วิสังโยคะทั้ง ๔ นี้ โดยสภาวะแล้วตรงกันข้ามกับโยคะ ๔ การพราก การออก การหลุดพ้นจากโยคะ เป็นปัญญาขั้นอริยมรรค คือ
โสดาปัตติมรรค พรากจาก ทิฏฐิโยคะ
อนาคามิมรรค พรากจาก กามโยคะ
อรหัตตมรรค พรากจาก ภวโยคะ และอวิชชาโยคะ
ท่านจึงแสดงธรรมเป็นไปส่วนวิเศษในธรรมหมวด ๔ จากทสุตตรสูตร คือในทสุตตรสูตร ท่านพระสารีบุตรแสดงธรรมหมวด ๑๐ เป็น ๑๐ หมวด ดังนี้
๑. ธรรมที่มีอุปการะมาก
๒. ธรรมที่ควรเจริญ
๓.ธรรมที่ควรกำหนดรู้
๔. ธรรมที่ควรละ
๕.ธรรมที่เป็นไปในส่วนเสื่อม
๖.ธรรมที่เป็นไปในส่วนวิเศษ
๗.ธรรมที่แทงตลอดได้ยาก
๘ .ธรรมที่ควรให้เกิดขึ้น
๙.ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง
๑๐.ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง
ดังนั้น ธรรมที่เป็นไปในส่วนวิเศษ จึงมีตั้งแต่ หมวดที่ ๑ ถึง หมวดที่ ๑๐ และหมวดที่ ๔ ท่านแสดงวิสังโยคเป็นธรรมที่เป็นไปในส่วนวิเศษ ถ้าท่านใด ต้องการรายละเอียดโปรดศึกษาในทสุตตรสูตรเถิด
สาธุ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
โยคะ เป็นกิเลสเครื่องร้อยรัด ตรึงเหล่าสัตว์ไว้ในวัฏฏะ ไม่ให้พ้นไปจากวัฏฏะได้อย่างในชีวิตประจำวันก็มีเครื่องร้อยรัดมากมาย ทั้งความติดข้องยินดีพอใจ ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ จึงถูกร้อยรัดไว้ด้วยกามโยคะ ความเห็นผิดประการต่างๆ ที่ไม่เป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของปัญญา ไม่เป็นหนทางที่ถูกต้อง ถ้าขาดการฟังการศึกษาพระธรรม ขาดการพิจารณาในเหตุในผลของธรรม โอกาสที่จะดำเนินไปสู่ทางที่ผิดย่อมเป็นไปได้มากทีเดียว ย่อมถูกร้อยรัดด้วยทิฏฐิโยคะ และถูกร้อยรัดไว้ด้วยอวิชชาโยคะ ซึ่งเป็นความไม่รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง เมื่อยังไม่ได้ดับกิเลส จึงออกไปจากวัฏฏะไม่ได้ ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ร่ำไป ถูกร้อยรัดด้วยอกุศลธรรมมากมายภพแล้วภพเล่า ถ้าหากว่าไม่ได้ศึกษาพระธรรม ไม่ได้ฟังพระธรรม ไม่ได้สั่งสมความเข้าใจถูกเห็นถูก ซึ่งเป็นการอบรมเจริญปัญญาในชีวิตประจำวันแล้ว การที่จะไปถึงขั้นละกิเลสอย่างเด็ดขาด ย่อมไม่สามารถที่จะเป็นไปได้เลย ดังนั้น จึงไม่มีหนทางอื่นที่จะเป็นไปเพื่อการดับกิเลสได้ นอกจากการอบรมเจริญปัญญา เท่านั้น เมื่อมีปัญญาคมกล้าสามารถที่จะดับกิเลสได้อย่างเด็ดขาดตามลำดับมรรคแล้ว จึงเป็นผู้พรากจากกิเลสเครื่องร้อยรัดได้อย่างแท้จริง ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ