๓๗. อรรถกถา สัลเลขัฏฐญาณุทเทส ว่าด้วยสัลเลขัฏฐญาณ
โดย บ้านธัมมะ  24 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 40845

[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 115

มหาวรรค

ญาณกถามาติกา

๓๗. อรรถกถา สัลเลขัฏฐญาณุทเทส

ว่าด้วยสัลเลขัฏฐญาณ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 115

๓๗. อรรถกถาสัลเลขัฏฐญาณุทเทส

ว่าด้วย สัลเลขัฏฐญาณ

สุตมยญาณ, สีลมยญาณ, และภาวนามยญาณ ที่เป็นบาทแห่งวัฏสงสาร ย่อมไม่ชื่อว่า สัลเลขะ - ธรรมเป็นเครื่องขัดเกลา, ญาณเหล่านี้ก็ดี ญาณเหล่าอื่นก็ดี เฉพาะที่เป็นบาทแห่งโลกุตระ ท่านเรียกว่า สัลเลขะ - ธรรมเป็นเครื่องขัดเกลา ฉะนั้น เพื่อที่จะแสดงญาณทั้งหลายที่เป็นไปโดยอาการขัดเกลาปัจนิกธรรม พระธรรม


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 116

เสนาบดีสารีบุตรจึงยกเอาสัลเลขัฏฐญาณขึ้นแสดงต่อจากสมสีสัฏฐญาณ ณ บัดนี้.

ในสัลเลขัฎฐญาณนั้น คำว่า ปุถุนานตฺตเตชปริยาทาเน ปญฺา - ปัญญาในความสิ้นไปแห่งกิเลสอันหนา มีสภาพต่างๆ และเดช ความว่า ปัญญาในความสิ้นไปหมดไปแห่งกิเลสหนาทั้งหลาย มีราคะเป็นต้น และนานัตตกิเลสอันเป็นสภาวะต่างๆ มีกามฉันทะเป็นต้น กับทั้งกิเลสมีความเป็นผู้ทุศีลเป็นต้นอันได้ชื่อว่า เดช เพราะอรรถว่า เร่าร้อน เพราะอรรถว่าไม่เจือด้วยโลกุตระ, มีคำกล่าวอธิบายไว้ว่าปัญญาในธรรม ๓๗ ประเภทมีเนกขัมมะเป็นต้น.

หรืออธิบายว่า ปัญญาอันหนา, ปัญญาอันมีสภาพ (ประเภท) ต่างๆ , และปัญญาอันเป็นเดช เป็นปัญญาในการสิ้นไปแห่งกิเลสอันหนา อันมีสภาพต่างๆ และเดช ๕ มีความเป็นผู้ทุศีลเป็นต้น เหล่านั้นดังนี้. จะแสดงการสงเคราะห์ปุถุธรรม (๑) และนานัตตธรรม (๑) ด้วยเดชทั้งหลาย ในนิทเทสวาระ.

คำว่า สลฺเลขฏฺเ าณํ - ญาณในอรรถว่าขัดเกลา มีวิเคราะห์ว่า ธรรมใดย่อมขัดเกลา ย่อมตัดขาดปัจนิกธรรมทั้งหลาย ฉะนั้น ธรรมนั้นจึงชื่อว่า สัลเลขะ - ขัดเกลา, ญาณในธรรม ๓๗ ประเภทมีเนกขัมมะนั้นมีการขัดเกลาเป็นสภาวะ.


๑. ปุถุธรรม และนานัตตธรรมมีทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 117

ถึงแม้สัลเลขธรรม ๔๔ ประเภทอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในสัลเลขสุตตันตะโดยนัยเป็นต้นว่า ชนทั้งหลายเหล่าอื่นจักเป็นผู้เบียดเบียน, ในข้อนี้ เราจักไม่เป็นผู้เบียดเบียนดังนี้ ก็พึงทราบว่า ท่านสงเคราะห์ด้วยสัลเลขญาณนี้เหมือนกัน.