การเข้านิโรธสมาบัติกับการรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงมีผลอย่างไร?
อธิบายคำถามที่สงสัย คือ ผมเข้าใจว่าเมื่อรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง
จะประจักษ์ไตรลักษณ์ จะไม่ยึดมั่นถือมั่นในความเป็นตัวตน จะละกิเลส
ส่วนการเข้านิโรธสมาบัตินั้น ดับสภาพธรรมที่เกิดกับจิต (เจตสิก)
ดับกิเลสชั่วขณะ
นิโรธสมาบัติเป็นสมาบัติของพระอริยบุคคลระดับสูง คือพระอนาคามีและพระอรหันต์
ที่ท่านฌาน ๘ ทั้งรูปฌานและอรูปฌาน เป็นสุขวิหารธรรมอันประณีต บุคคลประเภท
อื่นไม่มีโอกาส แต่การอบรมเจริญปัญญาเพื่อรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง เป็นกิจ
ที่ควรอบรม ควรเจริญ อย่างยิ่งครับ
หากไม่มีปัญญาขั้นต้นที่เป็นการรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงแล้ว ก็ไม่มีทางถึงนิโรธสมาบัติได้เลย ที่สำคัญไมได้หมายความว่า เมื่ออบรมปัญญา รู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริงแล้ว ทุกคนจะต้องได้นิโรธสมาบัติ บางอย่างเป็นเรื่องไกล......ขอให้เข้าใจหนทางในการรู้ลักษณะสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ประเสริฐ สาธุ
คุณวันใหม่กล่าวถึง "หนทางในการรู้ลักษณะสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้" โปรดอธิบายจะได้ไหม?
ก่อนอื่น ถามว่าอะไรมีจริง? เพื่อสอบถามเพื่อความเข้าใจ
เพื่อจะได้อธิบาย หนทางต่อไป
นั่นซิครับท่านวันใหม่ที่เคารพ เรามาหยุดรู้หยุดเข้าใจกันที่คำว่า "สภาพธรรมตามความเป็นจริง" โดยคิดว่าเมื่อประจักษ์แล้วก็จะรู้ แต่ความจริงไม่ใช่เลย อาจจะผ่านไปหลายกัปกัลย์ก็อาจจะไม่รู้ เราจึงควรมาทำความรู้ความเข้าใจกันเสียก่อนอื่น เพื่อท่านจะได้อธิบายต่อไป ถ้าผิดพึงกล่าวว่าผิด ถ้าถูกพึงกล่าวถูก ดังนี้ "มี" หมายถึง ต้องมีสภาพธรรมนั้นกำลังปรากฏ
"จริง" หมายถึง สภาพธรรมนั้นต้องมีจริง "มีจริง" หมายถึง สภาพธรรมที่กำลังปรากฏจริง "สภาพธรรม" คือ ปรมัตถ์ธรรม จิต เจตสิก รูป นิพพาน ขอให้ท่านวันใหม่ที่เคารพได้โปรดกล่าว "หนทางในการรู้ลักษณะสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้" มาเถิด
จากความเห็นที่ 5ที่กล่าวว่า "มี"หมายถึง ต้องมีสภาพธรรมนั้นกำลังปรากฏ "จริง" หมายถึง สภาพธรรมนั้นต้องมีจริง "มีจริง" หมายถึง สภาพธรรมที่กำลังปรากฏจริง ที่กล่าวว่าสิ่งใดมีจริงคือสภาพธรรมที่เป็น จิต เจตสิก รูปและนิพพาน เป็นอันเข้าใจแต่ก็คงกลับไปที่ว่า ทำไมถึงมีจริง.............อธิบายว่าเพราะมีลักษณะให้รู้ ถ้าสิ่งนั้นไม่มีลักษณะให้รู้ จะปรากฏให้รู้ได้ไหม เช่น แข็ง กล่าวว่ามีจริงเพราะมีลักษณะปรากฏให้รู้คือมีลักษณะแข็ง ปรากฏที่กายเมื่อกระทบสัมผัส ต่างจากบัญญัติไม่มีลักษณะให้รู้จึงไม่มีจริง ดังนั้นก่อนจะกล่าว มีจริงเพราะปรากฏ แต่คำว่ามีจริงเป็นสภาพธรรมเพราะมีลักษณะให้รู้ ซึ่งแบ่งลักษณะของสภาพธรรมได้เป็น 2 อย่างคือ ลักษณะโดยทั่วไป (สามัญญลักษณะ) และลักษณะเฉพาะตัว (วิเสสลักษณะ) สรุปคือที่กล่าวมีจริงเป็นธรรมเพราะมีลักษณะให้รู้ จึงสามารถปรากฏให้รู้ได้เพราะมีลักษณะ ค่อยๆ ไป ตรงนี้เข้าใจว่าอย่างไร สาธุ
ลักษณะปรากฏให้รู้เป็นสามัญลักษณะ ลักษณะที่ทรงจำแนกไว้ว่าเป็นจิต เจตสิก รูป และ
นิพพานเป็นวิเสสลักษณะ บัญญัติ คือ การยึดถือลักษณะทั้ง 2 เป็นตัวตนครับ
เข้าใจว่าอย่างนี้ สาธุ
จากความเห็นที่ 7 ลักษณะที่ปรากฏให้รู้ เป็นได้ทั้งสามัญลักษณะและวิเสสลักษณะ คือเมื่อสภาพธรรมเกิดขึ้นย่อมมีลักษณะให้รู้ เมื่อเห็นเกิดขึ้น ย่อมมีสามัญลักษณะ คือความไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตา รวมทั้งมีวิเสสลักษณะ คือลักษณะเฉพาะตัวของสภาพธรรมนั้น
คือเห็นย่อมมีลักษณะเฉพาะตัวคือรู้สี รู้สิ่งที่ปรากฏทางตาแต่จะไปรู้เสียงก็ไม่ได้
ส่วนปรมัตถธรรมที่เป็น จิต เจตสิก รูป มีทั้งวิเสสลักษณะ และสามัญลักษณะด้วย
คือมีลักษณะเฉพาะตัวของสภาพธรรมนั้น และมีลักษณะทั่วไปของสภาพธรรม เสมอกัน
หมดคือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตา ส่วนบัญญัติเป็นเรื่องราว สิ่งที่ให้รู้ อันเนื่องจากการมีสภาพธรรมจึงมีบัญญัติ คิดนึกในสิ่งที่เห็น สิ่งที่ได้ยิน เป็นคนนั้น คนนี้เป็นบัญญัติ เป็นต้น แต่ไม่ได้หมายความว่า
จะเป็นบัญญัติจะต้องเป็นความยึดถือ แต่ธรรมชาติของวิถีจิตเป็นอย่างนั้น เมื่อเห็นสิ่ง
ที่ปรากฏทางตา (ปรมัตถ์) ขณะวิถีต่อๆ ไปก็ย่อมคิดเป็นเรื่องราวบัญญัติอยู่แล้ว แม้แต่พระพุทธเจ้าก็เห็นเป็นพระอานนท์ มีบัญญัติเป็นอารมณ์แต่ไม่จำเป็นจะต้องเป็นความยึดถือจึงจะเป็นบัญญัติ สาธุ
หนทางในการรู้ลักษณะสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้
ดังนั้น ที่ได้สนทนากันว่าธรรมคืออะไร อะไรคือสิ่งที่มีจริง ขณะที่เข้าใจขึ้น เข้าใจถูกนั่นคือกำลังแสดงหนทางการรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริง เพราะก่อนจะเข้าใจหนทางต้องรู้จักว่าธรรมคืออะไร เมื่อเข้าใจว่าธรรมคืออะไร ธรรมอยู่ที่ไหน ก็จะเข้าใจหนทางในการระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ เพราะเมื่อปัญญาเจริญจากขั้นการฟังที่มีการสนทนาในเรื่องของธรรมคืออะไรแล้ว ปัญญาเจริญขึ้นจนเหตุปัจจัยพร้อม สติและปัญญา (สติปัฏฐาน) จึงเป็นหนทางเดียวในการรู้ลักษณะของสภาพธรรม ก็จะเกิดขึ้นระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมว่าเป็นธรรมไม่ใช่เราในขณะนี้ ดังนั้นไม่ต้องรีบร้อน ฟังให้เข้าใจเบื้องต้น แม้คำว่าธรรมให้เข้าใจนมั่นคงจากขั้นการฟัง ย่อมเป็นปัจจัยให้สติเกิดระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ อันเป็นหนทางเดียวในการ
อบรมปัญญา สาธุ