ผู้ที่เป็นเจ้าของเรือนเท่านั้นที่เที่ยวสั่งว่า "พวกเธอจงให้ของเคี้ยวของกินแก่พวกนี้ จงให้ของหอม พวงมาลัยและเครื่องสําอางเป็นต้น แก่พวกนี้.เมื่อไปถึงเรือนของคนที่สอง...ที่สาม...ที่สี่อีกสี่คนก็พากันนั้นนิ่ง ผู้เป็นเจ้าของ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 301
เรือนเท่านั้นที่เที่ยวได้สั่งว่า "พวกเธอจงให้ของเคี้ยวของกินแก่พวกนี้ จงให้ของหอมพวงมาลัยและเครื่องสําอางเป็นต้นแก่พวกนี้." คราวนี้หลังเขาหมดเมื่อไปถึงพระราชวัง พระราชาเท่านั้นถึงจะทรงเป็นใหญ่ในที่ทั้งปวงก็จริงถึงอย่างนั้นในเวลาแห่งพระราชานี้ ก็จะทรงเที่ยวได้สั่งว่า "พวกเธอจงให้ของเคี้ยวของกินแก่คนพวกนี้ จงให้ของหอมและพวงมาลัยและเครื่องสําอาง เป็นต้นแก่พวกนี้." ในพระราชวังของพระองค์นั่นเอง ฉันใด. ฉันนั้นนั่นแลเมื่ออินทรีย์อันมีความเชื่อถือเป็นที่ห้าแม้กําลังเกิดขึ้นอยู่ในอารมณ์เดียวกัน เหมือนเมื่อเพื่อนเหล่านั้นหยั่งลงสู่ถนนสายเดียวกัน ในเรือนแรกอีก ๔ คนพากันนั่งนิ่งผู้ที่เป็นเจ้าของเรือนเท่านั้นเที่ยวได้สั่งงานฉันใด, ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อส่วนประกอบสําหรับถึงกระแส อินทรีย์คือความเชื่อถือที่มีลักษณะตัดสินอารมณ์ได้เด็ดขาดเท่านั้น ย่อมเป็นใหญ่ เป็นหัวหน้า, อินทรีย์ที่เหลือกลายเป็นคล้อยไปตามอินทรีย์คือความเชื่อถือนั้น. เมื่อถึงสัมมัปปธาน อินทรีย์คือความเพียรอันมีความประดับประคองเป็นลักษณะเท่านั้นที่กลายเป็นใหญ่เป็นหัวหน้าไป ที่เหลือก็พลอยคล้อยตามอินทรีย์คือความเพียรนั้น, เหมือนในเรือนของคนที่ ๒ อีก ๔ คนนอกนี้ก็นั่งนิ่งปล่อยให้เจ้าของเรือนเท่านั้นเที่ยวได้สั่งงาน ฉะนั้น.
เมื่อถึงหลักตั้งความระลึก อินทรีย์คือความระลึก ที่มีความปรากฏเป็นลักษณะเท่านั้นที่กลายเป็นใหญ่เป็นหัวหน้าไป ที่เหลือก็พลอยคล้อยไปตามอินทรีย์คือความระลึกนั้น เหมือนในเรือนของคนที่ ๓ อีก ๔ คนนั่งนิ่ง ปล่อยให้เจ้าของเรือนเท่านั้นเป็นธุระเที่ยวได้สั่งงานฉะนั้น.
เมื่อถึงความหลุดพ้นเพราะอํานาจฌาน อินทรีย์คือความตั้งใจมั่นอันมีความไม่ซัดส่ายเป็นลักษณะเท่านั้น ที่กลายเป็นใหญ่เป็นหัวหน้าไป ที่เหลือก็พลอยคล้อยไปตามอินทรีย์คือความตั้งใจมั่นนั้น, เหมือนในเรือน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 302
ของคนที่ ๔ อีก ๔ คนนั่งนิ่ง ปล่อยให้เจ้าของเรือนเท่านั้นเป็นธุระเที่ยวได้จัดการ ฉะนั้น.
เมื่อมาถึงความจริงอันประเสริฐ อินทรีย์คือความรู้ชัดเจนที่มีความรู้ชัดเจนเป็นลักษณะเท่านั้น ที่กลายเป็นใหญ่เป็นหัวหน้าไป ที่เหลือก็พลอยคล้อยไปตามอินทรีย์ คือความรู้ชัดเจนเท่านั้น, เหมือนเมื่อถึงพระราชวังในตอนท้ายเขาหมด อีก ๔ คนก็นั่งนิ่ง พระราชาเท่านั้นที่ทรงเที่ยวสั่งงานในพระราชวัง ฉะนั้น.
พระมหาโกฏฐิกเถระ ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งในตําแห่งเลิศแห่งภิกษุสาวกถึงความแตกฉาน เมื่อจะถามเรื่องแบบโลกๆ ก็ทําจิตให้เป็นใหญ่ เป็นหัวหน้าแล้วจึงถาม เมื่อจะถามถึงเรื่องที่อยู่เหนือโลก ก็ยกเอาความรู้ชัดเจนมาให้เป็นใหญ่ เป็นหัวหน้าแล้วจึงถาม. ฝ่ายพระสารีบุตรเถระเป็นแม่ทัพธรรมก็แก้อย่างนั้นเหมือนกันด้วยประการฉะนี้แล.
คําว่า "ย่อมรู้ชัดเจนอันใด ท่านผู้มีอายุ?" คือ ความรู้หนทางชัดเจนย่อมรู้ชัดเจนซึ่งสิ่งที่เป็นความจริงสี่ประการอันใด โดยทํานองเป็นต้นว่า นี้ทุกข์. คําว่า "ย่อมรู้แจ้ง อันนั้น" คือ แม้ความรู้แจ้งในหนทางก็ย่อมรู้แจ้งอันนั้น อย่างนั้นเหมือนกัน. คําว่าย่อมรู้แจ้งอันใด" คือความรู้แจ้งในวิปัสสนาโดยทํานองเป็นต้นว่า "สิ่งใดที่เป็นผู้ปรุง ผู้ถูกปรุง (สิ่งนั้น) ไม่เที่ยง" คําว่า "ย่อมรู้ชัดสิ่งนั้น" คือแม้ความรู้ชัดด้วยวิปัสสนา ก็ย่อมรู้ชัดสิ่งนั้นเหมือนอย่างนั้นเหมือนกัน. คําว่า "เพราะฉะนั้น สิ่งเหล่านี้" คือเพราะเหตุนั้นสิ่งเหล่านี้. คําว่า "คละกัน" คือเจือกันเพราะความที่เกิดพร้อมกัน มีที่ตั้งอย่างเดียวกัน และมีอารมณ์อย่างเดียวกัน. คําว่า "พึงอบรมความรู้ชัด" นี้ ท่านกล่าวประสงค์เอาความรู้ชัดในหนทาง ส่วนความรู้แจ้งที่ประกอบพร้อมกับความรู้ชัดนั้น ก็ต้องอบรมให้พร้อมกันกับความรู้ชัดนั้น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 303
ด้วย. คําว่า "ความรู้แจ้ง เป็นสิ่งที่ต้องกําหนดรู้" นี้ ท่านกล่าวหมายเอาความรู้แจ้งในวิปัสสนา ส่วนความรู้ชัดประกอบกับความรู้แจ้งในวิปัสสนา ก็พึงกําหนดไปพร้อมๆ กับความรู้แจ้งนั้นด้วย. ทําไมท่านจึงถามคําว่า "ความรู้สึก ความรู้สึก?" แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ต้องกําหนดว่าท่านหมายเอาแต่ความรู้สึกที่สําหรับใช้พิจารณาไตร่ตรองซึ่งเป็นไปในภูมิสามเท่านั้น. คําว่า "ย่อมเสวยสุขบ้าง" คือย่อมเสวยต่อตามเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข. ทํานองอย่างเดียวกันนี้แหละ. ย่อมใช้ได้ในสองบทหน้าด้วย.
จริงอยู่ ท่านกล่าวถึงอารมณ์ที่เป็นสุข ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข ในที่นี้ตามมหาลิสูตรนี้ว่า " มหาลิ ก็แลถ้ารูปนี้จะได้เป็นทุกข์โดยส่วนเดียว เป็นทุกข์ถูกทุกข์ตกต้องถูกทุกข์เหยียบย่ํา สุขกล้ำกรายเข้ามาไม่ได้ ถ้าเป็นเสียแบบนี้ หมู่สัตว์ก็ไม่พึงกําหนัดหนักในรูป. มหาลิ ก็เพราะเหตุที่รูปแลเป็นสุข ถูกสุขตกต้อง ถูกสุขเหยียบย่างเข้ามา ทุกข์กล้ำกรายเข้ามาไม่ได้ฉะนั้น หมู่สัตว์จึงกําหนัดหนักในรูป เพราะกําหนัดหนักจึงประกอบจนติด, เพราะประกอบจนติดจึงแปดเปื้อน. ก็แล ถ้าเวทนานี้ ฯลฯ สัญญาฯลฯ สังขารทั้งหลายฯลฯ มหาลิ ก็แลถ้าวิญญาณนี้จะได้เป็นทุกข์โดยส่วนเดียวฯลฯจึงแปดเปื้อน." ด้วยประการฉะนี้.
และก็อีกอย่างหนึ่ง ควรทราบใจความในเรื่องความรู้สึกนี้อย่างนี้ว่า "ความรู้สึกที่เป็นสุขอีกอันหนึ่งก็ย่อมจะทําความรู้สึกที่เป็นสุขอันก่อนให้เป็นอารมณ์แล้วจึงเสวย. ความรู้สึกเป็นทุกข์อันหลังก็ย่อมจะทําความรู้สึกที่เป็นทุกข์อันก่อนให้เป็นอารมณ์แล้วจึงเสวย. ความรู้สึกที่ไม่ใช่ทุกข์ที่ไม่ใช่สุขอันหลังก็ย่อมจะกระทําความรู้สึกที่ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขอันก่อนให้เป็นอารมณ์แล้วจึงเสวย. มีคําที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า "ก็ความรู้สึกนั่นแล ย่อมเสวยไม่มีใครอื่นที่ชื่อว่าเป็นผู้เสวย."
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 304
พระมหาโกฏฐิกเถระ ถามถึงอะไรในบทนี้ว่า "ความจําได้หมายรู้ ความจําได้หมายรู้" คําว่า "ลักษณะแห่งความจําได้หมายรู้ก็ดี ว่า"ลักษณะแห่งความจําได้หมายรู้ในที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ" ก็ดี แห่งปัญหาว่า อะไรเป็นลักษณะแห่งความจําได้หมายรู้ อะไรเป็นลักษณะแห่งความจําได้หมายรู้ในที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ นี้เป็นอย่างเดียวกันนั่นเอง. ถึงแม้จะเป็นเช่นนี้ ก็พึงกําหนดไว้ว่า ท่านหมายเอาแต่ความจําได้หมายรู้ที่เกิดพร้อมกับความพิจารณาไตร่ตรองที่เป็น ไปในภูมิทั้งสามเท่านั้น คําว่า "ย่อมจําสีเขียวบ้าง" คือ เมื่อทําบริกรรมในดอกไม้สีเขียว หรือในผ้าแล้วให้ถึงอุปจาระหรืออัปปนา ชื่อว่า ย่อมรู้จํา ก็ในอรรถนี้ใช้ได้ทั้งความรู้จําในบริกรรม (ตระเตรียม) ทั้งความรู้จําในอุปจาระ (ฌานที่เฉียดๆ เข้าไป) ทั้งความรู้จําในอัปปนา (ฌานที่แนบแน่น) ถึงความรู้จําที่เกิดขึ้นในสีเขียวว่า "สีเขียว" ก็ใช้ได้เหมือนกัน. ในสีเหลืองเป็นต้น ก็ทํานองนี้แหละ. ทําไม ท่านจึงไม่ถือเอาความรู้ชัดที่ถือเอาสิ่งทั้งสามนี้ คือ ความรู้สึก ความรู้จํา ความรู้แจ้ง ในบทเหล่านี้ว่า "ผู้มีอายุ ก็แลความรู้สึก" ความรู้จํา ความรู้แจ้งอันใดด้วยเล่า "เพราะไม่ใช่เป็นการรวบรวมเอามาทั้งหมด." จริงอยู่ เมื่อถือเอาด้วยความรู้ชัด ความรู้สึกเป็นต้นที่ประกอบด้วยความรู้ชัดจึงจะได้ ที่ไม่ประกอบหาได้ไม่. แต่เมื่อไม่ถือเอาความรู้ชัดนั้น, เมื่อสิ่งเหล่านั้นได้รับการถือเอาแล้ว. ความรู้สึกเป็นต้น ทั้งที่ประกอบด้วยความรู้ชัดทั้งที่ไม่ประกอบ ชั้นที่สุดแม้แต่สิ่งที่ทําหน้าที่รู้แจ้งทั้ง ๑๐ ดวง ก็เป็นอันได้ด้วย. เหมือนอย่างว่า ชาย ๓ คน พึงกล่าวว่า "ด้าย ด้าย" คนที่ ๔ ว่า "ด้ายร้อยแก้ว" ในคนเหล่านั้น, ๓ คน ย่อมได้การเดาบ้าง การคิดคาดคะเนเป็นต้นบ้าง และด้วยจํานวนมากอย่างใดอย่างหนึ่งโดยที่สุดเมื่อแสวงหาแม้แต่ใยแมงมุมหรือด้ายร้อยแก้ว ก็ย่อมได้นิดหน่อย ฉันใด, พึงทราบข้อเปรียบเทียบฉันนั้น.อีกอย่างหนึ่ง บางท่านก็กล่าวว่า "ท่านแก้ไว้แล้ว เพราะได้การประกอบ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 305
ไปพร้อมๆ กันกับความรู้ชัดและความรู้แจ้งมาแต่เบื้องล่างแล้ว และเพราะฉะนั้น จึงไม่จัดเข้าในที่นี้ เพราะความที่ท่านได้แก้ไว้แล้ว คําว่า "ผู้มีอายุก็แล ย่อมเสวยความรู้สึกใด" คือความรู้สึกย่อมเสวยอารมณ์ใด แม้ความรู้สึก ก็ย่อมจําอารมณ์นั้นเหมือนกัน. คําว่า "ย่อมรู้จําอารมณ์ใด" หมายความว่า ความรู้จํา ย่อมรู้จําอารมณ์ใด แม้ความรู้แจ้ง ก็ย่อมรู้แจ้งอารมณ์นั้นเหมือนกัน.
คราวนี้ พึงทราบความแตกต่างและความไม่แตกต่างในคําเหล่านี้คือ "ย่อมรู้จํา ย่อมรู้แจ้งย่อมรู้ชัด" ในคําทั้ง ๓ นั้น ต่างก็แต่เพียงคํานําหน้า (อุปสรรค) เท่านั้น. ส่วนบทว่า "ย่อมรู้" ไม่มีความแตกต่างกัน.แม้ในอรรถว่ารู้ของบทนั้นก็พึงทราบความแตกต่างกัน. จริงอยู่ ความรู้จํา สักแต่ว่ารู้จําอารมณ์ด้วยอํานาจสีเขียวเป็นต้น เท่านั้น ไม่อาจให้ถึงการแทงทะลุลักษณะทั้งสาม คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ไม่ใช่ตัวตนได้ ความรู้แจ้งย่อมรู้แจ้งอารมณ์ด้วยอํานาจสีเขียวเป็นต้นและให้ถึงการแทงทะลุลักษณะมีไม่เที่ยงเป็นต้นก็ได้แต่จะให้ขวนขวายแล้วถึงความปรากฏของมรรคไม่ได้ ความรู้แจ้งย่อมรู้จําอารมณ์ด้วยอํานาจสีเขียวเป็นต้นก็ได้ ให้ถึงการแทงทะลุลักษณะด้วยอํานาจความไม่เที่ยงเป็นต้นก็ได้ และขวนขวายแล้วสามารถให้บรรลุความปรากฏของมรรคได้ด้วย. เหมือนอย่างว่า เราเอากหาปณะมากองไว้บนกระดานของเหรัญญิก (เจ้าหน้าที่การเงิน) เมื่อคน ๓ คน คือเด็กที่ยังไม่มีความรู้, ชายชาวบ้าน และเหรัญญิกใหญ่มายืนดูเด็กที่ยังไม่มีความรู้ ย่อมได้แต่เพียงความวิจิตรงดงามและชนิดสี่เหลี่ยมหรือกลมของกหาปณะเท่านั้น ไม่รู้ว่า นี้เขายอมรับรู้กันทั่วว่าเป็นแก้วเครื่องอุปโภคบริโภคของคนทั้งหลาย. ชายชาวบ้าน ย่อมรู้ถึงความวิจิตรเป็นต้นด้วยรู้ถึงความที่เขายอมรับรู้ทั่วกันว่าเป็นแก้วสําหรับใช้เป็นเครื่องอุปโภคบริโภคของคนทั้งหลายด้วย แต่ไม่รู้ว่า "ก็กหาปณะนี้ปลอม นี้ไม่ปลอม นี้หยาบ นี้ละเอียด"
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 306
เหรัญญิกใหญ่ ย่อมรู้ถึงความวิจิตรเป็นต้นด้วย รู้ถึงความที่เขายอมรับรู้กันว่าเป็นแก้วด้วย รู้ถึงความเกเป็นต้นด้วย. และก็เมื่อรู้อยู่ ก็ดูรูปนั้นบ้างฟังเสียงบ้าง ดมกลิ่นบ้าง ลิ้มรสบ้าง เอามือหยิบสํารวจดูความหนัก และเบาบ้าง แล้วก็รู้ว่าผลิตที่หมู่บ้านโน้นบ้าง รู้ว่าผลิตในจังหวัดโน้น ในเมืองโน้น ใกล้สระธรรมชาติโน้น ใต้เงาภูเขาโน้น ที่ฝังแม่น้ำโน้น ผลิตโดยอาจารย์คนโน้นบ้าง ฉันใด, ความรู้จําก็เหมือนเด็กที่ยังไม่มีความรู้ดูกหาปณะย่อมรู้จําแต่อารมณ์ด้วยอํานาจสีเขียวเป็นต้นเท่านั้น. ความรู้แจ้งก็เหมือนชายชาวบ้านดูกหาปณะ ย่อมรู้จําอารมณ์ด้วยอํานาจสีเขียวเป็นต้นด้วยให้ถึงความแทงทะลุลักษณะด้วยสามารถไม่เที่ยงเป็นต้นด้วย. ความรู้ชัด ก็เหมือนเหรัญญิกใหญ่ดูกหาปณะย่อมรู้อารมณ์ด้วยอํานาจสีเขียวเป็นต้นด้วย ให้ถึงการแทงทะลุลักษณะด้วยอํานาจไม่เที่ยงเป็นต้นด้วยให้ขวนขวายแล้วถึงความปรากฏแห่งหนทาง (มรรค) ด้วย ฉันนั้นนั่นแล. ส่วนความแตกต่างแห่งสิ่งเหล่านั้น นั้น เจาะทะลุได้ยาก.
เพราะเหตุนั้น ท่านพระนาคเสน จึงกล่าวว่า "มหาบพิตร พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทําสิ่งที่ทําได้ยากแล้ว" "ท่านนาคเสนผู้เจริญ สิ่งที่ทําได้ยากอะไรที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทําแล้ว" "มหาบพิตร สิ่งที่ทําได้ยาก ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทําแล้ว คือข้อที่ทรงบอกการกําหนดสิ่งที่เป็นจิตและสิ่งที่เกิดกับจิตซึ่งไม่มีรูปร่างเป็นไปในอารมณ์อย่างเดียวกันว่า "นี้คือสิ่งที่ทําหน้าที่กระทบ นี้คือสิ่งที่ทําหน้าที่รูสึก นี้คือสิ่งที่ทําหน้าที่รู้จํา นี้คือสิ่งที่ทําหน้าที่จงใจ นี้คือสิ่งที่ทําหน้าที่คิด". ขนาดคนที่เอาน้ำมัน ๕ ชนิด นี้คือ น้ำมันงา น้ำมันผักกาด น้ำมันมะซาง น้ำมันละหุ่ง น้ำมันเหลวมาใส่รวมในภาชนะเดียวกัน แล้วเอาไม้คนคู่มาคนทั้งวัน แล้วก็ตักแยกจากกันแต่ละอย่างๆ ว่า นี้น้ำมันงา นี้น้ำมันผักกาด นี้ก็นับว่าทําได้ยากอยู่แล้ว นี้ยิ่งทําให้ยากยิ่งกว่านั้นเสียอีกเพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นพระ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 307
ธรรมราชา พระธรรมเมศวรเพราะความที่ทรงแทงทะลุพระสัพพัญ-ุตญาณอย่างดีแล้วตรัสบอกการกําหนดสิ่งหารูปร่างไม่ได้ที่กําลังเป็นไปในอารมณ์อย่างเดียวกันเหล่านี้. พึงทราบความข้อนี้ว่า เหมือนกับตักน้ำมาแยกเป็นส่วนๆ อย่างนี้ว่า นี้เป็นน้ำของแม่น้ำคงคา นี้ของแม่น้ำยมุนา ในที่ที่แม่น้ำใหญ่ทั้ง ๕ สายไหลเข้าสู่ทะเลแล้วฉะนั้น. คําว่า "ที่สละออกแล้ว" คือสลัดออกไปแล้ว หรือที่ถูกทิ้งไปแล้ว. เมื่อใน คําว่า "ที่สละออกแล้ว" นั้นทั้งห้า" เมื่อมีความหมายว่า "ที่ถูกทิ้งไปแล้ว" ก็พึงทราบว่าเป็นตติยาวิภัติ. มีคําที่ท่านอธิบายไว้ว่า อันความรู้แจ้งที่สลัดออกไปจากอินทรีย์ทั้ง๕ แล้วเป็นไปในประตูใจ หรือที่ถูกอินทรีย์ทั้ง ๕ ทอดทิ้งไปแล้วเพราะความที่ความรู้แจ้งนั้นไม่เข้าถึงความเป็นที่ตั้งได้. คําว่า "หมดจด" คือไม่มีอะไรเข้าไปทําให้แปดเปื้อน คําว่า ด้วยความรู้แจ้งทางใจ" คือ ด้วยจิตที่มีฌานที่สี่ชนิดที่ยังท่องเที่ยวไปในรูปเป็นอารมณ์. คําว่า "พึงแนะนําอะไร " คือพึงรู้อะไร เพราะสิ่งที่พึงรู้ในคําเป็นต้นว่า "ธรรมดาสิ่งที่พึงแนะนําบางสิ่งบางอย่างยังมีอยู่...ธรรม" ท่านเรียกว่า "เนยฺย = พึงแนะนํา พึงรู้" พึงรู้อากาสานัญจายตนะอย่างไร อรูปาวาจรสมาบัติ อันบุคคลพึงรู้ได้ด้วยจิตที่มีฌานที่สี่ชนิดที่ยังท่องเที่ยวไปในรูปเป็นอารมณ์; เพราะฉะนั้น ผู้ที่อยู่ในฌานที่สี่ที่ท่องเที่ยวไปในรูป ย่อมสามารถทําให้อรูปาวจรสมาบัติ (การเข้าถึงฌานที่ไม่ท่องเที่ยวไปในรูป หรือท่องเที่ยวไปในสิ่งที่ไม่ใช่รูป) เกิดขึ้นได้. เพราะอรูปาวจรสมาบัติย่อมสําเร็จแก่ผู้ที่อยู่ในฌานที่สี่ที่ท่องเที่ยวไปในรูปได้. ฉะนั้น พระสารีบุตรเถระ จึงตอบว่า "พึงรู้ (หรือแนะนํา) อากาสานัญจายตนะ" ดังนี้. เมื่อเป็นอย่างนั้น ทําไมจึงไม่กล่าวถึง เนวสัญญานาสัญญายตนะด้วยเล่า เพราะไม่มีการยึดไว้เป็นอีกแผนกหนึ่งต่างหากในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น บุคคลจะพิจารณาโดยเป็นหมวดๆ (และ) โดยเป็นนัยๆ ก็ได้. การยึดเป็นแผนกๆ ย่อมไม่เกิดแก่ภิกษุ แม้ขนาดพระ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 308
ธรรมเสนาบดีก็ตามที. เพราะฉะนั้น แม้พระเถระก็พิจารณาโดยเป็นหมวดๆ (และ) โดยเป็นนัยๆ แล้วก็แก้ว่า "ได้ยินเขาว่ามาว่า สิ่งเหล่านี้ไม่มีแล้ว ย่อมมีพร้อม ที่มีแล้วย่อมเสื่อมไปอย่างนี้" ด้วยประการฉะนี้. ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะความที่พระสัพพัญุตญาณอยู่ในกําพระหัตถ์ทรงยกสิ่งมากกว่าห้าสิบอย่าง แม้ในเนวสัญญานาสัญญายตนะ ด้วยการยกขึ้นเป็นองค์จักไว้เป็นแผนกๆ แล้วตรัสว่า "การแทงทะลุอรหัตตผลมีประมาณเท่ากับการเข้าถึงความรู้จํา (สัญญาสมาบัติ) " ดังนี้.
คําว่า "ย่อมรู้ชัดด้วยตาคือปัญญา" คือย่อมรู้ด้วยปัญญาที่ชื่อว่าเป็นดวงตา เพราะอรรถว่าเป็นผู้นําทุกทางในการเห็น. ในคําว่า "ย่อมรู้ชัดด้วยตาคือปัญญา" นั้น ปัญญามี ๒ อย่างคือ ปัญญาในสมาธิ และปัญญาในวิปัสสนา. ย่อมรู้ชัดทั้งโดยหน้าที่ ทั้งโดยความไม่หลงลืม ด้วยปัญญาในสมาธิ. ท่านกล่าวความรู้โดยอารมณ์ด้วยการแทงลักษณะได้ทะลุด้วยปัญญาในวิปัสสนา. คําว่า "เพื่อต้องการอะไร คืออะไรเป็นความต้องการแห่งปัญญานี้. ในคําเป็นต้นว่า "มีความรู้ยิ่งเป็นที่ต้องการ" คือ ชื่อว่ามีความรู้ยิ่งเป็นที่ต้องการ เพราะย่อมรู้ยิ่งซึ่งสิ่งที่จะพึงรู้เป็นอย่างยิ่ง ที่ชื่อว่ามีความกําหนดรู้เป็นที่ต้องการเพราะย่อมกําหนดรู้สิ่งที่จะต้องกําหนดให้รู้. ชื่อว่ามีการละเป็นที่หมาย ก็เพราะย่อมละสิ่งที่จะต้องละ. ก็แลปัญญานี้แม้ที่เป็นปัญญาแบบโลกๆ ก็มีความรู้ยิ่งเป็นที่ต้องการ มีความกําหนดรู้เป็นที่ประสงค์ และมีการละโดยการข่มไว้เป็นที่หมาย. ที่เป็นแบบอยู่เหนือโลก ก็มีความรู้ยิ่งเป็นที่ต้องการ มีความกําหนดรู้เป็นจุดประสงค์และมีการละโดยการตัดขาดเป็นเป้าหมาย. ในปัญญาทั้งสองนั้น ปัญญาแบบโลกๆ ย่อมรู้ชัดทั้งโดยหน้าที่ ทั้งโดยความไม่หลงลืม ปัญญาที่อยู่เหนือโลกย่อมรู้ชัดโดยความไม่หลงลืม. คําว่า "อาศัยความเห็นที่ถูกต้อง" คืออาศัยความเห็นที่ถูกต้องในวิปัสสนา, และความเห็นที่ถูกต้องในมรรค. คํา
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 309
ว่า "และเสียงจากผู้อื่น" คือการฟังเสียงที่เป็นที่สบาย. คําว่า "ความเอาใจใส่อย่างมีเหตุผล" คือ เอาใจใส่ในอุบาย (วิธีการ) ของตน. แม้ในหมู่พระสาวกเหล่านั้นเล่า ปัจจัยทั้งสองย่อมควรได้แก่ท่านแม่ทัพธรรม (พระสารี-บุตร) เท่านั้น. เพราะพระเถระ ถึงจะบําเพ็ญบารมีมาตั้งหนึ่งอสงไขยกําไรอีกแสนกัป ก็ยังไม่สามารถละกิเลสแม้แต่นิดเดียวโดยธรรมดาของตนได้. ต่อเมื่อได้ฟังคาถานี้จากพระอัสสชิเถระ ที่ขึ้นต้นว่า "สิ่งเหล่าใด มีเหตุเป็นแดนเกิด (=เกิดมาจากเหตุ) " จึงแทงทะลุได้. สําหรับเหล่าพระปัจเจกพุทธเจ้าและเหล่าพระสัพพัญูพุทธเจ้า ไม่มีงานเกี่ยวกับเสียงจากคนอื่น. ผู้ที่ดํารงอยู่ในความเอาใจใส่อย่างมีเหตุผลเท่านั้น จึงจะให้เกิดปัจเจกโพธิญาณและสัพพัญูคุณทั้งหลายได้. คําว่า "อัน...ช่วยเกื้อหนุนแล้ว"คือได้รับอุปการะแล้ว. คําว่า "ความเห็นที่ถูกต้อง" คือความเห็นที่ถูกต้องในอรหัตตมรรค (ทางแห่งความเป็นพระอรหันต์) ความเห็นที่ถูกต้องในอรหัตตมรรคนั้นเกิดในขณะแห่งผล. ที่ชื่อว่า มีความเห็นหลุดพ้นเพราะจิตเป็นผล เพราะความหลุดพ้นเพราะปฏิบัติทางจิตเป็นผลของท่าน ที่ชื่อว่ามีผลคือสิ่งที่ไหลออกมาจากความหลุดพ้นในทางจิตใจ เพราะผลคือสิ่งที่ไหลออกมากล่าวคือความหลุดพ้นในทางจิตใจของท่านมีอยู่. แม้ในบทที่สองก็ท่านองเดียวกันนี้แหละ. และพึงทราบว่าในผลเหล่านี้ผลที่ ๔ ชื่อว่าความหลุดพ้นเพราะความรู้ชัด สิ่งที่เหลือเป็นความหลุดพ้นเพราะจิตใจ. ในคําเป็นต้นว่า "อันศีลเกื้อหนุนแล้ว" ศีลอันมีความบริสุทธิ์ ๔ อย่างชื่อว่าศีล. คําว่า "การฟัง" คือการฟังเรื่องราวอันเป็นที่สบาย (ถูกอารมณ์). คําว่า"สากัจฉา" ได้แก่ ถ้อยคําที่ตัดความผิดพลาดคลาดเคลื่อนในกัมมัฏฐาน. คําว่า "สมถะ (ความสงบ) " ได้แก่สมาบัติ ๘ ที่มีวิปัสสนารองรับ. คําว่า "วิปัสสนา (ความเห็นแจ่มแจ้ง) " คือการตามเห็น (อนุปัสสนา) ๗ อย่าง.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 310
ก็แหละ พระอรหัตตมรรคย่อมเกิดขึ้นแล้วให้ผลแก่ผู้ที่กําลังบําเพ็ญศีลอันมีความหมดจดสี่อย่าง ฟังเรื่องราวอันเป็นที่สบาย ตัดความผิดพลาดคลาดเคลื่อนในกัมมัฏฐาน ทํางานในสมาบัติแปดที่มีวิปัสสนารองรับ อบรมการตามพิจารณาเห็น ๗ อย่างอยู่. พึงทราบข้อเปรียบเทียบที่เหมือนอย่างคนที่อยากกินมะม่วงสุกหวาน ติดซุ้มน้ำไว้รอบลูกต้นมะม่วงอย่างมั่นคง, ถือหม้อน้ำรดน้ำเป็นบางครั้งบางคราว, สร้างคันเพื่อกันน้ำไม่ให้ไหลออกอย่างมั่นคง, เอาเถาวัลย์ที่อยู่ใกล้ๆ ท่อนไม้แห้งๆ รังมดแดงหรือใยแมลงมุมออกไป. เอาจอบ (หรือเสียม) ไปขุดรอบๆ โคนเป็นบางเวลา, เมื่อเขาระแวดระวังทําเหตุครบ ๕ อย่าง ดังที่กล่าวมานี้อยู่ มะม่วงก็เจริญแล้วให้ผล.
พึงเห็นศีลอันมีความหมดจดสี่อย่าง เหมือนการติดซุ้มรอบต้นไม้, การฟังเรื่องราว (ธรรม) เหมือนการรดน้ำเป็นบางเวลา, สมถะเหมือนการกระทําความมั่นคงด้วยคัน, การตัดความผิดพลาดคลาดเคลื่อนในกัมมัฏฐาน เหมือนการเอาเถาวัลย์ที่อยู่ใกล้ๆ ออก, การอบรมปัญญาเครื่องตามพิจารณาเห็น ๗ อย่าง เหมือนการเอาจอบมาขุดรอบๆ โคนเป็นบางเวลา,พึงทราบการให้ผลคือความเป็นพระอรหันต์เพราะความเข้าใจที่ถูกต้องซึ่งสิ่งห้าอย่างเหล่านี้ของภิกษุนี้ตามเกื้อหนุนแล้ว เหมือเวลาต้นมะม่วงที่เหตุทั้งห้าอย่างเหล่านั้นตามเกื้อหนุนแล้วให้ผลหวานอร่อย ฉะนั้น.
ท่านพระมหาโกฏฐิกเถระย่อมถามถึงอะไรในคํานี้ว่า "ผู้มีอายุก็แลภพมีเท่าไร" พระเถระย่อมถามว่า ความสืบต่อไปถึงรากทีเดียวคนโง่ย่อมไม่ขึ้นจากภพเหล่าใด ข้าพเจ้าจะขอถามถึงภพเหล่านั้น" ในภพเหล่านั้น คําว่า "กามภพ" เพราะพระเถระท่านรวมเอาสิ่งทั้งสองคือการกระทําที่เข้าถึงกามภพและขันธ์ที่ตัณหามานะและทิฏฐิยึดเอาไว้ ซึ่งเกิดขึ้นมาเพราะการกระทําเป็นอันเดียวกันแล้วจึงกล่าวว่า "กามภพ"
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 311
แม้ในรูปภพและอรูปภพ ก็มีทํานองเดียวกันนี้แหละ. คําว่า "ต่อไป"ได้แก่ในอนาคต. การเกิดขึ้นในภพใหม่อีก ชื่อว่า "การเกิดขึ้นอย่างยิ่งในภพใหม่อีก" ในที่นี้ท่านถามถึงการเวียนว่ายตายเกิด. ความยินดีอย่างยิ่งในสิ่งนั้นๆ อย่างนี้คือความยินดีอย่างยิ่งในรูป ความยินดีอย่างยิ่งในเสียงเป็นต้น ชื่อว่า "ความยินดีอย่างยิ่งในสิ่งนั้นๆ "คํานี้เป็นปฐมาวิภัติ ลงในตติยาวิภัตินั่นเทียวจึงมีอธิบายว่า "การเกิดขึ้นในภพใหม่อีกย่อมมีเพราะความยินดีอย่างยิ่งในสิ่งนั้นๆ. ก็แล ด้วยคํามีประมาณเท่านี้ ก็เป็นอันว่าพระเกระทําให้ความหมุนเวียน (แห่งชีวิต) ถึงที่สุดแล้วแสดงว่า "การไปมี, การมาก็มี การไปและการมาก็มี ความหมุนเวียนก็ย่อมหมุนไป" ดังนี้.
บัดนี้ เมื่อจะถามถึงความเลิกหมุนเวียน พระมหาโกฏิฐิกเถระจึงได้กล่าวคําเป็นต้นว่า "ก็อย่างไร ท่านผู้มีอายุ" ในการตอบคําถามนั้นพึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
คําว่า "เพราะสํารอกความไม่รู้" ได้แก่เพราะความสิ้นไป และจืดจางแห่งความไม่รู้. คําว่า "เพราะเกิดความรู้ขึ้น" ได้แก่เพราะเกิดความรู้ในพระอรหัตตมรรค. อย่าไปกล่าวคําทั้งสองนี้ว่า "ความไม่รู้ดับก่อน หรือความรู้เกิดก่อน" เพราะเกิดความรู้ขึ้น ความไม่รู้จึงเป็นอันดับไปโดยแท้ เหมือนความมืดหายไป เพราะแสงโพลงของตะเกียง. คําว่า "เพราะความทะยานอยากดับไปโดยไม่เหลือ" ได้แก่ เพราะความดับไปโดยไม่เหลือคือความสิ้นไปแห่งความทะยานอยาก. คําว่า "ไม่มีความเกิดขึ้นในภพใหม่อีก" คือความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่อีกต่อไปอย่างนี้ย่อมไม่มี, การไป การมา ทั้งการไปและการมาก็ย่อมไม่มี. วงกลม (ของชีวิต) ก็หยุดหมุนไปด้วยประการฉะนี้. ก็เป็นอันว่า พระเถระทําให้วงกลม (ของชีวิต) ถึงที่สุดแล้วแสดง.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 312
พระเถระย่อมถามถึงอะไรในคํานี้ว่า "ท่านผู้มีอายุ ก็เป็นไฉนเล่า?"ภิกษุผู้หลุดพ้นทั้งสองส่วน (คือทั้งเจโตวิมุตติ และ ปัญญาวิมุตติ) ย่อมเข้านิโรธเป็นบางครั้งบางคราว. พระเถระย่อมถามว่า "ข้าพเจ้าขอถามฌานที่หนึ่งซึ่งมีนิโรธเป็นเครื่องรองรับของภิกษุนั้น" ในคํานี้ว่า "ผู้มีอายุ ก็แลฌานที่หนึ่งนี้" พระเถระย่อมถามถึงอะไร? ธรรมดาภิกษุผู้เข้านิโรธต้องเข้าใจถึงขอบเขตส่วนกําหนดองค์ว่า ฌานนี้มีองค์ห้า นี้มีองค์สี่ นี้มีองค์สาม นี้มีองค์สอง. พระเถระจึงถามว่า "ข้าพเจ้าจะขอถามถึงขอบเขตส่วนสําหรับกําหนดองค์. ในองค์เป็นต้นว่า "ความตรึก" (นี้) ความตรึกมีการยกขึ้น (คือยกอารมณ์ขึ้นสู่จิต หรือยกจิตขึ้นสู่อารมณ์) เป็นลักษณะ ความตรองมีการเคล้าคลึง (อารมณ์) เป็นลักษณะ, ความเอิบอิ่มมีการแผ่ไปเป็นลักษณะ. ความสบายมีความชื่นใจเป็นลักษณะ. ความที่จิตมีอารมณ์เดียว มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นลักษณะ สิ่งทั้งห้าอย่างนี้ ย่อมเป็นไปด้วยประการฉะนี้.
ในคําว่า "ที่องค์นั้นละได้แล้ว" นี้ พระเถระย่อมถามถึงอะไร?ท่านถามว่า ธรรมดาภิกษุผู้จะเข้านิโรธ ต้องเข้าใจองค์ที่เป็นอุปการะและที่ไม่ใช่เป็นอุปการะข้าพเจ้าจะขอถามองค์เหล่านั้น. สําหรับคําตอบในคําถามนี้ ปรากฏแล้วแล. ด้วยประการฉะนี้ ก็เป็นอันว่าท่านได้ถือเอาฌานที่หนึ่งซึ่งมีนิโรธเป็นที่รองรับไว้ในชั้นล่างแล้ว พระเถระจึงจะถามการเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ อันเป็นอนันตรปัจจัยแห่งฌานที่หนึ่งนั้นในชั้นบน. ก็แลสมาบัติทั้ง ๖ ในระหว่างแห่งเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น พึงทราบว่าท่านได้ย่อไว้ หรือท่านชี้นัยแก้ไว้แล้ว.
บัดนี้ เมื่อจะถามประสาททั้งห้าที่อาศัยวิญญาณพระมหาโกฏฐิกเถระจึงกล่าวว่า "ผู้มีอายุห้าเหล่านี้" เป็นต้น. ในคําเหล่านั้น คําว่า "โคจร-
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 313
วิสัย" คือวิสัยอันเป็นโคจร. คําว่า "ของกันและกัน" ได้แก่ไม่ยอมเสวยเฉพาะโคจรวิสัย (อารมณ์เป็นที่เที่ยวไป) ของแต่ละอย่างๆ อย่างนี้คือหู (รับอารมณ์ได้ทั้ง) ของตาและของหู หรือ (รับอารมณ์) ของตา. หากรวมเอาอารมณ์ที่เป็นรูปต่างด้วยสีเขียวเป็นต้น แล้วโอนไปให้อินทรีย์คือหูแล้วพูดว่า " เอ้า... แกลองกําหนดมันก่อนซิ...ลองว่าให้แจ่มแจ้งมาซิว่า นี้มันชื่ออารมณ์อะไร " ถึงวิญญาณทางตาก็เถอะ ยกปากออกแล้ว มันก็จะพึงพูดตามธรรมดาของตนอย่างนี้ว่า "เฮ้ย...ไอ้บอดแล้วโง่ด้วย ต่อให้มึงวิ่งวนอยู่ตั้งร้อยพันปีก็เถอะ นอกจากกูแล้ว มึงจะได้ผู้รู้จักสิ่งนี้ที่ไหน เอามันมาน้อมใส่ในประสาทตาซิ กูจะรู้จักอารมณ์นั้นไม่ว่ามันจะเขียวหรือเหลือง นั่นมันไม่ใช่วิสัยของผู้อื่น เลยมันต้องเป็นวิสัยของกูเท่านั้น "แม้ในทวารที่เหลือก็มีนัยอย่างเดียวกันนี้แล. อย่างนี้ชื่อว่าอินทรีย์ เหล่านี้ไม่ยอมรับเสวยโคจรวิสัยของกันและกัน. คําว่า "อะไรเป็นที่พึ่งอาศัย" ได้แก่ท่านถามว่า "อะไรเป็นที่พึ่งอาศัยของอินทรีย์เหล่านี้ คืออินทรีย์เหล่านี้อาศัยอะไร-" คําว่า "มีใจเป็นที่พึ่งอาศัย" ได้แก่ มีใจเป็นที่แล่นไป (เสพอารมณ์หรือ ทํากรรม) เป็นที่พึ่งอาศัย. คําว่า "ใจนั่นแหละ...ของ...เหล่านั้น" ได้แก่ใจที่แล่นไปตามมโนทวาร หรือใจที่แล่นไปทางทวารทั้งห้า ย่อมเสวยโคจรวิสัยแห่งอินทรีย์เหล่านั้น ด้วยอํานาจความกําหนัดเป็นต้น. จริงอยู่ ความรู้แจ้งในทางตาย่อมเป็นสักแต่ว่าเห็นรูปเท่านั้น ไม่มีความกําหนัดความคิดประทุษร้าย หรือความหลงในการเห็นรูปเป็นต้น แต่จิตที่แล่นไปในทวารนี้ต่างหากย่อมกําหนัด ย่อมประทุษร้าย หรือย่อมหลง. แม้ในความรู้แจ้งทางหูเป็นต้น ก็ทํานองเดียวกันนี้แหละ.
ต่อไปนี้เป็นการเปรียบเทียบในเรื่องอินทรีย์เหล่านั้น คือ
มีเรื่องเล่าว่า มีกํานันอ่อนแอ ๕ คน พากันส้องเสพพระราชา แล้วก็ได้กําไรเล็กน้อยในหมู่บ้าน ๕ ตระกูล แห่งหนึ่งด้วยความยากลําบาก.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 314
ของเพียงเท่านี้แหละคือปรับเป็นปลาหนึ่งส่วน เนื้อหนึ่งส่วน กหาปณะพอซื้อเชือกได้หนึ่งเส้น กหาปณะพอซื้อเชือกผูกช้างได้๑ เส้น สี่กหาปณะแปดกหาปณะ สิบหกกหาปณะ สามสิบสองกหาปณะ หรือหกสิบสี่กหาปณะในหมู่บ้านนั้น ย่อมถึงพวกกํานันเหล่านั้น. พระราชาเท่านั้นทรงรับพลีใหญ่โตเป็นหมวดสิ่งของร้อยสิ่ง ห้าร้อยสิ่ง พันสิ่ง.
พึงทราบว่าประสาททั้งห้าเหมือนหมู่บ้านห้าตระกูลในที่นั้น. ความรู้แจ้ง (วิญญาณ) ทั้งห้า เหมือนกํานันอ่อนแอห้าคน การแล่นไปเสพอารมณ์ (ชวนะ) เหมือนพระราชา หน้าที่แต่การเห็นรูปเป็นต้นแห่งความรู้แจ้งในทางตาเป็นต้น เหมือนกํานันอ่อนแอได้รับกําไรเล็กน้อย. ส่วนความกําหนัดเป็นต้นไม่มีในประสาทเหล่านี้. พึงทราบความกําหนัดเป็นต้นของจิตที่ทําหน้าที่แล่นไปเสพอารมณ์ในทวารเหล่านั้น เหมือนการรับพลีจํานวนมากของพระราชา.
ในคําว่า "ห้าเหล่านี้ ผู้มีอายุ" นี้พระเถระย่อมถามถึงอะไร ท่านถามถึงประสาททั้งห้าภายในนิโรธว่า สําหรับพวกสิ่งที่หารูปร่างไม่ได้ (นั้น) เมื่อความเป็นไปที่สําเร็จมาจากกิริยา (จิต) กําลังดําเนินไปอยู่ ก็จะเป็นปัจจัยที่เข้มแข็งแก่ประสาททั้งหลาย ก็ผู้ใดดับประสาทที่เป็นไปแล้วนั้นแล้วเข้านิโรธสมาบัติ ประสาททั้งห้าภายในนิโรธของผู้นั้นอาศัยอะไรจึงตั้งอยู่ได้ ข้าพเจ้าขอถามสิ่งนี้ด้วยประการฉะนี้ คําว่า "อาศัยอายุ" ได้แก่อาศัยธรรมชาติที่เป็นใหญ่ทําหน้าที่เป็นอยู่ (ชีวิตินทรีย์) ตั้งอยู่. คําว่า "อาศัยไออุ่น" ได้แก่สิ่งที่เป็นใหญ่ในการเป็นอยู่ อาศัยไฟที่เกิดจากกรรมตั้งอยู่. ก็เพราะแม้ไฟที่ผลิตมาจากกรรม เว้นสิ่งที่เป็นใหญ่ในการเป็นอยู่ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ฉะนั้น ท่านจึงว่าไออุ่นอาศัยอายุตั้งอยู่. คําว่า "ลุกไหม้อยู่" ได้แก่โพลงอยู่. คําว่า "อาศัยเปลวไฟ" ได้แก่อาศัยเปลวแสง. คํา
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 315
ว่า "แสงย่อมปรากฏ" ได้แก่แสงสว่างย่อมปรากฏ. คําว่า "เปลวไฟอาศัยแสง" ได้แก่เปลวไฟอาศัยแสงสว่างจึงปรากฏ. ในคําว่า "ฉันนั้น นั่นแลท่านผู้มีอายุอายุย่อมอาศัยไออุ่นตั้งอยู่" นี้คือไฟที่เกิดจากกรรมเหมือนเปลวไฟ, สิ่งที่เป็นใหญ่ในการเป็นอยู่ เหมือนแสงสว่าง, จริงอยู่ เปลวไฟเมื่อจะเกิดก็ถือเอาแสงสว่างนั่นแหละเกิดขึ้น. แม้เปลวไฟเองนั้นก็ย่อมเป็นของปรากฏเป็นเล็กใหญ่ยาวสั้น ตามแสงสว่างที่ตนนั้นให้เกิดนั่นแหละการใช้สิ่งที่เป็นใหญ่ในการเป็นอยู่ ซึ่งเกิดพร้อมกับมหาภูตรูปที่เกิดจากกรรมซึ่งอาศัยไออุ่น ตามรักษาไออุ่น ก็เหมือนความปรากฏแห่งความเป็นไปของเปลวไฟนั้นเอง เพราะแสงสว่างที่ความเป็นไปแห่งเปลวไฟในแสงสว่างนั้นให้เกิด จริงอยู่ สิ่งที่เป็นใหญ่ในการเป็นอยู่ ย่อมรักษาไออุ่นที่เป็นไปอันเกิดจากกรรมไว้ สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง ฯลฯ ร้อยปีบ้าง. ด้วยประการฉะนี้มหาภูตรูป จึงเป็นปัจจัยด้วยอํานาจนิสสัยปัจจัยเป็นต้นแห่งรูปอาศัย.ฉะนั้น จึงเป็นอันว่า อายุย่อมอาศัยไออุ่นตั้งอยู่. ความเป็นใหญ่ในความเป็นอยู่ย่อมรักษามหาภูตรูปทั้งหลายไว้ ด้วยเหตุนี้จึงควรเข้าใจว่าไออุ่นย่อมอาศัยอายุตั้งอยู่.
คําว่า "อายุสังขาร" ก็คือ อายุนั่นเอง. คําว่า "สิ่งที่มีความรู้-สึก" คือสิ่งที่เป็นเครื่องรู้สึก. คําว่า "การออกย่อมปรากฏ" คือการออกจากสมาบัติก็ปรากฏ. จริงอยู่ ภิกษุใด เกิดพอใจในอรูปที่เป็นไปแล้วจึงดับความรู้จําและความรู้สึกแล้วเข้าสู่นิโรธ สิ่งที่ไม่มีรูปร่าง ซึ่งมีสิ่งที่เป็นใหญ่ในการเป็นอยู่ของรูปเป็นปัจจัยก็เกิดแก่ภิกษุนั้น ตามอํานาจเวลาตามที่กะไว้ ส่วนสิ่งทั้งที่มีรูปและไม่มีรูปที่เป็นไปแล้วอย่างนั้นก็คงเป็นไป. เหมือนอะไร? เหมือนชายคนหนึ่งเกิดกลุ้มขึ้นมา ในเพราะเปลวไฟที่เป็นไปจึงเอาน้ำมาสา ทําให้เปลวไฟเลิกเป็นไป เอาขี้เถ้ามากลบถ่านไว้แล้วก็นั่งนิ่ง. เมื่อเขาอยากให้มีเปลวอีกก็เขี่ยขี้เถ้าออกแล้วพลิกถ่านกลับ เติมเชื้อ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 316
แล้วเป่าลมด้วยปาก หรือพัดลมด้วยก้านตาล (เอาพัดใบตาลพัด) ทีนั้นเปลวไฟที่เป็นไปก็เป็นไปอีกฉันใด, ฉันนั้นนั่นแล สิ่งที่ไม่มีรูป ก็เหมือนเปลวไฟที่เป็นไป, การที่ภิกษุเกิดกลุ้มใจขึ้นมา ในเพราะอรูป (ฌาน) ที่เป็นไปแล้ว จึงดับความรู้จําและความรู้สึก เข้านิโรธก็เหมือนการที่คนเกิดรําคาญในเพราะเปลวไฟที่เป็นไปแล้ว จึงเอาน้ำมาสาดทําให้เปลวไฟเลิกเป็นไปเอาขี้เถ้ามากลบถ่านไว้แล้วนั่งนิ่ง, สิ่งที่เป็นใหญ่ในการเป็นอยู่ของรูปคือธาตุไฟที่เกิดจากกรรม ก็คงเป็นไปเหมือนกับถ่านที่เอาขี้เถ้ากลบไว้, การไปตามเวลาที่ภิกษุกะไว้เหมือนกับการที่เมื่อคนต้องการเปลวไฟอีกเขี่ยขี้เถ้าเป็นต้นออกไป, ความเป็นไปของสิ่งที่มีรูปและไม่มีรูปในเมื่อสิ่งที่ไม่มีรูปเกิดขึ้นอีกพึงทราบว่า เหมือนความเป็นไปของแสงไฟ. คําว่า "อายุไออุ่นและวิญญาณ" หมายความว่าสิ่งสามอย่างเหล่านี้คือ สิ่งที่เป็นใหญ่ในการเป็นอยู่ของรูป ๑ ธาตุไฟที่เกิดจากกรรม ๑ จิต ๑ ละทิ้งรูปกายนี้เมื่อไรเมื่อนั้น -ก็ ถูกทอดทิ้งนอนบนแผ่นดินเหมือนท่อนไม้ที่ไร้จิตใจฉะนั้น สมจริงดังคําที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า
"อายุ ไออุ่น และวิญญาณ ละร่างนี้ไปเมื่อใด เมื่อนั้นก็ถูกทิ้งให้นอนอย่างไร้จิตใจ กลายเป็นอาหารของสัตว์อื่นไป".
การหายใจเข้าและการหายใจออก ชื่อว่า "เครื่องปรุงกาย" ความตรึกและความตรองชื่อว่า "เครื่องปรุงวาจา" ความรู้จําและความรู้สึกชื่อว่า "เครื่องปรุงจิต" ความเป็นใหญ่ในการเป็นอยู่ของรูปชื่อว่า"อายุ". คําว่า "แตกไปโดยรอบ" ได้แก่ถูกกําจัด ฉิบหายแล้วในเรื่องของนิโรธ (ความดับ) นั้น บางท่านกล่าวว่าจิตยังไม่ดับเพราะคํา (บาลี) ว่า"เครื่องปรุงจิตของผู้เข้านิโรธเท่านั้น ที่ดับไป, ฉะนั้นจึงเป็นการเข้าถึงกายพร้อมกับจิต" พึงกล่าว (ค้าน) ท่านเหล่านั้นว่า "คําพูดก็ไม่ดับน่ะซีเพราะ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 317
คํา (บาลี) ว่า แม้เครื่องปรุงคําพูดของเธอ ก็ดับไปด้วย ฉะนั้น ผู้เข้านิโรธสมาบัติ พึงนั่งกล่าวธรรมอยู่ก็ได้ พึงนั่งทําการท่องหนังสืออยู่ก็ได้ ละจิตของผู้ที่ทํากาละตายไปแล้วก็พึงไม่ดับ เพราะคํา (บาลี) ว่า "แม้เครื่องปรุงจิตของเขาก็ดับไปแล้ว" ฉะนั้น ผู้เผา แม่พ่อ หรือพระอรหันต์ที่ตายไปแล้วก็จะพึงเป็นผู้ทําอนันตริยกรรมน่ะซี"...เพราะฉะนั้นอย่าไปทําความยึดมั่นในพยัญชนะ พึงตั้งอยู่ในแบบแผน (นัย) แล้วพิจารณาใจความให้รอบคอบจริงอยู่ ใจความเป็นหลักที่พึ่งอาศัยไม่ใช่พยัญชนะ คําว่า "อินทรีย์ทั้งหลายผ่องใสแล้ว" ความว่าจริงอยู่ เมื่อความเป็นไปที่สําเร็จมาจากกิริยาจิต กําลังเป็นไป เมื่ออารมณ์ภายนอกกําลังกระทบประสาท อินทรีย์ทั้งหลายย่อมเหนื่อยเป็นเหมือนกับถูกกระแทกถูกทํา เหมือนกับกระจกที่ตั้งไว้ในทางใหญ่สี่แยกถูกละอองฝุ่นที่ฟุ้งขึ้นเพราะลมเป็นต้นทําให้แปดเปื้อนฉะนั้น.ประสาททั้งห้าที่อยู่ภายในนิโรธของภิกษุผู้เข้านิโรธ ย่อมรุ่งเรืองเหลือที่จะเปรียบ เหมือนกระจกที่ใส่ไว้ในถุงแล้วตั้งไว้ในตู้เป็นต้น ย่อมรุ่งเรืองในภายในนั่นเอง ฉันใดก็ฉันนั้น. เพราะฉะนั้น พระสารีบุตรเถระจึงได้กล่าวว่า "อินทรีย์ทั้งหลายผ่องใสแล้ว". ในคําว่า "ผู้มีอายุก็ปัจจัย มีเท่าไร"พระมหาโกฏฐิกเถระย่อมถามถึงอะไร ท่านย่อมถามว่า "ข้าพเจ้าจะขอถามถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ อันเป็นอนันตรปัจจัยของนิโรธ. สําหรับในการแก้ปัญหานั้น พระสารีบุตรเถระได้กล่าวถึงปัจจัยที่ไปปราศไว้สี่อย่างว่า "และเพราะละสุขเสียได้" เป็นต้น.
ในคําว่า "ไม่มีเครื่องหมาย" นี้ท่านย่อมถามถึงอะไร ท่านถามว่า ข้าพเจ้าจะขอถามถึงผลสมาบัติของผู้ออกจากนิโรธ. ก็แหละการออกจากสมาบัติที่เหลือย่อมมีเพราะภวังค์. ส่วนการออกจากนิโรธ ย่อมมีเพราะผลสมาบัติอันหลั่งไหลมาจากวิปัสสนา. ฉะนั้น พระเถระจึงถามถึงการออก
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 318
จากนิโรธนั้นแล. คําว่า "มีเครื่องหมายทุกอย่าง" ได้แก่อารมณ์ทั้งหมดมีรูปเป็นต้น. คําว่า "และการใส่ใจในธาตุที่ไม่มีเครื่องหมาย" ได้แก่การใส่ใจในนิพพานธาตุที่ปราศจากเครื่องหมายทุกชนิด. พระเถระกล่าวหมายเอาความใส่ใจที่เกิดพร้อมกับผลสมาบัติ ด้วยประการฉะนี้. เป็นอันว่าท่านถือเอาฌานที่หนึ่งที่มีนิโรธเป็นที่รองรับในชั้นล่างแล้ว. เนวสัญญานาสัญญายตนะที่เป็นอนันตรปัจจัยของนิโรธ ท่านก็ถือเอาแล้ว. ผลสมาบัติของผู้ออกจากนิโรธ ท่านก็ถือเอาในบทนี้แล้วแล. ในที่นี้พึงกล่าวถึง นิโรธกถา (ถ้อยคําว่าด้วยความดับ) นิโรธกถานั้นมาแล้วในปฏิสัมภิทามรรคอย่างนี้ว่า ""ความรู้ชัดสําหรับใช้อบรมบ่มความชํานิชํานาญ ย่อมมีได้ด้วยความสงบ ระงับเครื่องปรุงแต่งตั้งสามอย่าง เพราะผู้ประกอบด้วยผลสองอย่าง ด้วยการดําเนินไปในความรู้ทั้งสิบหกอย่าง และการดําเนินไปในสมาธิเก้าอย่าง ความรู้ (ญาณ) ย่อมมีได้ด้วยการเข้านิโรธ" ส่วนคําวินิจฉัยทุกแง่ทุกมุมของนิโรธกถานั้น ท่านกล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรค.
บัดนี้ เมื่อจะถามถึงสมาบัติสําหรับใช้สอย พระเถระจึงกล่าวคําเป็นต้นว่า "ผู้มีอายุ ก็แลปัจจัยมีเท่าไร" ก็ธรรมดาการหยุดของผลสมาบัติของผู้ออกจากนี้โรธไม่มี. การหยุด (ฐิติ ได้แก่ฐีติขณะ) เป็นไปหนึ่งหรือสองวาระจิตเท่านั้น แล้วก็หยั่งลงสู่ภวังค์ สําหรับภิกษุที่นั่งดับสิ่งที่ไม่มีรูปที่เป็นไปแล้วตลอดเจ็ดวันนี้ จะตั้งอยู่ในผลสมาบัติของผู้ออกจากนิโรธได้ไม่นาน.แต่ในสมาบัติสําหรับใช้สอย การกําหนดเวลา เป็นเรื่องสําคัญแท้. ฉะนั้น ชื่อว่าการหยุดนั้น จึงย่อมมีได้. เพราะเหตุนั้น พระมหาโกฏฐิกเถระจึงกล่าวว่า "ด้วยการตั้งอยู่ (ฐิติ) แห่งผลสมาบัติที่ไม่มีเครื่องหมาย" หมายความว่า "ปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่ได้นานแห่งผลสมาบัตินั้นมีเท่าไร" ส่วนในการแก้ปัญหานั้น ท่านกล่าวถึงการกะเวลาว่า "และการปรุงแต่งอย่างยิ่งใน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 319
กาลก่อน" พระมหาโกฏฐิกเถระ ถามถึงการออกจากภวังค์ในคําว่า "แห่งการออก" นี้. แม้ในการแก้ปัญหานั้น ท่านก็ได้กล่าวถึงความใส่ใจที่เกิดขึ้นพร้อมกับภวังค์ด้วยอํานาจเครื่องหมายมีรูปเป็นต้นว่า "และการใส่ใจเครื่องหมายทุกชนิด" ในคําว่า "ผู้มีอายุ...ก็แลนี้ใด" นี้พระมหาโกฏฐิกเถระถามถึงอะไร ท่านถามว่าในที่นี้ไม่มีข้อใหม่อย่างอื่น ข้าพเจ้าจะขอเอาสิ่งที่กล่าวเสร็จแล้วในหนหลังนั่นแหละมารวมเป็นอันเดียวกันแล้วจึงถาม.ก็แล สิ่งเหล่านี้ ท่านกล่าวไว้ที่ไหน ท่านกล่าวความหลุดพ้นทางใจที่ไม่มีขอบเขตจํากัดไว้ในที่นี้แลว่า "ย่อมจําสีเขียวก็ได้ ย่อมจําเหลือง สีแดง สีขาวก็ได้." ท่านกล่าวถึงความเป็นของว่างเปล่าในสูตรนี้ว่า "ย่อมรู้ชัดอากิญจัญญา"ในที่นี้ว่า "พึงรู้อากิญจัญญายตนะที่บริกรรมว่า" "ไม่มีอะไรๆ (หรืออะไรน้อยหนึ่งก็ไม่มี) " ด้วยตาคือความรู้ชัด. ท่านกล่าวถึงความหลุดพ้นทางใจที่ไม่มีเครื่องหมายในพระสูตรนี้ว่า "ผู้มีอายุ...ก็ปัจจัยของความหยุดอยู่ของการออกแห่งความหลุดพ้นทางใจซึ่งไม่มีเครื่องหมายมีเท่าไร" ท่านย่อมเอาสิ่งที่กล่าวเสร็จแล้วในหนหลังนั่นแหละมารวมเข้าเป็นอันเดียวกันในที่นี้ แล้วจึงถามอย่างนี้. เพราะกล่าวว่า "ก็และท่านใส่ความหลุดพ้นนั้นแล้วจึงแสดงความหลุดพ้นนี้ไว้ในที่นั้นๆ หรือ "จึงยังมีสิ่งเหล่าอื่นอีกสี่อย่างที่มีชื่ออย่างเดียวกัน. สิ่งอย่างเดียวกันชื่อถึง ๔ อย่างก็มี. ท่านจึงถามเพื่อให้ผู้ตอบทําสิ่งหนึ่งให้แจ่มแจ้งแล้วบอกในที่นี้. ในอรรถกถาท่านทําความตกลงใจดังนี้. คําในการตอบคําถามนั้นว่า "ผู้มีอายุ...นี้เรียกว่าความหลุดพ้นทางใจที่ไม่มีประมาณ (ไม่มีขอบเขตจํากัด) " คือ นี้ชื่อว่าความหลุดพ้นทางใจที่ไม่มีประมาณเพราะไม่มีประมาณแห่งการแผ่ไป. จริงอยู่ ความหลุดพ้นทางใจที่ไม่มีประมาณนี้ ย่อมแผ่ไปในสัตว์ไม่จํากัดจํานวน หรือแผ่ไปในสัตว์หนึ่ง จนถึงไม่มีสัตว์เหลืออยู่.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 320
คําว่า "ผู้มีอายุ...นี้เรียกว่าอากิญจัญญา" คือ ที่ชื่อว่าอากิญจัญญาเพราะไม่มีความกังวลในอารมณ์. คําว่า "หรือจากตน" คือว่างจากตน กล่าวคืออัตภาพบุรุษและบุคคลเป็นต้น. คําว่า "หรือจากของตน" ได้แก่ว่างจากของตน กล่าวคือเครื่องเครามีจีวรเป็นต้น. คําว่า "ไม่มีเครื่องหมาย" ได้แก่ ชื่อว่าไม่มีเครื่องหมายเพราะไม่มีเครื่องหมายมีความกําหนัดเป็นต้น. พระเถระกล่าวหมายเอาการเข้าถึงอรหัตตผล. คําว่า "ใจความก็ต่างกัน และ พยัญชนะก็ต่างกัน" ได้แก่ ทั้งพยัญชนะทั้งใจความของสิ่งเหล่านั้นแตกต่างกัน. ในความแตกต่างกันเหล่านั้น ความแตกต่างกันแห่งพยัญชนะแจ่มแจ้งแล้ว. ส่วนใจความ คือความหลุดพ้นทางใจที่ไม่จํากัดจํานวน (อปฺปมาณา เจโตวิมุตฺติ) เป็น มหัคคตะ. เป็นรูปาวจรโดยภูมิแต่โดยอารมณ์มีสัตว์บัญญัติเป็นอารมณ์. อากิญจัญญาโดยภูมิเป็นอรูปาวจรโดยอารมณ์มีอารมณ์ที่ไม่พึงกล่าว. ความเป็นของว่าง (สฺุตา) โดยภูมิเป็นกามาวจร โดยอารมณ์ มีสังขารเป็นอารมณ์. สําหรับในที่นี้ท่านหมายเอาวิปัสสนาว่าความเป็นของว่าง. ความไม่มีนิมิต (อนิมิตฺตา) โดยภูมิเป็นโลกุตตระ โดยอารมณ์มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ในคําเป็นต้นว่า "ผู้มีอายุ ความกําหนัดแล เป็นสิ่งทําความประมาณ" ท่านกล่าวสิ่งที่ทําความประมาณไว้ว่า เหมือนอย่างว่าที่เชิงเขา มีน้ำเน่าสิบห้าชนิด เป็นน้ำมีสีดําปรากฏราวกับว่าลึกตั้งร้อยวา แก่ผู้มองดู ไม่มีแม้แค่ท่วมหลังเท้าของผู้เอาไม้เท้าหรือเชือกวัดอยู่ฉันใด. ฉันนั้นเหมือนกัน กิเลสมีความกําหนัดเป็นต้นยังไม่เกิดขึ้นตราบใด ตราบนั้น ก็ไม่มีใครสามารถรู้จักบุคคลได้ ต่างก็ปรากฏเหมือนพระโสดาบัน เหมือนพระสกทาคามีและเหมือนพระอนาคามีต่อเมื่อความกําหนัดเป็นต้น เกิดขึ้นแก่เขาจึงปรากฏออกมาว่า เป็นผู้กําหนัดผู้ดุร้าย ผู้หลง. ความกําหนัดเป็นต้นเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นแสดงประมาณของบุคคลว่า "คนนี้เพียงเท่านี้" ดังที่ว่ามานี้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 321
คําว่า "ผู้มีอายุความหลุดพ้นทางใจที่มีสัตว์อันบุคคลพึงประมาณไม่ได้ มีประมาณเท่าใดแล" คือความหลุดพ้นทางใจที่ไม่มีประมาณมีประมาณเพียงใด ก็แลการหลุดพ้นทางใจที่ไม่มีประมาณเหล่านั้นมีเท่าไร มี ๑๒ อย่างคือ พรหมวิหาร ๔ มรรค ๔ ผล ๔. ใน ๑๒ อย่างนั้นพรหมวิหารชื่อว่าไม่มีประมาณ เพราะความที่การแผ่ไปไม่มีประมาณที่เหลือชื่อว่าไม่มีประมาณ เพราะไม่มีกิเลสเครื่องทําประมาณ.แม้พระนิพพานก็ประมาณไม่ได้เหมือนกัน. ส่วนความหลุดพ้นทางใจไม่มี (ในพระนิพพานนั้น). ฉะนั้น ท่านจึงไม่จัดเข้า. คําว่า "ไม่กําเริบ" หมายเอาความหลุดพ้นทางใจคือพระอรหัตตผล. ก็แลความหลุดพ้นทางใจคือพระอรหัตตผลนั้น เป็นใหญ่กว่าอะไรๆ หมด. ฉะนั้น ท่านจึงว่า "อันท่านย่อมกล่าวว่าเป็นเลิศ" คําว่า "ผู้มีอายุความกําหนัดแลเป็นตัวเบียดเบียน" คือความกําหนัดแม้เมื่อเกิดขึ้นแล้วย่อมเบียดเบียน ย่ํายีรบกวน บุคคล ฉะนั้น ท่านจึงว่า เป็นตัวเบียดเบียน (ตัวก่อให้เกิดความกังวล, ความยุ่ง). เล่ากันมาว่าพวกคนกําลังพากันเอาวัวนวดลานข้าวอยู่ต่างพากันพูดว่า "ไอ้ดํา..เบียดเข้าไป เบียดไอ้แดงเข้าไป" พึงทราบอรรถว่าย่ํายีอรรถว่า เบียดเบียน ดังที่ว่ามานี้. แม้ในความประทุษร้ายและความหลง ก็มีทํานองเดียวกันนี้เหมือนกัน. สิ่งเก้าอย่างคืออากิญจัญญายตนะ ๑ มรรคและผลอย่างละหนึ่งๆ (รวมเป็นแปด) ชื่ออากิญจัญญาเจโตวิมุตติ. ใน ๙ อย่างนั้น อากิญจัญญายตนะ ชื่ออากิญจัญญา เพราะไม่มีอารมณ์ที่ก่อให้เกิดความกังวล (ความเบียดเบียน, ความย่ํายี, ความรบกวน, ความยุ่งยาก, หรือน้อยหนึ่ง, อะไรๆ น้อยหนึ่ง) แก่ใจ. มรรค (๔) และผล (๔) ชื่ออากิญจัญญา เพราะไม่มีความเบียดเบียน คือเพราะความไม่มีกิเลสเครื่องย่ํายีและเครื่องก่อให้เกิดความกังวล, แม้พระนิพพานก็เป็นอากิญจัญญา. แต่ไม่มีความหลุดพ้นแห่งใจ (เพราะใจไม่มีในพระนิพพาน พระนิพพานไม่มีใจ) เพราะฉะนั้นจึงไม่จัด
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 322
เข้า. ในคําว่า "ผู้มีอายุ ความกําหนัดแลเป็นเครื่องทําเครื่องหมาย" เป็นต้น ความว่า เมื่อความกําหนัดยังไม่เกิดตราบใด ตราบนั้น ไม่มีใครสามารถรู้ได้ว่าเป็นอริยะหรือเป็นปุถุชน. ก็แลความกําหนัดเมื่อจะเกิดขึ้นก็เกิดขึ้นเหมือนกําลังทําเครื่องหมายสําหรับจําได้ว่า "บุคคลนี้ชื่อว่า ผู้มีความกําหนัด" เพราะฉะนั้น ท่านจึงว่า "เป็นเครื่องทําเครื่องหมายเหมือนลูกวัว๒ ตัว ที่เหมือนกันของ ๒ ตระกูล ตราบเท่าที่ยังไม่ได้ทําเครื่องหมายแก่ลูกวัวทั้ง ๒ ตัวนั้น ก็ย่อมไม่มีใครที่สามารถรู้ได้ว่า "นี้เป็นลูกวัวของตระกูลโน้น นี้ของตระกูลโน้น" แต่เมื่อใดเอาเหล็กแหลมที่ปลายหอกเป็นต้น มาทําเครื่องหมายอย่างใดอย่างหนึ่งก็มีผู้สามารถรู้ได้ฉันใดก็ฉันนั้นเหมือนกัน. แม้ในความดุร้ายและความหลงก็มีทํานองอย่างเดียวกันนี้เหมือนกัน.
วิปัสสนา ๑ อรูป ๔ มรรค ๔ และผล ๔ รวมเป็น ๑๓ สิ่ง (นี้) ชื่อว่า ความหลุดพ้นแห่งใจที่ไม่มีอะไรเป็นเครื่องหมายในสิบสามสิ่งนั้นวิปัสสนา ชื่อว่าไม่มีอะไรเป็นเครื่องหมาย ก็เพราะเพิกถอนเครื่องหมายว่าเที่ยง เครื่องหมายว่าสุขเครื่องหมายว่าตัวตนเสียได้. อรูป ๔ ชื่อว่าไม่มีอะไรเป็นเครื่องหมายเพราะไม่มีรูปเป็นเครื่องหมาย. มรรคผล ชื่อว่าไม่มีอะไรเป็นเครื่องหมายก็เพราะไม่มีกิเลสที่เป็นเครื่องทําเครื่องหมาย. แม้พระนิพพานก็ไม่มีอะไรเป็นเครื่องหมายเหมือนกัน แต่พระนิพพานนั้น ไม่เป็นความหลุดพ้นแห่งใจ เพราะฉะนั้น ท่านจึงไม่ได้จัดเข้าไว้. แล้วทําไมจึงไม่จัดความหลุดพ้นแห่งใจชนิดที่เป็นของว่างไว้ด้วยเล่า ความหลุดพ้นแห่งใจที่เป็นของว่างนั้น ชื่อว่าไม่เข้าไปในกิเลสทุกชนิดเลยเพราะคํา (บาลี) เป็นต้นว่า "ว่างจากความกําหนัด" เพราะฉะนั้นจึงไม่จัดเข้าไว้เป็นแผนกหนึ่งต่างหาก. คําว่า "มีใจความเป็นอันเดียวกัน" ได้แก่ และด้วยอํานาจอารมณ์ ก็มีใจความเป็นอันเดียวกัน. ก็แล คําทั้งหมดนี้คือ "ไม่มีประ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 323
มาณ, ความเป็นของไม่มีเครื่องกังวล, ความเป็นของว่าง, ไม่มีอะไรเป็นเครื่องหมาย" เป็นชื่อของพระนิพพานทั้งนั้น.
จึงเป็นอันสรุปได้ว่าก็แลตามแบบนี้ความหลุดพ้นแห่งใจที่ไม่มีประมาณในที่อื่น ความเป็นของไม่มีเครื่องกังวลในที่อื่น ความหลุดพ้นแห่งใจที่ไม่มีอะไรเป็นเครื่องหมายในที่อื่น (ทั้งหมดนั้นล้วนแต่) มีใจความเป็นอันเดียวกัน, ตามแบบนี้ต่างกันแต่พยัญชนะ (เท่านั้น).
พระเถระจบเทศนาลงตามอนุสนธิแท้ ดังที่ได้แสดงมาด้วยประการฉะนี้แล.
จบอรรถกถามหาเวทัลลสูตร ที่ ๓