ทำงานหาเช้ากินคำหาเงินใช้จ่าย ตัวเป็นเกลียว เคยมีคนว่าทักทำไมไม่หาทรัพย์ ภายในบ้างจะมีความสุขกว่า ยังไม่เข้าใจเลยครับทรัพย์ภายในคืออะไร? มีความสุขอย่างไร?
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ก็เป็นชีวิตปกติธรรมดาของผู้ที่เป็นคฤหัสถ์ ที่จะต้องประกอบอาชีพเพื่อให้ได้มา ซึ่งทรัพย์ เพื่อประโยชน์ในการประคับประคองให้ชีวิต ดำเนินไปอย่างไม่เดือดร้อน สำหรับผู้ที่เห็นประโยชน์ของการได้เข้าใจความจริง ก็จะไม่ละเลยโอกาสสำคัญในชีวิต คือ การสะสมความเข้าใจถูกเห็นถูก จากการฟังพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรง แสดง ซึ่งจะเป็นไปเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูกในธรรมโดยตลอด เป็นเครื่องเกื้อกูลที่ดี ในชีวิต ทำให้ความดีประการต่างๆ เจริญยิ่งขึ้น คล้อยตามความเข้าใจถูกเห็นถูก เป็น การสะสมความดี ซึ่งเป็นทรัพย์ภายใน อยู่ในภายในสะสมอยู่ในจิต ใครๆ ก็ลักขโมยไปไม่ได้ ความดี เมื่อเกิดขึ้นไม่เคยทำร้ายใครเลย ทำให้ผู้ที่มีความดีอยู่เย็นเป็นสุข ไม่เดือดร้อนวุ่นวาย ด้วยอกุศลธรรม ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่า ไม่ต้องแสวงหาทรัพย์ ภายนอก เพราะเหตุว่าเมื่อมีเหตุปัจจัยที่ทำให้มีการแสวงหา ก็ยังต้องมีการแสวงหา ยิ่งถ้าเป็นผู้เห็นประโยชน์ของพระธรรม ด้วยแล้ว การแสวงก็เป็นไปในทางที่ถูกที่ควร โดยสุจริต ชอบธรรม
ที่น่าพิจารณาเพิ่มเติม คือ ทรัพย์ของชาวโลก เช่น เงิน ทอง เป็นต้น ไม่ใช่ทรัพย์ ที่ประเสริฐ เพราะว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ทำให้พ้นจากทุกข์ และไม่ได้นำความสุขมาให้อย่าง แท้จริง ยกตัวอย่างเช่น คนที่มีเงินมากๆ ก็เป็นทุกข์มากเพราะเงิน แสดงว่าทรัพย์ นั้นไม่ได้ประเสริฐ ทรัพย์ที่เป็นเงินนั้นไม่ทำให้เกิดในภพภูมิที่ดีได้
เพราะฉะนั้นทรัพย์ เหล่านั้นนำมาแต่ความทุกข์ ความกังวลใจ ในปัจจุบันนี้มีทรัพย์มากเท่าไรก็มีศัตรู มากเท่านั้น เพราะมีทรัพย์ ก็มีอำนาจ มีข้าศึกมาก เพราะฉะนั้น ทรัพย์ของชาวโลก จึงไม่ประเสริฐเลย ส่วนทรัพย์ภายใน ซึ่งเป็นทรัพย์ที่ประเสริฐ ได้แก่ สภาพธรรม ที่ดีงาม กล่าวคือ ศรัทธา ศีล หิริ (ความละอายต่ออกุศล) โอตตัปปะ (ความเกรง กลัวต่ออกุศล) สุตะ (การสดับตรับฟังพระธรรม) จาคะ (การสละกิเลส) และปัญญา อริยทรัพย์เหล่านี้ ไม่มีวันสูญหาย ไม่มีการถูกลักขโมย มีแต่จะติดตามเจ้าของทรัพย์ ไปได้เท่านั้น เพราะฉะนั้นความประเสริฐของทรัพย์ภายในซึ่งเป็นอริยทรัพย์ จึงมากกว่า ทรัพย์ทั่วๆ ไปของชาวโลก เพราะสามารถทำให้พ้นจากอบายภูมิ ทำให้พ้นจากทุกข์ พ้นจากวัฏฏะได้ ครับ
ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ
ปัญญาทำให้หมดทุกข์ไม่ใช่ทรัพย์
ทรัพย์ภายใน กับ ทรัพย์ภายนอก
อริยทรัพย์?
ต้องเร่งขวนขวายสะสมอริยทรัพย์
สิ่งที่มีค่าที่แท้จริง
สิ่งที่มีค่าเหนือสิ่งอื่นใด ก็คือปัญญา
ประโยชน์จริงๆ ของการฟังพระธรรม
แสวงหาสิ่งต่างๆ จนได้มาเพื่อทิ้ง
ที่พักและเสบียงในการเดินทางไกล
... ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ทรัพย์ คือ สภาพธรรมที่นำมาซึ่งความยินดี
ทรัพย์มี สองอย่าง คือ ทรัพย์ภายนอก และ ทรัพย์ภายใน ซึ่งก็ล้วนแล้วแต่นำมาซึ่ง
ความยินดี แต่เป็นความยินดี นำมาซึ่งความสุขคนละอย่าง
ที่กล่าวว่า เป็นทรัพย์ภายนอก เพราะ เป็นสิ่งที่เป็นภายนอกตน ไม่สามารถติดตัว
ไปได้ และทำให้เกิดความยินดีชั่วคราว ความยินดีที่ไม่ประเสริฐ
ทรพัย์ภายใน คือ อะไร หากเข้าใจความจริงว่า ทุกอย่างมีแต่ธรรม ไม่มีเรา ไม่มี
สัตว์ บุคคล มีแต่จิต เจตสิก รูป และ อะไรที่ชื่อว่า ภายใน ก็คือ การเกิดขึ้นของนาม
ธรรมที่ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตา ที่เห็นภายนอกในขณะนี้ แต่เป็นภายใน คือ จิต
เจตสิก ที่เกิดขึ้นภายใน ในขณะนี้ เพราะฉะนั้น ทรัพย์ภายใน จึงไม่พ้นจากจิต เจตสิก
ที่เกิดขึ้น
แต่อะไรเล่าที่จะเป็นทรัพย์ภายใน ที่เป็นทรัพย์ที่ประเสริฐ อกุศลจิต ไมใช่ทรัพย์
ภายในที่ประเสริฐ เพราะ นำมาซึ่่งทุกข์โทษ และ ไม่ได้ขัดเกลากิเลส ละกิเลสที่เป็น
สิ่งที่ไม่ดีได้ แต่ ทรัพย์ภายในที่ประเสริฐ คือ กุศลธรรมประการต่างๆ ทั้งศรัทธา
สติ ปัญญา เป็นต้น หากแต่ว่า กุศลธรรมก็มีหลายระดับ ทั้งขั้นทาน ศีล ภาวนา แต่
กุศลใด ที่จะเป็นทรัพย์ภายใน ที่ประเสริฐ ซึ่ง อีกศัพท์หนึ่ง ของ ศัพท์ภายใน คือ
อริยทรัพย์
อริยทรัพย์ คือ ทรัพย์ภายในที่เป็นอริยะ เป็นสิ่งที่ประเสริฐ และ ถึงความเป็น
อริยะ ถึงความเป็นผู้ประเสริฐ เพราะฉะนั้น การสะสมทรัพย์ภายใน สะสมอริยทรัพย์
ที่จะทำให้ถึงความเป็นผู้ประเสริฐ ไม่ใช่เพียง กุศลที่ให้ทาน ทำบุญทั่วไปเท่านั้น
ดังนั้น การจะสะสมทรัพย์ภายใน สะสมอริยทรัพย์ สำคัญที่ปัญญา เป็นสำคัญ เพราะ
กุศลใด ก็ไม่บริสุทธิ์ ถ้าไม่มีปัญญา ดังนั้น กุศลต่างๆ จะเป็นอริยทรัพย์ ทั้ง ศรัทธา
ศีล สุตะ หิริ โอตตัปปะ ก็จะต้องมีปัญญา ความเห็นถูกเป็นสำคัญ เพราะ ปัญญาที่
นำทาง พร้อมๆ กับกุศลประการต่างๆ ที่เกิดขึ้นด้วย ย่อมถึงความเป็นอริยะ ถึงความ
เป็นผู้ประเสริฐได้ในที่สุด เพราะฉะนั้น ทรพัย์ภายใน จึงเป็นทรัพย์ที่จะทำให้ถึงความ
เป็นอริยะ ถึงความเป็นผู้ประเสริฐ คือ การค่อยๆ ละกิเลสได้ในที่สุด ครับ
ซึ่ง เมื่อกล่าวถึงการแสวงหาทรัพย์แล้ว ก็ควรกล่าวถึงประเด็นการแสวงหาดังนี้
ซึ่ง การแสวงหา พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ว่า มี 2 อย่าง คือ การแสวงหาที่ประเสริฐ
กับ การแสวงหาที่ไม่ประเสริฐ การแสวงหาที่ไม่ประเสริฐ คือ อย่างไร คือ การแสวงหา
บุตร ภรรยา ทรัพย์สิน เงินทอง เพราะ เหตุที่ไม่ประเสริฐ เพราะ มีความเกิด แก่ เจ็บ
ตายเป็นธรรมดา
การแสวงหาที่ประเสริฐ คือ การแสวงหาสิ่งที่ไม่มีการเกิด ไม่มีการแก่ ไม่มีการตาย
คือ พระนิพพานที่เป็นสภาพธรรมที่ไม่มีทุกข์
ดังนั้น ในชีวิตประจำวันของปุถุชน ที่มากไปด้วยกิเลส ก็ย่อมเป็นไปตามกิเลส มี
การแสวงหา ทรัพย์ เงินทอง ที่เป็นการแสวงหาสิ่งที่ไม่ประเสริฐเป็นธรรมดา เพื่อ
ตอบสนองโลภะ กิเลสที่ตนเองมี หากแต่ว่า การเจริญอบรมปัญญา ของพระพุทธเจ้า
เป็นการอบรมปัญญาที่เป็นปกติในชีวิตประจำวัน ดังนั้น แม้จะมีการแสวงหาที่ไม่
ประเสริฐ แต่ ผู้ที่สะสมปัญญา สะสมศรัทธามาแล้วในพระพุทธศาสนา ก็เกิดความ
สนใจ ในพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ก็แบ่งเวลาในการศึกษาธรรม ตาม
กาลเวลา โอกาสที่เหมาะสม หลังจากที่ได้ทำกิจการงานแล้ว เป็นต้น ขณะนั้น
ชื่อว่า กำลังสะสมทรัพย์ภายใน คือ ขณะที่อ่าน ศึกษา ฟังพระธรรมเข้าใจ ก็ชื่อว่า
สะสมอริยทรัพย์ ทรัพย์ภายใน คือ จิตใจที่ดีงามที่เป็นกุศลที่ประกอบด้วยปัญญา
ในขณะนั้น ก็มีศรัทธาในขณะนั้นด้วย มี หิริ โอตตัปปะ มี สุตะ มีการสะสมการฟัง
ในขณะนั้น มี จาคะ ด้วย ที่เป็นการบริจาค สละ สละอะไร ไม่ใช่เพียงสละทรัพย์ -
สิน เงินทองตามที่เข้าใจ แต่เป็นการสละ กิเลส ความไม่รู้ในขณะนั้น และ มีปัญญา
ที่เป็นทรัพย์ภายในที่ประเสริฐสุด เกิดขึ้น ในขณะที่เข้าใจพระธรรมในขณะนั้นด้วย
เพราะฉะนั้น การสะสมอริยทรัพย์ สะสมทรัพย์ภายใน ก็ไม่ใช่การสะสมที่ไปไหนไกล
ก็คือ การฟัง การศึกษาพระธรรม นั่นเอง ดังนั้น ที่กล่าวว่า สะสมแต่ทรัพย์ภายนอก
ควรสะสมทรัพย์ภายใน ก็คือ การศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม จึงเป็นการสะสม
ทรัพย์ภายใน เพราะเป็นเหตุให้เกิดปัญญา และ กุศลธรรมประการต่างๆ ซึ่ง กุศลอื่นๆ
ไม่ใช่อริยทรัพย์ หากปราศจากปัญญา แต่ การอบรมปัญญา ศึกษาพระธรรม ย่อม
เป็นการสะสมทรัพย์ภายในอย่างแท้จริง และ เมื่อมีปัญญา ในพระพุทธศาสนา
แล้ว ย่อมจะทำให้กุศลประการอื่นๆ อันมีปัญญานำทาง เป็นอริยทรัพย์ เป็นทรัพย์
ภายในด้วย ครับ
ส่วนการนำมาซึ่งความสุขของทรัพย์ ทั้งทรัพย์ภายนอกที่เป็นทรัพย์สินเงินทอง
และทรัพย์ภายใน ก็ล้วนแล้วแต่นำมาซึ่งความสุข แต่ ความสุขที่ประเสริฐ
และเป็นความสุขที่แท้จริง
ทรัพย์ภายนอก มีเงินและทอง นำมาซึ่งความสุขที่เรียกว่า ความสุขอิงอามิส
คือ อิงอาศัยกิเลส เป็นต้น คือ เกิดความยินดี ติดข้องในทรัพย์นั้น เกิดความสุข
ชั่วคราว แต่กำลังก่อทุกข์ใหม่เพราะ มีความติดข้องเป็นเหตุ และ ก็ต้องทำบาป
เพราะ ทรัพย์สิน เงิน ทอง นั้น และ ได้รับทุกข์ทั้งทางกาย และ ใจ และ ที่
สำคัญ ไม่ใช่สุขที่เป็นไปเืพื่อละกิเลส แต่ เพื่อเพิ่มกิเลส อันเป็นความสุข
จอมปลอม เพราะ ย่อมนำมาซึ่งทุกข์ในโลกนี้ และ ทุกข์ คือ การเกิดไม่มีที่สิ้นสุด
ทรัพย์ภายใน คือ กุศลธรรม โดยเฉพาะ ปัญญา ผู้ที่เห็นความจริงของสภาพธรรม
ด้วยปัญญา เกิดกุศลประการต่างๆ ย่อมเกิดปิติ เกิดความสุขที่ไม่อาศัยกิเลส
อาจหาญ ร่าเริง ที่ได้เข้าใจถูก เกิดสุขโสมนัส อันมีปัญญาเป็นสำคัญ ขณะนั้น
เป็นความสุขที่ไม่นำมาซึ่งความทุกข์ เพราะ เป็นความสุขที่ไม่อิงอาศัยกิเลส และ
ท้่ายสุด ย่อมนำมาซึ่งความสุขที่แท้จริง คือ ความสุขที่ไม่มีการเกิด เพราะ การเกิด
นำมาซึ่งทุกข์ ทรัพย์ภายใน อริยทรัพย์ มีปัญญา เป็นต้น จึงทำให้ละกิเลส อันเป็น
ต้นเหตุแห่งทุกข์ถึงความสุขที่แท้จริง คือ หมดกิเลส ไม่มีการเกิดอีกเลย ครับ
ดังนั้น ก็ควรแสวงหา ทรัพย์ภายในที่ประเสริฐ คือ การศึกษา การฟังพระธรรม
ก็ย่อมนำมาซึ่ง อริยทรัพย์ ย่อมถึงความสุขได้
การใช้ชีวิตประจำวันก็แสวงหาทรัพย์ภายนอก พร้อมกับ การสะสมทรัพย์
ภายใน อันเป็นการดำเนินชีวิตที่ไม่ขัดกันเลย อริยสาวก มี ท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี
ก็ค้าขาย และ เจริญกุศลทุกประการ พร้อมกับการศึกษาพระธรรม อันเป็นแบบอย่างที่ดี
ของ อุบาสก อุบาสิกา ที่นับถือพระพุทธศาสนาในปัจจุบัน ครับ ขออนุโมทนา
ขอบคุณและขออนุโมทนาครับ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ