[เล่มที่ 42] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 435
๓. เรื่องอุตตราอุบาสิกา [๑๗๖]
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 42]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 435
๓. เรื่องอุตตราอุบาสิกา [๑๗๖]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงทำภัตกิจในเรือน ของนางอุตตราแล้ว ทรงปรารภอุบาสิกาชื่ออุตตรา ตรัสพระธรรมเทศนา นี้ว่า "อกฺโกเธน ชิเน โกธํ" เป็นต้น.
นายปุณณะยากจนต้องรับจ้างสุมนเศรษฐี
อนุปุพพีกถา ในเรื่องอุตตราอุบาสิกานั้น ดังต่อไปนี้ :-
ได้ยินว่า คนขัดสนชื่อปุณณะ อาศัยสุมนเศรษฐี รับจ้างเลี้ยงชีพ อยู่ในกรุงราชคฤห์. ในเรือน (ของเขา) มีคน ๒ คนเท่านั้น คือภรรยา ของเขาคนหนึ่ง ธิดาชื่อนางอุตตราคนหนึ่ง.
ต่อมาวันหนึ่ง พวกราชบุรุษทำการโฆษณาในกรุงราชคฤห์ว่า "ชาวพระนครพึงเล่นนักษัตรกันตลอด ๗ วัน." สุมนเศรษฐีได้ยินคำโฆษณานั้นแล้ว จึงเรียกนายปุณณะผู้มาแต่เช้าตรู่กล่าวว่า "พ่อ ปริชนของฉัน ประสงค์จะเล่นนักษัตรกัน, แกจักเล่นนักษัตร (กะเขา) หรือ หรือว่าจักทำการรับจ้างเล่า?"
นายปุณณะ. นาย ชื่อว่าการเล่นนักษัตร ย่อมเป็นของพวกท่านผู้มีทรัพย์, ก็ในเรือนของผม แม้ข้าวสารจะต้มข้าวต้มเพื่อรับประทานในวันพรุ่งนี้ก็ไม่มี. ผมจะต้องการอะไรด้วยนักษัตรเล่า? ผมได้โคแล้ว ก็จักไปไถนา.
สุมนเศรษฐี. ถ้าเช่นนั้น แกจงรับโคไปเถิด.
เขารับโคตัวทรงกำลังและไถแล้ว พูดกะภรรยาว่า "นางผู้เจริญ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 436
ชาวพระนครเล่นนักษัตรกัน, ฉันต้องไปทำการรับจ้าง เพราะความที่เราเป็นคนจน, วันนี้เจ้าพึงต้มผักสัก ๒ เท่า แล้วนำภัตไปให้เราก่อน" แล้วจึงได้ไปนา.
พระสารีบุตรเถระไปสงเคราะห์นายปุณณะ
ในกาลนั้น พระสารีบุตรเถระเข้านิโรธสมาบัติตลอด ๗ วันแล้ว ในวันนั้นออกแล้ว ตรวจดูว่า "วันนี้ เราควรจะทำความสงเคราะห์แก่ ใครหนอแล?" เห็นนายปุณณะซึ่งเข้าไปในข่ายคือญาณของตนแล้ว จึงตรวจดูว่า "นายปุณณะนี้ มีศรัทธาหรือหนอ? เขาจักอาจทำการสงเคราะห์แก่เราหรือไม่?" ทราบความที่เขามีศรัทธา มีความสามารถจะทำการสงเคราะห์ได้ และเขาจะได้รับสมบัติใหญ่เพราะบุญนั้นเป็นปัจจัยแล้ว จึงถือบาตรและจีวรไปยังที่ไถนาของเขา ได้ยืนแลดูพุ่มไม้ที่ริมบ่อ. นายปุณณะเห็นพระเถระแล้ว จึงวางไถ ไหว้พระเถระด้วยเบญจางคประดิษฐ์แล้ว คิดว่า "พระเถระคงจักต้องการไม้สีฟัน" จึงได้ทำไม้สีฟันให้เป็นกัปปิยะถวาย.
ลำดับนั้น พระเถระได้นำเอาบาตรและผ้ากรองน้ำออกมาให้เขา. เขาคิดว่า "พระเถระจักมีความต้องการด้วยน้ำดื่ม" จึงถือเอาบาตรและ ผ้ากรองน้ำนั้นแล้ว ได้กรองน้ำดื่มถวาย.
พระเถระคิดว่า "นายปุณณะนี้ อยู่เรือนหลังท้ายของชนเหล่าอื่น, ถ้าเราจักไปสู่เรือนของเขา, ภรรยาของนายปุณณะนี้จักไม่ได้เห็นเรา; เราจักต้องอยู่ ณ ที่นี้แหละ จนกว่าภรรยาของเขาจักเดินทางนำภัตมาให้เขา." พระเถระได้ยังเวลาให้ล่วงไปเล็กน้อย ณ ที่นั้นเอง ทราบความที่ภรรยาของนายปุณณะนั้นขึ้นสู่ทางแล้ว จึงเดินมุ่งหน้าไปภายในพระนคร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 437
ภรรยานายปุณณะถวายภัตแก่พระเถระ
นางพบพระเถระในระหว่างทางแล้ว คิดว่า "บางคราว เมื่อมีไทยธรรม, เราก็ไม่พบพระผู้เป็นเจ้า, บางคราว เมื่อเราพบพระผู้เป็นเจ้า, ไทยธรรมก็ไม่มี, ก็วันนี้เราได้พบพระผู้เป็นเจ้าแล้ว, ทั้งไทยธรรม ก็มีอยู่; พระผู้เป็นเจ้า จักทำความอนุเคราะห์แก่เราหรือหนอแล "นาง วางภาชนะใส่ภัตลงแล้ว ไหว้พระเถระด้วเบญจางคประดิษฐ์แล้ว กล่าวว่า "ท่านผู้เจริญ ขอพระผู้เป็นเจ้าอย่าคิดว่า ภัตนี้ เศร้าหมองหรือ ประณีต จงทำความสงเคราะห์แก่ทาสของพระผู้เป็นเจ้าเถิด."
พระเถระน้อมบาตรเข้าไป เมื่อนางเอามือข้างหนึ่งรองภาชนะ อีกข้างหนึ่งถวายภัตอยู่, เมื่อถวายไปได้ครึ่งหนึ่ง จึงเอามือปิดบาตรด้วยพูดว่า "พอแล้ว." นางกล่าวว่า "พระคุณเจ้า ส่วนเพียงส่วนเดียว ดิฉันไม่อาจทำให้เป็นสองส่วนได้, พระผู้เป็นเจ้าไม่ต้องทำความสงเคราะห์แก่ทาสของพระผู้เป็นเจ้าในโลกนี้ จงทำความสงเคราะห์ในปรโลกเถิด, ดิฉันประสงค์จะถวายมิให้เหลือเศษเลย" ดังนี้แล้ว ก็ได้ใส่ภัตทั้งหมดลงในบาตรของพระเถระ แล้วทำความปรารถนาว่า "ดิฉันพึงเป็นผู้มีส่วนแห่งธรรมที่พระผู้เป็นเจ้าเห็นแล้วนั่นแหละ."
พระเถระกล่าวว่า "จงสำเร็จอย่างนั้นเถิด" ยืนอยู่นั่นแหละ ทำอนุโมทนาแล้ว ได้นั่งทำภัตกิจ ณ ที่สะดวกด้วยน้ำแห่งหนึ่ง.
ฝ่ายนางกลับไปหาข้าวสารหุงเป็นภัตแล้ว. แม้นายปุณณะไถที่ได้ ประมาณครึ่งกรีส ไม่อาจทนความหิวได้ จึงปล่อยโค เข้าไปยังร่มไม้แห่งหนึ่ง นั่งคอยดูทางอยู่.
ลำดับนั้น ภรรยาของเขาถือภัตเดินไป พอเห็นเขาก็คิดว่า "เขา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 438
ถูกความหิวบีบคั้น นั่งคอยดูเราอยู่แล้ว; ถ้าว่าเขาจักคุกคามเราว่า เจ้าชักช้าเหลือเกิน แล้วเอาด้ามปฏักฟาดเรา, กรรมที่เราทำแล้วจักเป็นของไร้ประโยชน์, เราจักต้องชิงบอกแก่เขาก่อนทีเดียว" ดังนี้แล้ว จึงกล่าวอย่างนั้นว่า "นาย ท่านจงทำจิตให้ผ่องใสสักวันหนึ่งเถิด วันนี้, อย่าได้ทำกรรมที่ดิฉันทำแล้วให้ไร้ประโยชน์, ก็ดิฉันนำภัตมาให้ท่านแต่เช้าตรู่ พบพระธรรมเสนาบดีในระหว่างทาง จึงถวายภัตของท่านแก่พระเถระนั้น แล้วไปหุงภัตมาใหม่, จงทำจิตให้เลื่อมใสเถิดนาย." เขาถามว่า "เจ้าพูดอะไร? นางผู้เจริญ" ได้สดับเรื่องนั้นซ้ำอีกแล้ว จึงพูดว่า "นางผู้เจริญ เจ้าถวายภัตของเราแก่พระผู้เป็นเจ้า ทำความดีแล้วเทียว, เช้าตรู่วันนี้ แม้เราก็ได้ถวายไม้สีฟัน และน้ำบ้วนปากแก่พระผู้เป็นเจ้าแล้ว" มีใจเลื่อมใสเพลิดเพลินถ้อยคำนั้นแล้ว เป็นผู้มีกายอ่อนเพลีย เพราะได้ภัตในเวลาสาย พาดศีรษะบนตักของภรรยานั้นแล้วก็ หลับไป.
ทานของสามีภรรยาอํานวยผลในวันนั้น
ครั้งนั้น ที่ที่เขาไถไว้แต่เช้าตรู่ ได้เป็นทองคำเนื้อสุกทั้งหมด จนกระทั่งฝุ่นละลองดิน ตั้งอยู่งดงามดุจดอกกรรณิกา. เขาตื่นขึ้น แลเห็นแล้ว จึงพูดกะภรรยาว่า "นางผู้เจริญ ที่ที่ฉันไถแล้วนั่น ปรากฏแก่ฉันเป็นทองคำทั้งหมด, เพราะฉันได้ภัตสายเกินไป ตาจะลายไปกระมังหนอ?"
แม้ภรรยาของเขาก็รับรองว่า "ที่นั้น ก็ย่อมปรากฏแม้แก่ดิฉันอย่างนั้นเหมือนกัน."
เขาลุกขึ้นไปในที่นั้น จับก้อนหนึ่งตีที่งอนไถแล้ว ทราบว่าเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 439
ทองคำ จึงคิดว่า "โอ ทานที่เราถวายแก่พระผู้เป็นเจ้าธรรมเสนาบดี แสดงผลในวันนี้เอง, ก็เราไม่อาจที่จะซ่อนทรัพย์ประมาณเท่านี้ไว้ใช้สอยได้" จึงเอาทองคำใส่เต็มถาดข้าวที่ภรรยานำมาแล้ว ได้ไปสู่ราชตระกูล มีโอกาสอันพระราชาพระราชทานแล้ว จึงเข้าไปถวายบังคมพระราชา, เมื่อพระองค์ตรัสว่า "อะไร? พ่อ" จึงกราบทูลว่า "ข้าแต่สมมติเทวราช ที่ที่ข้าพระองค์ไถแล้วในวันนี้ทั้งหมด เป็นที่เต็มไปด้วยทองคำทั้งนั้นตั้งอยู่แล้ว, พระองค์ควรจะรับสั่งให้ขนทองคำมาไว้."
พระราชา. ท่านเป็นใคร?
นายปุณณะ. ข้าพระองค์ชื่อปุณณะ.
พระราชา. ก็วันนี้ ท่านทำอะไรเล่า?
นายปุณณะ. เช้าตรู่วันนี้ ข้าพระองค์ได้ถวายไม้สีฟันและน้ำบ้วนปากแก่พระธรรมเสนาบดี, ส่วนภรรยาของข้าพระองค์ได้ถวายภัตที่เขานำมาให้ข้าพระองค์แก่พระธรรมเสนาบดีนั้นเหมือนกัน.
พระราชา ทรงสดับคำนั้นแล้วตรัสว่า "พ่อผู้เจริญ ได้ยินว่า ทานที่ท่านถวายพระธรรมเสนาบดี แสดงวิบากในวันนี้เอง" แล้วตรัส ถามว่า "พ่อ เราจะทำอย่างไร? "
นายปุณณะ ขอพระองค์จงส่งเกวียนไปหลายๆ พัน ให้นำทองคำ มาเถิด.
พระราชาทรงส่งเกวียนทั้งหลายไปแล้ว. เมื่อพวกราชบุรุษพูดว่า "เป็นของพระราชา" ถือเอาอยู่, ทองคำที่เขาถือเอาแล้วๆ ย่อมเป็นดินอย่างเดิม. พวกเขาไปทูลพระราชา อันพระองค์ตรัสถามว่า "ก็พวก เจ้าพูดว่ากระไร? จึงถือเอา" จึงทูลว่า " พูดว่า "เป็นราชทรัพย์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 440
ของพระองค์."
พระราชา. หาใช่ทรัพย์ของเราไม่, พวกเจ้าจงไป, จงพูดว่า เป็นทรัพย์ของนายปุณณะ ถือเอาเถิด.
พวกเขาทําอย่างนั้น. ทองคำที่เขาถือแล้วๆ ได้เป็นทองคำแท้. พวกเขาจึงขนทองคำนั้นทั้งหมดมาทำเป็นกองไว้ที่ท้องพระลานหลวง. (ทองคําทั้งหมดนั้น) ได้กองสูงประมาณ ๘๐ ศอก.
นายปุณณะได้รับตำแหน่งเศรษฐี
พระราชาทรงรับสั่งให้ชาวพระนครประชุมกันแล้ว ตรัสถามว่า "ในพระนครนี้ ใครมีทองคำถึงเพียงนี้บ้าง"
ชาวพระนคร. ไม่มี พระเจ้าข้า.
พระราชา. ก็เราควรจะให้อะไรแก่นายปุณณะเล่า?
ชาวพระนคร. ฉัตรสำหรับเศรษฐี พระเจ้าข้า.
พระราชา. ตรัสว่า "นายปุณณะจงเป็นเศรษฐีชื่อพหุธนเศรษฐี" แล้ว ได้พระราชทานฉัตรสำหรับเศรษฐีแก่เขา พร้อมด้วยโภคะมากมาย.
ครั้งนั้น เขากราบทูลพระราชานั้นว่า "ข้าแต่สมมติเทวราช ข้าพระองค์ทั้งหลายอาศัยอยู่ในตระกูลอื่น ตลอดเวลาถึงเพียงนี้, ขอพระองค์ ได้โปรดประทานที่อยู่แก่ข้าพระองค์เถิด."
พระราชาตรัสว่า "ถ้ากระนั้น ท่านจงดู, กอไม้นั้นปรากฏอยู่ ทางด้านทักษิณ, จงนำกอไม้นั่นออก ให้ช่างทำเรือนเถิด" ดังนี้แล้ว ก็ตรัสบอกที่เรือนของเศรษฐีเก่า.
เขาให้ช่างทำเรือนในที่นั้น โดย ๒ - ๓ วันเท่านั้น ทำเคหปปเวสน-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 441
มงคล (๑) และฉัตรมงคล (๒) เป็นงานเดียวกัน ได้ถวายทานแด่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขตลอด ๗ วัน. ครั้งนั้น พระศาสดาเมื่อจะทรงทำอนุโมทนาแก่เขา จึงตรัสอนุปุพพีกถาแล้ว.
ในกาลจบธรรมกถา ชนทั้ง ๓ คือ ปุณณเศรษฐี ๑ ภรรยาของเขา ๑ นางอุตตราผู้เป็นธิดา ๑ ได้เป็นพระโสดาบันแล้ว.
ธิดาปุณณเศรษฐีได้เป็นภรรยาบุตรสุมนเศรษฐี
ในกาลต่อมา เศรษฐีในกรุงราชคฤห์ ขอธิดาของปุณณเศรษฐีให้ บุตรของตน. เขาพูดว่า "ผมให้ไม่ได้," เมื่อเศรษฐีในกรุงราชคฤห์ พูดว่า "จงอย่าทำอย่างนั้น, ท่านอาศัยฉันอยู่ตลอดเวลาถึงเพียงนี้ทีเดียว จึงได้สมบัติ, จงให้ธิดาแก่บุตรของฉันเถิด" จึงกล่าวว่า "บุตรของท่านนั้นเป็นมิจฉาทิฏฐิ, ส่วนธิดาของผมเหินห่างจากพระรัตนะทั้งสามแล้ว ไม่อาจเป็นไปได้, ผมจึงจักยกธิดาให้บุตรของท่านไม่ได้เลย."
ครั้งนั้น กุลบุตรทั้งหลายมีเศรษฐีและคฤหบดีเป็นต้น เป็นอันมาก วิงวอนเขาว่า "อย่าทำลายความสนิทสนมกับด้วยเศรษฐีในกรุงราชคฤห์นั้น, จงยกธิดาให้บุตรของเขาเถิด." เขารับคำของกุลบุตรเหล่านั้นแล้ว ได้ยกธิดาให้ในดิถีเพ็ญเดือนอาสฬหะ.
จำเดิมแต่เวลาไปสู่เรือนตระกูลสามีแล้ว นางมิได้เพื่อจะเข้าไปหาภิกษุ หรือภิกษุณี หรือเพื่อถวายทานหรือฟังธรรมเลย. เมื่อล่วงไปได้ประมาณ ๒ เดือนครึ่ง ด้วยอาการอย่างนี้, นางจึงถามสาวใช้ผู้อยู่ในสำนักว่า "เวลานี้ภายในพรรษายังเหลืออีกเท่าไร?"
๑. มงคลอันบุคคลพึงทำในกาลเป็นที่เข้าไปสู่เรือน. ๒. มงคลอันบุคคลพึงทำแก่ฉัตร ในกาลเป็นที่ฉลองฉัตร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 442
สาวใช้. ยังอยู่อีกครึ่งเดือน คุณแม่.
นางส่งข่าวไปให้บิดาว่า "เหตุไฉน บิดาจึงขังดิฉันไว้ในเรือน มีรูปอย่างนี้? การที่บิดาทำฉันให้เป็นคนเสียโฉม แล้วประกาศว่า เป็นทาสีของชนพวกอื่น ยังจะประเสริฐกว่า, การที่ยกให้แก่ตระกูลมิจฉาทิฏฐิ เห็นปานนี้ ไม่ประเสริฐเลย, ตั้งแต่ดิฉันมาแล้ว ดิฉันไม่ได้ทำบุญแม้สักอย่างในประเภทบุญ มีการพบเห็นภิกษุเป็นต้นเลย."
ลำดับนั้น บิดาของนางให้รู้สึกไม่สบายใจ ด้วยคิดว่า "ธิดาของ เราได้รับทุกข์หนอ" จึงส่งทรัพย์ไป ๑๕,๐๐๐ กหาปณะ ด้วยสั่งว่า "ในนครนี้ มีหญิงคณิกาชื่อสิริมา, เจ้าจงพูดว่า หล่อนจงรับทรัพย์วันละ ๑,๐๐๐ กหาปณะ นำนางมาด้วยกหาปณะเหล่านี้ ทำให้เป็นนางบำเรอของสามีแล้ว ส่วนตัวเจ้าจงทำบุญทั้งหลายเถิด."
นางให้เชิญนางสิริมามาแล้ว พูดว่า "สหาย เธอจงรับกหาปณะ เหล่านั้นแล้ว บำเรอชาย สหายของเธอสักกึ่งเดือนนี้เถิด."
นางสิริมานั้นรับรองว่า "ดีละ" นางพาเขาไปสำนักของสามี เมื่อสามีนั้นเห็นนางสิริมาแล้ว กล่าวว่า "อะไรกันนี่?" จึงบอกว่า "นายขอให้หญิงสหายของดิฉันบำเรอนายตลอดกึ่งเดือนนี้, ส่วนดิฉันใคร่จะถวายทานและฟังธรรม ตลอดกึ่งเดือนนี้."
เศรษฐีบุตรเห็นนางมีรูปงาม เกิดความสิเนหา จึงรับรองว่า "ดีละ."
นางอุตตราได้โอกาสทำบุญ
แม้นางอุตตราแล นิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์อย่าเสด็จไปที่อื่น พึงรับภิกษาใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 443
เรือนนี้แห่งเดียว ตลอดกึ่งเดือนนี้. "รับปฏิญญาของพระศาสดาแล้ว มีใจยินดีว่า "บัดนี้ เราจักได้เพื่ออุปัฏฐากพระศาสดาและฟังธรรมตั้งแต่นี้ไป ตลอดจนถึงวันมหาปวารณา" เที่ยวจัดแจงกิจทุกอย่างในโรงครัวใหญ่ว่า "พวกท่านจงต้มข้าวต้มอย่างนั้น จงนึ่งขนมอย่างนี้."
ครั้งนั้น สามีของนางคิดว่า "พรุ่งนี้เป็นวันมหาปวารณา" ยืนตรงหน้าต่าง บ่ายหน้าไปทางโรงครัวใหญ่ ตรวจดูอยู่ด้วยคิดว่า "นางอันธพาลนั้น เที่ยวทำอะไรอยู่หนอแล?" แลเห็นธิดาเศรษฐีนั้น ขะมุกขะมอมไปด้วยเหงื่อ เปรอะด้วยเถ้า มอมแมมด้วยถ่านและเขม่า เที่ยวจัดทำอยู่อย่างนั้น จึงคิดว่า "พุทโธ่ หญิงอันธพาล ไม่เสวยสมบัติมีสิริเช่นนี้ ในฐานะเห็นปานนี้, กลับมีจิตยินดีว่า 'เราจักอุปัฏฐากศีรษะโล้น, เที่ยวไปได้" จึงหัวเราะแล้วหลบไป.
เมื่อเศรษฐีบุตรนั้นหลบไปแล้ว, นางสิริมาซึ่งยืนอยู่ในที่ใกล้ของเขาคิดว่า "เศรษฐีบุตรนั่นมองดูอะไรหนอแล จึงหัวเราะ" จึงมองลงไปทางหน้าต่างนั้นแหละ เห็นนางอุตตราแล้วคิดว่า "เศรษฐีบุตรนี้หัวเราะก็เพราะเห็นนางคนนี้, ความชิดชมของเศรษฐีบุตรนี้คงมีกับด้วยนางนี้เป็นแน่."
นางสิริมาหึงนางอุตตราเอาเนยใสเดือดรด
ได้ยินว่า นางสิริมานั้นแม้อยู่เป็นพาหิรกสตรีในเรือนนั้นตลอดกึ่งเดือน เสวยสมบัตินั้นอยู่ ก็ยังไม่รู้ตัวว่าเป็นหญิงภายนอก ได้ทำความสำคัญว่า "ตัวเป็นแม่เจ้าเรือน." นางผูกอาฆาตต่อนางอุตตราว่า "จักต้องยังทุกข์ให้เกิดแก่มัน" จึงลงจากปราสาท เข้าไปสู่โรงครัวใหญ่ เอา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 444
ทัพพีตักเนยใสอันเดือดพล่านในที่ทอดขนมแล้ว ก็เดินมุ่งหน้าตรงไปหานางอุตตรา. นางอุตตราเห็นนางสิริมาเดินมา จึงแผ่เมตตาไปถึงนางว่า "หญิงสหายของเราทำอุปการะแก่เรามาก, จักรวาลก็แคบเกินไป, พรหมโลกก็ต่ำนัก, ส่วนคุณของหญิงสหายเราใหญ่มาก; ก็เราอาศัยนางนั่น จึงได้เพื่อถวายทานและฟังธรรม; ถ้าเรามีความโกรธเหนือนางสิริมานั้น เนยใสนี้จงลวกเราเถิด; ถ้าไม่มี อย่าลวกเลย." เนยใสซึ่งเดือดพล่านที่นางสิริมานั้นรดลงเบื้องบนนางอุตตรานั้น ได้เป็นเหมือนน้ำเย็น.
ลำดับนั้น พวกทาสีของนางอุตตรา เห็นนางผู้ตักเนยใสให้เต็มทัพพี อีกด้วยเข้าใจว่า "เนยใสนี้คงจักเย็น" ถือเดินมาอยู่ จึงคุกคามว่า "นางหัวดื้อ เจ้าจงหลีกไป, เจ้าไม่ควรจะรดเนยใสที่เดือดพล่าน บนเจ้าแม่ของพวกเรา" แล้วต่างลุกขึ้นจากที่นี้บ้าง ที่นั้นบ้าง ใช้มือบ้าง เท้าบ้าง ทุบ ถีบให้ล้มลงบนพื้น. นางอุตตราไม่สามารถจะห้ามปรามนางทาสีเหล่านั้นได้, ทีนั้นนางจึงห้ามทาสีทุกคน ที่ยืนคร่อมอยู่ข้างบนนางสิริมานั้นแล้วถามว่า "เพื่อประสงค์อะไร เธอจึงทำกรรมหนักถึงปานนี้?" ดังนี้แล้ว โอวาทนางสิริมา ให้อาบด้วยน้ำอุ่น ทาด้วยน้ำมันที่หุงตั้ง ๑๐๐ ครั้ง.
นางสิริมารู้สึกตัวขอโทษนางอุตตรา
ขณะนั้น นางสิริมานั้นรู้สึกตัวว่าเป็นหญิงภายนอกแล้ว คิดว่า "เรา รดเนยใสที่เดือดพล่านลงเบื้องบนนางอุตตรานี้ เพราะเหตุเพียงความหัวเราะของสามี ทำกรรมหนักแล้ว, นางอุตตรานี้ไม่สั่งบังคับพวกทาสีว่า พวกเธอจงจับเขาไว้ กลับห้ามพวกทาสีทั้งหมด แม้ในเวลาที่ข่มเหงเรา ได้ทำกรรมที่ควรแก่เราทั้งนั้น; ถ้าเราไม่ขอให้นางอุตตรานี้อดโทษให้, ศีรษะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 445
ของเราจะพึงแตกออก ๗ เสี่ยง" ดังนี้แล้ว จึงหมอบลงแทบเท้าของนางอุตตรานั้น แล้วกล่าวว่า "คุณแม่ ขอคุณแม่จงอดโทษให้ดิฉันเถิด."
นางอุตตรา. ดิฉันเป็นธิดาที่มีบิดา เมื่อบิดาอดโทษให้, ก็จักอดโทษให้.
นางสิริมา. คุณแม่ ข้อนั้นจงยกไว้เถิด, ดิฉันจักให้ท่านปุณณเศรษฐีผู้บิดาของคุณแม่อดโทษให้ด้วย.
นางอุตตรา. ท่านปุณณะ เป็นบิดาบังเกิดเกล้าของคุณแม่ในวัฏฏะ, แต่เมื่อบิดาผู้บังเกิดเกล้าในวิวัฏฏะอดโทษให้ ดิฉันจึงจักอดโทษ.
นางสิริมา. ก็ใครเล่า? เป็นบิดาบังเกิดเกล้าของคุณแม่ในวิวัฎฎะ.
นางอุตตรา. พระสัมมาสัมพุทธเจ้า.
นางสิริมา. ดิฉันไม่มีความคุ้นเคยกับพระองค์.
นางอุตตรา. ฉันจักทำเอง. พรุ่งนี้ พระศาสดาจักทรงพาภิกษุสงฆ์ เสด็จมาที่นี้: เธอจงถือสักการะตามแต่จะได้มาที่นี้แหละ แล้วขอให้พระองค์อดโทษเถิด.
นางสิริมาขอให้พระศาสดาทรงอดโทษ
นางสิริมานั้นรับว่า "ดีละ คุณแม่" ลุกขึ้นแล้วไปสู่เรือนของตน สั่งหญิงบริวาร ๕๐๐ ให้ตระเตรียมขาทนียะและสูเปยยะ (๑) ต่างๆ อย่าง รุ่งขึ้นก็ถือสักการะนั้นมาเรือนของนางอุตตรา ไม่กล้าจะใส่บาตรภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข จึงได้ยืนอยู่แล้ว. นางอุตตรารับเอาสิ่งของทั้งหมดนั้นมาจัดแล้ว.
๑. สูเปยฺย วัตถุเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่สูปะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 446
ในเวลาเสร็จภัตกิจ นางสิริมาพร้อมด้วยบริวาร หมอบลงแทบเบื้อง พระบาทของพระศาสดา.
ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสถามนางว่า "เจ้ามีความผิดอะไร?"
นางสิริมา. พระเจ้าข้า วานนี้หม่อมฉันได้ทำกรรมชื่อนี้, เมื่อเป็นเช่นนั้น หญิงสหายของหม่อมฉัน ยังห้ามทาสีซึ่งเบียดเบียนหม่อมฉัน ได้ทำอุปการะแก่หม่อมฉันโดยแท้, หม่อมฉันนั้นรู้สึกถึงคุณของนางนี้ จึงขอให้นางนี้อดโทษ, เมื่อเป็นเช่นนั้น นางกล่าวกะหม่อมฉันว่า เมื่อพระองค์ ทรงอดโทษให้ จึงจักอดโทษให้.
พระศาสดา. อุตตราได้ยินว่า อย่างนั้นหรือ?
นางอุตตรา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า, วานนี้หญิงสหายของหม่อมฉัน ได้รดเนยใสที่เดือดพล่าน บนศีรษะของหม่อมฉัน.
พระศาสดา. เมื่อเช่นนั้น เธอคิดอย่างไร?
นางอุตตรา. หม่อมฉันคิดอย่างนี้ว่า จักรวาลแคบนัก พรหมโลก ก็ยังต่ำเกินไป, คุณของหญิงสหายข้าพระองค์เท่านั้นใหญ่, เพราะหม่อมฉันอาศัยเขา จึงได้ถวายทานและฟังธรรม; ถ้าว่าหม่อมฉันมีความโกรธอยู่เหมือนางนี้, เนยใสที่เดือดพล่านนี้ จงลวกหม่อมฉันเถิด, ถ้าหาไม่แล้ว, ขออย่าลวกเลย. แล้วได้แผ่เมตตาไปยังนางสิริมานี้ พระเจ้าข้า.
พระศาสดาตรัสว่า "ดีละ ดีละ อุตตรา การชนะความโกรธอย่างนั้น สมควร; ก็ธรรมดาคนมักโกรธ พึงชนะด้วยความไม่โกรธ, คนด่าเขา ตัดพ้อเขา พึงชนะได้ด้วยความไม่ด่า (ตอบ) ไม่ตัดพ้อ (ตอบ) , คนตระหนี่จัด พึงชนะได้ด้วยการให้ของตน, คนมักพูดเท็จ พึงชนะได้ด้วยคำจริง "ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 447
๓. อกฺโกเธน ชิเน โกธํ อสาธุํ สาธุนา ชิเน
ชิเน กทริยํ ทาเนน สจฺเจนาลิกวาทินํ.
"พึงชนะคนโกรธ ด้วยความไม่โกรธ, พึงชนะ
คนไม่ดี ด้วยความดี, พึงชนะคนตระหนี่ ด้วยการ
ให้ พึงชนะคนพูดเหลวไหล ด้วยคำจริง."
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกฺโกเธน ความว่า บุคคลผู้มักโกรธแล พึงเป็นผู้อันบุคคลพึงชนะด้วยความไม่โกรธ. ผู้ไม่ดี คือผู้ไม่เจริญ เป็นผู้อันบุคคลพึงชนะด้วยความดี, ผู้ตระหนี่ คือเหนียวแน่นจัด เป็นผู้อันบุคคลพึงชนะด้วยจิตคิดสละของของตน, คนพูดเหลาะแหละ อันบุคคลพึงชนะด้วยคำจริง; เพราะเหตุนั้น พระศาสดาจึงตรัสอย่างนี้ว่า "อกฺโกเธน ชิเน โกธํ ฯเปฯ สจฺเจนาลิกวาทินํ."
ในกาลจบเทศนา นางสิริมาพร้อมด้วยญาติทั้ง ๕๐๐ ตั้งอยู่แล้วใน โสดาปัตติผล ดังนี้แล.
เรื่องอุตตราอุบาสิกา จบ.