[เล่มที่ 25] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ ข้อความบางตอนจาก ...
ปุนัพพนุสูตร
[๘๒๓] ครั้งนั้นแล นางยักษีผู้เป็นมารดาของปุนัพพสุปลอบบุตรน้อยอย่างนี้ว่า นิ่งเสียเถิดลูกอุตรา นิ่งเสียเถิดลูก ปุนัพพสุ จนกว่าแม่จะฟังธรรมของพระ- พุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ผู้เป็นพระศาสดาจบ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสนิพพานอันเป็น เครื่องเปลื้องตนเสีย จากกิเลสเครื่อง ร้อยรัดทั้งปวง เวลาที่ปรารถนาใน ธรรมนั้นจะล่วงเลยแม่ไปเสีย ของลูกตน เป็นที่รักในโลก ผัวของตนเป็นที่รักในโลก แต่ความปรารถนาในธรรมนั้น เป็นที่รัก ของแม่ยิ่งกว่าลูกและผัวนั้น หรือผัวที่รัก พึงปลดเปลื้องจากทุกข์ไม่ได้ เหมือนการฟังธรรมย่อมปลดเปลื้องเหล่า สัตว์จากทุกข์ได้ ในเมื่อโลกอันทุกข์ วงล้อมแล้ว ประกอบด้วยชราและมรณะ แม่ปรารถนาจะฟังธรรม ที่พระพุทธเจ้า ตรัสรู้ด้วยพระปัญญาอันยิ่ง เพื่อพ้นจาก ชราและมรณะ จงนิ่งเสียเถิดลูกปุนัพพสุ
[๘๒๔] ปุนัพพสุพูดว่า แม่จ๋า ฉันก็จักไม่พูด อุตราน้องสาว ของฉันก็จักเป็นผู้นิ่ง เชิญแม่ฟังธรรม อย่างเดียว การฟังพระสัทธรรมนำความ สุขมาให้ แม่จ๋า เราไม่รู้พระสัทธรรมจึง ได้เที่ยวไปลำบาก พระพุทธเจ้าพระองค์นี้ เป็นผู้ ทำความสว่างไสวแก่เทวดาและ มนุษย์ผู้ลุ่มหลง มีพระสรีระครั้งสุดท้าย มีพระจักษุ แสดงธรรมอยู่
แม้ชาติกำเนิดจะเป็นยักษ์แต่ก็ได้สั่งสมบุญมาที่จะได้เห็นและฟังสิ่งทีประเสริฐที่สุด รวมทั้งเห็นคุณของการฟังพระสัทธรรมว่า...แสนยากที่จะได้ฟังสักครั้งในแสนโกฏิกัปป์ และก็จะเห็นได้ว่าบารมีเป็นสิ่งที่เร่งรัดกันไม่ได้จริงๆ นางยักษิณีกับบุตรสะสมมาที่จะได้ฟังพระธรรมจากพระ-โอษฐ์ของพระผู้มีพระภาค ภายหลังที่ฟังจบนางก็บรรลุเป็นพระโสดาบัน เป็นเรื่องของปัญญาที่สะสมมาจริงๆ ครับ
ขออนุโมทนาครับ
การฟังธรรมะไม่ใช่ของง่าย แสดงให้เห็นว่ายักษ์ได้สะสมบุญและปัญญามาแล้วในอดีต เมื่อเหตุปัจจัยพร้อมยักษ์ได้ฟังธรรมะจากพระพุทธเจ้าก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบันค่ะ
[เล่มที่ 25] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒
ข้อความบางตอนจาก...
อรรถกถาปุนัพพสุสูตร
บทว่า จกฺขุมา ได้แก่ มีพระจักษุ ด้วยพระจักษุ ๕ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงธรรม ทรงกำหนดบริษัท ทรงเห็นอุปนิสัยแห่งโสดาปัตติผลของนางยักษิณีนั้น และยักขทารก เปลี่ยนเทศนาแล้ว จึงมาแสดงเรื่องสัจจะ ๔
นางยักษิณีนั้น ยืนฟังธรรมอยู่ในประเทศนั้นแล กับบุตร ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ส่วนธิดาของนางยักษิณีนั้น ก็มีอุปนิสัย แต่ไม่อาจจะรับเทศนาได้ เพราะเป็นเด็กเกินไป บัดนี้ นางยักษิณีนั้น เมื่อจะทำอนุโมทนาแก่บุตร จึงกล่าวคำว่า ดีหนอลูก ขอว่าเป็นบัณฑิตดังนี้เป็นต้น
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
[เล่มที่ 25] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 403
ปิยังกรสูตร
ว่าด้วยการปฏิบัติให้พ้นจากกำเนิดปีศาจ
[๘๑๙] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอยู่ในพระวิหารเชตวัน อาราม ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ในกรุงสาวัตถี. สมัยนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี กล่าวบท แห่งพระธรรมอยู่.
[๘๒๐] ครั้งนั้นแล นางยักษิณีผู้เป็นมารดาของปิยังกระปลอบบุตร น้อยอย่างนี้ว่า ปิยังกระ อย่าวอึกทึกไป ภิกษุกำลัง กล่าวบทพระธรรมอยู่ อนึ่ง เรารู้แจ้งบท พระธรรมแล้วปฏิบัติ ข้อนั้นจะพึงมีเพื่อ ประโยชน์เกื้อกูลแก่เรา.
[๘๒๑] เราสำรวมในเหล่าสัตว์มีปราณ เรา ไม่กล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่ เราศึกษา ทำตนไห้ เป็นผู้มีศีลดีนั่นแหละ เราจะพ้นจากกำเนิด ปีศาจ.
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
[เล่มที่ 1] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 204
เรื่องกบฟังธรรมของพระพุทธเจ้าได้เป็นเทพบุตร
ได้ยินว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงธรรมแก่ชนชาวนครจำปาอยู่ที่ริมฝั่งสระโบกขรณี ชื่อคัคครา ยังมีกบตัวหนึ่งได้ถือเอานิมิตในพระสุรเสียงของพระผู้มีพระภาคเจ้า (ซึ่งกำลังทรงแสดงธรรมอยู่) ขณะนั้น มีคนเลี้ยงโคคนหนึ่ง เมื่อจะยืนยันไม้เท้าได้ (ยืน) กดลงที่ศีรษะกบนั้น กบตัวนั้นก็ตายในทันใดนั้นนั่นเอง แล้วเกิดในวิมานทองประมาณ ๑๒ โยชน์ ในภพดาวดึงส์ เหมือนนอนหลับแล้วตื่นขึ้นฉะนั้น. ในภพดาวดึงส์นั้น มัณฑูกเทพบุตร เห็นตนเองอันหมู่นางฟ้าแวดล้อมแล้ว ใคร่ครวญอยู่ว่า เว้ย ชื่อแม้เรา มาเกิดในที่นี้ ได้กระทำกรรมอะไรหนอแล ? ก็มิได้เห็นกรรมอะไรๆ อย่างอื่น นอกจาการถือเอานิมิตในพระสุรเสียง ของพระผู้มีพระภาคเจ้า (เท่านั้น) มัณฑูกเทวบุตร จึงมาพร้อมทั้งวิมานในทันใดนั้นนั่นเอง แล้วถวายบังคมพระบาทยุคลของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทั้งที่ทรงทราบอยู่แล (แต่) ตรัสถามว่า ใครช่างรุ่งเรืองด้วยฤทธิ์ (และ) ยศ มีพรรณงดงามยิ่งนัก ยังทิศทั้งปวงให้สว่าง อยู่ กำลังไหว้เท้าของเรา
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก - ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 448
ธัมมัสสวนสูตร
ว่าด้วยอานิสงส์แห่งการฟังธรรม ๕ ประการ
[๒๐๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการฟังธรรม ๕ ประการนี้๕ ประการเป็นไฉน คือ ผู้ฟังย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง ๑ ย่อมเข้าใจชัดสิ่งที่ได้ฟังแล้ว ๑ ย่อมบรรเทาความสงสัยเสียได้ ๑ ย่อมทำความเห็นให้ตรง ๑ จิตของผู้ฟังย่อมเลื่อมใส ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการฟังธรรม ๕ ประการนี้แล
ขออนุโมทนาขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอเชิญอ่านเพิ่มเติม....
ปุนัพพนุสูตร นางยักษิณีปลอบใหลูกฟงธรรม และอรรถกถา