ตทังคปหาณ
ตํ (นั้น) + องฺค (องค์ ส่วน) + ปหาน (ละ สละ)
การละด้วยองค์นั้นๆ หมายถึง การละกิเลสชั่วคราว ด้วยกำลังของวิปัสสนาญาณแต่ละขั้น อุปมาเหมือนจอกแหนที่กระจายออก เพราะถูกขว้างด้วยก้อนกรวดหรือก้อนดิน แล้วก็กลับเข้ามารวมกันเหมือนเดิม ฉะนั้น เมื่อวิปัสสนาญาณเกิดขึ้น ประหานกิเลสชั่วคราวแล้วดับไป กิเลสจึงมีโอกาสเกิดขึ้นได้เมื่อมีปัจจัยพร้อม เพราะยังไม่ได้ดับเป็นสมุจเฉจด้วยอริยมรรค
เป็นตัวสะกดต่างกันที่ใช้ต่างกันในภาษาไทยเท่านั้นครับเช่นภาษาบาลีใช้คำว่า ธมฺม แต่เราก็แปลงมาเป็นคำที่จะใช้สะดวกในภาษาไทยเป็น "ธรรมะ" แต่ที่จริงจะสะกดว่า ธัมมะ (เช่น บ้านธัมมะ) ก็ไม่ผิดครับ หลายคนที่มาที่นี่ใหม่ๆ แปลกใจว่าทำไม จึงเป็น "บ้านธัมมะ" ไม่เป็น "บ้านธรรมะ" แต่ถ้าไปดูคำบาลีเดิมแล้วก็จะอ๋อ อย่างนี้นี่เอง
เรื่องตัวสะกดหรือพยัญชนะ เป็นเพียงคำที่จะใช้สื่อให้ถึงสภาพธรรมเท่านั้นครับ ไม่เป็นปัญหาต่อการศึกษาธรรมะเลย เพราะธรรมะมีจริงถึงจะใช้คำว่า "ธรรมะ" หรือ "ธัมมะ" แต่สิ่งที่จริง ก็ยังเป็นสิ่งที่จริง สามารถพิสูจน์และรู้ได้ด้วยการอบรมเจริญปัญญา ครับ
Anumotana ka.
ขออนุโมทนาครับ