[เล่มที่ 43] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 205
๔. เรื่องบุตรเศรษฐีชื่อเขมกะ [๒๒๖]
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 43]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 205
๔. เรื่องบุตรเศรษฐีชื่อเขมกะ [๒๒๖]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภบุตรเศรษฐีชื่อเขมกะ ซึ่งเป็นหลานของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ตรัสพระธรรมเทศนา นี้ว่า "จตฺตาริ านานิ" เป็นต้น.
เขมกะเป็นนักเลงเจ้าชู้ ถูกจับถึง ๓ ครั้ง
ดังได้สดับมา นายเขมกะนั้นเป็นผู้มีรูปสวย. โดยมากหญิงทั้งหลาย เห็นเขาแล้วถูกราคะครอบงำ ไม่สามารถจะดำรงอยู่ตามภาวะของตนได้. แม้เขาก็ได้เป็นผู้ยินดียิ่งในปรทารกรรม (๑) เหมือนกัน.
ต่อมาในเวลากลางคืน พวกราชบุรุษจับเขานำไปแสดงแด่พระราชา. พระราชามิได้ตรัสอะไรกะเขา ด้วยทรงดำริว่า "เราละอายต่อมหาเศรษฐี" แล้วรับสั่งให้ปล่อยไป. ฝ่ายนายเขมกะนั้นก็มิได้งดเว้นเลย. ต่อมา (อีก) พวกราชบุรุษก็จับเขาแล้วแสดงแต่พระราชาถึงครั้งที่ ๒ ที่ ๓. พระราชา ก็รับสั่งให้ปล่อยเช่นเคย. มหาเศรษฐีทราบเรื่องนั้นแล้ว พาเขาไปสำนักพระศาสดา กราบทูลเรื่องนั้นแล้วทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์โปรดแสดงธรรมแก่นายเขมกะนี้"
พระศาสดาทรงแสดงโทษแห่งปรทารกรรม
พระศาสดาตรัสสังเวคกถาแก่เขาแล้ว เมื่อจะทรงแสดงโทษในการเสพภรรยาของคนอื่น ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
(๑) กรรมคือการคบหาซึ่งภรรยาของผู้อื่น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 206
๔. จตฺตาริ านานิ นโร ปมตฺโต อาปชฺชตี ปรทารูปเสวี อปฺุลาภํ นนิกามเสยฺยํ นินฺทํ ตติยํ นิรยํ จตุตฺถํ. อปุญฺลาโภ จ คติ จ ปาปิกา ภีตสฺส ภีตาย รตี จ โถกิถา ราชา จ ทณฺฑํ ครุกํ ปเณติ ตสฺมา นโร ปรทารํ น เสว.
"นระผู้ประมาทชอบเสพภรรยาของคนอื่น ย่อมถึงฐานะ ๔ อย่างคือ การได้สิ่งที่มิใช่บุญ เป็นที่ ๑ การนอนไม่ได้ตามความปรารถนา เป็นที่ ๒ การนินทา เป็นที่ ๓ นรก เป็นที่ ๔. การได้สิ่งมิใช่บุญ อย่างหนึ่ง, คติลามกอย่างหนึ่ง, ความยินดีของบุรุษผู้กลัวกับด้วยหญิงผู้กลัว มีประมาณน้อยอย่างหนึ่ง, พระราชาย่อมลงอาชญาอันหนักอย่างหนึ่ง, เพราะฉะนั้น นระไม่ควรเสพภรรยาของคนอื่น "
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า านานิ ได้แก่ เหตุแห่งทุกข์ทั้งหลาย.
บทว่า ปมตฺโต ได้แก่ ประกอบด้วยการปล่อยสติ.
บทว่า อาปชฺชติ คือ ย่อมถึง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 207
บทว่า ปรทารูปเสวี ความว่า เข้าไปเสพภรรยาของคนอื่นอยู่ ชื่อว่ามักประพฤตินอกทาง.
บทว่า อปุญฺลาภํ ได้แก่ การได้อกุศล.
บทว่า น นิกามเสยฺยํ ความว่า บุคคลนั้นไม่ได้การนอนอย่างที่ตนปรารถนา ย่อมได้การนอนตลอดกาลนิดหน่อยเท่านั้น ซึ่งตนไม่ ปรารถนา.
บทว่า อปุญฺลาโภ จ ความว่า การได้สิ่งอันไม่เป็นบุญนี้อย่างหนึ่ง คติอันลามก กล่าวคือนรก เพราะสิ่งอันไม่เป็นบุญนั้น (เป็นเหตุ) อย่างหนึ่ง ย่อมมีแก่บุคคลนั้น อย่างนี้.
สองบทว่า รตี จ โถกิกา ความว่า แม้ความยินดีของบุรุษผู้กลัวนั้น กับหญิงผู้กลัวมีประมาณน้อย คือมีนิดหน่อย.
บทว่า ครุกํ ความว่า อนึ่ง พระราชาย่อมลงอาชญาอย่างหนักด้วยสามารถแห่งการตัดมือเป็นต้น.
บทว่า ตสฺมา เป็นต้น ความว่า บุคคลผู้เสพภรรยาของคนอื่น ย่อมถึงฐานะทั้งหลายมีสิ่งมิใช่บุญเป็นต้นเหล่านั้น เพราะฉะนั้น นระจึง ไม่ควรเสพภรรยาของคนอื่น.
ในกาลจบเทศนา นายเขมกะดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว. ตั้งแต่นั้นมา มหาชนยังกาลให้ผ่านไปอย่างสบาย.
บุรพกรรมของนายเขมกะ
ถามว่า "ก็บุรพกรรมของนายเขมกะนั้น เป็นอย่างไร"
แก้ว่า "ดังได้สดับมา ในสมัยของพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสป
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 208
เขาเป็นนักมวยที่เก่งที่สุด ยกธงทอง ๒ แผ่นขึ้นไว้ที่กาญจนสถูปของพระทศพลแล้ว ตั้งความปรารถนาไว้ว่า "เว้นหญิงที่เป็นญาติสาโลหิตเสีย หญิงที่เหลือเห็นเราแล้วจงกำหนัด." นี้เป็นบุรพกรรมของเขาด้วยประการฉะนี้. เพราะฉะนั้น หญิงของคนเหล่าอื่น เห็นเขาในที่เขาเกิดแล้ว จึงไม่สามารถเพื่อจะดำรงอยู่ตามภาวะของตนได้ ดังนี้แล.
เรื่องบุตรของเศรษฐีชื่อเขมกะ จบ