ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น
โภชเน มตฺตญฺญุตา
(ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย)
ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะนั้น มี ๒ ลักษณะ คือ
๑. รู้ประมาณในการรับ แม้หากว่าไทยธรรมมีมาก ผู้ให้ประสงค์จะให้น้อยผู้รับ ย่อมรับน้อยตามความประสงค์ของผู้ให้ ไทยธรรมมีน้อย ผู้ให้ประสงค์จะให้มากผู้รับย่อมรับแต่น้อย ด้วยอำนาจของไทยธรรม ไทยธรรมมีมาก แม้ผู้ให้ก็ประสงค์จะให้มาก ผู้รับรู้กำลังของตน ย่อมรับแต่พอประมาณ
๒. รู้ประมาณในการบริโภค คือ พิจารณาโดยแยบคายแล้วจึงบริโภคอาหาร ไม่บริโภคเพื่อเล่น ไม่บริโภคเพื่อมัวเมา เป็นต้น.
ขอเชิญคลิกอ่านข้อความโดยตรงจากพระไตรปิฎกที่นี่ครับ...
ผู้รู้จ้กประมาณในโภชนะ [อรรถกถาปฐมภิกขุสูตร]
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเพื่อความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภคอาหารไว้ว่า ควรงดฉันข้าว ๔-๕ คำไว้แล้ว ดื่มน้ำ เพียงพอเพื่อจะอยู่อย่างสบายสำหรับภิกษุ ผู้มีใจเด็ดเดี่ยว.
ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมจากพระไตรปิฎกที่นี่ครับ...
ผู้รู้จักประมาณในการฉันอาหาร [อรรถกถาสัมปันนสูตร]
ตัวอย่างบุคคลที่ตระกละ (กินจุ) ๕ จำพวก ซึ่งไม่ควรเอาเยี่ยงอย่างครับ
๑. ผู้บริโภคมาก จนกระทั่งลุกไม่ขึ้น ต้องให้คนอื่นช่วยจับมือตนเพื่อให้ลุกขึ้นได้.
๒. ผู้บริโภคมาก แม้จะลุกขึ้นได้ แต่ไม่อาจนุ่งผ้าได้ (กินจนท้องโต) .
๓. ผู้บริโภคมาก จนไม่สามารถลุกขึ้นได้ นอนกลิ้งอยู่ตรงนั้นเลย.
๔. ผู้บริโภคมาก จนล้นถึงปาก จนถึงกับพวกกาสามารถบินมาจิกกินได้เลย.
๕. ผู้บริโภคมาก จนกระทั่งอาเจียนออกมาตรงนั้นเลย.
ขอเชิญคลิกอ่านข้อความโดยตรงจากพระไตรปิฎกที่นี่ครับ...
พราหมณ์ตะกละ ๕ คน [ธรรมสังคณี]
ขอความเจริญมั่นคงในกุศลธรรม จงมีแด่ทุกๆ ท่าน ครับ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
[เล่มที่ 13] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๖๒
บทว่า มตฺตญฺญุตา คือ รู้ประมาณด้วยสามารถการรับและการบริโภค.
การรับควรพิจารณาด้วยปัญญาว่าควรรับมากหรือน้อยอย่างไร ตามความเหมาะสมครับ หากไม่รับเพราะเป็นผู้สันโดษในของๆ ตนก็ควร แต่ถ้าจะรับควรพิจารณา ถ้าไม่รับเพราะไม่ชอบบุคคลผู้ให้ไม่ควรเพราะเป็นการทำลายมิตรครับ หากรับ รับตามความเหมาะสมรับน้อยเพราะ ตามพระไตรปิฎกที่ยกมา และอาจรับมากก็ได้เพื่อแจกจ่ายให้บุคคลอื่นไม่ใช่นำไปเก็บ ไม่ชื่อว่ามักมากแต่ก็ยังชื่อว่าเป็นผู้สันโดษ ดังเช่น พระอานนท์รับจีวร ๕๐๐ ผืนจากนางสนมของพระเจ้าอุเทน เพื่อนำไปแจกจ่ายกับพระภิกษุผู้มีจีวรเก่า ดังนั้น แม้การรับหรือไม่รับก็เป็นเรื่องของปัญญา ตามความเหมาะสมครับ
ขออนุโมทนา
เชิญอ่านข้อความในพระไตรปิฎกเรื่อง การรับ
อสัมปทานชาดก .. รับของเพื่อรักษาความเป็นมิตร
พระอานนท์รับจีวรมากเพื่อนำไปแจกจ่าย
การรู้จักประมาณในการบริโภค เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ซึ่งเป็นเรื่องยาก หากไม่ได้สะสมปัญญาความเข้าใจมาเพียงพอ ย่อมถูกอำนาจกิเลสให้บริโภคเกินประมาณ ซึ่งปริมาณที่จะทำให้อิ่มของแต่ละคนไม่เท่ากัน จึงบริโภคในปริมาณไม่เท่ากัน แต่เมื่อพิจารณาด้วยปัญญาเมื่อปัญญาเกิด ย่อมพิจารณาว่า เมื่อไหร่เริ่มอิ่มแล้ว ก็ควรบริโภคน้ำตาม ซึ่งเป็นเรื่องของปัญญาจริงๆ ครับ ซึ่งในพระไตรปิฎกแสดงว่า ผู้บริโภคพอประมาณย่อมเป็นผู้มีโรคน้อยด้วย รวมทั้งเป็นไปเพื่อการประพฤติปรารภความเพียรในการปฏิบัติธรรมของพระภิกษุ เป็นต้น
เชิญคลิกอ่านข้อความในพระไตรปิฎกในเรื่องการรู้จักประมาณในการบริโภค
โทณปากสูตร .. คาถากันบริโภคอาหารมาก
ปุตตมังสสูตร .. การบริโภคอาหารเปรียบดั่งเนื้อของบุตร
ขออนุโมทนาผู้ตั้งกระทู้ด้วยครับ เป็นเครื่องเตือนและขัดเกลากิเลสได้ดีในชีวิตประจำวัน
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
เชิญคลิกฟังไดที่นี่ครับ .. การรับเพื่อรักษามิตรและกุศลจิต
การบริโภคอาหารที่มีประโยชน์แต่บริโภคน้อยทำให้ร่างกายเบาสบาย อายุยืน ไม่ง่วงนอนค่ะ
ถูกต้องค่ะ เพราะการบริโภคมากจนเกินไป ทำให้ร่างกายต้องทำงานหนักในการย่อยอาหาร เป็นเหตุให้เกิดอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสาเหตุให้ภูมิคุ้มกันลดลง และเป็นตัวกระตุ้นโรคร้ายหลายชนิด โดยเฉพาะ "โรคมะเร็ง" ค่ะ
พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราฉันโภชนะ เว้นการฉันในราตรีเสียทีเดียว และเมื่อเราฉันโภชนะเว้นการฉันในราตรีเสีย ย่อมรู้คุณคือการเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง กระปรี้กระเปร่า มีกำลังและอยู่เป็นสำราญ"
สาธุ
ขออนุโมทนาครับ