ประเภทพระพุทธเจ้า
โดย isotope  18 ธ.ค. 2550
หัวข้อหมายเลข 6164

พระพุทธเจ้าแต่ละประเภทคือ ปัญญาพุทธเจ้า (เช่น พระโคดม) ศรัทธาพุทธเจ้า (เช่น พระกัสสป) และวิริยะพุทธเจ้า (เช่น พระศรีอารย์) ต่างกันอย่างไร ในการบำเพ็ญบารมีก่อนที่จะตรัสรู และเหตุใดจึงต่างกัน



ความคิดเห็น 1    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 18 ธ.ค. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

เชิญคลิกอ่าน...

ความแตกต่างบารมีของพระโพธิสัตว์


ความคิดเห็น 2    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 18 ธ.ค. 2550

อีกนัยหนึ่ง ย่อมต่างกัน เมื่อคราวอภินิหาร ต่อหน้าพระพุทธเจ้าที่ทรงพยากรณ์ว่าจะเป็น พระพุทธเจ้า ดังเช่น สุเมธดาบสได้รับการพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าทีปังกร ถ้าพระโพธิสัตว์ใด ขณะที่ได้รับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าแล้วถ้ามีปัญญาฟังเพียงคาถา ๔ บาทแม้ไม่จบคาถาที่ ๓ มีอุปนิสัยบรรลุเป็นพระอรหันต์ (อุคฆฏิตัญญู) ก็เป็นพระพุทธเจ้า ประเภทปัญญาธิกะ พระโพธิสัตว์ใดฟังเพียงคาถา ๔ บาท ยังไม่จบคาถาที่ ๔ มีอุปนิสัยบรรลุเป็นพระอรหันต์ (วิปัญจิตัญญู) ก็เป็นพระพุทธเจ้าประเภทศรัทธาธิกะ พระโพธิสัตว์ใดฟังจบคาถา ๔ บาทแล้วมีอุปนิสัยบรรลุเป็นพระอรหันต์ ถ้าหากน้อมไปเพื่อเป็นสาวกย่อมเป็นพระพุทธเจ้าประเภทวิริยาธิกะ ดังข้อความในพระไตรปิฎกครับ


ความคิดเห็น 3    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 18 ธ.ค. 2550

เชิญคลิกอ่าน...

บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณด้วยความแตกต่างของปัญญา

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์


ความคิดเห็น 4    โดย udomjit  วันที่ 19 ธ.ค. 2550

ได้ความรู้ความเข้าใจมากค่ะ ขอบคุณค่ะ ในกัปป์นี้มีพระพุทธเจ้ามาทรงตรัสรู้ ๕ พระองค์ คุณแล้วเจอกันพอจะทราบไหมค่ะ ว่าอีก ๒ พระองค์เป็นพระพุทธเจ้าประเภทที่ต้องบำเพ็ญนานเพียงใดค่ะ


ความคิดเห็น 5    โดย อิสระ  วันที่ 19 ธ.ค. 2550

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 6    โดย isotope  วันที่ 19 ธ.ค. 2550
พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์เป็นพระพุทธเจ้าประเภทไหน ไม่ทราบว่ามีอ้างอิงไหมครับ

ความคิดเห็น 7    โดย isotope  วันที่ 19 ธ.ค. 2550
อสงไขย (กำไร) แสนกัป คำว่า "กำไร" หมายถึงอะไรครับ ขออนุโมทนา

ความคิดเห็น 8    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 19 ธ.ค. 2550

อ้างอิงจาก : ความคิดเห็นที่ 4 โดย udomjit

๒ พระองค์แรกในกัปนี้คือ พระพุทธเจ้าพระนามว่ากกุสันธะ และพระพุทธเจ้าโกนาคมนะ ในพระสูตร พุทธวงศ์ไม่ได้แสดงไว้ว่าเป็นประเภทไหนครับ มีแต่พระพุทธเจ้ากัสสปะ เป็นศรัทธาธิกะ พระศรีอริยเมตตรัย เป็นวิริยาธิกะครับ


ความคิดเห็น 9    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 19 ธ.ค. 2550

อ้างอิงจาก : ความคิดเห็นที่ 6 โดย isotope

ดูจากคัมภีร์พุทธวงศ์ครับ เล่ม ๗๓ แต่จะไม่ได้บอกโดยตรงว่า เป็นปัญญาธิกะหรือศรัทธาธิกะ แต่จะแสดงว่าบำเพ็ญระยะเวลาเท่าไหร่ เช่น ๑๖ อสงไขย หรือ ๘ อสงไขย เป็นต้น


ความคิดเห็น 10    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 19 ธ.ค. 2550
อ้างอิงจาก : ความคิดเห็นที่ 7 โดย isotope อสงไขย (กำไร) แสนกัป คำว่า "กำไร" หมายถึงอะไรครับ ขออนุโมทนา

คือเศษอีก แสนกัปครับ คือ บำเพ็ญสี่อสงไขยและยังอีกแสนกัปครับ


ความคิดเห็น 11    โดย chatchai.k  วันที่ 6 พ.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 12    โดย yu_da2554hotmail  วันที่ 11 มิ.ย. 2565

ขออนุโมทนาค่ะ