ขอความเข้าใจเพิ่มเติม เกี่ยวกับ "หิริสูตร" ด้วยนะคะ อ่านจากเว็บบอร์ด ที่โพสต์ไว้ 2 โพสต์ แต่ยังขาดความเข้าใจในรายละเอียด และขอถามเพิ่มเติมใน 2 หัวข้อด้านล่างค่ะ
1. วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ = ประโยคนี้ หมายความว่าอย่างไรคะ?
2.หิริสูตร
ว่าด้วยเกียดกันอกุศลด้วยหิริ = ประโยคนี้หมายความว่าอย่างไรค่ะ เหตุใดจึงใช้คำว่า "เกียดกัน" จะเป็นความหมายเดียวกับ "เกลียด" หรือเปล่า
กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
1. วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ = ประโยคนี้ หมายความว่าอย่างไรคะ?
เวลาที่อ่านพระสูตร จะสังเกตว่า มีการแบ่งเป็นวรรค คือ เป็นกลุ่ม กลุ่มละ ๑๐ พระสูตร บ้าง (หรือเกิน ๑๐ พระสูตรไปบ้างก็มี) เมื่อรวมได้ ๕๐ พระสูตร ก็เรียกว่า ปัณณาสก์ (หมายถึง ๕๐) พระสูตรใด ที่ปรากฏอยู่ใน ๕๐ พระสูตร นี้ ก็จะเรียกว่า ว่า จัดอยู่ในปัณณาสก์ นี้ คือ อยู่ใน ๕๐ พระสูตรนี้แหละ แต่ถ้าเป็นวรรคอื่น หรือ กลุ่มอื่น ที่ไม่ได้อยู่ใน ๕๐ พระสูตร นี้ ก็เลยเรียกว่า วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์
แม้ว่าจะไม่เข้าใจคำเหล่านี้ แต่ถ้าได้อ่านเนื้อหาของพระสูตร แล้ว เข้าใจ นั่นแหละคือ ประโยชน์อย่างยิ่ง ครับ
2.หิริสูตร ว่าด้วยเกียดกันอกุศลด้วยหิริ = ประโยคนี้หมายความว่าอย่างไรค่ะ เหตุใดจึงใช้คำว่า "เกียดกัน" จะเป็นความหมายเดียวกับ "เกลียด" หรือเปล่า?
พระธรรมในหิริสูตร แสดงถึงความเป็นจริงของสภาพธรรมฝ่ายดี คือ หิริ (สภาพที่ละอายต่อบาป) ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นเมื่อใด จะไม่เป็นอกุศลเลย และแน่นอนว่า ขณะนั้น เป็นการป้องกัน ห้ามปราม ไม่ให้อกุศลธรรม เกิดขึ้น ซึ่งคำว่า เกียดกัน ในที่นี้ ตรงกับภาษาบาลีว่า นิเสเธติ แปลโดยความได้ว่า ย่อมห้าม, ย่อมกันไม่ให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น ซึ่งไม่ใช่ตัวตนที่ห้าม แต่เป็นธรรมฝ่ายดี มีหิริ เป็นต้นเกิดขึ้น ก็ทำให้อกุศลธรรม เกิดขึ้นไม่ได้เลย ในขณะนั้น โดยคำแล้ว จะไม่ได้แปลว่า เกลียด จึงเป็นคนละความหมายกัน แต่โดยสาระสำคัญ ก็เข้าใจได้เช่นเดียวกันว่าขณะนั้นก็ต้องรังเกียจ หรือ เกลียดอกุศลธรรม ไม่ควรเข้าใกล้อกุศลธรรม จึงมีสภาพธรรมฝ่ายดีเกิดขึ้น แทนที่จะเกิดอกุศลต่อไป ครับ
ขอเชิญศึกษาหิริสูตรเพิ่มเติมได้ที่หัวข้อด้านล่างนี้ครับ
หิริสูตร ว่าด้วยเกียดกันอกุศลด้วยหิริ
....ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...
กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลค่ะ
ขออนุโมทนาครับ