เจตสิกปรมัตถ์
โดย บ้านธัมมะ  30 ธ.ค. 2550
หัวข้อหมายเลข 6760

ในขณะที่จิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ มีนามปรมัตถ์อีกประเภทหนึ่งเกิดร่วมกับจิต และรู้อารมณ์เดียวกับจิต นามปรมัตถ์นั้น คือ เจตสิก

เจตสิก ได้แก่ ความโกรธ ความรัก ความสุข ความทุกข์ ความตระหนี่ ความริษยา ความเมตตา ความกรุณา เป็นต้น สภาพธรรมเหล่านี้เป็นเจตสิกปรมัตถ์ ไม่ใช่จิตปรมัตถ์ ความโกรธ ความรัก ความสุข ความทุกข์ เป็นต้น เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่บุคคล เป็นสภาพธรรมที่ต้องเกิดกับจิต ถ้าไม่มีจิตเจตสิก คือ ความโกรธ ความรัก ความทุกข์ เป็นต้น ก็เกิดไม่ได้

เจตสิกปรมัตถ์มี ๕๒ ประเภท หรือ เรียกว่า ๕๒ ดวง เช่น

ความโกรธ (โทสะ) ก็เป็นเจตสิกชนิดหนึ่ง มีลักษณะหยาบกระด้างดุร้าย ความรักก็เป็นเจตสิกชนิดหนึ่ง คือ โลภเจตสิก มีลักษณะยึดติด ไม่สละและปรารถนาอารมณ์

จะเห็นได้ว่า เจตสิกแต่ละประเภทเป็นสภาพธรรมแต่ละอย่าง ไม่ใช่สภาพธรรมอย่างเดียวกัน นอกจากมีลักษณะต่างกัน กิจของเจตสิกแต่ละอย่างก็ต่างกัน ผลคืออาการที่ปรากฏก็ต่างกัน และเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดเจตสิกแต่ละประเภทก็ต่างกัน

ดาวน์โหลดหนังสือ -->

ปรมัตถธรรมสังเขป



ความคิดเห็น 1    โดย suwit02  วันที่ 3 พ.ย. 2551

สาธุ


ความคิดเห็น 2    โดย มกร  วันที่ 19 มี.ค. 2562

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 3    โดย chatchai.k  วันที่ 20 เม.ย. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ