เห็นเขาคุยกันเลยอยากให้ที่นี่ อธิบายดูเกี่ยวกับเรื่องนี้
สำหรับประเด็นปัญหาเกี่ยวกับอสังขตธรรมที่เกิดขึ้นนั้น เนื่องจากมีความเห็นในเรื่องจำนวนแตกต่างกันจนมีมติไม่ลงรอยกัน กล่าวคือ๑. ฝ่ายหนึ่งมีมติว่า อสังขตธรรมมีอยู่เพียงอย่างเดียวเท่านั้นคือนิพพาน๒. ฝ่ายหนึ่งมีมติว่า อสังขตธรรมมีมากว่าหนึ่ง ไม่ใช่เพียงนิพพานเท่านั้นโดยเสนอว่านอกจากนิพพพานแล้ว นิยาม ปฏิจจสมุปบาท อริยสัจ อรูปฌาน นิโรธสมาบัติ และอากาสะ ก็ล้วนแต่เป็นอสังขตธรรมเช่นกัน
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ก่อนอื่น เบื้องต้น เราก็จะต้องเข้าใจคำว่า สังขตธรรมและอสังขตธรรมก่อนครับว่า2 คำนี้ คืออย่างไรก็จะเข้าใจถูกว่า อสังขตธรรมหมายถึงอะไรครับ โดยไม่ได้เอาความเห็นส่วนตัว แต่ตามพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง
สังขตธรรม สงฺขต (อันปัจจัยกระทำพร้อมแล้ว , ปรุงแต่งแล้ว) + ธมฺม (ธรรม) ธรรมอันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว หมายถึง สภาพธรรมที่เกิดขึ้นเพราะมีปัจจัยเป็นเหตุทำให้เกิด เมื่อหมดเหตุปัจจัย สภาพธรรมนั้นๆ ก็ดับ สังขตธรรม จึงหมายถึงสภาพธรรมที่มีการเกิดดับ ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ รูป ๒๘
อสังขตธรรม อสงฺขต (อันปัจจัยไม่กระทำแล้ว , ไม่ปรุงแต่งแล้ว) + ธมฺม (ธรรม) ธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง หมายถึง พระนิพพาน ซึ่งเป็นสภาพที่เที่ยง เพราะปราศ-จากความแปรปรวน เปลี่ยนแปลง เป็นสุข เพราะไม่เกิด ไม่ดับ ทนอยู่ในสภาพเดิมได้ และเป็นอนัตตา เพราะเป็นสภาพธรรมที่ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร ดังนั้น สภาพธรรมที่เป็นสภาพธรรมที่ปรุงแต่ง คือ จิต เจตสิกและรูป ซึ่งสภาพธรรมที่
ไม่มี จิต เจตสิกและรูป ก็คือ พระนิพพาน พระนิพพานจึงเป็น อสังขตธรรม เป็นสภาพ
ธรรมที่ไม่มีปัจจัย ปรุงแต่ง แต่ปฏฺิจจสมุปบาท เป็นความจริงที่แสดงถึง สภาพธรรมที่
มีจริงที่เป็น จิต เจตสิกและรูป ดังนั้น ปฏิจจสมุปบาท จึงไม่ใช่อสังขตธรรม เพราะเนื่อง
ใน จิต เจตสิกและรูปที่เป็นสภาพธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง ปฏิจจสมุปบาท บางส่วน จึง
ไม่ใช่อสังขตธรรม แต่เป็นสังขตธรรม ส่วน อริยสัจ 4 บางอริยสัจ เป็น สังขตธรรม
บางอริยสัจ เป็น อสังตธรรม ทุกข์ สมุทัย และมรรค เป็นสภาพธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง
เป็น จิต เจตสิก รูป เป็นสังขตธรรม ไม่ใช่อสังขตธรรม ส่วน อริยสัจที่ 3 คือ นิโรธ เป็น
พระนิพพาน เป็นอสังขตธรรม คือ สภาพธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่งครับ
นิโรธสมาบัติ ที่ดับจิตและเจตสิก ก็ยังไม่ใช่อสังขตธรรม ก็เพราะยังมีปัจจัยปรุงแต่ง
นับเนื่องโดยยังมีรูปเกิดและดับอยู่ครับ อรูปฌานก็เช่นกัน ยังมีสภาพธรรมที่เป็น จิต
เจตสิกเกิดขึ้นและดับไป อันเป็นสภาพธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง จึงยังเป็นสังขตธรรม
ไม่ใช่อสังขตธรรม เพราะฉะนั้น อสังขตธรรม คือ สภาพธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง คือ
ไม่มีจิต เจตสิกและรูปเลย คือ พระนิพพานครับ ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา
อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ประเด็นที่ว่า..นิยามเป็นอสังขตธรรม.มีความเห็นว่าอย่างไรคะและหมายถึง
...???????.นิยาม คือ ความแน่นอน ความเป็นธรรมดาของสิ่งต่างๆ มี 5 ประการครับ คือ
พีชนิยาม (ความแน่นอนของพืช) อุตุนิยาม (ความแน่นอนของฤดูกาล) กรรมนิยาม (ความแน่นอนของกรรม) ธรรมนิยาม (ความแน่นอนของธรรม) จิตนิยาม (ความแน่นอนของจิต) .
ขออนุโมทนาค่ะ
นื่องจากว่าพระสงฆ์กลุ่มที่มีมติว่าอสังขตธรรมมีเพียงอย่างเดียวเท่านั้นคือ นิพพาน เป็นกลุ่มที่มีบทบาทในการร้อยกรองพระอภิธรรม ดังนั้น จึงปรากฏว่า มีเนื้อหาที่สอดคล้องต้องกันในเชิงยืนยันมติของฝ่ายตนเอาไว้อย่างชัดเจน ซึ่งบางแห่งก็ระบุชัดลงไปเลยว่า อสังขตธรรมมีเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น คือ นิพพาน และจากหลักฐานในคัมภีร์กถาวัตถุพบว่า เหตุผลที่พระสงฆ์กลุ่มนี้ใช้เป็นเครื่องมือหักล้างข้อเสนอฝ่ายตรงข้าม ด้วยการใช้วิธีอ้างตรรกวิทยาง่ายๆ ว่า “สิ่งใดไม่ใช่นิพพาน สิ่งนั้นย่อมไม่ใช่อสังขตธรรม” ซึ่งเห็นได้ชัดว่า การหักล้างไม่สมเหตุสมผล เพราะถือเอาสมมติฐานของตนเป็นหลัก โดยไม่คำนึงถึงสมมติฐานของอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งไม่เหมือนกับฝ่ายตน เมื่อและฝ่ายมีสมมติฐานที่กำหนดไว้ล่วงหน้า (assumption) ต่างกัน ผลที่ออกมาก็ย่อมแตกต่างกันเป็นธรรมดา การใช้สมมติฐานไม่ตรงกันเป็นฐานในการหักล้างความคิดของฝ่ายอื่น ย่อมไม่ชอบด้วยเหตุผล เพราะสมมติฐานที่แต่ละฝ่ายมีอยู่นั้นต่างก็เป็นข้อตกลงในกลุ่มของตนเองของแต่ละฝ่ายสมมติฐานเหล่านี้มีฐานะเท่ากัน คือ ต่างก็ไม่ได้รับการตรวจสอบกับข้อเท็จจริงที่น่ายอมรับมันจึงเป็นเพียงความเชื่อที่แต่ละฝ่ายมีเท่านั้นเกี่ยวกับเรื่องอสังขตธรรมนี้ นิพพานเป็นที่รู้จักและยอมรับกันโดยทั่วไปอยู่แล้วจึงไม่มีปัญหา ปัญหามีอยู่ที่ข้อเสนอของพระสงฆ์ฝ่ายที่มีมติว่า อสังขตธรรมมีมากว่าอย่าง เดียว ได้แก่ นิยาม ปฏิจจสมุปบาท อริยสัจ อรูปฌาน นิโรธสมาบัติ และอากาสะฉะนั้นพระสงฆ์กลุ่มนี้มีเหตุผลอย่างไรจึงเสนอมาและข้อเสนอเหล่านี้มีความน่าจะเป็นอสังขตธรรมอย่างไร เราไม่สามารถทราบเหตุผลของพระสงฆ์กลุ่มนี้ แต่เราจะนำข้อเสนอเหล่านี้มาวิเคราะห์หาเหตุผลกันดูเพราะในพระสุตตันตปิฎกมีพระพุทธวจนะบางแห่งส่อไปในทำนองว่าอสังขตธรรมน่าจะมีหลายอย่างไม่จำกัดอยู่เพียงนิพพานเท่านั้น ซึ่งเรื่องนี้ได้มีผู้วิเคราะห์พระพุทธวจนะนั้นทั้งในแง่เนื้อหาและในแง่ภาษาอย่างละเอียดแล้วให้ข้อสรุปไว้ว่าสามารถอ้างเป็นหลักฐานได้ว่า อสังขตธรรมน่าจะมีมากกว่าหนึ่งอย่างเพราะพุทธวจนะจะเปิดทางให้ตีความได้อย่างชัดเจนอยู่แล้วแม้ว่าพระพุทธเจ้าจะไม่ได้ตรัสระบุว่าอสังขตธรรมมีจำนวนเท่าใด มีอะไรบ้างก็ตาม แต่ก็ได้ทรงวางหลักการที่สำคัญยิ่งในการตัดสินว่า สิ่งใดเป็นสังขตธรรม สิ่งใดเป็นอสังขตธรรม เอาไว้อย่างชัดเจน ในพระสุตตันตปิฎก ซึ่งมีใจความว่าตีณีมานิ ภิกฺขเว สงฺขตสฺส สงฺขตลกฺขณานิ กตมานิ ตีณิ.
อุปฺปาโท ปญฺญายติ วโย ปญฺญายติ ฐิตสฺส อญฺญถติตํ ปญฺญายติ.
อิมานิ โข ภิกขเว ตีณิ สงฺขตสฺส สงฺขตลกฺขณานีติ.
ตีณีมานิ ภิกฺขเว อสงฺขตสฺส อสงฺขตลกฺขณานิ. กตมานิ ตีณิ.
น อุปฺปาโท ปญฺญยติ. นิ วโย ปญฺญายติ. น ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํ ปญฺญายติ
อมานิ โข ภิกฺขเว ตีณิ อสงฺขตสฺส อสงฺขตลกฺขณานีติภิกษุทั้งหลาย ทั้งสังขตลักษณะของสังขตธรรม มีสามประการ
สามประการอะไรบ้าง คือ การเกิดปรากฏ ความเสื่อมปรากฏ
เมื่อสังขตธรรมนั้นดำรงอยู่ ความแปรเปลี่ยนปรากฏ
ภิกษุทั้งหลาย สามประการเหล่านี้แล คือ สังขตลักษณะของสังขตธรรมภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม มีสามประการ
สามประการอะไรบ้าง คือ การเกิดไม่ปรากฏ ความเสื่อมไม่ปรากฏ
เมื่ออสังขตธรรมนั้นดำรงอยู่ ความแปรเปลี่ยนไม่ปรากฏ
ภิกษุทั้งหลาย สามประการเหล่านี้แล คือ อสังขตลักษณะของอสังขตธรรมพระพุทธวจนะข้างต้นนี้อาจสรุปเป็นหลักการเพื่อความชัดเจนได้ดังต่อไปนี้สิ่งใดก็ตามที่เป็นสังขตธรรม สิ่งนั้นจะต้องประกอบด้วยลักษณะ ๓ ประการ
ต่อไปนี้๑ สิ่งนั้นปรากฏการเกิด๒ สิ่งนั้นปรากฏความเสื่อมสลาย๓ สิ่งนั้นขณะดำรงอยู่ปรากฏความแปรเปลี่ยนส่วนสิ่งใดก็ตาม ที่เป็นอสังขตธรรม สิ่งนั้นจะต้องประกอบด้วยลักษณะ ๓ ประการต่อไปนี้ คือ๑ สิ่งนั้นไม่ปรากฏการเกิด๒ สิ่งนั้นไม่ปรากฏความเสื่อมสลาย๓ สิ่งนั้นขณะดำรงอยู่ไม่ปรากฏความแปรเปลี่ยนเมื่อมีหลักการที่ชัดเจนอยู่เช่นนี้ การที่จะตัดสินว่าสิ่งใดเป็นสังขตธรรม สิ่งใดเป็นอสังขต
ธรรม ตามทรรศนะของพุทธศาสนาจึงสามารถทำได้อย่างตรงไปตรงมาที่สุดโดยนำสิ่งที่ผู้เสนอว่าเป็นอสังขตธรรมนั้นมาตรวจสอบวินิจฉัยคุณสมบัติดูว่าตรงตามหลักการสามข้อข้างต้นนั้นหรือไม่ ในกรณีที่พระสงฆ์กลุ่มที่เสนอว่า อสังขตธรรมมีมากกว่าอย่างเดียวได้แก่นิยาม ปฏิจจสมุปบาท อริยสัจ อรูปฌาน นิโรธสมาบัติ และอากาสะ เราก็สามารถนำข้อเสนอแต่ละอย่างมาวิเคราะห์คุณสมบัติดูก็ย่อมรู้ได้ทันทีหากสิ่งใดตรงกับหลักการที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้สิ่งนั้นย่อมจัดเป็นอสังขตธรรมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เป็นที่ทราบกันดีว่า นิยาม. ปฏิจจสมุปบาท อริยสัจ เป็นหลักธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับหลักอิทัปปัจจยตา กล่าวคือ นิยามกับอิทัปปัจจยตา เป็นคำที่พุทธปรัชญาใช้ระบุถึงสิ่งเดียวกัน ปฏิจจสมุปบาทก็เป็นอีกชื่อหนึ่งของอิทัปจจยตา ส่วนอริยสัจก็เป็นหลักธรรมที่นิรนัยออกมาจากหลักอิทัปปัจจยตาหรือปฏิจจสมุปบาท หลักอิทัปปัจจยตานี้เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า มีความสำคัญเสมือนหนึ่งเป็นหัวใจของพุทธศาสนา เพราะมีเนื้อหากว้างขวางลุ่มลึกครอบคลุมหลักธรรมสำคัญอื่นๆ เอาไว้แทบทั้งสิ้นหลักอิปทัปปัจจยตามีฐานะเป็นกฎควบคุมความเป็นสาเหตุและผลของสังขตธรรมทุกอย่างในเอกภพ กฎนี้พระพุทธเจ้าตรัสยืนยันว่า เป็นธรรมธาตุ ธรรมฐิติ ธรรมนิยาม ซึ่งหมายความว่า มันเป็นสิ่งที่มีอยู่โดยไม่มีใครสร้างขึ้นมา มันมีอยู่ของมันเอง มีอยู่ตลอดเวลา และจะมีอยู่ตลอดไป มันเป็นสิ่งมีอยู่จริงต่างหากจากสิ่งที่ดำเนินไปตามกฎ คือ[/b] มันเป็นสิ่งที่ควบคุมสังขตธรรม ทุกอย่างในเอกภพนี้ให้ดำเนินไปอย่างมีระเบียบเมื่อวิเคราะห์ดูลักษณะของกฎอิทัปปัจจยตาอย่างละเอียดแล้ว เห็นได้ชัดเจนว่าตรงกับหลักการที่พระพุทธเจ้าทรงวางไว้ทุกประการ กล่าวคือ กฎอิทัปปัจจยตา เป็นสิ่งที่มีอยู่ต่างหากจากสิ่งที่ดำเนินไปภายใต้การควบคุมของมัน มันจึงเป็นสิ่งที่มีอยู่โดยปรมัตถ์ การมีอยู่ของมันไม่เกี่ยวกับการมีอยู่ของสิ่งต่างๆ ในเอกภพ แม้ว่าเอกภพนี้จะปราศจากสิ่งอื่น จะดำเนินไปตามกฎหมายของมันก็ตาม มันก็จะยังอยู่ตลอดเวลาอย่างเป็นอมตะโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง นี้ย่อมเป็นข้อยืนยันอยู่ในตัวว่ามันเป็นอสังขตธรรม ในเมื่อกฎอิทัปปัจจยตาเป็นอสังขตธรรม หลักธรรมอื่นที่ใช้เรียกสิ่งเดียวกันนี้ เช่น นิยามก็ย่อมเป็นอสังขตธรรมด้วย และแม้แต่กฎเฉพาะที่นิรนัยออกไปจากกฎนี้ เช่น อริยสัจก็ย่อมจัดเป็นอสังขตธรรมด้วยเช่นกันสำหรับอรูปฌานและนิโรธสมาบัติ สองสิ่งนี้เป็นภาวะหรือภูมิธรรมที่เกิดขึ้นในจิตใจของบุคคลที่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์แห่งการเข้าถึงมันหากปราศจากผู้ปฏิบัติตามปฏิปทาที่นำไปสู่มัน มันก็จะมีไม่ได้ ตัวบุคคล การลงมือปฏิบัติและหลักเกณฑ์หรือปฏิบัติตามปฏิปทาที่นำไปสู่มัน เมื่อพิจารณาลักษณะต่างๆ ของมันดูแล้วไม่ตรงกับหลักการที่ทรงวางเอาไว้ มันจึงไม่อาจจัดเป็นอสังขตธรรมได้ ส่วนอากาสะนั้นเมื่อนำคุณลักษณะของมันมาวิเคราะห์ดูโดยใช้หลักการที่พระพุทธเจ้าทรงวางเอาไว้ เข้าตรวจสอบแล้วพบว่ามีความสอดคล้องต้องตามพุทธมติ อากาสะจึงมีฐานะเป็นอสังขตธรรมแน่นอนสรุปแล้วสิ่งที่พระสงฆ์กลุ่มนี้เสนอมาว่าเป็นอสังขตธรรมนั้น มีอยู่สี่อย่างที่สอดคล้องกับพุทธมติ คือ นิยาม ปฏิจจสมุปบาท อริยสัจ และอากาสะ เมื่อรวมนิพพานเข้าด้วยเราสามารถจำแนกอสังขตธรรมข้างต้นออกเป็น ๓ ประเภท คือ๑. ประเภทที่อยู่ในรูปกฎธรรมชาติได้แก่ นิยาม ปฏิจจสมุปบาท และอริยสัจ๒. ประเภทที่อยู่ในรูปภาวะทางธรรม ได้แก่ นิพพาน ๓. อสังขตธรรมพิเศษ ได้แก่ อากาสะกล่าวรวบยอดเฉพาะกฎปฏิจจสมุปบาทซึ่งเป็นชื่อเรียกสิ่งที่ควบคุมความเป็นสาเหตุและผลของสังขตธรรมในเอกภพให้ดำเนินไปอย่างมีระเบียบ มันเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงไม่ใช่สิ่งที่สมมติ แต่การมีอยู่ของมันนั้น ไม่อาจรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า เพราะมันมีอยู่ในภาวะปรมัตถ์ซึ่งจัดว่าเป็นภาวะสูงสุดในธรรมชาติ ดังนั้น จึงถือว่ากฎปฏิจจสมุปบาทเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง (being) ไม่ใช่ชื่อสมมติเรียกอาการดำเนินไปของธรรมชาติเท่านั้น
//www.gotoknow.org/blogs/posts/216116
เรียนความเห็นที่ 2 ครับนิยาม คือ ความแน่นอน ความเป็นธรรมดาของสิ่งต่างๆ มี 5 ประการครับ คือ
พีชนิยาม (ความแน่นอนของพืช) อุตุนิยาม (ความแน่นอนของฤดูกาล) กรรมนิยาม (ความแน่นอนของกรรม) ธรรมนิยาม (ความแน่นอนของธรรม) จิตนิยาม (ความแน่นอนของจิต) .
พีชนิยาม (ความแน่นอนของพืช) คือ ความเป็นไปของพืชที่ต้องเป็นไปอย่างนั้น
เพราะธรรมชาติเป็นอย่างนั้น เช่น ดอกทานตะวันจะต้องหันหน้าไปทางพระอาทิตย์
เป็นต้น
อุตุนิยาม (ความแน่นอนของฤดูกาล) อันเป็นธรรมชาติเป็นไปอย่างนั้นตามฤดู
อากาศ เช่น ต้นไม้ ออกผล ตามฤดู นี้อากาศนี้ เวลานี้ เป็นต้น
กรรมนิยาม คือ ความแน่นอนของกรรมที่เป็นธรรมดาอย่างนั้น เช่น กุศลกรรมย่อม
ให้ผลในสิ่งที่ดี อกุศลกรรมย่อมให้ผลที่ไม่ดี ไม่น่าปรารถนา กรรมนี้ให้ผลแบบนี้ กรรมนี้
ให้ผลแบบนี้ อันเป็นไปตามสภาพธรรมที่เป็นกรรมครับ
ธรรมนิยาม คือ ความแน่นอนของธรรมที่ต้องเป็นไปอย่างนั้น เช่น เมื่อพระโพธิสัตว์
ประสูติ ตรัสรู ปรินิพพาน แผ่นดินต้องไหว เป็นต้น จิตนิยาม (ความแน่นอนของจิต) คือ ธรรมของจิตที่ต้องเป็นอย่างนั้น เช่น จิตมี
ธรรมชาติ คือ รู้อารมณ์ และจิตแต่ละประเภทก็ทำหน้าที่อย่างนั้น ไม่มีใครสั่ง แต่เป็นไป
ตามจิตที่ทำหน้าที่ เช่น จิตเห็น ก็ทำหน้าที่รู้ สี เปลี่ยนไม่ได้ เป็นความแน่นอนของจิต
ธรรมนิยามของจิตเป็นอย่างนั้นและลำดับการเกิดของจิตก็ต้องเป็นไปอย่างนั้น เปลี่ยน
แปลงไม่ได้เช่นกัน--------------------------------------------------------------------------------- ดังนั้น นิยาม แต่ละอย่าง พีชนิยาม ก็ไม่พ้นสังขตธรรม ธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง เพราะ
คือ รูปธรรม อุตุนิยาม ก็ไม่พ้นจากรูปธรรม ที่เป็นสังขตธรรม มีปัจจัยปรุงแต่ง กรรมนิยาม
ก็ไม่พ้นจากจิต เจตสิก ที่เป็นกุศลกรรม อกุศลกรรม เป็นต้น ก็ไม่พ้นจากสังขตธรรม ไม่
ใช่ อสังขตธรรมครับ จิตนิยาม อันนี้ก็แน่นอนครับว่าเป็นสังขตธรรม ไม่ใช่อสังขตธรรม
ธรรมนิยามก็ครอบคลุม สภาพธรรมทุกอย่าง ที่แสดงถึง ความแน่นอนของสภาพธรรมที่
ต้องเป็นอย่างนั้น ก็รวมถึง พระนิพพานที่เป็น อสังขตธรรมด้วยครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น พระธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียด ลึกซึ้ง แสดงถึงความเป็นจริงทั้งหมด เมื่อกล่าวถึงธรรมแล้ว ไม่พ้นไปจากนามธรรม และ รูปธรรม, สภาพธรรมที่ไม่รู้อะไรเลย ไม่ใช่นามธรรมก็เป็นรูปธรรมทั้งหมด นามธรรม แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือนามธรรมที่รู้อารมณ์ได้แก่ จิต และ เจตสิก และนามธรรมที่ไม่รู้อารมณ์ ได้แก่พระนิพพาน ที่เป็นสภาพธรรมที่ไม่เกิด ไม่ดับ เป็นสภาพธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดขึ้น [เป็นอสังขตธรรม] เมื่อไม่เกิดจึงไม่ดับ แต่มีจริง พระอริยบุคคลขั้นต่างๆ เท่านั้น ที่ประจักษ์แจ้งพระนิพพานได้ ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ใน....พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒..บางประโยคกล่าวถึง นิยาม ปฏิจจสมุปบาท อริยสัจและอากกาสะว่าเป็นอสังขตธรรม...โปรดอธิบายด้วยคะ ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
เรียนความเห็นที่ 7 ครับ
ตามที่กระผมได้อธิบายไว้แล้วครับ ในความเห็นที่ 1 ว่า อริยสัจ บางอริยสัจ เป็นอสังขต
ธรรม เช่น นิโรธสัจจะ (พระนิพพาน) เป็น อสังขตธรรม อริยสัจบางข้อไม่ใช่ อสังขตธรรม
เช่น ทุกขอริยสัจจะ ที่เป็นสภาพธรรมที่เป็น จิต เจตสิกและรูปทีเ่กิดขึ้นและดับไป มี
ปัจจัยปรุงแต่ง ปฏิจจสมุปบาท บางส่วน เป็นสังขตะ บางส่วนเป็นอสังขตธรรมครับ นิยาม บางอย่างเป็น อสังขตธรรม เช่น ธรรมนิยาม ที่ได้อธิบายแล้วในความเห็นที่ 2 ครับ ดังนั้นเมื่อเรากล่าวถึงข้อธรรมใดก็ต้องแยกเป็นส่วนๆ ว่า ธรรมนี้ที่มีหลายข้อ ข้อใดเป็นสังขตธรรมข้อใดเป็นอสังขตธรรมครับ ดังความเห็นที่ 1 ที่ได้กล่าวไว้ครับ
ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา
ขอเพิ่มเติมในประเด็นกระทู้นี้ และในความคิดเห็นที 3 และ 7 อีกครั้งครับ
เมื่อได้ไปอ่านในคัมภีร์กถาวัตถุ เพิ่มเติม ก็เป็นที่แน่นอน และชัดเจน ในประเด็น
ว่า นิยาม ปฏิจจสมุปบาท อริยสัจ อรูปฌาน นิโรธสมาบัติ อากาศ เป็นอสังขตธรรม
ด้วยหรือไม่ คำตอบ คือ ไม่ เพราะเป็นความเข้าใจผิดของลัทธอื่นที่เข้าใจว่า ธรรมที่
กล่าวมาเป็นอสังขตธรรมด้วยครับ ซึ่งก็เป็นการสนทนา โต้ตอบกันระหว่าง สองท่าน
สุดท้ายคำตอบคือ นิยาม ปฏิจจสมุปบาท อริยสัจ อรูปฌาน นิโรธสมาบัติ อากาศ
ไม่เป็นอสังขตธรรมครับ
และขอเพิ่มเติม คำว่า นิยาม ในที่นี้ ในพระไตรปิฎก มุ่งหมายถึง นิยาม คือ อริยมรรค
ซึ่งเป็นสภาพธรรมทีเ่กิดดับ (สังขตธรรม) แต่ ผู้ที่ความเห็นผิด สำคัญว่าเป็น อสังขต
ธรรม ธรรมที่ไม่เกิดดับ ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง ดังข้อความในพระไตรปิฎกครับ
ข้อความในพระไตรปิฎกอธิบายว่า ผู้เห็นผิดเข้าใจว่า นิยาม คือ อริยมรรค เป็น อสังขตะ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒- หน้าที่ 5
อรรถกถานิยามกถา
ว่าด้วย นิยาม
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องนิยาม นิยามเป็นอสังขตะ. ในปัญหานั้น ท่านเรียกอริยมรรคว่า
นิยาม เพราะพระบาลีว่า บุคคลผู้สามารถเพื่อก้าวลงสู่นิยามอันถูกต้องในกุศลธรรมทั้ง
หลายดังนี้. ก็ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอันธกะทั้งหลายว่า เมื่อนิยาม
นั้นเกิดขึ้นและดับไปแล้วก็ดี บุคคลนั้นย่อมชื่อว่าเป็นไม่เที่ยงก็หาไม่ เหตุใด เพราะ
เหตุนั้น นิยามที่เกิดขึ้นแก่บุคคลนั้น จึงชื่อว่าเป็นอสังขตะ คือ ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง
---------------------------------------------------------------------------------------- ปฏิจจสมุปบาท ไม่ใช่ อสังขตธรรม
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒- หน้าที่ 13
อรรถาปฏิจจสมุปปาทกถา
ว่าด้วย ปฏิจจสมุปบาท
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องปฏิจจสมุปบาท. ในเรื่องนั้นชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของ
นิกายปุพพเสลิยะ และมหิสาสกะทั้งหลายว่า ปฏิจจสมุปบาทเป็นอสังขตะ เพราะ
พระบาลีในนิทานวรรคว่า การอุบัติขึ้นแห่งพระตถาคตเจ้าก็ดี การไม่อุบัติก็ดี ชื่อว่า
ธัมมัฏฐิตตา คือ ความตั้งอยู่แห่งธรรม มีอยู่ ดังนี้คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น
คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.
อริยสัจ ไม่ทั้หมดที่เป็น อสังขตธรรม
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒- หน้าที่ 19
อรรถกถาสัจจกถา
ว่าด้วย สัจจะ
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องสัจจะ. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกาย
ปุพพเสลิยะทั้งหลายว่า สัจจะทั้ง ๔ คือ ทุกขสัจจะ สมุทยสัจจะ นิโรธสัจจะ และ
มรรคสัจจะ เป็นอสังขตะ เพราะอาศัยพระสูตรว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัจจะ ๔ อย่าง
นี้แท้ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น เป็นต้นดังนี้ คำถามของสกวาที หมายถึงชนเหล่านั้น คำ
ตอบรับรองเป็นของปรวาที. --------------------------------------------------------------------------------
นิโรธสมาบัติ ไม่ใช่ อสังขตธรรม พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 27
อรรถกถานิโรธสมาปัตติกถา
ว่าด้วย นิโรธสมาบัติ
ในปัญหานั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะและอุตตราปถกะ
ทั้งหลายว่า นิโรธสมาบัติไม่เป็นสังขตะ เพราะเป็นอสังขตะ ดังนี้ คำถามของ
สกวาทีว่า นิโรธสมาบัติ เป็นต้น โดยหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของ
ปรวาที. ----------------------------------------------------------------------------------
อรูปฌาน ไม่ใช่ อสังขตธรรม พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 23
อรรถกถาอรุปปกถา
ว่าด้วย ภพไม่มีรูป
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่อง อารุปปะ คือภพไม่มีรูป ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดว่า
ธรรมเหล่านั้นแม้ทั้งปวง เป็นอสังขตะ เพราะอาศัยพระบาลีว่า ภพไม่มีรูปทั้ง ๔ เป็น
สภาพไม่หวั่นไหว ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า อากาสานัญจายตนะ เป็นต้นโดย
หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ---------------------------------------------------------------------------------อากาศ ไม่ใช่ อสังขตธรรม
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 31
อรรถกถาอากาสกถา
ว่าด้วย อากาศ
ก็ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอุตตราปถกะ และมหิสาสกะทั้ง
หลายว่า อากาศแม้ทั้ง ๒ คือกสิณุคฆาฏิมากาส และอชฎากาสไม่ใช่สังขตะ เหตุใด
เพราะเหตุนั้น จึงเป็นอสังขตะ ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า อากาศ เป็นต้น หมายถึง
ชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือในที่นี้มีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.
อรรถกถาอากาสกถา จบ
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * ดังนั้น จากข้อความในพระไตรปิฎกที่กระผมยกมา จึงแสดงว่า พระนิพพานเท่านั้นที่เป็น อสังขตธรรม ธรรมนอกนี้ไม่ใช่ครับ แต่เป็นความเข้าใจผิด ของผู้ที่เห็นผิด ที่สำคัญว่าธรรมอื่นเป็น อสังขตธรรมด้วยครับ ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา