พระสุตตันตปิฎกอังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 527
เอกาทสกนิบาต
นิสสายวรรคที่ ๑
๑๐. โมรนิวาปนสูตร
ว่าด้วยผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ เป็นผู้มีความสําเร็จล่วงส่วน
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 527
๑๐. โมรนิวาปนสูตร
ว่าด้วยผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ เป็นผู้มีความสำเร็จล่วงส่วน
[๒๑๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ปริพาชการามอันเป็นที่ให้เหยื่อแก่นกยูง ใกล้กรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 528
ทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ย่อมเป็นผู้มีความสำเร็จล่วงส่วน มีความเกษมจากโยคะล่วงส่วน มีพรหมจรรย์ล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือศีลขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ ๑ สมาธิขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ ๑ ปัญญาขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้มีความสำเร็จล่วงส่วน มีความเกษมจากโยคะล่วงส่วน มีพรหมจรรย์ล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการแม้อื่นอีก ย่อมเป็นผู้มีความสำเร็จล่วงส่วน มีความเกษมจากโยคะล่วงส่วน มีพรหมจรรย์ล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คืออิทธิปาฏิหาริย์ ๑ อาเทสนาปาฏิหาริย์ ๑ อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ นี้แล ย่อมเป็นผู้มีความสำเร็จล่วงส่วน มีความเกษมจากโยคะล่วงส่วน มีพรหมจรรย์ล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการแม้อื่นอีก ย่อมเป็นผู้มีความสำเร็จล่วงส่วน มีความเกษมจากโยคะล่วงส่วน มีพรหมจรรย์ล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือสัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาญาณะ ๑ สัมมาวิมุตติ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้มี
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 529
ความสำเร็จล่วงส่วน มีความเกษมจากโยคะล่วงส่วน มีพรหมจรรย์ล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ เป็นผู้มีความสำเร็จล่วงส่วน มีความเกษมจากโยคะล่วงส่วน มีพรหมจรรย์ล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรม ๒ ประการเป็นไฉน คือวิชชา ๑ จรณะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้มีความสำเร็จล่วงส่วน มีความเกษมจากโยคะล่วงส่วน มีพรหมจรรย์ล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้สนังกุมารพรหมก็ได้กล่าวคาถานี้ไว้ว่า
"ในหมู่ชนที่ยังรังเกียจกันด้วยโคตร กษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐสุด ท่านผู้สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะเป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย."
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็คาถานี้นั้น สนังกุมารพรหมร้อยกรองไว้ถูกแล้ว มิใช่ร้อยกรองไว้ผิด กล่าวไว้ชอบแล้ว มิใช่กล่าวไม่ชอบ ประกอบด้วยประโยชน์ มิใช่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ เราเห็นด้วย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็กล่าวอย่างนี้ว่า
"ในหมู่ชนที่ยังรังเกียจกันด้วยโคตร กษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐสุด ท่านผู้สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะเป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย."
จบโมรนิวาปนสูตรที่ ๑๐
จบนิสสายวรรคที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 530
อรรถกถาโมรนิวาปนสูตรที่ ๑๐
โมรนิวาปนสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อจฺจนฺตนิฏฺโ พึงทราบวิเคราะห์ว่า พระนิพพาน กล่าวคืออัจจันตะ เพราะล่วงเลยที่สุดแล้วมีความไม่พินาศเป็นธรรม คือนิฏฐา ความสำเร็จของภิกษุใด เพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า อจฺจนฺตนิฏฺโ ผู้มีความสำเร็จล่วงส่วน.
บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยนี้.
บทว่า ชเนตสฺมิํ ได้แก่ ในหมู่ชน. อธิบายว่า ในหมู่สัตว์. บทว่า เย โคตฺตปฏิสาริโน ความว่า ชนเหล่าใดย่อมระลึกรังเกียจในสกุลนั้นว่า เราเป็นสกุลโคตมะ เราเป็นสกุลกัสสปะ ดังนี้. ในบรรดาการระลึก รังเกียจด้วยสกุลเหล่านั้น สกุลกษัตริย์ประเสริฐที่สุดในโลก.
บทว่า อนุมตา มยา ความว่า คาถาที่สนังกุมารพรหมแสดง เทียบได้กับสัพพัญญุตญาณของเรา เราก็อนุญาต.
บทที่เหลือในที่ทั้งปวงมีอรรถง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถาโมรนิวาปนสูตรที่ ๑๐
จบนิสสายวรรคที่ ๑
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. กิมัตถิยสูตร ๒. เจตนาสูตร ๓. ปฐมอุปนิสาสูตร ๔. ทุติยอุปนิสาสูตร ๕. ตติยอุปนิสาสูตร ๖. พยสนสูตร ๗. สัญญาสูตร ๘. มนสิการสูตร ๙. อเสขสูตร ๑๐. โมรนิวาปนสูตร.