พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 591
๑๐. สุปุพพัณหสูตร
ว่าด้วยเวลาที่เป็นฤกษ์ดี [๕๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริต ด้วยกาย
ด้วยวาจา ด้วยใจ ในเวลาเช้า เวลาเช้านั้น ก็เป็นเวลาดีของสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ในเวลากลางวัน เวลากลางวันนั้น ก็เป็นเวลาดีของสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดพระพฤติสุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ในเวลาเย็น เวลาเย็นนั้น ก็เป็นเวลาดีของสัตว์เหล่านั้น.
(นิคมคาถา)
กายกรรม วาจากรรม มโนกรรม
ความปรารถนาของท่าน เป็นประทักษิณ
เป็นฤกษ์ดี มงคลดี แจ้งดี รุ่งดี
ขณะดี ครู่ดี และเป็นการบูชาอย่างดีใน พรหมจารีทั้งหลาย คนทำกรรมอัน เป็นประทักษิณแล้ว ย่อมได้ประโยชน์อัน เป็นประทักษิณ ท่านทั้งหลาย จงเป็นผู้มี
ประโยชน์อันได้แล้ว ถึงซึ่งความสุข งอก
งามในพระพุทธศาสนา เป็นผู้หาโรคมิได้
สำราญกายใจ พร้อมด้วยญาติทั้งปวง
เทอญ.
จบสุปุพพัณหสูตรที่ ๑๐
จบมงคลวรรคที่ ๕
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาครับ
ขณะที่มีค่าที่สุดคือขณะที่สติปัฏฐานเกิดค่ะ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขณะใดที่กระทำความดี ขณะนั้นเป็นเวลาดี
...ขอบคุณและขออนุโมทนาค่ะ...
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ