ขอเรียนถามท่านผู้รู้ในห้องเกี่ยวกับเรื่องของ " เจ้ากรรมนายเวร" ว่ามีในพระไตรปิฏก
หรือเปล่าคะ
(ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ)
ในพระไตรปิฎกและอรรถกถา ไม่มีคำว่า "เจ้ากรรมนายเวร" คำดังกล่าวอาจารย์รุ่นหลังๆ บัญญัติใช้กันขึ้น ซึ่งไม่ตรงกับสภาวธรรมและความจริงตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าเลย พระพุทธองค์แสดงว่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของๆ ตน มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเป็นที่พึ่งอาศัย จักทำกรรมใดๆ ไว้ จะได้รับผลของกรรมนั้น ไม่มีใครทำให้คนอื่นเป็นไปต่างๆ ได้ แต่เพราะกรรมของตนนั่นเองสัตว์ทั้งหลายจึงมีความแตกต่างกัน ทั้งทรามและประณีต ...." กัมมุนา วัตตตี โลโก " สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม....
เชิญคลิกอ่าน...ฐานะที่ควรพิจารณาเนืองๆ ๕ ประการ [ฐานสูตร]
อ่านแล้วค่ะ ดีนะคะ จะได้โกรธช้าลง และน้อยลง แต่แม้จะโกรธเร็ว ก็จะหายเร็ว ไม่กอดเก็บไว้เป็นอกุศลของตนเอง ไม่ผูกใจเจ็บ และไม่ผูกเวรเนี่ย สบายใจดีค่ะ
ผมเคยสอบถามบุคคลทั่วไป ที่ยังไม่เคยศึกษาหลักธรรม ในทางพระพุทธศาสนาอย่างจริงๆ จังๆ ก็ได้ทราบว่า ตามความเข้าใจของคนทั่วไปเรื่องเจ้ากรรมนายเวรนี้หมายถึง ผู้ที่เขาเคยล่วงเกินในอดีต ไม่ว่าจะเป็นชาตินี้หรือชาติไหนๆ ซึ่งเป็นผู้ผูกเวรอยู่ ดังนั้น เพื่อเป็นการเลิกจองเวรกัน จึงมีการอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลที่ตนทำแล้วให้แก่เขาเป็นการตอบแทน เพื่อเป็นการเลิกผูกพยาบาทอาฆาตต่อกัน
ดังนั้น ถึงแม้ว่า คำว่า เจ้ากรรม นายเวร ไม่มีอยู่ในพระไตรปิฎกก็จริง แต่กระนั้นก็อาจสงเคราะห์ได้ว่า เจ้ากรรมนายเวร ได้แก่ บุคคลที่เคยผูกพยาบาทอาฆาตกันนั่นเอง ข้อนี้ ขอให้ไปศึกษาในธัมมปทัฏฐกถาภาค ๑ เรื่อง การเกิดขึ้นของนางกาลยักษินีดูก็ได้ครับ เข้ากับเรื่องนี้หรือไม่
ความเห็นที่ ๕ อ่านดูแล้วเหมือนดี แต่เราไม่ทราบว่าใครผูกอาฆาตกับเรา หรือเราผูกอาฆาตกับใครไว้ คือ ต่างก็จำกันไม่ได้ การอุทิศส่วนบุญไปก็ไร้ผล แต่พระพุทธองค์ทรงสอนให้พุทธบริษัท อุทิศส่วนบุญให้กับญาติที่ล่วงลับไปแล้ว หรือผู้ที่ล่วงรู้ในการกระทำกุศลของเรา ส่วนการจะละความอาฆาตได้นั้น ต้องอบรมเจริญเมตตาอันเป็นข้าศึกต่อโทสะ หรือความอาฆาต อีกอย่างหนึ่งในอรรถกถาคาถาธรรมบท เรื่องนางยักษินีพระพุทธองค์มิได้สอนให้ใครอุทิศส่วนบุญให้กับเจ้ากรรมนายเวรเลย ถ้าเป็นสิ่งที่ถูกต้องพระพุทธองค์ต้องตรัสไว้แล้ว แต่คนยุคหลังๆ ด้วยความกลัว ด้วยความรักตนมากและด้วยความไม่รู้จึงเข้าใจว่ามีเจ้ากรรมนายเวร
สาธุ ครับ เป็นเหตุผลที่น่าฟังทีเดียวครับ