การบัญญัติปราชิก ๔ [จุลวรรค]
โดย wittawat  27 พ.ค. 2567
หัวข้อหมายเลข 47776

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การบัญญัติปราชิก ๔

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 513
ญัตติกรรมวาจา
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของ สงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าอันท่านพระมหากัสสปถามพระวินัยแล้วจะ พึงวิสัชนา.
ลำดับนั้น ท่านพระมหากัสสปได้ถามท่านพระอุบาลีว่า ท่านอุบาลี ปฐมปาราชิกสิกขาบท พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติที่ไหน.
อุ. ในเมืองเวสาลี ขอรับ
ม. ทรงปรารภใคร
อุ. ทรงปรารภพระสุทิน กลันทบุตร
ม. ในเพราะเรื่องอะไร
อุ. ในเพราะเมถุนธรรม.
ต่อจากนั้น ท่านพระมหากัสสปถามวัตถุ นิทาน บุคคล บัญญัติ อนุบัญญัติ อาบัติ อนาบัติ แห่งปฐมปาราชิกสิกขาบทกะท่านพระอุบาลี แล้ว ถามต่อไปว่า ทุติยปาราชิกสิกขาบท พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติที่ไหน.
อุ. ในพระนครราชคฤห์ ขอรับ
ม. ทรงปรารภใคร
อุ. ทรงปรารภพระธนิยะ กุมภการบุตร
ม. ในเพราะเรื่องอะไร
อุ. ในเพราะอทินนาทาน.
... ถามต่อไปว่า ท่านพระอุบาลี ตติยปาราชิกสิกขาบท พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง บัญญัติที่ไหน.
อุ. ในพระนครเวสาลี ขอรับ
ม. ทรงปรารภใคร
อุ. ทรงปรารภภิกษุมากรูปด้วยกัน
ม. ในเพราะเรื่องอะไร
อุ. ในเพราะมนุสสวิคคหะ.
... ถามต่อไปว่า จตุตถปาราชิกสิกขาบท พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติที่ไหน.
อุ. ในพระนครเวสาลี ขอรับ
ม. ทรงปรารภใคร
อุ. ทรงปรารภพวกภิกษุจำพรรษาอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา
ม. ในเพราะเรื่องอะไร
อุ. ในเพราะอุตริมนุสธรรม.


ปฐมปาราชิกสิกขาบท
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 391
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นมูลเค้านั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระสุทินน์ว่า ดูก่อนสุทินน์ ข่าวว่าเธอเสพเมถุนธรรม ในปุราณทุติยิกา (ภรรยาเก่า) จริงหรือ.
ท่านพระสุทินน์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า ...
ดูก่อนโมฆบุรุษ องค์กําเนิด อันเธอสอดเข้าในปากอสรพิษที่มีพิษร้ายยังดีกว่า อันองค์กําเนิดที่เธอสอดเข้าในองค์กําเนิดของมาตุคามไม่ดีเลย ... องค์กําเนิดอันเธอสอดเข้าในหลุมถ่านที่ไฟติดลุกโซนยังดีกว่า อันองค์กําเนิดที่เธอสอดเข้าในองค์กําเนิดของมาตุคาม ไม่ดีเลย
ข้อที่เราว่านั้น เพราะเหตุไร
เพราะบุคคลผู้สอดองค์กําเนิดเข้าในปากอสรพิษเป็นต้นนั้น พึงถึงความตาย หรือความทุกข์เพียงแค่ตาย ซึ่งมีการกระทํานั้นเป็นเหตุ และเพราะการกระทํานั้นเป็นปัจจัย เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรก ส่วนบุคคลผู้ทําการสอดองค์กําเนิดเข้าในองค์กําเนิดของมาตุคามนั้น เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาตนรก ซึ่งมีการกระทํานี้เป็นเหตุ
ดูก่อนโมฆบุรุษ เมื่อการกระทํานั้น มีโทษอยู่ เธอยังชื่อว่าได้ต้องอสัทธรรม อันเป็นเรื่องของชาวบ้าน เป็นมรรยาทของคนชั้นต่ํา อันชั่วหยาบมีน้ำเป็นที่สุด มีในที่ลับ เป็นของคนคู่ อันคนคู่พึงร่วมกันเป็นไป เธอเป็นคนแรกที่กระทําอกุศลธรรม เป็นหัวหน้าของคนเป็นอันมาก การกระทําของเธอนั้น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้การกระทําของเธอนั้น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว ...
พระปฐมบัญญัติ
๑. ก็ภิกษุใดเสพเมถุนธรรมเป็นปาราชิกหาสังวาสมิได้ ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลายด้วยประการฉะนี้.
สุทินนภาณวาร จบ


ทุติยปาราชิกสิกขาบท
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 7
ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุ เป็นมูลเค้านั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้นแล้วทรงสอบถามท่านพระธนิยะ กุมภการบุตรว่า ดูก่อนธนิยะ ข่าวว่า เธอได้ถือเอาไม้ของหลวงที่เขาไม่ได้ให้ไป จริงหรือ
ท่านพระธนิยะทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า ...
ก็สมัยนั้นแล มหาอำมาตย์ผู้พิพากษาเก่าคนหนึ่งบวชในหมู่ภิกษุ นั่ง อยู่ไม่ห่างพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงพระองค์ได้ตรัสพระวาจานี้ต่อภิกษุรูปนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชจับโจรได้แล้ว ประหารชีวิต เสียบ้าง จองจำไว้บ้าง เนรเทศเสียบ้าง เพราะทรัพย์ประมาณเท่าไรหนอ
ภิกษุรูปนั้นกราบทูลว่า เพราะทรัพย์บาทหนึ่งบ้าง เพราะของควรค่า บาทหนึ่งบ้าง เกินบาทหนึ่งบ้าง พระพุทธเจ้าข้า
แท้จริงสมัยนั้น ทรัพย์ ๕ มาสกในกรุงราชคฤห์ เป็นหนึ่งบาท ...
พระปฐมบัญญัติ
๒. อนึ่ง ภิกษุใด ถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้ ด้วย ส่วนแห่งความเป็นขโมย พระราชาทั้งหลาย จับโจรได้แล้วพึงประหารเสียบ้าง จองจำไว้บ้าง เนรเทศเสียบ้าง ด้วยบริภาษว่า เจ้าเป็น โจร เจ้าเป็นคนพาล เจ้าเป็นคนหลง เจ้าเป็นขโมย ในเพราะถือ เอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้เห็นปานใด ภิกษุถือเอาทรัพย์อันเจ้าของ ไม่ได้ให้เห็นปานนั้น แม้ภิกษุนี้ ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้ว แก่ภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องพระธนิยะ กุมภการบุตร จบ


ตติยปาราชิกสิกขาบท
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 259
ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท
[๑๗๙] ลำคับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ใน เพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุ ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกภิกษุปลงชีวิตตนเองบ้าง วานกัน และกันให้ปลงชีวิตบ้าง บางเหล่าก็ไปหามิคลัณฑิกสมณกุตตก์ กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อคุณ ขอท่านได้ช่วยปลงชีวิตพวกฉันที บาตรจีวรนี้จักเป็นของท่าน ดังนี้ จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า ...
พระปฐมบัญญัติ
๓. อนึ่ง ภิกษุใดจงใจพรากกายมนุษย์จากชีวิต หรือแสวง หาศัสตราอันจะปลิดชีวิตให้แก่กายมนุษย์นั้น แม้ภิกษุนี้ก็เป็น ปาราชิก หาสังวาสมิได้.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้ว แก่ภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.


จตุตถปาราชิกสิกขาบท
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 450
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต ด้วยวิธีการอย่างไร.
ภิกษุเหล่านั้นได้กราบทูลเนื้อความนั้น ให้ทรงทราบแล้ว. ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คุณวิเศษของพวกเธอนั่น มีจริงหรือ. ภิ. ไม่มีจริง พระพุทธเจ้าข้า ...
[๒๒๙] ... ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึง ได้กล่าวชมอุตริมนุสธรรมของกันและกันแก่พวกคฤหัสถ์ เพราะเหตุแห่ง ท้องเล่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ท้องอันพวกเธอคว้านแล้วด้วยมีดเชือดโค อันคม ยังดีกว่า อันพวกเธอกล่าวชมอุตริมนุสธรรมของกันและกันแก่พวก คฤหัสถ์เพราะเหตุแห่งท้อง ไม่ดีเลย ข้อที่เราว่าดีนั้น เพราะเหตุไร เพราะ บุคคลผู้คว้านท้องด้วยมีดเชือดโคอันคมนั้น พึงถึงความตาย หรือความทุกข์ เพียงแค่ตาย ซึ่งมีการกระทำนั้นเป็นเหตุ และเพราะการกระทำนั้นเป็นปัจจัย เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วน บุคคลผู้กล่าวชมอุตริมนุสธรรมของกันและกันแก่พวกคฤหัสถ์นั้น เบื้องหน้า แต่แตกกายตายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ซึ่งมีการกระทำนี้แล เป็นเหตุ ...
พระปฐมบัญญัติ
๔. อนึ่ง ภิกษุใด ไม่รู้เฉพาะ กล่าวอวดอุตริมนุสธรรม อันเป็นความรู้ ความเห็น อย่างประเสริฐ อย่างสามารถ น้อมเข้า มาในตนว่า ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ ข้าพเจ้าเห็นอย่างนี้ ครั้นสมัยอื่น แต่นั้น อันผู้ใดผู้หนึ่ง ถือเอาตามก็ตาม ไม่ถือเอาตามก็ตาม เป็น อันต้องอาบัติแล้ว มุ่งความหมดจด จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะท่าน ข้าพเจ้าไม่รู้อย่างนั้น ได้กล่าวว่ารู้ ไม่เห็นอย่างนั้น ได้กล่าวว่าเห็น ได้พูดพล่อยๆ เป็นเท็จเปล่าๆ แม้ภิกษุนี้ ก็เป็นปาราชิก หาสังวาส มิได้.
สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุทุทา จบ


กราบอนุโมทนา



ความคิดเห็น 1    โดย chatchai.k  วันที่ 31 พ.ค. 2567

ยินดีในกุศลจิตครับ