พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓- หน้าที่ 134
อธิบายกรรม ๑๖ อย่างตามแนวพระอภิธรรม
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาปกานิ แปลว่า ลามก. บทว่า
กมฺมสมาทานานิ ได้แก่ การยึดถือกรรม. คำว่า กมฺมสมาทานานิ นี้
เป็นชื่อของกรรมทั้งหลาย ที่บุคคลสมาทานถือเอาแล้ว. พึงทราบวินิจฉัย
ในบทว่า คติสมฺปตฺตึ ปฏิพาฬฺหานิ น วิปจฺจนฺติ เป็นต้น ดังต่อไปนี้
เมื่อกรรมที่มีการเสวยอนิฏฐารมณ์เป็นกิจ ยังมีอยู่นั่นแหละ กรรมนั้น
ของสัตว์ผู้เกิดในสุคติภพ ชื่อว่าห้ามคติสมบัติไว้ ยังไม่ให้ผล. อธิบายว่า
เป็นกรรมถูกคติสมบัติห้ามไว้ ยิ่งไม่ให้ผล.
ก็ผู้ใด เกิดในท้องของหญิงทาสี หรือหญิงกรรมกร เพราะบาปกรรม
(แต่) เป็นผู้มีอุปธิสมบัติ ตั้งอยู่ในความสำเร็จ คือความงดงามแห่งอัตภาพ.
ครั้นนายของเขาเห็นรูปสมบัติของเขาแล้ว เกิดความคิดว่า ผู้นี้ไม่สมควร
ทำงานที่ต่ำต้อย แต่งตั้งเขาไว้ในตำแหน่งภัณฑาคาริกเป็นต้น มอบสมบัติให้
แล้วเลี้ยงดูอย่างลูกของตน. กรรมของคนเห็นปานนี้ ชื่อว่าห้ามอุปธิสมบัติ
ให้ผลก็หามิได้.
ส่วนผู้ใด เกิดในเวลาที่มีโภชนาหารหาได้ง่ายและมีรสอร่อยเช่นกับ
กาลของคนในปฐมกัป บาปกรรมของเขาถึงมีอยู่ จะชื่อว่า ห้ามกาลสมบัติ
ให้ผลก็หามิได้.
ส่วนผู้ใดอาศัยการประกอบโดยชอบ เลี้ยงชีพอยู่ แต่เข้าหาใน
เวลาที่ควรจะต้องเข้าหา ถอยกลับในเวลาที่ควรจะต้องถอยกลับ หนีในเวลา
ที่ควรจะต้องหนี ให้สินบนในเวลาที่ควรให้สินบน ทำโจรกรรมในเวลาที่ควร
ทำโจรกรรม บาปกรรมของคนเช่นนี้ ชื่อว่า ห้ามปโยคสมบัติ ให้ผลก็หา
มิได้. ส่วนบาปกรรมของบุคคลผู้เกิดในทุคติภพ ชื่อว่า อาศัยคติวิบัติให้
ผลอยู่.
ส่วนผู้ใดเกิดในท้องของหญิงทาสี หรือหญิงกรรมกร มีผิวพรรณ
ไม่งดงาม รูปร่างไม่สวย ชวนให้เกิดสงสัยว่า เป็นยักษ์หรือเป็นมนุษย์ ถ้า
เขาเป็นชาย คนทั้งหลายจะคิดว่า คนผู้นี้ไม่สมควรแก่งานอย่างอื่น แล้วจะ
ให้เขาเลี้ยงช้าง เลี้ยงม้า เลี้ยงโค หรือให้หาหญ้าหาฟืน ให้เทกระโถน
ถ้าเป็นหญิง คนทั้งหลายจะใช้ให้ต้มข้าวต้มถั่ว๑ ให้ช้างให้ม้าเป็นต้น ให้เท
หยากเยื่อ หรือใช้ให้ทำงานที่น่ารังเกียจอย่างอื่น. บาปกรรมของผู้เห็นปานนี้
ชื่อว่า อาศัยอุปธิวิบัติให้ผล.
ส่วนผู้ใดเกิดในเวลาข้าวยากหมากแพง ในเวลาตระกูลเสื่อมสิ้นสมบัติ
หรือในอันตรกัป บาปกรรมของผู้นั้น ชื่อว่าอาศัยกาลวิบัติให้ผล.
ส่วนผู้ใดไม่รู้จักประกอบความเพียร ไม่รู้เพื่อจะเข้าไปหาในเวลา
ที่ควรเข้าไปหา ฯลฯ ไม่รู้เพื่อจะทำโจรกรรม ในเวลาที่ควรทำโจรกรรม
บาปกรรมของผู้นั้น ชื่อว่า อาศัยปโยควิบัติให้ผล.
ส่วนผู้ใด เมื่อกรรมที่สมควรแก่การเสวยอิฏฐารมณ์เป็นกิจ ยังมีอยู่
นั่นแลไปเกิดในทุคติภพ กรรมของเขานั้น ชื่อว่า ห้ามคติวิบัติ ให้ผลก็หามิได้.
ส่วนผู้ใดเกิดในพระราชวัง หรือในเรือนของราชมหาอำมาตย์เป็นต้น
ด้วยอานุภาพแห่งบุญกรรมเป็นคนบอด เป็นคนง่อย เป็นคนกระจอก หรือว่า
เป็นคนเปลี้ย คนทั้งหลายไม่ยอมให้ตำแหน่งแก่เขา เพราะเห็นว่า เขาไม่
เหมาะสมแก่ตำแหน่งอุปราชเสนาบดี และขุนคลังเป็นต้น บุญของเขาตามที่
กล่าวมานี้ ชื่อว่า ห้ามอุปธิวิบัติ ให้ผลก็หามิได้.
๑. ปาฐะว่า ภตฺตมสาทีนิ ฉบับพม่าเป็น ภตฺตมาสาทีนิ แปลตามฉบับพม่า.
ส่วนผู้ใดเกิดในหมู่มนุษย์ ในเวลาข้าวยากหมากแพง ในเวลาที่
(ตระกูล) เสื่อมสิ้นสมบัติแล้ว หรือในอันตรกัป กรรมดีของเขานั้น ชื่อว่า
ห้ามกาลวิบัติ ให้ผลก็หามิได้.
ส่วนผู้ใด ไม่รู้เพื่อจะยังความเพียรให้เกิดขึ้น ตามนัยที่ได้กล่าวแล้ว
ในหนหลังนั่นแหละ กรรมดีของเขานั้นชื่อว่า ห้ามปโยควิบัติ ให้ผลก็หามิได้.
แต่กรรมของผู้เกิดในสุคติภพ ด้วยกัลยาณกรรมนั้น ชื่อว่า อาศัย
คติสมบัติให้ผล. คนทั้งหลายเห็นอัตภาพของผู้ที่เกิดในราชตระกูล หรือ
ตระกูลของราชมหาอำมาตย์เป็นต้น ถึงอุปธิสมบัติ คือดำรงอยู่ในความ
เพรียบพรอ้มแห่งอัตภาพ เช่นเดียวกับ รัตนโดรณ (เสาระเนียดแก้ว) ที่
เขาตั้งไว้ที่เทพนคร เห็นว่า คนผู้นี้เหมาะสมกับตำแหน่งอุปราช เสนาบดี
หรือตำแหน่งขุนคลังเป็นต้น ถึงเขาจะยังหนุ่ม ก็ยอมให้ตำแหน่งเหล่านั้น.
กัลยาณธรรมของคนเห็นปานนี้ ชื่อว่า อาศัยอุปธิสมบัติให้ผล.
ผู้ใดเกิดในปฐมกัปก็ดี ในเวลาที่ข้าวน้ำหาได้ง่ายก็ดี กัลยาณกรรม
ของเขา ชื่อว่า อาศัยกาลสมบัติให้ผล.
ผู้ใดไม่รู้ เพื่อการประกอบความเพียร โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นและ
กรรมของผู้นั้นชื่อว่า อาศัยปโยคสมบัติให้ผล.
ท่านจำแนกกรรม ๑๖ อย่าง ตามปริยายแห่งพระอภิธรรม ด้วย
ประการดังพรรณนามาฉะนี้.