โอปวุยหเถราปทานที่ ๕ (๕๕) ว่าด้วยผลแห่งการถวายม้าอาชาไนย
โดย บ้านธัมมะ  27 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 41045

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 221

เถราปทาน

วีชนีวรรคที่ ๖

โอปวุยหเถราปทานที่ ๕ (๕๕)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายม้าอาชาไนย


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 221

โอปวุยหเถราปทานที่ ๕ (๕๕) (๑)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายม้าอาชาไนย

[๕๗] เราได้ถวายน้ำอาชาไนยแด่พระพุทธเจ้า พระนามว่าปทุ- มุตตระ ครั้นมอบถวายในพระพุทธเจ้าแล้ว ได้กลับไปเรือน ของตน พระอัครสาวกของพระศาสดามีนามชื่อว่าเทวิล ผู้เป็น ทายาทแห่งธรรมอันประเสริฐ ได้มาสู่สำนักของเรา (กล่าวว่า)

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นำประโยชน์ทั้งปวง ผู้อาชาไนย ไม่ทรงหวั่นไหว พระองค์ผู้มีจักษุทรงทราบความดำริของท่าน จงทรงรับไว้.

เราจึงได้ตีราคาม้าสินธพซึ่งมีกำลังวิ่งเร็วดังลม เป็นพาหนะ เร็ว แล้วได้ถวายของที่ควรเท่าราคาม้า แด่พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ เราเข้าถึงกำเนิดใดๆ คือความเป็นเทวดา หรือมนุษย์ ม้าอาชาไนยอันมีกำลังวิ่งเร็วดังลม เป็นที่ยินดี ย่อมเกิดแก่เรา.

(เราดำริว่า) ชนเหล่าใดได้อุปสมบท ชนเหล่านั้นได้ดี แล้วหนอ เราพึงเข้าไปเฝ้าบ่อยๆ ถ้าพระพุทธเจ้ามีในโลก.

เราได้เป็นพระราชาผู้มีพละมาก ครอบครองแผ่นดินมี สมุทรสี่เป็นที่สุด เป็นใหญ่แห่งชนชาวชมพูทวีป ๒๘ ครั้ง.

ภพที่สุดย่อมเป็นไปแก่เรานี้เป็นครั้งหลังสุด เราละความ ชนะและความแพ้แล้ว ได้ถึงฐานะอันไม่หวั่นไหว.

ในกัปที่ ๓,๕๐๐ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้เป็นกษัตริย์ มีเดชมาก ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.


๑. อรรถกาเป็น โอปวัยหเถราปาน.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 222

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระโอปวุยหเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แลฯ

จบโอปวุยหเถราปทาน

๕๕. อรรถกถาโอปวัยหเถราปทาน

อปทานของท่านพระโอปวัยหเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตรพุทฺธสฺส ดังนี้.

พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญสมภาร ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้นๆ เมื่อพระอาทิตย์คือพระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระปรากฏในโลกแล้ว ท่านบังเกิด ในสกุลอันสมบูรณ์ด้วยสมบัติแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว มีทรัพย์มากมีโภคะ มากอยู่ครองฆราวาส เลื่อมใสในพระศาสนามีความเลื่อมใสและนับถือมาก ในพระศาสดา ได้ทำการบูชาด้วยม้าสินธพตัวอาชาไนย ก็แลครั้นบูชาแล้ว คิดว่า ช้างและม้าเป็นต้นไม่สมควรแก่สมณะทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น เราจักถวายกัปปิยะภัณฑ์ ให้ตีราคากัปปิยภัณฑ์นั้น แล้วได้ถวายจีวรอัน สำเร็จด้วยผ้าฝ้าย ผ้ากัมพล และโกเชาว์เป็นต้น และถวายเภสัชบริขาร มีการบูรและเปรียงเป็นต้น อันสมควรด้วยกหาปณะ ซึ่งมีราคาตาม กัปปิยภัณฑ์นั้น ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านดำรงอยู่จนตลอดอายุ จุติจาก


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 223

อัตภาพนั้นแล้ว เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยพาหนะเป็นอันมากมีช้างเละม้าเป็นต้น ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูล แห่งหนึ่ง บรรลุนิติภาวะแล้ว เพียบพร้อมด้วยศรัทธา บวชในพระศาสนา เรียนพระกรรมฐานเจริญวิปัสสนา ตั้งอยู่ในพระอรหัต ตามลำดับแห่งมรรค ด้วยอำนาจบุญสมภารที่ท่านบำเพ็ญในกาลก่อน ท่านจึงปรากฏนามว่า โอปวัยหเถระดังนี้.

ท่านใคร่ครวญว่า เพราะกรรมอะไรหนอ เราจึงได้บรรลุสันติบทนี้ รู้บุพกรรมด้วยโดยประจักษ์ เกิดโสมนัส เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปทุมุตฺตรพุทธสฺส ดังนี้ คำนั้นมีอรรถดังกล่าว แล้วนั้นแล. บทว่า อาชานียมทาสหํ ความว่า เราได้ถวาย คือได้บูชา ม้าสินธพผู้มีชาติอันสูงสุดอาชาไนย.

บทว่า สปตฺตภาโร๑ ความว่า บริขาร ๘ อัน ถึงแก่ตนนั้น เป็น ภาระของผู้ใด ผู้นั้นถือว่ามีภาระอันเป็นของตน อธิบายว่า ผู้ประกอบ ด้วยบริขาร ๘. บทว่า ขมนียนทาสหํ ความว่า บริขารอันเป็นกัปปิยะ มีจีวรเป็นต้น อันเหมาะแก่การยังอัตภาพให้เป็นไป. บทว่า จริโม ได้แก่ ภพที่สุด คือภพที่ถึงที่สุด. คำที่เหลือมีอรรถรู้ได้ง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถาโอปวัยหเถราปทาน


๑. บาลี สพฺพตฺถหาโร.