ความคิดนึกกับใจเป็นภาษาไทย โดยทั่วไป มีกล่าวอันเป็นที่เข้าใจ คือเป็นวิถีจิต ทางมโนทวารทางใจ ไม่ใช่ขณะเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส และไม่ใช่ขณะกระทบ โผฏฐัพพะ แต่ถ้ากล่าวแยกละเอียดตามนัยพระอภิธรรม ความคิดนึก ตรงกับ ลักษณะของวิตกฺกเจตสิก มีลักษณะตรึกคือจรดอารมณ์ ส่วนใจเป็นชื่อหนึ่งของ จิตหรือมโนมีลักษณะรู้แจ้งอารมณ์ ใจหรือจิตไม่ใช่เจตสิก ไม่ใช่รูป
[เล่มที่ 75] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ หน้าที่ 356
บาลีนิทเทส
[๒๑] จิต มีในสมัยนั้น เป็นไฉน จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า จิตมีในสมัยนั้น.
[เล่มที่ 65] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ หน้าที่ 3
คำว่า ใจ คือ จิต มนะ มานัส หทัย บัณฑระ มนะ มนายตนะ คือ จิต มนะ มานัส หทัย บัณฑระ มนะ มนายตนะมนินทรีย์ วิญญาณวิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุ ที่เกิดแต่ผัสสะ เป็นต้นนั้น นี้เรียกว่า ใจ
ขออนุโมทนาครับ